เพราะ "ซีซั่นนี้เป็นซีซั่นสุดท้าย ความยากเลยมีมากกว่าซีซั่นที่แล้ว" ผู้กำกับ ปิง-เกรียงไกร วชิรธรรมพร เปิดใจถึง "ฮอร์โมนส์ 3 เดอะ ไฟนอล ซีซั่น"
งานที่เขาว่ายากตั้งแต่ตอนเขียนบท-เพราะไหนๆ จะทิ้งท้าย ทุกคนเลยใส่เกินร้อย
จากการเรียนรู้ในซีซั่นแรก รู้มากขึ้นอีกในซีซั่น 2 มาถึงซีซั่นนี้พวกเขาจึงพยายามอุดทุกรอยรั่วที่เคยมีมาตอนเขียนบท
รวมถึงละเอียดไปทุกสิ่งในขั้นตอนถ่ายทำ
นั่นจึงอาจเป็นเหตุผลที่หันไปทางไหนก็ได้ยินเสียงตอบรับที่ดี
ฟังอย่างนี้แล้วเขาก็ยิ้ม ก่อนว่า "ทุกซีนที่ถ่าย ไม่มีซีนไหนเลยที่จะเป็นซีนผ่านๆ มันเลยทำให้ทุกซีนเข้มข้น และเรื่องเดินหน้าตลอดเวลา"
"บางซีนของปีที่แล้ว ถ่ายซีนละครึ่งชั่วโมงได้ ปีนี้แทบไม่มีซีนแบบนั้น ทุกซีนใช้เวลาปั้นนานมาก"
บางซีนมากขนาดใช้เวลาครึ่งวัน
"มันเลยค่อนข้างโหด"
โหดทั้งเชิงโปรดักชั่น โหดทั้งการแสดง เพราะนักแสดงซึ่งครั้งนี้เปลี่ยนเซตใหม่เกือบทั้งหมด ส่วนใหญ่ไม่เคยเล่นอะไรมาก่อน จึงต้องมีการเคี่ยวให้เข้าที่
ปิง-เกรียงไกร วชิรธรรมพร
"บางคนบอกผมดุขึ้นเยอะเลย ปีที่แล้วใจดี ดูชิล..ชิลกว่า" เขาว่าพลางหัวเราะ
ก่อนบอก "ปีที่แล้วผมได้บทเรียนเยอะมาก ว่าเวลาเราประนีประนอมหรือปล่อยอะไรไป สุดท้ายเราเองก็ไม่ได้ชอบในสิ่งที่ออกมา เลยเข้าใจว่าทำไมพี่ ย้ง (ทรงยศ สุขมากอนันต์ โปรดิวเซอร์) ถึงโหดมาก"
"เพราะเราจะได้สิ่งที่ดีที่สุด"
ขณะเดียวกัน ตอนเข้ามากำกับในซีซั่น 2 เขาซึ่งไม่เคยทำงานนี้ก่อนอาจอ้างได้ว่า เป็นเพราะ "ใหม่"
"แต่ปีนี้คงไม่สามารถทำอย่างนั้นได้"
ครั้งนี้เขาจึงทำการบ้านบนกระดาษอย่างดี ก่อนที่จะลั่นกล้อง
"เราปรับทุกอย่างใหม่ ดูการเคลื่อนไหวของตัวละคร ทำอย่างไรให้ดูธรรมชาติมากขึ้น แล้วต้องเข้าใจทุกอิริยาบถของเขา ไม่ว่าจะหันซ้ายหันขวา ไม่เกิดคำถามว่าทำไมเขาทำแบบนี้"
ขณะเดียวกันยังวาดสิ่งที่ต้องการให้คนดูเห็นลงกระดาษ ให้ทีมงานรับทราบตรงกัน
"ว่าผมอยากได้กล้องตัวไหนบ้าง ตัวละครเดินตรงไหน"
ผลที่เห็นชัดจากการนั้นคือ ที่ถ่ายมาไม่มีคิวไหนที่เขาไม่ชอบ
ส่วนกับนักแสดงที่สดใหม่ใสกิ๊ง "เด็กพวกนี้ต้องดังแน่" ปิงมั่นใจ
ด้วยแม้จะยังไม่เก่ง 100% แต่ทุกคนก็มีเสน่ห์ของตัวเองและมีวินัยดี
ส่วนเรื่องเนื้อหาที่มีคนคาดหวังว่าควรจะต้องแซ่บขึ้น ปิงยิ้มนิดๆ ก่อนบอก "คนดูอาจคาดหวังความหวือหวามากขึ้น"
แต่ "มันไม่ใช่ทิศทางที่เราถนัด"
"ที่เราต้องการจะทำที่สุดคือเรายังเล่าเรื่องเดิมอยู่ เล่าเรื่องวัยรุ่น การทำสิ่งผิดพลาดของวัยรุ่น การตัดสินใจที่วัยรุ่นจะได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง เพราะฉะนั้นตัวละครทุกตัวจะมีความแสบของตัวเอง อาจจะมีรูปแบบเปลี่ยนไปบ้าง คือผมรู้สึกเหมือนกันว่าในช่วงแรกอาจจะรู้สึกว่าเป็นฮอร์โมนส์แบบใหม่ที่คนดูไม่คุ้นเคย เมื่อดูไปลึกๆ จะรู้สึกว่านี่คือฮอร์โมนส์อยู่ดี"
สำหรับสิ่งที่เห็นในจอ เขาก็ว่า "ยังน้อยไปมากๆ เมื่อเทียบกับสิ่งที่วัยรุ่นเจอ"
"มีอะไรอีกเยอะมากที่เราไม่ได้เล่า บางเรื่องคุยกันบนโต๊ะแล้วรู้สึกว่าพูดไม่ได้ พูดแล้วสังคมอาจจะยังไม่พร้อมฟัง เพราะเราเห็นจากฟีดแบ๊กของซีซั่น 1 และ 2 ว่ามันมีขีด มีเส้นศีลธรรมที่มันหมิ่นเหม่"
และถ้าทำออกมาไม่ดี บางทีอาจเกิดผลเสียมากกว่า
"เพราะฉะนั้นความจริงแล้ววัยรุ่นยังมีอะไรอีกเยอะมาก ต่อให้ทำไปอีก 10 ซีซั่นก็ไม่เข้าใจหมด"
บอกอีกว่า ดูเผินๆ ซีรีส์เรื่องนี้อาจดูเหมือนซีรีส์วัยรุ่นทั่วไป
แต่จริงๆ ไม่ใช่
"ทุกคนพยายามทำอะไรที่มันมากกว่า กำลังพยายามคุยกับวัยรุ่นผ่านซีรีส์ พยายามบอกว่าการเติบโตมันเจ็บปวด แต่มันก็สนุกมาก มีอะไรให้เรียนรู้เยอะมาก"
"เป็นงานที่ทำแล้วใจเต้นแรง ไม่ใช่ทำซีรีส์ที่ดูหัวเราะหรือร้องไห้ แต่เรากำลังทำซีรีส์ที่อาจจะเปลี่ยนชีวิตคนบางคนได้ ถ้าเราทำถูกจุด"
"เด็กบางคนบอกดูตอนนี้นี่เหมือนชีวิตเราเลย ดูแล้วเข้าใจว่าชีวิตเป็นแบบนี้เพราะอะไร ดูแล้วตัดสินใจบางอย่างอย่างในชีวิตได้"
"แบบนี้มันมีค่ากว่าเรตติ้งที่ดี"
เพราะ "มันทำให้คนดูเติบโตไปด้วยกัน" อย่างที่ทีมงานทุกคนตั้งใจ
ที่มา : นสพ.มติชน
อีก 10 ซีซั่นก็ไม่พอ ความในใจของคนทำ "ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น"
งานที่เขาว่ายากตั้งแต่ตอนเขียนบท-เพราะไหนๆ จะทิ้งท้าย ทุกคนเลยใส่เกินร้อย
จากการเรียนรู้ในซีซั่นแรก รู้มากขึ้นอีกในซีซั่น 2 มาถึงซีซั่นนี้พวกเขาจึงพยายามอุดทุกรอยรั่วที่เคยมีมาตอนเขียนบท
รวมถึงละเอียดไปทุกสิ่งในขั้นตอนถ่ายทำ
นั่นจึงอาจเป็นเหตุผลที่หันไปทางไหนก็ได้ยินเสียงตอบรับที่ดี
ฟังอย่างนี้แล้วเขาก็ยิ้ม ก่อนว่า "ทุกซีนที่ถ่าย ไม่มีซีนไหนเลยที่จะเป็นซีนผ่านๆ มันเลยทำให้ทุกซีนเข้มข้น และเรื่องเดินหน้าตลอดเวลา"
"บางซีนของปีที่แล้ว ถ่ายซีนละครึ่งชั่วโมงได้ ปีนี้แทบไม่มีซีนแบบนั้น ทุกซีนใช้เวลาปั้นนานมาก"
บางซีนมากขนาดใช้เวลาครึ่งวัน
"มันเลยค่อนข้างโหด"
โหดทั้งเชิงโปรดักชั่น โหดทั้งการแสดง เพราะนักแสดงซึ่งครั้งนี้เปลี่ยนเซตใหม่เกือบทั้งหมด ส่วนใหญ่ไม่เคยเล่นอะไรมาก่อน จึงต้องมีการเคี่ยวให้เข้าที่
ปิง-เกรียงไกร วชิรธรรมพร
"บางคนบอกผมดุขึ้นเยอะเลย ปีที่แล้วใจดี ดูชิล..ชิลกว่า" เขาว่าพลางหัวเราะ
ก่อนบอก "ปีที่แล้วผมได้บทเรียนเยอะมาก ว่าเวลาเราประนีประนอมหรือปล่อยอะไรไป สุดท้ายเราเองก็ไม่ได้ชอบในสิ่งที่ออกมา เลยเข้าใจว่าทำไมพี่ ย้ง (ทรงยศ สุขมากอนันต์ โปรดิวเซอร์) ถึงโหดมาก"
"เพราะเราจะได้สิ่งที่ดีที่สุด"
ขณะเดียวกัน ตอนเข้ามากำกับในซีซั่น 2 เขาซึ่งไม่เคยทำงานนี้ก่อนอาจอ้างได้ว่า เป็นเพราะ "ใหม่"
"แต่ปีนี้คงไม่สามารถทำอย่างนั้นได้"
ครั้งนี้เขาจึงทำการบ้านบนกระดาษอย่างดี ก่อนที่จะลั่นกล้อง
"เราปรับทุกอย่างใหม่ ดูการเคลื่อนไหวของตัวละคร ทำอย่างไรให้ดูธรรมชาติมากขึ้น แล้วต้องเข้าใจทุกอิริยาบถของเขา ไม่ว่าจะหันซ้ายหันขวา ไม่เกิดคำถามว่าทำไมเขาทำแบบนี้"
ขณะเดียวกันยังวาดสิ่งที่ต้องการให้คนดูเห็นลงกระดาษ ให้ทีมงานรับทราบตรงกัน
"ว่าผมอยากได้กล้องตัวไหนบ้าง ตัวละครเดินตรงไหน"
ผลที่เห็นชัดจากการนั้นคือ ที่ถ่ายมาไม่มีคิวไหนที่เขาไม่ชอบ
ส่วนกับนักแสดงที่สดใหม่ใสกิ๊ง "เด็กพวกนี้ต้องดังแน่" ปิงมั่นใจ
ด้วยแม้จะยังไม่เก่ง 100% แต่ทุกคนก็มีเสน่ห์ของตัวเองและมีวินัยดี
ส่วนเรื่องเนื้อหาที่มีคนคาดหวังว่าควรจะต้องแซ่บขึ้น ปิงยิ้มนิดๆ ก่อนบอก "คนดูอาจคาดหวังความหวือหวามากขึ้น"
แต่ "มันไม่ใช่ทิศทางที่เราถนัด"
"ที่เราต้องการจะทำที่สุดคือเรายังเล่าเรื่องเดิมอยู่ เล่าเรื่องวัยรุ่น การทำสิ่งผิดพลาดของวัยรุ่น การตัดสินใจที่วัยรุ่นจะได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง เพราะฉะนั้นตัวละครทุกตัวจะมีความแสบของตัวเอง อาจจะมีรูปแบบเปลี่ยนไปบ้าง คือผมรู้สึกเหมือนกันว่าในช่วงแรกอาจจะรู้สึกว่าเป็นฮอร์โมนส์แบบใหม่ที่คนดูไม่คุ้นเคย เมื่อดูไปลึกๆ จะรู้สึกว่านี่คือฮอร์โมนส์อยู่ดี"
สำหรับสิ่งที่เห็นในจอ เขาก็ว่า "ยังน้อยไปมากๆ เมื่อเทียบกับสิ่งที่วัยรุ่นเจอ"
"มีอะไรอีกเยอะมากที่เราไม่ได้เล่า บางเรื่องคุยกันบนโต๊ะแล้วรู้สึกว่าพูดไม่ได้ พูดแล้วสังคมอาจจะยังไม่พร้อมฟัง เพราะเราเห็นจากฟีดแบ๊กของซีซั่น 1 และ 2 ว่ามันมีขีด มีเส้นศีลธรรมที่มันหมิ่นเหม่"
และถ้าทำออกมาไม่ดี บางทีอาจเกิดผลเสียมากกว่า
"เพราะฉะนั้นความจริงแล้ววัยรุ่นยังมีอะไรอีกเยอะมาก ต่อให้ทำไปอีก 10 ซีซั่นก็ไม่เข้าใจหมด"
บอกอีกว่า ดูเผินๆ ซีรีส์เรื่องนี้อาจดูเหมือนซีรีส์วัยรุ่นทั่วไป
แต่จริงๆ ไม่ใช่
"ทุกคนพยายามทำอะไรที่มันมากกว่า กำลังพยายามคุยกับวัยรุ่นผ่านซีรีส์ พยายามบอกว่าการเติบโตมันเจ็บปวด แต่มันก็สนุกมาก มีอะไรให้เรียนรู้เยอะมาก"
"เป็นงานที่ทำแล้วใจเต้นแรง ไม่ใช่ทำซีรีส์ที่ดูหัวเราะหรือร้องไห้ แต่เรากำลังทำซีรีส์ที่อาจจะเปลี่ยนชีวิตคนบางคนได้ ถ้าเราทำถูกจุด"
"เด็กบางคนบอกดูตอนนี้นี่เหมือนชีวิตเราเลย ดูแล้วเข้าใจว่าชีวิตเป็นแบบนี้เพราะอะไร ดูแล้วตัดสินใจบางอย่างอย่างในชีวิตได้"
"แบบนี้มันมีค่ากว่าเรตติ้งที่ดี"
เพราะ "มันทำให้คนดูเติบโตไปด้วยกัน" อย่างที่ทีมงานทุกคนตั้งใจ
ที่มา : นสพ.มติชน