ละครพื้นบ้านส่วนมากเป็นเด็กดู อยากให้ลดการเขียนบทเกี่ยวกับสงครามและความอาฆาต แก้แค้นลงบ้างเถอะ ตัวอย่างเช่น
เจ้าหญิงแต่งอ่อน ไม่มีสงคราม แต่ไวกูรณ์มักพูดว่า "ข้าต้องแก้แค้น" ตลอดเหมือนหนังจีน ไม่ทราบว่าคนเขียนบทดูหนังจีนมากไปหรือเปล่า การทำแบบนี้จะทำให้เด็กยึดติดกับการแก้แค้นไปไหม ถึงไวกูรณ์จะแค้นไวยราชมาก แต่ก็ไม่น่าจะมีบทที่เสนอเรื่องการแก้แค้นมาขนาดนี้ เคยถามผู้ใหญ่ที่เคยดูเวอร์ชั่นเก่าท่านก็ยืนยันว่าเวอร์ชั่นเก่าจะละมุนกว่านี้มาก
จันทร์สุริยคาธ ก็มีเรื่องของการสู้รบมาก โดยเฉพาะเจ้าหญิงพรมจารีย์ ไม่ทราบในนิทานโบราณมีบทนี้ไหม ทำไมต้องยกทัพแก้แค้นอาฆาตกันขนาดนั้น
ยอพระกลิ่น ตามวรรณคดีและที่หนูเคยดูเวอร์ชั่นเก่าที่คุณภาวิตเขียนบท ขอยืนยันเลยว่าไม่มีฉากยกทัพทำสงครามแบบนี้ แต่ที่สร้างล่าสุดมีทั้งทัพจากกรุงจีน ทัพจากเมืองตา-ยายของนางเอกมาโจมตีเมืองพระเอก ยกทัพไปมาไม่รู้กี่รอบ อะไรกันนักกันหนา แก้แค้นหํ้าหั่นอย่างกับละครผู้ใหญ่ดูหลังข่าว รุนแรงกว่าละครพิ้นบ้านทุกเรื่องที่เคยดูมา ต่อไปก็ให้ละครพื้นบ้านจัดเรทใหม่ดีไหมคะ ?
แก้วหน้าม้า รบกับยักษ์ไม่เป็นไรเพราะในวรรณคดีก็มี และยักษ์ก็ไม่มีจริงในโลก เด็กแยกแยะออก แต่ที่น่าผิดหวังก็คือมีการยกทัพจากเมืองเจ้าหญิงทัศมาลีมาโจมตีเมืองมิถิลา พ่อตาและทัศมาลีจะไปเด็ดหัวพระปิ่นทอง
ที่สำคัญจะให้พระปิ่นศิลป์ชัยฆ่าพ่อตัวเอง โอยย..นี่อะไรกัน เขียนบทอย่างไร
แนะนำว่าให้เขียนบทแบบนี้จะดีกว่าไหม เมืองเจ้าหญิงทัศมาลีกับเมืองมิถิลาเป็นเพื่อนกัน น่าจะนัดคุยกันด้วยเหตุผล เพราะจากที่ดูไม่มีการนัดคุยกันเลย ยกทัพมาตีเลย เพราะฟังความข้างเดียวจากทัศมาลี เขียนบทให้ประเทืองปัญญาเด็กบ้างเถอะ แต่ถ้ากษัตริย์ทั้ง 2 ที่เป็นเพื่อนกัน คุยกันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ ก็สู้ด้วยเวทย์มนต์คาถาดีกว่า เพราะก็มีอาจารย์ของพระปิ่นศิลป์ชัยมาด้วยนี่นา ไม่ถึงต้องยกทัพมาฆ่าคนบริสุทธิ์มากมาย และถ้าพระปิ่นศิลป์ชัยแค้นพ่อตัวเอง ทัศมาลีก็น่าจะบอกว่า "อย่างไรพระปิ่นทองก็คือพ่อของเจ้า เจ้าต้องให้อภัย เรืองพระปิ่นทองเป็นเรื่องของแม่ ให้แม่จัดการเอง แต่แค่อยากปกป้องศักดิ์ศรีของแม่ แต่แม่ไม่เอาชีวิตพระปิ่นทองแน่นอน" จะดีกว่าไหม
คนเขียนบทเรื่องนี้ก็อายุรุ่นคุณยายแล้วนะคะ น่าจะมองออกบ้างว่าสังคมทุกวันนี้เยาวชนไทยยังก้าวร้าวไม่พออีกหรือ ทั้งเด็กวัยรุ่นตีกัน แก้แค้นกัน มองหน้ากันหน่อยก็ฆ่ากันแล้ว แล้วผู้เขียนบทละครพื้นบ้านให้เด็กดู ยังจะยัดเยียดความรุนแรงอะไรไปในละครอีก จะเป็นการให้เด็กซึมซับความรุนมากไปไหม ลองพิจารณาดูนะคะ
ฝากไว้ด้วยค่ะ
ฝากถึงคนเขียนบทละครพื้นบ้าน ช่อง 7 ช่วยลดสงครามและความอาฆาตแค้นลงบ้าง
เจ้าหญิงแต่งอ่อน ไม่มีสงคราม แต่ไวกูรณ์มักพูดว่า "ข้าต้องแก้แค้น" ตลอดเหมือนหนังจีน ไม่ทราบว่าคนเขียนบทดูหนังจีนมากไปหรือเปล่า การทำแบบนี้จะทำให้เด็กยึดติดกับการแก้แค้นไปไหม ถึงไวกูรณ์จะแค้นไวยราชมาก แต่ก็ไม่น่าจะมีบทที่เสนอเรื่องการแก้แค้นมาขนาดนี้ เคยถามผู้ใหญ่ที่เคยดูเวอร์ชั่นเก่าท่านก็ยืนยันว่าเวอร์ชั่นเก่าจะละมุนกว่านี้มาก
จันทร์สุริยคาธ ก็มีเรื่องของการสู้รบมาก โดยเฉพาะเจ้าหญิงพรมจารีย์ ไม่ทราบในนิทานโบราณมีบทนี้ไหม ทำไมต้องยกทัพแก้แค้นอาฆาตกันขนาดนั้น
ยอพระกลิ่น ตามวรรณคดีและที่หนูเคยดูเวอร์ชั่นเก่าที่คุณภาวิตเขียนบท ขอยืนยันเลยว่าไม่มีฉากยกทัพทำสงครามแบบนี้ แต่ที่สร้างล่าสุดมีทั้งทัพจากกรุงจีน ทัพจากเมืองตา-ยายของนางเอกมาโจมตีเมืองพระเอก ยกทัพไปมาไม่รู้กี่รอบ อะไรกันนักกันหนา แก้แค้นหํ้าหั่นอย่างกับละครผู้ใหญ่ดูหลังข่าว รุนแรงกว่าละครพิ้นบ้านทุกเรื่องที่เคยดูมา ต่อไปก็ให้ละครพื้นบ้านจัดเรทใหม่ดีไหมคะ ?
แก้วหน้าม้า รบกับยักษ์ไม่เป็นไรเพราะในวรรณคดีก็มี และยักษ์ก็ไม่มีจริงในโลก เด็กแยกแยะออก แต่ที่น่าผิดหวังก็คือมีการยกทัพจากเมืองเจ้าหญิงทัศมาลีมาโจมตีเมืองมิถิลา พ่อตาและทัศมาลีจะไปเด็ดหัวพระปิ่นทอง ที่สำคัญจะให้พระปิ่นศิลป์ชัยฆ่าพ่อตัวเอง โอยย..นี่อะไรกัน เขียนบทอย่างไร
แนะนำว่าให้เขียนบทแบบนี้จะดีกว่าไหม เมืองเจ้าหญิงทัศมาลีกับเมืองมิถิลาเป็นเพื่อนกัน น่าจะนัดคุยกันด้วยเหตุผล เพราะจากที่ดูไม่มีการนัดคุยกันเลย ยกทัพมาตีเลย เพราะฟังความข้างเดียวจากทัศมาลี เขียนบทให้ประเทืองปัญญาเด็กบ้างเถอะ แต่ถ้ากษัตริย์ทั้ง 2 ที่เป็นเพื่อนกัน คุยกันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ ก็สู้ด้วยเวทย์มนต์คาถาดีกว่า เพราะก็มีอาจารย์ของพระปิ่นศิลป์ชัยมาด้วยนี่นา ไม่ถึงต้องยกทัพมาฆ่าคนบริสุทธิ์มากมาย และถ้าพระปิ่นศิลป์ชัยแค้นพ่อตัวเอง ทัศมาลีก็น่าจะบอกว่า "อย่างไรพระปิ่นทองก็คือพ่อของเจ้า เจ้าต้องให้อภัย เรืองพระปิ่นทองเป็นเรื่องของแม่ ให้แม่จัดการเอง แต่แค่อยากปกป้องศักดิ์ศรีของแม่ แต่แม่ไม่เอาชีวิตพระปิ่นทองแน่นอน" จะดีกว่าไหม
คนเขียนบทเรื่องนี้ก็อายุรุ่นคุณยายแล้วนะคะ น่าจะมองออกบ้างว่าสังคมทุกวันนี้เยาวชนไทยยังก้าวร้าวไม่พออีกหรือ ทั้งเด็กวัยรุ่นตีกัน แก้แค้นกัน มองหน้ากันหน่อยก็ฆ่ากันแล้ว แล้วผู้เขียนบทละครพื้นบ้านให้เด็กดู ยังจะยัดเยียดความรุนแรงอะไรไปในละครอีก จะเป็นการให้เด็กซึมซับความรุนมากไปไหม ลองพิจารณาดูนะคะ
ฝากไว้ด้วยค่ะ