ช่วงนี้มีการระบาดของไข้เลือดออกประปราย รวมถึงข่าวของคุณ ปอ ทฤษฎี
ผมเลยมา update review ช้อมูลข้องวัคซีนไข้เลือดออกว่าไปถึงไหนแล้วอาจจะอ่านยากสักนิดครับ
แต่ถึงจะมีวัคซีนออกมาเร็วๆนี้ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การเอาใจใส่ต่อสุขภาพ ก็ยังจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่สม่ำเสมอครับ
ติดตามความก้าวหน้า อาจเห็นวัคซีนเร็วสุด คือภายใน1- 2 ปีนี้ ช้าสุดไม่เกิน 5 ปี ราคาน่าจะตกราว 200-1000 บาท ต่อเข็ม
ฉีด 3 เข็ม 0,1,6 เดือน แต่รอข้อมูลในอนาคตชี้ชัดว่าฉีดเข็มเดียวก็อาจเพียงพอหากมีภูมิคุมกันมาบ้างแล้ว
ประสิทธิภาพอยู่ที่ที่ 56-60 %
สรุปการทดลลองวัคซีนในระยะที่ 3
การศึกษาแรกที่จะกล่าวถึงลงตีพิมพ์วารสารทางการแพทย์ lancet ลงตีพิมพ์ตุลาคม 2014
โดยเป็นการทดลองฉีดวัคซีน ช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนธันวาคม 2011 ใน 5 ประเทศ คือ ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ในกลุ่มเด็กอายุ 2-14 ปี จำนวน
10,275 คน
พบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพโดยรวม 56.5%
จากการศึกษานี้พบว่า
1. ประสิทธิภาพของวัคซีนจะสูงขึ้นในเด็กอายุที่มากกว่ากล่าวคือ
อายุ 12-14 ปี = 74%
อายุ 6-11 ปี = 60%
อายุ 2-5 ปี = 34% ซึ่งถือว่า น้อยเกินไป
อาจเนื่องมาจากตัววัคซีนไข้เลือดออกเองช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานที่มีอยู่ในตัวแล้วให้สูงขึ้นได้ดีกว่าที่จะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา
2 ประสิทธิภาพของวัคซีนได้ผลดีสำหรับ
Dengue virus type 3 และ 4 ได้ผลดีคือที่ 75%
Dengue virus type 1 ได้ผลปานกลางคือที่ 50%
Dengue virus type 2 ได้ผลน้อยคือที่คือเพียง 35% (Dengue virus type 2 พบมากขึ้นในประเทศไทยหลังปี 2000 ซึ่งเป็นปัญหาเพราะว่าเป็นแล้วจะมีอาการรุนแรงและมีอัตราตายสูง)
การศึกษาที่ 2 ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ มกราคม 2015
ที่ทดลองในกลุ่มเด็กอายุ 9-16 ปี จำนวน 20,869 คน มิถุนายน 2011-มีนาคม 2012
ในกลุ่มประเทศแถบละตินอเมริกา 5 ประเทศคือ บราซิล โคลัมเบีย ฮอนดูรัส เม็กซิโกและเปอร์โตริโก พบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพโดยรวม 60.8%
จากการศึกษานี้พบว่า
1. ประสิทธิภาพของวัคซีนจะสูงขึ้นในเด็กที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกเดงกี่มาก่อน (serological evidence of previous dengue exposure)
2. ประสิทธิภาพของวัคซีนต่อเชื้อ Dengue virus type ต่างๆได้ผลแตกต่างกันไปเช่นเดียวกันกับผลการศึกษาในประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย
3. ประสิทธิภาพของวัคซีนในการศึกษาครั้งนี้ต่อ Dengue virus type 2 สูงกว่าครั้งที่แล้วคือ 42.3% ต่อ 35%
4. การฉีดวัคซีนไข้เลือดออกเพียง 1 เข็มก็มีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่าฉีดวัคซีน 3 เข็มตามโปรแกรมเช่นกัน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากกลุ่มประชากรใน การศึกษาครั้งนี้เคยมีการติดเชื้อ Dengue มาก่อน (Dengue seropositivity at baseline) สูงถึง 79% > Priming effect
กล่าวโดยสรุปทั้ง 2 การศึกษา
1.ใน 2 ปีที่ผ่านมาเป็นที่น่ายินดีว่าการทดลลองวัคซีนไข้เลือดออกในคนได้ผลแต่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนักคือได้ผลโดยรวมประมาณ 56-60% และ มีแนวโน้มว่าจะได้ผลในกรณีคนที่เคยติดเชือครั้งแรกมาแล้ว
แต่ก็ได้ทิ้งคำถามไว้ว่า ถ้าเราฉีดวัคซีนไข้เลือดออกแล้วไม่ได้มีภูมิต้านทานในระดับสูงที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ครบ 4 type ของ Dengue virus แล้วมาติดเชื้อ Dengue virus type ดังกล่าว ก็จะเป็นสาเหตุทำให้การติดเชื้อไข้เลือดออกต่อมานั้นมีอาการรุนแรงและอันตรายต่อชีวิตได้หรือไม่
2. ประสิทธิภาพของวัคซีนในกลุ่มเด็กโตและผู้ใหญ่มากกว่าเด็กเล็ก โดยเฉพาะในคนที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกเดงกี่มาก่อนจะได้ผลดี แต่ได้ผลน้อยในเด็กเล็ก ดังนั้นวัคซีน
ไข้เลือดออกจะมีประโยชน์สำหรับคนที่อยู่ในภูมิภาคเขตร้อน (tropical regions) ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก (Dengue-endemic areas)
และอาจได้ประโยชน์น้อยในประเทศที่ไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกหรือในกลุ่มคนที่ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันในการเดินทาง (vaccination for
travellers)
3. ช่วยป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้บางส่วนเท่านั้น คือได้ผลสำหรับเชื้อ Dengue virus type 1, 3 และ 4 มากกว่า Dengue virus type 2
ซึ่งพบบ่อยในประเทศไทย มีความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตได้มากกว่า
4.วัคซีนไข้เลือดออกสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ 88.5%, 90.0% คือป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก DHF ตามเกณฑ์การวินิจฉัยขององค์การอนามัยโลก (WHO 1997) คือ มีอาการของโรคร่วมกับมีเกล็ด
เลือดต่ำ (Thrombocytopenia = platelet count 100,000 cell per mm3 or less) และมีการรั่วของพลาสมา (Evidence of plasma leakage)
5.วัคซีนไข้เลือดออกสามารถลดการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ลงได้ 67.2%, 80.3%
6. ต้องติดตามผลระยะยาวต่อไป (Long-term effectiveness) ในการศึกษาระยะที่ 4 (Phase 4 คือ Post-marketing surveillance) คือหลังจากที่วัคซีนไข้เลือดออกผลิตออกมาใช้กันทั่วไปแล้วว่า ภูมิต้านทานโรคจะอยู่ได้นานสักเท่าไรและจะเกิดผลเสียที่เป็นข้อวิตกกังวลดังกล่าวข้างต้นหรือไม่
สุดท้าย อโรคยาปรมาลาภา ใครเจ็บป่วยก็ขอให้หายในเร็ววัน ในโลกกลมๆใบนี้ อะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้นครับ คนไข้หัวใจหยุดเต้นไป 10 รอบปั้มไป 10 รอบยังฟื้นมาทำงานเหมือนคนปกคิผมก็เคยเห็นมาแล้ว ตราบใดชีวิตยังมีลมหายใจก็ยังมีหวังเสมอ แต่ถึงกระนั้น ทุกคนก็ดำเนินไปตาม กฎไตรลักษณ์
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
โชคดีครับ
สนใจ ข่าวสารข้อมูลทางการแพทย์อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://sarawutdammai.wordpress.com/
วัคซีนไข้เลือดออก ความก้าวหน้า
ผมเลยมา update review ช้อมูลข้องวัคซีนไข้เลือดออกว่าไปถึงไหนแล้วอาจจะอ่านยากสักนิดครับ
แต่ถึงจะมีวัคซีนออกมาเร็วๆนี้ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การเอาใจใส่ต่อสุขภาพ ก็ยังจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่สม่ำเสมอครับ
ติดตามความก้าวหน้า อาจเห็นวัคซีนเร็วสุด คือภายใน1- 2 ปีนี้ ช้าสุดไม่เกิน 5 ปี ราคาน่าจะตกราว 200-1000 บาท ต่อเข็ม
ฉีด 3 เข็ม 0,1,6 เดือน แต่รอข้อมูลในอนาคตชี้ชัดว่าฉีดเข็มเดียวก็อาจเพียงพอหากมีภูมิคุมกันมาบ้างแล้ว
ประสิทธิภาพอยู่ที่ที่ 56-60 %
สรุปการทดลลองวัคซีนในระยะที่ 3
การศึกษาแรกที่จะกล่าวถึงลงตีพิมพ์วารสารทางการแพทย์ lancet ลงตีพิมพ์ตุลาคม 2014
โดยเป็นการทดลองฉีดวัคซีน ช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนธันวาคม 2011 ใน 5 ประเทศ คือ ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ในกลุ่มเด็กอายุ 2-14 ปี จำนวน
10,275 คน
พบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพโดยรวม 56.5%
จากการศึกษานี้พบว่า
1. ประสิทธิภาพของวัคซีนจะสูงขึ้นในเด็กอายุที่มากกว่ากล่าวคือ
อายุ 12-14 ปี = 74%
อายุ 6-11 ปี = 60%
อายุ 2-5 ปี = 34% ซึ่งถือว่า น้อยเกินไป
อาจเนื่องมาจากตัววัคซีนไข้เลือดออกเองช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานที่มีอยู่ในตัวแล้วให้สูงขึ้นได้ดีกว่าที่จะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา
2 ประสิทธิภาพของวัคซีนได้ผลดีสำหรับ
Dengue virus type 3 และ 4 ได้ผลดีคือที่ 75%
Dengue virus type 1 ได้ผลปานกลางคือที่ 50%
Dengue virus type 2 ได้ผลน้อยคือที่คือเพียง 35% (Dengue virus type 2 พบมากขึ้นในประเทศไทยหลังปี 2000 ซึ่งเป็นปัญหาเพราะว่าเป็นแล้วจะมีอาการรุนแรงและมีอัตราตายสูง)
การศึกษาที่ 2 ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ มกราคม 2015
ที่ทดลองในกลุ่มเด็กอายุ 9-16 ปี จำนวน 20,869 คน มิถุนายน 2011-มีนาคม 2012
ในกลุ่มประเทศแถบละตินอเมริกา 5 ประเทศคือ บราซิล โคลัมเบีย ฮอนดูรัส เม็กซิโกและเปอร์โตริโก พบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพโดยรวม 60.8%
จากการศึกษานี้พบว่า
1. ประสิทธิภาพของวัคซีนจะสูงขึ้นในเด็กที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกเดงกี่มาก่อน (serological evidence of previous dengue exposure)
2. ประสิทธิภาพของวัคซีนต่อเชื้อ Dengue virus type ต่างๆได้ผลแตกต่างกันไปเช่นเดียวกันกับผลการศึกษาในประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย
3. ประสิทธิภาพของวัคซีนในการศึกษาครั้งนี้ต่อ Dengue virus type 2 สูงกว่าครั้งที่แล้วคือ 42.3% ต่อ 35%
4. การฉีดวัคซีนไข้เลือดออกเพียง 1 เข็มก็มีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่าฉีดวัคซีน 3 เข็มตามโปรแกรมเช่นกัน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากกลุ่มประชากรใน การศึกษาครั้งนี้เคยมีการติดเชื้อ Dengue มาก่อน (Dengue seropositivity at baseline) สูงถึง 79% > Priming effect
กล่าวโดยสรุปทั้ง 2 การศึกษา
1.ใน 2 ปีที่ผ่านมาเป็นที่น่ายินดีว่าการทดลลองวัคซีนไข้เลือดออกในคนได้ผลแต่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนักคือได้ผลโดยรวมประมาณ 56-60% และ มีแนวโน้มว่าจะได้ผลในกรณีคนที่เคยติดเชือครั้งแรกมาแล้ว
แต่ก็ได้ทิ้งคำถามไว้ว่า ถ้าเราฉีดวัคซีนไข้เลือดออกแล้วไม่ได้มีภูมิต้านทานในระดับสูงที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ครบ 4 type ของ Dengue virus แล้วมาติดเชื้อ Dengue virus type ดังกล่าว ก็จะเป็นสาเหตุทำให้การติดเชื้อไข้เลือดออกต่อมานั้นมีอาการรุนแรงและอันตรายต่อชีวิตได้หรือไม่
2. ประสิทธิภาพของวัคซีนในกลุ่มเด็กโตและผู้ใหญ่มากกว่าเด็กเล็ก โดยเฉพาะในคนที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกเดงกี่มาก่อนจะได้ผลดี แต่ได้ผลน้อยในเด็กเล็ก ดังนั้นวัคซีน
ไข้เลือดออกจะมีประโยชน์สำหรับคนที่อยู่ในภูมิภาคเขตร้อน (tropical regions) ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก (Dengue-endemic areas)
และอาจได้ประโยชน์น้อยในประเทศที่ไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกหรือในกลุ่มคนที่ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันในการเดินทาง (vaccination for
travellers)
3. ช่วยป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้บางส่วนเท่านั้น คือได้ผลสำหรับเชื้อ Dengue virus type 1, 3 และ 4 มากกว่า Dengue virus type 2
ซึ่งพบบ่อยในประเทศไทย มีความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตได้มากกว่า
4.วัคซีนไข้เลือดออกสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ 88.5%, 90.0% คือป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก DHF ตามเกณฑ์การวินิจฉัยขององค์การอนามัยโลก (WHO 1997) คือ มีอาการของโรคร่วมกับมีเกล็ด
เลือดต่ำ (Thrombocytopenia = platelet count 100,000 cell per mm3 or less) และมีการรั่วของพลาสมา (Evidence of plasma leakage)
5.วัคซีนไข้เลือดออกสามารถลดการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ลงได้ 67.2%, 80.3%
6. ต้องติดตามผลระยะยาวต่อไป (Long-term effectiveness) ในการศึกษาระยะที่ 4 (Phase 4 คือ Post-marketing surveillance) คือหลังจากที่วัคซีนไข้เลือดออกผลิตออกมาใช้กันทั่วไปแล้วว่า ภูมิต้านทานโรคจะอยู่ได้นานสักเท่าไรและจะเกิดผลเสียที่เป็นข้อวิตกกังวลดังกล่าวข้างต้นหรือไม่
สุดท้าย อโรคยาปรมาลาภา ใครเจ็บป่วยก็ขอให้หายในเร็ววัน ในโลกกลมๆใบนี้ อะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้นครับ คนไข้หัวใจหยุดเต้นไป 10 รอบปั้มไป 10 รอบยังฟื้นมาทำงานเหมือนคนปกคิผมก็เคยเห็นมาแล้ว ตราบใดชีวิตยังมีลมหายใจก็ยังมีหวังเสมอ แต่ถึงกระนั้น ทุกคนก็ดำเนินไปตาม กฎไตรลักษณ์
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
โชคดีครับ
สนใจ ข่าวสารข้อมูลทางการแพทย์อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://sarawutdammai.wordpress.com/