PUTD : Gravity unveiled the Dolphins Arena design photos
ทีม "โลมาน้ำเงิน" พัทยา ยูไนเต็ด อัพเดทภาพการออกแบบสนามเหย้าแห่งใหม่อย่าง นิว ดอลฟินส์ สเตเดี้ยม เผยคืบหน้าแล้วกว่า 80% เหลือเพียงปรับห้องใช้งานภายในตามกำหนดของ AFC คาดจะลงมือก่อสร้างจนแล้วเสร็จได้ตามกำหนดใช้งานปี 2017 พร้อมความจุที่นั่ง 12,000
ผลงานกำลังได้ลุ้นเลื่อนชั้นกลับขึ้นไปเล่นในไทยพรีเมียร์ลีกอีกครั้ง สำหรับ พัทยา ยูไนเต็ด โดยล่าสุดยังครองพื้นที่อันดับที่ 3 ของศึกดิวิชั่น 1 แต่นอกเหนือจากผลงานในสนามแล้วด้านนอกสนามก็กำลังเร่งการออกแบบการสร้างรังเหย้าแห่งใหม่อย่าง "นิว ดอลฟินส์ สเตเดี้ยม" อย่างต่อเนื่อง
ด้าน บิ๊ก "พายุ" พรรณธฤต เนื่องจำนงค์ ประธานสโมสรพัทยา ยูไนเต็ด เปิดเผยว่า การสร้างสนามใหม่นั้นเป็นส่วนนึงของกลยุทธ์ทางธุรกิจของการเดินหน้าวางอนาคตในระยะยาวของสโมสรฯ ไม่ว่าจะอยู่ลีกไหนก็ตาม เพราะการที่เรามีสนามเป็นของตัวเอง ก็เปรียบเสมือนมีบ้านที่จะสามารถเป็นแม่เหล็กให้กับคนในท้องถิ่น รวมถึงนักท่องเที่ยวสามารถมาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการซึมซับของสโมสรให้เป็นส่วนนึงของเมืองที่เราเรียกเป็นบ้านได้ดีมากขึ้น อย่างเช่นทีมอื่นๆระดับโลกที่อยู่ตามหัวเมืองใหญ่ๆ ในมุมมองส่วนตัวผมถึงไว้ใจให้ทางคุณ Frank และ Gravity ให้เข้ามาออกแบบและเอารูปแบบการดีไซน์ และ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทำให้พวกเค้ามีชื่อเสียงในหลายๆประเทศเข้ามาแสดงให้เห็นกับสโมสรเราเป็นแห่งแรกในไทยอีกด้วย
ทางด้าน Mr. Frank Yu ประธานบริหาร Gravity ได้เผยถึงโปรเจคนี้ว่า จากการที่ได้พูดคุยและทำความเข้าใจทิศทางในอนาคตของสโมสรฯ รวมถึงเจตนารมณ์ของคุณพายุ ที่ต้องการให้สนามเป็นอีกหนึ่งจุดดึงดูดการท่องเที่ยวให้กับเมืองพัทยา ทางผมและทีมงานจึงได้ออกแบบสนามใหม่นี้ เพื่อให้ดีไซน์มีความทันสมัยเผื่อไปอีก 10 ปีข้างหน้าไม่ใช่เพื่อความหวือหวาในแค่ปีสองปีแรกเท่านั้น
"การที่เราออกแบบในการใช้โครงสร้างแบบใหม่ที่ทนทานและมีน้ำหนักเบา จะทำให้ประหยัดต่อระยะเวลาในการก่อสร้าง และเพื่อประหยัดการใช้วัสดุสิ้นเปลืองที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการออกแบบแกนหมุนใช้อากาศหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด"
Mr. Frank Yu กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากนี้เรายังคำนึงถึงประสบการณ์ในการชมของแฟนบอลเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการวางตำแหน่งที่นั่ง และระยะของสนาม และที่นั่งของผู้ชมจะใกล้ที่สุดภายใต้ขอบเขตของกฎ AFC และ TPL แน่นอน ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนการออกแบบรุดหน้าไปแล้วกว่า 80%
โฉมใหม่แบบสนามThe New Dolphins Arena ของพัทยายูไนเต็ด...สุดล้ำยังกับยานอวกาศ
ทีม "โลมาน้ำเงิน" พัทยา ยูไนเต็ด อัพเดทภาพการออกแบบสนามเหย้าแห่งใหม่อย่าง นิว ดอลฟินส์ สเตเดี้ยม เผยคืบหน้าแล้วกว่า 80% เหลือเพียงปรับห้องใช้งานภายในตามกำหนดของ AFC คาดจะลงมือก่อสร้างจนแล้วเสร็จได้ตามกำหนดใช้งานปี 2017 พร้อมความจุที่นั่ง 12,000
ผลงานกำลังได้ลุ้นเลื่อนชั้นกลับขึ้นไปเล่นในไทยพรีเมียร์ลีกอีกครั้ง สำหรับ พัทยา ยูไนเต็ด โดยล่าสุดยังครองพื้นที่อันดับที่ 3 ของศึกดิวิชั่น 1 แต่นอกเหนือจากผลงานในสนามแล้วด้านนอกสนามก็กำลังเร่งการออกแบบการสร้างรังเหย้าแห่งใหม่อย่าง "นิว ดอลฟินส์ สเตเดี้ยม" อย่างต่อเนื่อง
ด้าน บิ๊ก "พายุ" พรรณธฤต เนื่องจำนงค์ ประธานสโมสรพัทยา ยูไนเต็ด เปิดเผยว่า การสร้างสนามใหม่นั้นเป็นส่วนนึงของกลยุทธ์ทางธุรกิจของการเดินหน้าวางอนาคตในระยะยาวของสโมสรฯ ไม่ว่าจะอยู่ลีกไหนก็ตาม เพราะการที่เรามีสนามเป็นของตัวเอง ก็เปรียบเสมือนมีบ้านที่จะสามารถเป็นแม่เหล็กให้กับคนในท้องถิ่น รวมถึงนักท่องเที่ยวสามารถมาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการซึมซับของสโมสรให้เป็นส่วนนึงของเมืองที่เราเรียกเป็นบ้านได้ดีมากขึ้น อย่างเช่นทีมอื่นๆระดับโลกที่อยู่ตามหัวเมืองใหญ่ๆ ในมุมมองส่วนตัวผมถึงไว้ใจให้ทางคุณ Frank และ Gravity ให้เข้ามาออกแบบและเอารูปแบบการดีไซน์ และ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทำให้พวกเค้ามีชื่อเสียงในหลายๆประเทศเข้ามาแสดงให้เห็นกับสโมสรเราเป็นแห่งแรกในไทยอีกด้วย
ทางด้าน Mr. Frank Yu ประธานบริหาร Gravity ได้เผยถึงโปรเจคนี้ว่า จากการที่ได้พูดคุยและทำความเข้าใจทิศทางในอนาคตของสโมสรฯ รวมถึงเจตนารมณ์ของคุณพายุ ที่ต้องการให้สนามเป็นอีกหนึ่งจุดดึงดูดการท่องเที่ยวให้กับเมืองพัทยา ทางผมและทีมงานจึงได้ออกแบบสนามใหม่นี้ เพื่อให้ดีไซน์มีความทันสมัยเผื่อไปอีก 10 ปีข้างหน้าไม่ใช่เพื่อความหวือหวาในแค่ปีสองปีแรกเท่านั้น
"การที่เราออกแบบในการใช้โครงสร้างแบบใหม่ที่ทนทานและมีน้ำหนักเบา จะทำให้ประหยัดต่อระยะเวลาในการก่อสร้าง และเพื่อประหยัดการใช้วัสดุสิ้นเปลืองที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการออกแบบแกนหมุนใช้อากาศหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด"
Mr. Frank Yu กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากนี้เรายังคำนึงถึงประสบการณ์ในการชมของแฟนบอลเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการวางตำแหน่งที่นั่ง และระยะของสนาม และที่นั่งของผู้ชมจะใกล้ที่สุดภายใต้ขอบเขตของกฎ AFC และ TPL แน่นอน ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนการออกแบบรุดหน้าไปแล้วกว่า 80%