ต้องออกตัวก่อนเลยค่ะ ว่าเป็นคนที่ไม่ค่อยดูรายการทีวีเท่าไหร่นัก ยิ่งรายการทอล์กโชว์ เกมส์โชว์
วาไรตี้โชว์ เราแทบจะไม่สนใจเลย จนกระทั่งได้ดูรายการ Sing your face off ทางช่อง 7
แล้วรู้สึกประทับใจมาก แบบรายการมันดีอ่ะ ใครทำรายการนี้ รายการเพลงแบบนี้ช่อง 7 ทำด้วยหรอ
จนทราบภายหลังรายการจบก็ตอนที่ ทางรายการเอาเงินรางวัลที่ได้จากผลโหวตและจากผู้ชนะไปมอบให้มูลนิธีสตรีอะไรสักอย่างนี่แหละค่ะ
และรู้ว่า คนที่อยู่เบื้องหลังทั้งหมด คือ บริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์ฯ และ คุณเอ วราวุธ ที่เป็นเจ้าของบริษัท
ทำให้เริ่มติดตามทุกรายการของเครือนี้ และ ทุกรายการบอกเลยค่ะ ว่านอกจากจะได้ความบันเทิงแล้ว ยังได้สาระความรู้กลับไปอีกมากมายเลย
และที่สำคัญ รู้สึกประทับใจ คุณเอ วราวุธมากๆค่ะ เป็นคนที่มีทัศนคติดีมากๆ จนน่าจะเป็นบุคคลตัวอย่างของวงการบันเทิงเลยในปีนี้
ทำให้ดิฉันได้ไปอ่านบทสัมภาษณ์ของคุณเอ ที่ลงไว้นานแล้ว ตั้งแต่เดือนเมษา แล้วยิ่งหลงรัก ผู้ชายคนนี้มาก ๆ ค่ะ
ขออณุญาติลงคำสัมภาษณ์ดังกล่าวนะคะ อยากให้คนดีๆ แบบนี้ได้รับกำลังใจและคำชื่นชมกลับไปจากผู้ชม เพราะผลงานคุณ ทำได้ดี และมีประโยชน์ต่อคนดูมาก ๆ
เครดิต บทสัมภาษณ์จากเว็บประชาชาตินะคะ
แม้ไม่ได้มาทางสายนิเทศศาสตร์โดยตรง แต่หลังจากได้รับการชักชวนจาก ปัญญา นิรันดร์กุล กับ ประภาส ชลศรานนท์ ให้มาเป็นพิธีกรรายการ "ตู้ซ่อนเงิน" เมื่อ 8 ปีก่อน นับจากนั้น เอ-วราวุธ เจนธนากุล ผู้เรียนจบปริญญาโทบริหารธุรกิจจากสหรัฐอเมริกาก็ติดใจ จนในที่สุดก็เบนเข็มจากงานด้านการเงินที่เคยทำมาเป็น ประธานกรรมการบริษัทเซ้นส์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ผลิตรายการโทรทัศน์หลายรายการ และในบรรดานั้นยังรับหน้าที่ควบเป็นพิธีกรเองอีก 3 รายการ คือ ?สเต็ป ไรท์ อัพ ใครเก่ง ใครได้", "รักเอย" รวมถึง "เดอะ มันนี่ ดรอป ไทยแลนด์" เกมโชว์ที่กำลังมาแรง
จะว่าไปนอกเหนือจากละคร เกมโชว์ก็ถือเป็นอีกประเภทของรายการโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และที่ผ่านมาเกมโชว์ที่เขาทำก็มักจะได้รับการกล่าวขวัญ ดังนั้น ไม่กี่วันที่ผ่านมา นักศึกษาชั้นปี 3 คณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้า จึงพากันขอฟังเคล็ดลับ และก็ได้คำตอบเรื่อง "ความท้าทายของการบริหารองค์กรด้านผลิตรายการโทรทัศน์ ประเภทเกมโชว์ ที่เหนือกว่าภายใน 5 ปี" ดังนี้
"ถ้าเปิดบริษัททำควิซโชว์แบบโปรเฟสชั่นแนล เราจะรู้แต่ในประเทศไม่ได้ ต้องรู้ว่าโลกนี้เขาทำอะไรกัน เทรนด์เขาไปทางไหน"
อะไรที่เป็นการเปิดหูเปิดตาจึงไม่ควรพลาด ขณะเดียวกันก็ยังต้องรู้จัก "ควิซโชว์" ให้ดี รู้ว่าอะไรคือ "ปัจจัยสำคัญ" และ "เสน่ห์" ที่ขาดไม่ได้ของรายการประเภทนี้-เขาบอก
ก่อนจะพูดต่อว่า "รายการควิซมี 3-4 ปัจจัยที่สำคัญ"
"ประการแรกคือคำถาม"
ซึ่งเขาว่าควรเป็นคำถาม ที่ "ถามปุ๊บแล้วทุกคนอยากตอบ"
แถมเป็นคำตอบประเภท "ทุกคนมีความเห็นเป็นของตัวเอง"
"เช่น คิดว่าปีที่ผ่านมารถยนต์สีไหนขายดีที่สุดในประเทศไทย"
บางคนอาจคิดว่าขาว บางคนอาจเดาว่าเทา หรือดำ-คำตอบที่ถูกจะเป็นอย่างไรนั้น เขาบอกยังไม่สำคัญเท่า ทุกคนสามารถ "ตอบ" ได้
"นี่คือควิซโชว์ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ"
ขณะที่เสน่ห์ที่ 2 "อยู่ที่จังหวะเฉลย"
"เพราะหลังจากตอบออกมา ทุกคนจะอยากรู้ว่าคำตอบคืออะไร"
ซึ่รายการที่มีจังหวะเฉลยดีมากๆ นั้น มักจะเป็นรายการที่มีพิธีกรชื่อปัญญา นิรันดร์กุล ซึ่ง "เวลาเขาจะเฉลย เขาจะหยุดอยู่สักพัก เพื่อให้ทุกคนได้ลุ้น" วราวุธว่า
"ถัดมาคือไอเดียดีๆ มันไม่ลอยออกมาเอง เพราะฉะนั้นผมเชื่อในเรื่องที่ให้ทุกๆ คนมาช่วยกันคิด"
"เพราะทำทีวีไม่มีอันไหนผิด 100% ไม่มีอันไหนถูก 100% ถ้ามั่นใจว่าไอเดียดี นำเสนอเลย ผมไม่เคยพูดว่าไอเดียผมถูกนะ ถ้าผิดบอก ถ้ามีอะไรที่ดีกว่าบอก"
"แต่ละคนมุมมองไม่เหมือนกันหรอก รับฟังความคิดเห็น มาต่อยอดซึ่งกันและกัน ก็จะได้ความคิดที่ดีขึ้น"
อย่างไรก็ตาม แค่นั้นยังไม่พอ เพราะการจะทำบริษัทให้อยู่รอด รายการต้องขายได้ ซึ่งในความเห็นของเขาต้องเป็นการขายแบบ "บาลานซ์" 3 สิ่ง คือผู้ชม ที่ต้องพอใจคุณภาพรายการ เพื่อจะได้สามารถคงเรตติ้งไว้, ลูกค้า ที่พอใจเรื่องการได้โฆษณาในคุณลักษณะตามต้องการ และสถานีที่จะคำนึงถึงภาพรวมที่ออกมา
สุดท้ายเขายังว่า สิ่งสำคัญประการสุดท้ายที่ลืมไม่ได้ คือความรับผิดชอบต่อสังคม
ที่ทุกผู้ผลิตรายการทุกๆ ประเภทควรจะมี!!
แนวทางของเซนส์
"ปัจจุบันการทำรายการโทรทัศน์อาศัยความหวือหวาค่อนข้างเยอะ แตกต่างจากสมัยก่อน"
"ผมโตมากับรายการที่มีพื้นที่ให้คนดีๆ ได้ออกทีวีเยอะมาก สมัยก่อนจะเห็นเลยว่าเด็กคนนี้ไปประกวดอะไรได้ที่ 1 กลับมา จะได้ออกรายการโทรทัศน์ สมัยเด็กๆ ดูรายการโทรทัศน์ ใครได้อยู่ในจอคนนั้นต้องมีข้อดีสักอย่าง"
"แต่วันนี้หลายๆ คน หลายๆ ช่อง อาจจะเพราะโทรทัศน์มีหลายช่องมากขึ้น กลายเป็นมีพื้นที่ให้คนทำอะไรฉาวๆ มากกว่าคนดีๆ ซึ่งผมจะบอกทุกๆ คนในบริษัทเลยว่าผมรู้นะว่า
เรตติ้งมันอาจจะดี แต่ผมไม่สนับสนุนให้มี
อะไรที่บางคนเขาพยายามฉาว เพื่อมีพื้นที่ออกทีวี ผมไม่สนับสนุนจริงๆ"
"เรายังมีดาราดีๆ อีกเยอะ ดาราที่ตั้งใจทำงาน ที่ขายฝีมือจริงๆ"
"สนับสนุนคนแบบนี้เถอะ"
ขอพื้นที่สักกระทู้ ชื่นชมคนในวงการบันเทิงหนุ่มไฟแรง 'เอ-วราวุธ เจนธนากุล'
วาไรตี้โชว์ เราแทบจะไม่สนใจเลย จนกระทั่งได้ดูรายการ Sing your face off ทางช่อง 7
แล้วรู้สึกประทับใจมาก แบบรายการมันดีอ่ะ ใครทำรายการนี้ รายการเพลงแบบนี้ช่อง 7 ทำด้วยหรอ
จนทราบภายหลังรายการจบก็ตอนที่ ทางรายการเอาเงินรางวัลที่ได้จากผลโหวตและจากผู้ชนะไปมอบให้มูลนิธีสตรีอะไรสักอย่างนี่แหละค่ะ
และรู้ว่า คนที่อยู่เบื้องหลังทั้งหมด คือ บริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์ฯ และ คุณเอ วราวุธ ที่เป็นเจ้าของบริษัท
ทำให้เริ่มติดตามทุกรายการของเครือนี้ และ ทุกรายการบอกเลยค่ะ ว่านอกจากจะได้ความบันเทิงแล้ว ยังได้สาระความรู้กลับไปอีกมากมายเลย
และที่สำคัญ รู้สึกประทับใจ คุณเอ วราวุธมากๆค่ะ เป็นคนที่มีทัศนคติดีมากๆ จนน่าจะเป็นบุคคลตัวอย่างของวงการบันเทิงเลยในปีนี้
ทำให้ดิฉันได้ไปอ่านบทสัมภาษณ์ของคุณเอ ที่ลงไว้นานแล้ว ตั้งแต่เดือนเมษา แล้วยิ่งหลงรัก ผู้ชายคนนี้มาก ๆ ค่ะ
ขออณุญาติลงคำสัมภาษณ์ดังกล่าวนะคะ อยากให้คนดีๆ แบบนี้ได้รับกำลังใจและคำชื่นชมกลับไปจากผู้ชม เพราะผลงานคุณ ทำได้ดี และมีประโยชน์ต่อคนดูมาก ๆ
แม้ไม่ได้มาทางสายนิเทศศาสตร์โดยตรง แต่หลังจากได้รับการชักชวนจาก ปัญญา นิรันดร์กุล กับ ประภาส ชลศรานนท์ ให้มาเป็นพิธีกรรายการ "ตู้ซ่อนเงิน" เมื่อ 8 ปีก่อน นับจากนั้น เอ-วราวุธ เจนธนากุล ผู้เรียนจบปริญญาโทบริหารธุรกิจจากสหรัฐอเมริกาก็ติดใจ จนในที่สุดก็เบนเข็มจากงานด้านการเงินที่เคยทำมาเป็น ประธานกรรมการบริษัทเซ้นส์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ผลิตรายการโทรทัศน์หลายรายการ และในบรรดานั้นยังรับหน้าที่ควบเป็นพิธีกรเองอีก 3 รายการ คือ ?สเต็ป ไรท์ อัพ ใครเก่ง ใครได้", "รักเอย" รวมถึง "เดอะ มันนี่ ดรอป ไทยแลนด์" เกมโชว์ที่กำลังมาแรง
จะว่าไปนอกเหนือจากละคร เกมโชว์ก็ถือเป็นอีกประเภทของรายการโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และที่ผ่านมาเกมโชว์ที่เขาทำก็มักจะได้รับการกล่าวขวัญ ดังนั้น ไม่กี่วันที่ผ่านมา นักศึกษาชั้นปี 3 คณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้า จึงพากันขอฟังเคล็ดลับ และก็ได้คำตอบเรื่อง "ความท้าทายของการบริหารองค์กรด้านผลิตรายการโทรทัศน์ ประเภทเกมโชว์ ที่เหนือกว่าภายใน 5 ปี" ดังนี้
"ถ้าเปิดบริษัททำควิซโชว์แบบโปรเฟสชั่นแนล เราจะรู้แต่ในประเทศไม่ได้ ต้องรู้ว่าโลกนี้เขาทำอะไรกัน เทรนด์เขาไปทางไหน"
อะไรที่เป็นการเปิดหูเปิดตาจึงไม่ควรพลาด ขณะเดียวกันก็ยังต้องรู้จัก "ควิซโชว์" ให้ดี รู้ว่าอะไรคือ "ปัจจัยสำคัญ" และ "เสน่ห์" ที่ขาดไม่ได้ของรายการประเภทนี้-เขาบอก
ก่อนจะพูดต่อว่า "รายการควิซมี 3-4 ปัจจัยที่สำคัญ"
"ประการแรกคือคำถาม"
ซึ่งเขาว่าควรเป็นคำถาม ที่ "ถามปุ๊บแล้วทุกคนอยากตอบ"
แถมเป็นคำตอบประเภท "ทุกคนมีความเห็นเป็นของตัวเอง"
"เช่น คิดว่าปีที่ผ่านมารถยนต์สีไหนขายดีที่สุดในประเทศไทย"
บางคนอาจคิดว่าขาว บางคนอาจเดาว่าเทา หรือดำ-คำตอบที่ถูกจะเป็นอย่างไรนั้น เขาบอกยังไม่สำคัญเท่า ทุกคนสามารถ "ตอบ" ได้
"นี่คือควิซโชว์ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ"
ขณะที่เสน่ห์ที่ 2 "อยู่ที่จังหวะเฉลย"
"เพราะหลังจากตอบออกมา ทุกคนจะอยากรู้ว่าคำตอบคืออะไร"
ซึ่รายการที่มีจังหวะเฉลยดีมากๆ นั้น มักจะเป็นรายการที่มีพิธีกรชื่อปัญญา นิรันดร์กุล ซึ่ง "เวลาเขาจะเฉลย เขาจะหยุดอยู่สักพัก เพื่อให้ทุกคนได้ลุ้น" วราวุธว่า
"ถัดมาคือไอเดียดีๆ มันไม่ลอยออกมาเอง เพราะฉะนั้นผมเชื่อในเรื่องที่ให้ทุกๆ คนมาช่วยกันคิด"
"เพราะทำทีวีไม่มีอันไหนผิด 100% ไม่มีอันไหนถูก 100% ถ้ามั่นใจว่าไอเดียดี นำเสนอเลย ผมไม่เคยพูดว่าไอเดียผมถูกนะ ถ้าผิดบอก ถ้ามีอะไรที่ดีกว่าบอก"
"แต่ละคนมุมมองไม่เหมือนกันหรอก รับฟังความคิดเห็น มาต่อยอดซึ่งกันและกัน ก็จะได้ความคิดที่ดีขึ้น"
อย่างไรก็ตาม แค่นั้นยังไม่พอ เพราะการจะทำบริษัทให้อยู่รอด รายการต้องขายได้ ซึ่งในความเห็นของเขาต้องเป็นการขายแบบ "บาลานซ์" 3 สิ่ง คือผู้ชม ที่ต้องพอใจคุณภาพรายการ เพื่อจะได้สามารถคงเรตติ้งไว้, ลูกค้า ที่พอใจเรื่องการได้โฆษณาในคุณลักษณะตามต้องการ และสถานีที่จะคำนึงถึงภาพรวมที่ออกมา
สุดท้ายเขายังว่า สิ่งสำคัญประการสุดท้ายที่ลืมไม่ได้ คือความรับผิดชอบต่อสังคม
ที่ทุกผู้ผลิตรายการทุกๆ ประเภทควรจะมี!!
แนวทางของเซนส์
"ปัจจุบันการทำรายการโทรทัศน์อาศัยความหวือหวาค่อนข้างเยอะ แตกต่างจากสมัยก่อน"
"ผมโตมากับรายการที่มีพื้นที่ให้คนดีๆ ได้ออกทีวีเยอะมาก สมัยก่อนจะเห็นเลยว่าเด็กคนนี้ไปประกวดอะไรได้ที่ 1 กลับมา จะได้ออกรายการโทรทัศน์ สมัยเด็กๆ ดูรายการโทรทัศน์ ใครได้อยู่ในจอคนนั้นต้องมีข้อดีสักอย่าง"
"แต่วันนี้หลายๆ คน หลายๆ ช่อง อาจจะเพราะโทรทัศน์มีหลายช่องมากขึ้น กลายเป็นมีพื้นที่ให้คนทำอะไรฉาวๆ มากกว่าคนดีๆ ซึ่งผมจะบอกทุกๆ คนในบริษัทเลยว่าผมรู้นะว่าเรตติ้งมันอาจจะดี แต่ผมไม่สนับสนุนให้มี อะไรที่บางคนเขาพยายามฉาว เพื่อมีพื้นที่ออกทีวี ผมไม่สนับสนุนจริงๆ"
"เรายังมีดาราดีๆ อีกเยอะ ดาราที่ตั้งใจทำงาน ที่ขายฝีมือจริงๆ"
"สนับสนุนคนแบบนี้เถอะ"