คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
เป็นไปได้ไหมที่จะเพิ่มกำลังปั้มที่ส่งน้ำให้ท่อจ่ายให้มีกำลังมากขึ้น?
เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำให้น้ำออกมีการกระจายตัวมากกว่านี้ (เหมือนบัวรดน้ำ) เนื่องจากน้ำที่รวมเป็นก้อนเดียวแบบนี้จะทำให้หน้าดินถูกชะล้าง รากพืชเกิดการหลุดลอยเสียหายได้ครับ
หรือจะเพิ่มกลไกที่ควบคุมการจ่ายน้ำด้านใดด้านหนึ่งจะได้หรือไม่ จะมีผลต่อการควบคุมเรือหรือไม่ครับ? เผื่อกรณีแปลงผักด้านเดียวหรือเว้นจังหวะบางจุดที่ไม่ต้องการให้เปียก
ไอเดียโดยรวมถือว่าโอเคแล้วครับ เรื่องความเร็วไม่ต้องซีเรียสเพราะการให้น้ำที่ดีคือให้น้อยๆ แต่ทั่วถึงและต่อเนื่องพอที่จะซึมถึงราก การพ่นแรงๆเป็นก้อนๆน้ำจะไม่ซึมลงดินแต่จะพาหน้าดินกระจายออกแทนครับ
เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำให้น้ำออกมีการกระจายตัวมากกว่านี้ (เหมือนบัวรดน้ำ) เนื่องจากน้ำที่รวมเป็นก้อนเดียวแบบนี้จะทำให้หน้าดินถูกชะล้าง รากพืชเกิดการหลุดลอยเสียหายได้ครับ
หรือจะเพิ่มกลไกที่ควบคุมการจ่ายน้ำด้านใดด้านหนึ่งจะได้หรือไม่ จะมีผลต่อการควบคุมเรือหรือไม่ครับ? เผื่อกรณีแปลงผักด้านเดียวหรือเว้นจังหวะบางจุดที่ไม่ต้องการให้เปียก
ไอเดียโดยรวมถือว่าโอเคแล้วครับ เรื่องความเร็วไม่ต้องซีเรียสเพราะการให้น้ำที่ดีคือให้น้อยๆ แต่ทั่วถึงและต่อเนื่องพอที่จะซึมถึงราก การพ่นแรงๆเป็นก้อนๆน้ำจะไม่ซึมลงดินแต่จะพาหน้าดินกระจายออกแทนครับ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
อนุรักษ์พลังงาน
การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมศาสตร์
เทคโนโลยี
เกษตรกรรม
แชร์ไอเดีย สิ่งประดิษฐ์เพื่อเกษตรกร คนรุ่นใหม่
.
วันนี้ขอเข้ามา ขอคำแนะนำ ขอไอเดีย
.
ในการทำสิ่งประดิษฐ์เพื่อชาวเกษตรกร หน่อยครับ
.
เบื้องต้นผมได้ทำการสร้าง " เรือรดน้ำพลังงานไฟฟ้าบังคับด้วยรีโมท" ขึ้นมา
.
โครงสร้างเรือ เป็นการนำท่อ PVC มาประกอบต่อๆกันเป็นลำเรือ แล้วทำการใส่มอเตอร์(ปั้มแช่ 12V 3A) จำนวน 3 ตัว เข้าไปที่ส่วนท้ายของลำเรือทำหน้าเป็นตัวขับเคลื่อนตัวเรือ (เดินหน้า เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา)
.
ยังไม่สามารถถอยหลังได้ เนื่องจากเป็นการนำเอามอเตอร์ปั้มแช่ ที่มีหลักการทำงาน สูบน้ำจากด้านใต้แล้วปล่อยน้ำออก เพื่อดันตัวเรือไปด้านหน้า
.
ในอนาคต ถ้ามีความจำเป็น หรือความเหมาะสมที่จะต้องทำถอยหลังด้วย ก็สามารถทำได้
.
สามารถบังคับทิศทางตัวเรือ ได้ด้วยการสั่งงานผ่านรีโมท(รถบังคับ)
.
พลังงานที่ใช้มาจากการรับมาจากแผงโซล่าเซลล์ ผ่านโซล่าชาร์จเจอร์แล้วทำการบรรจุลงแบตเตอรี่ Lipo(ที่เลือกใช้เพราะมีน้ำหนักเบา)
.
- ถามว่าการชาร์จพลังงานจากโซล่าเซลล์เพียงพอต่อการใช้งานหรือเปล่า
- ตอบ ณ ตอนนี้ยังไม่เพียงพอ ต้องอาศัยการชาร์จจากไฟฟ้าภายในบ้านเพิ่มเติม เนื่องจากสิ่งประดิษฐ์ยังเป็นตัวต้นแบบ ในอนาคตคงต้องเพิ่มจำนวนแผงโซล่าเซลล์หรือ ทำการติดตั้งโซล่าเซลล์บนแปลงแทน เพื่อลดน้ำหนักของตัวเรือ แต่ที่นำโซล่าเซลล์มาติดในตัวเรือ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นเลือกใช้พลังงานสะอาดด้วย
.
แรงบันดาลใจที่ทำให้สร้างเรือลำนี้ขึ้นมาเพื่อ
1.อยากนำเอาเทคโนโลยีที่มีอยู่รอบๆตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์
2.เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น
3.เพื่อช่วยพลักดันให้มีการนำพลังงานสะอาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
4.เพื่อช่วยลดจำนวนแรงงานลง
.
.
ระบบเก่าเป็นยังไง ?
1.เรือรดน้ำใช้เครื่องยนต์เบนซิล
1.1เกษตรกรนั่งบนเรือ
1.2ใช้เกษตรกรลากจูงเรือ 2 คน
.
.
สิ่งที่จะมาขอคำแนะนำจากพี่ๆ คือ
พอจะมีปัญหาอะไรอีกที่เกิดจากการรดน้ำผักในแปลงเกษตร แล้วเรือลำนี้สามารถอำนวยความสะดวกได้อีก เพื่อนำไปต่อยอดแล้วนำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจต่อไป
.
จะเป็นปัญหาอะไรก็ได้ครับ ที่เกิดขึ้นในแปลงเกษตร หรือ งานทางด้านการเกษตร ผมจะได้นำมาวิเคราะห์และช่วยสร้างสิ่งประดิษฐ์ ที่จะมาช่วยแบ่งเบาภาระ แก้ปัญหาให้กับชาวเกษตรกรต่อไป
.
ไม่ว่ามันจะยาก หรือ ง่ายเพียงใด ผมยินดีรับฟังความคิดเห็นของทุกๆท่านครับ
.
ณ ตอนนี้ผมได้ไอเดียมาจากรุ่นพี่ ท่านหนึ่ง เขาให้ติดระบบวัดค่า pH ของน้ำ แล้วส่งไปเก็บไว้บนคลาวด์ แล้วทำระบบแจ้งเตือนผ่านทางมือถือ เพื่อทำการตรวจเช็คคุณภาพของน้ำได้
.
ประโยชน์หลักๆ ที่จะแก้ปัญหาได้คือ เช่น ชาวประมงริมแม่น้ำ มีการเลี้ยงปลาไว้ในกระชัง ถ้าหากมีน้ำเน่าเสียทางต้นน้ำ ถ้านำเรือลำนี้ไปไว้ทางต้นน้ำ ชาวประมงก็ทราบได้ทันทีว่าทางต้นน้ำ น้ำเกิดการเน่าเสีย ชาวประมงจะได้ทำการนำปลาในกระชังขึ้นจากน้ำได้ทันถ่วงที ก่อนที่ปลาจะตายยกกระชัง
คลิปนี้เป็นเรือรดน้ำตัวต้นแบบครับ
ครั้งที่ 1
.
ครั้งที่ 2
.
ขอบคุณครับ
.
.
.