เจาะลึก BDMS เจ้าพ่อกลุ่มโรงพยาบาล!

กระทู้สนทนา
หลังจากที่ผมได้ทำการวิเคราะห์หุ้น BA หรือการบินกรุงเทพไปก็พบว่าผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนเดียวกับ BDMS คือบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ


ว่ากันด้วยเป้าหมายของบริษัทจะเป็นโรงพยาบาลตติยภูมิ คือรักษาเฉพาะทาง ที่เป็นเลิศ และมาตรฐานระดับสากล ส่วนสาเหตุว่าทำไมน่จะมาจาก link นี้ครับ

การแบ่งเกรด
http://www.thcc.or.th/download/GIS54.pdf


ซึ่งจากรูปจะเห็นว่าความต้องการนั้นในระดับตติยภูมินั้นอัตราส่วนน้อยกว่า เพราะเป็นโรคเฉพาะทาง แต่โรคที่ว่าคือ มะเร็ง หัวใจ โรคยอดฮิตของคนไทยทั้งนั้นครับ

financial

โดยรวมผมว่าบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินน้อยมาก ๆ  แต่สินทรัพย์หมุนเวียนกลับพอๆ กับหนี้สินหมุนเวียน


ในขณะเดียวกันบริษัทมีกำไรจำนวนมหาศาลในแต่ละงวด คิดว่าคงไม่ต้องกังวลในเรื่องหนี้สินเท่าใดนัก

มาดูภาพรวมธุรกิจดีกว่า ณ สิ้นปี 57 มีจำนวนเตียงรวมทั้งสิ้น 6,521 เตียง ซึ่งถ้าเทียบให้เทียบได้กับ จำนวนห้องโรงแรม โดยรายได้แปรผันตามจำนวนเตียงครับ

โดยภาพรวมธุรกิจสุขภาพในประเทศไทยเติบโตค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศ และกับประเทศไทยที่เข้าสู่สังคมสูงอายุทำให้ความต้องการด้านโรงพยาบาลและสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้นประเทศไทยยังจะกลายเป็นสังคมชนชั้นกลางที่มากขึ้น จากผลสำรวจ GDP per capita เพิ่มขึ้น จาก 136,918 บาทเป็น 174,376 บาทหรือเติบโตในอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้น ร้อยละ5.0 ระหว่างปีพ.ศ.2551ถึงปีพ.ศ. 2556

และอีกประเด็นคือการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในไทยเติบโตอย่างมากถึงร้อยละ 24 โดยมีมูลค่ารวม แสนสองหมื่นล้านในปี 2555 ตามข้อมูลจากกระทรวง ซึ่งตรงนี้สาเหตุหลักน่าจะมาจากค่าใช้จ่ายในบ้านเรานับว่าถูกกว่าสิงคโปร์และอเมริกาค่อนข้างมาก (ถูกกว่า us 86% และถูกกว่า สิงคโปร์ 19.8%)

บวกกับการเติบโตของประกันสุขภาพในไทย อ่านมาถึงตรงนี้ชักเริ่มสนใจธุรกิจประกันเสียแล้ว (ฮา)

มาดู Market Size กันบ้าง
กระทรวงสาธารณสุขระบุว่าในปี พ.ศ. 2555 ประเทศไทยมีจาํ นวนโรงพยาบาลทั้งหมด 1,348 แห่ง และมี จำนวนเตียงทั้งหมด 146,994 เตียง ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลภาครัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 76 ของจำนวนโรงพยาบาล ทั้ง หมด และประมาณร้อยละ 79 ของจำนวนเตียงทั่งหมด

ซึ่งจำนวนเตียงต่อประชากร 10,000 คนของเราเกือบเทียบเท่าประเทศพัฒนาแล้วเลยทีเดียวครับเรามี 21 ต่อ 10,000 คน ในขณะที่ อเมริกามี 29, อังกฤษ 29 ญี่ปุ่นโดดไปอยู่ที่ 137

ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์เรากลับน้อยกว่ามาก ๆ โดยเรามีเพียง 23 คนต่อ 10,000 คน ในขณะสิงคโปร์และมาเลเซียมีจำนวน 87 และ 49 คนตามลำดับ ซึ่งตรงนี้ผมว่าบริษัทมีข้อได้เปรียบคือการเป็นโรงพยาบาลเอกชนสามารถให้ผลตอบแทนหมอได้มากกว่า เพื่อดึงหมอเก่งๆ เข้ามาร่วมงาน และยังลงทุนตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาร่วมกับมหาลัยในต่างประเทศเป็นจำนวนมากเพื่อพัฒนาคนอีกด้วย

Risk
มาดูความเสี่ยงกันบ้าง หลักๆ คือแม้การรักษาจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ แต่ก็ต้องยอมรับว่าคนเราเข้าโรงพยาบาลเอกชนก็หนักกระเป๋าอยู่เหมือนกัน บางคนเลือกที่จะเลื่อนการรักษา หรือเข้าโรงพยาบาลรัฐเพื่อหาตัวเลือกที่ถูกกว่า

อีกจุดหนึ่งคือความเสี่ยงในเรื่องบุคลากร เพราะประเทศไทยภาครัฐยังเป็นตัวหนุนหลักๆ  ในการผลิตหมอและพยาบาล ซึ่งบริษัทก็ลงทุนในเรื่องนี้ค่อนข้างเยอะและตั้งเงินเดือนที่เหมาะสม

และมีประเด็นฟ้องร้องทางกฎหมายด้วยกรณีคนไข้ฟ้องโรงพยาบาล แต่ปัจจุบันยังไม่มีเคสครับ

อีกประเด็นคือลูกค้าชาวต่างชาติซึ่งไปผูกกับการท่องเที่ยวเป็นหลัก ในกรณีที่มีผลกระทบจากการท่องเที่ยวก็อาจจะกระทบกับรายได้เพราะชาวต่างชาติไม่อยากมากรณีเกิดเหตุขึ้นครับ

อีกประเด็นคือเรื่อง dilution อันนี้น่าจะเป็นความเสี่ยงของผู้ถือหุ้น โดยบริษัทได้มีการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ คือสามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นได้ อัตรา dilution จะอยู่ประมาณ 3% กว่า ๆ ครับ

ทิ้งท้ายกับรายได้อีกนิดหนึ่งกับจำนวนเตียง (สิ้นปี 57) ที่ 6,521 เตียงเมื่อเทียบกับรายได้จากการรักษาพยาบาลแล้ว 54,341 ล้านบาท ก็ตกอยู่ที่ประมาณ 8 ล้านกว่าบาท ต่อเตียง (จริงๆ คิดอย่างนี้คร่าวเกินไปนะครับ ต้องมีค่าแรงหมอพยาบาล ยาอีก) ก็น่าจะพอเห็นภาพนะครับว่า โดยหลักแล้วการขยายการสร้างรายได้ ถ้าคำนวณก็พอจะเห็นภาพว่าเพิ่มเตียงแล้วรายได้ก็เพิ่มตามกัน

กลยุทธ์
โดยบริษัทเน้นใช้กลยุทธ์ M&A หรือ Merge & Acquisition โดยการเข้าซื้อและรวมกิจการเพื่อขยายตัวทำให้อัตราเติบโตสูงมาก และใช้การสร้างเครือข่ายโรงพยาบาลเพื่อให้เกิด economy of scale ผมมองว่าเป็นการตีชิงพื้นที่ไปด้วย เช่น เข้าซื้อโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงในพื้นที่นั้นอยู่แล้วทำให้ไม่ต้องสร้างฐานคนไข้ใหม่ ได้บุคลากรในพื้นที่ด้วยอีกต่อหนึ่ง แต่ก็เช่นเดียวกันว่ากลยุทธ์นี้ p/e จะค่อนข้างสูงเพราะจะต้องตัดค่าเสื่อมและค่า goodwill ที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการ และบริษัทอาจจะต้องออกหุ้นกู้หรือระดมทุนด้วยการเพิ่มทุนเพิ่มอีก แต่ดูจากแนวโน้มแล้วบริษัทน่าจะขยับขยายในประเทศได้อีก และยังไปลุยในลาว พม่า อีกถ้าสามารถออกจากประเทศไทยไปรุกตลาด AEC ได้ผมว่ายังขยายได้อีกเยอะ

My Take
Recommend
ดูจากอัตราการเติบโตและฐานะทางการเงินที่ค่อนข้างแข็งแกร่งแล้ว ผมถือว่าหุ้นตัวนี้เสี่ยงไม่สูงเลยนะในระยะยาว ซึ่งมองจากความเสี่ยงแล้วผมกลับไม่เห็นจุดที่จะ make or break บริษัทได้โดยง่าย แต่หุ้นตัวนี้น่าจะเข้าข่ายหุ้นเติบโต ซึ่งคงจะปันผลน้อยและ p/e สูง และอาจจะมีการเพิ่มทุนขึ้นไปอีก ผมเคยอยากจะซื้อแต่คิดว่าแพงไป (ไม่ชอบหุ้น p/e สูงๆ ครับ) แต่หุ้นมันก็ขึ้นแล้วขึ้นอีกเลยไม่ได้ซื้อจนทุกวันนี้ (ฮา)

Disclaimer:
ผมไม่มีหุ้นตัวนี้ และจะไม่เข้าซื้อภายใน 72 ชั่วโมงครับ

อ้างอิง:
http://www.finmoment.com/เจาะลึก-bdms-โรงพยาบาล/

ไปอ่านหุ้นโรงพยาบาลตัวอื่นกันบ้างครับ
http://ppantip.com/topic/34464147

ไปอ่านหุ้นตัวอื่นๆ ได้ที่:
http://www.finmoment.com

ปล. ถึง admin Pantip ไม่มี tag BDMS นะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่