เป็นรีวิวแรกอาจบกพร่องไปบ้างต้องขออภัย แต่อยากชวนทุกคนมาเที่ยวเมืองตรัง ซึ่งนอกจากทะเลสวย หาดทรายขาวแล้ว ในตัวเมืองตรังซึ่งเป็นย่านการค้าแต่โบราณ นอกจากของกินสารพัด โดยเฉพาะที่เลื่องชื่ออย่าง ติ่มซำสารพัดชนิด หมูย่างเมืองตรัง ขนมเค้ก ฯลฯ แล้ว
ยามเช้ากับติ่มซ่ำเมืองตรัง
หมูย่างเมืองตรัง
ตึกรามบ้านช่องในย่านตลาดทับเที่ยง ยังมีมนต์สเน่ห์ชวนหลงใหล ด้วยสถาปัตยกรรมที่เรียกกันติดปากว่า ชิโนโปรตุกิส ประกอบกับภูมิประเทศแบบเนินสลับที่ราบ ตรอกซอกซอยเล็กๆที่ยังคงความดั้งเดิมและสงบ จึงเหมาะแก่การเดินเที่ยวรวมถึงการปั่นจักรยาน
ภาพถ่ายมุมสูงเมืองทับเที่ยง
ถนนราชดำเนิน ถนนสายแรกๆในย่านการค้าเมืองทับเที่ยง
ใครมาตรังช่วงนี้เชิญชม “โครงการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม : ทับเที่ยง Vernadoc” ระหว่างวันที่ 13-22 พฤศจิกายน 2558 โดย “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง” ภายใต้การสนับสนุนของ “คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง” โดยกิจกรรมหลัก คือ การปฏิบัติการสำรวจและรังวัดอาคารที่เป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมในเมืองทับเที่ยงจำนวนทั้งสิ้น 12 อาคาร โดยเทคนิครังวัดแบบใช้ลายเส้น (Vernadoc)
“โครงการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม : ทับเที่ยง Vernadoc” ระหว่างวันที่ 13-22 พฤศจิกายน 2558
ตึกร้านสิริบรรณของตระกูลพิตรปรีชา(บ้านคุณจิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรซ์ชาวตรัง ในวัยเด็ก)
จะมีนิทรรศการ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 ณ สมาคมจีนฮากกา(แคะ) ถนนราชดำเนิน ซอย 5 ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง พิธีเปิดเวลา 13.00 น. โดย นายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ชมกันยาวๆ พร้อมรับฟังเสวนาจากวิทยากรด้านการอนุรักษ์เมืองเก่าใน 18.00 น. พบกับกิจกรรมมากมาย อาทิ นิทรรศการภาพถ่ายเมืองทับเที่ยง ภาพหายาก การแสดงทำอาหาร-ขนมโบราณ ตลอดจนกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมอื่นๆอีกมากมาย
ตึกสามชั้นตระกูลไทรงาม ราชดำเนินซอย 5
ซุ้มโค้งครอบทางเดิน เอกลักษณ์ของสถาปัตยหกรรมชิโนยูโรเปียน สถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม บนถนนกันตัง
“เมืองทับเที่ยง” หรือ เทศบาลนครตรัง เป็นเมืองที่เก่าแก่มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานมากว่า 200 ปี มีหลักฐานปรากฏชัดเจนถึงความรุ่งเรืองของเมืองทับเที่ยงในฐานะเองท่าค้าขายที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ ดึงดูดให้กลุ่มคนจากหลากหลายชาติพันธ์เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ย่านใจกลางทำให้เกิดสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะอันเกิดจากการผสมผสานกันของวัฒนธรรม
วิหารคริสจักรตรังอายุ100ปี
เรือนแถวไม้แบบจีนในยุคแรกๆ
ในปัจจุบันจึงถือได้ว่า “เมืองทับเที่ยง” เป็นแหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่ามากแห่งหนึ่งของประเทศไทย ประกอบกับใน พ.ศ. 2558-2559 นี้ เป็นช่วงก้าวย่างสู่การครบรอบ 100 ปี แห่งการเป็นศูนย์กลางการปกครองของ “เมืองทับเที่ยง”
ความสงบในยามค่ำคืนตามตรอกซอกซอยของทับเที่ยง
จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจที่สืบทอดมายาวนานนี้เองเป็นแรงดึงดูดให้กลุ่มคนจากหลากหลายชาติพันธ์เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ย่านใจกลางก็ให้เกิดสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะอันเกิดจากการผสมผสานกันของวัฒนธรรม ทั้งสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นดั้งเดิม สถาปัตยกรรมเรือนแถวไม้แบบจีน สถาปัตยกรรมตึกแถวแบบจีน อาคารตึกแถวแบบชิโนยูโรเปียน สถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับเมืองปปีนังในมาเลเซีย
ตุ๊กๆหัวกบเมืองตรัง
ในเมืองทับเที่ยง มีสมาคมจีนมากมายมาแต่โบราณ
สมาคมญาติมิตรสามัคคี ถนนกันตัง
ภายในสมาคมจีนฮากกา(แคะ) ถนนราชดำเนิน ซอย 5 ได้บันทึกเรื่องราวไว้มากมาย
ทับเที่ยง เมืองนิ่ง แต่สงบ มีมนต์เสน่ห์ซ่อยอยู่ภายใน รอคุณมาเยือน
(ขอบคุณภาพประกอบจาก : คุณปกรณ์กานต์ ทยานศิลป์ , คณะทำงาน 100ปี เมืองทับเที่ยง , เครือข่าย Trang Positive , ภาพถ่ายทางอากาศ โดย จรุวัฒน์ จำปา คณะทำงานหนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี โรงพยาบาลศูนย์ตรัง)
ผังรอบเกาะทับเที่ยง จุดที่เป็นสีคือกลุ่มอาคารเก่า ซึ่งยังคงความหาแน่นและดั้งเดิม
หอนาฬิกาไฮไลท์ของเมืองตรัง
[CR] ชวนเที่ยว ทับเที่ยง เมืองตรัง
ยามเช้ากับติ่มซ่ำเมืองตรัง
หมูย่างเมืองตรัง
ตึกรามบ้านช่องในย่านตลาดทับเที่ยง ยังมีมนต์สเน่ห์ชวนหลงใหล ด้วยสถาปัตยกรรมที่เรียกกันติดปากว่า ชิโนโปรตุกิส ประกอบกับภูมิประเทศแบบเนินสลับที่ราบ ตรอกซอกซอยเล็กๆที่ยังคงความดั้งเดิมและสงบ จึงเหมาะแก่การเดินเที่ยวรวมถึงการปั่นจักรยาน
ภาพถ่ายมุมสูงเมืองทับเที่ยง
ถนนราชดำเนิน ถนนสายแรกๆในย่านการค้าเมืองทับเที่ยง
ใครมาตรังช่วงนี้เชิญชม “โครงการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม : ทับเที่ยง Vernadoc” ระหว่างวันที่ 13-22 พฤศจิกายน 2558 โดย “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง” ภายใต้การสนับสนุนของ “คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง” โดยกิจกรรมหลัก คือ การปฏิบัติการสำรวจและรังวัดอาคารที่เป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมในเมืองทับเที่ยงจำนวนทั้งสิ้น 12 อาคาร โดยเทคนิครังวัดแบบใช้ลายเส้น (Vernadoc)
“โครงการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม : ทับเที่ยง Vernadoc” ระหว่างวันที่ 13-22 พฤศจิกายน 2558
ตึกร้านสิริบรรณของตระกูลพิตรปรีชา(บ้านคุณจิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรซ์ชาวตรัง ในวัยเด็ก)
จะมีนิทรรศการ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 ณ สมาคมจีนฮากกา(แคะ) ถนนราชดำเนิน ซอย 5 ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง พิธีเปิดเวลา 13.00 น. โดย นายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ชมกันยาวๆ พร้อมรับฟังเสวนาจากวิทยากรด้านการอนุรักษ์เมืองเก่าใน 18.00 น. พบกับกิจกรรมมากมาย อาทิ นิทรรศการภาพถ่ายเมืองทับเที่ยง ภาพหายาก การแสดงทำอาหาร-ขนมโบราณ ตลอดจนกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมอื่นๆอีกมากมาย
ตึกสามชั้นตระกูลไทรงาม ราชดำเนินซอย 5
ซุ้มโค้งครอบทางเดิน เอกลักษณ์ของสถาปัตยหกรรมชิโนยูโรเปียน สถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม บนถนนกันตัง
“เมืองทับเที่ยง” หรือ เทศบาลนครตรัง เป็นเมืองที่เก่าแก่มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานมากว่า 200 ปี มีหลักฐานปรากฏชัดเจนถึงความรุ่งเรืองของเมืองทับเที่ยงในฐานะเองท่าค้าขายที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ ดึงดูดให้กลุ่มคนจากหลากหลายชาติพันธ์เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ย่านใจกลางทำให้เกิดสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะอันเกิดจากการผสมผสานกันของวัฒนธรรม
วิหารคริสจักรตรังอายุ100ปี
เรือนแถวไม้แบบจีนในยุคแรกๆ
ในปัจจุบันจึงถือได้ว่า “เมืองทับเที่ยง” เป็นแหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่ามากแห่งหนึ่งของประเทศไทย ประกอบกับใน พ.ศ. 2558-2559 นี้ เป็นช่วงก้าวย่างสู่การครบรอบ 100 ปี แห่งการเป็นศูนย์กลางการปกครองของ “เมืองทับเที่ยง”
ความสงบในยามค่ำคืนตามตรอกซอกซอยของทับเที่ยง
จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจที่สืบทอดมายาวนานนี้เองเป็นแรงดึงดูดให้กลุ่มคนจากหลากหลายชาติพันธ์เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ย่านใจกลางก็ให้เกิดสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะอันเกิดจากการผสมผสานกันของวัฒนธรรม ทั้งสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นดั้งเดิม สถาปัตยกรรมเรือนแถวไม้แบบจีน สถาปัตยกรรมตึกแถวแบบจีน อาคารตึกแถวแบบชิโนยูโรเปียน สถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับเมืองปปีนังในมาเลเซีย
ตุ๊กๆหัวกบเมืองตรัง
ในเมืองทับเที่ยง มีสมาคมจีนมากมายมาแต่โบราณ
สมาคมญาติมิตรสามัคคี ถนนกันตัง
ภายในสมาคมจีนฮากกา(แคะ) ถนนราชดำเนิน ซอย 5 ได้บันทึกเรื่องราวไว้มากมาย
ทับเที่ยง เมืองนิ่ง แต่สงบ มีมนต์เสน่ห์ซ่อยอยู่ภายใน รอคุณมาเยือน
(ขอบคุณภาพประกอบจาก : คุณปกรณ์กานต์ ทยานศิลป์ , คณะทำงาน 100ปี เมืองทับเที่ยง , เครือข่าย Trang Positive , ภาพถ่ายทางอากาศ โดย จรุวัฒน์ จำปา คณะทำงานหนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี โรงพยาบาลศูนย์ตรัง)
ผังรอบเกาะทับเที่ยง จุดที่เป็นสีคือกลุ่มอาคารเก่า ซึ่งยังคงความหาแน่นและดั้งเดิม
หอนาฬิกาไฮไลท์ของเมืองตรัง