ถึงแม้ว่าโปรเจ็ค Google Glass แว่นตาอัจฉริยะของกูเกิลจะไม่ได้ประสบความสำเร็จตามอย่างที่บริษัทคาดหวังไว้ แต่กระนั้น กูเกิลก็ยังคงไม่ล้มเลิกต่อเทคโนโลยีที่ปั้นมากับมือง่ายๆ เมื่อล่าสุดมีรายงานว่า ทีมงานที่อยู่เบื้องหลังโปรเจ็คได้พร้อมใจกันลุกขึ้นปัดฝุ่นโครงการดังกล่าวอีกครั้งในชื่อใหม่ว่า Project Aura และปัจจุบันก็กำลังซุ่มพัฒนาดีไวซ์สามเวอร์ชั่น
แหล่งข่าวให้ข้อมูลว่า ดีไวซ์ทั้งสามตัวของกูเกิล หนึ่งในนั้นจะเป็นดีไวซ์ที่มีหน้าจอและมีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าองค์กร ขณะที่อีกสองดีไวซ์ จะเน้นไปที่เรื่องของเสียง และจะเจาะกลุ่มลูกค้าแนวสปอร์ต เหมือนอย่าง Google glass รุ่นแรก หรืออธิบายง่ายๆ ว่า มันคือ 'หูฟังที่สวมใส่บนใบหน้า'
ส่วนผู้ดูแลโปรเจ็ค ยังคงได้รับการนำทีมโดย Tony Fadell ผู้ร่วมก่อตั้ง Nest ซึ่งเคยทำงานด้านการออกแบบที่แอปเปิล นอกจากนี้ทีมงานยังได้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเสียง ที่กูเกิลคว้าตัวมาหลังจากที่ Amazon.com เทกระจาดวิศวกรจาก Lab126 เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ มีหลายเหตุผลว่า ทำไมโปรเจ็คแว่นตาอัจฉริยะของกูเกิลจึงไม่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ หนึ่งในนั้นอาจเป็นเพราะมันปรากฏอยู่บนใบหน้าชัดเจนและการที่มีการติดตั้งกล้องไว้ด้วย ก็อาจะทำให้เกิดการใช้งานในทางที่ผิด ซึ่งการที่กูเกิล ตัดสินใจเบนเข็มไปหาลูกค้าองค์กร และการละทิ้งหน้าจอก็น่าจะเป็นการพิสูจน์ได้ดี
ที่มา
TechSpot
ลือ กูเกิล ปัดฝุ่นโครงการ Google Glass ใหม่ พัฒนา 'หูฟัง' แทนแว่น
ถึงแม้ว่าโปรเจ็ค Google Glass แว่นตาอัจฉริยะของกูเกิลจะไม่ได้ประสบความสำเร็จตามอย่างที่บริษัทคาดหวังไว้ แต่กระนั้น กูเกิลก็ยังคงไม่ล้มเลิกต่อเทคโนโลยีที่ปั้นมากับมือง่ายๆ เมื่อล่าสุดมีรายงานว่า ทีมงานที่อยู่เบื้องหลังโปรเจ็คได้พร้อมใจกันลุกขึ้นปัดฝุ่นโครงการดังกล่าวอีกครั้งในชื่อใหม่ว่า Project Aura และปัจจุบันก็กำลังซุ่มพัฒนาดีไวซ์สามเวอร์ชั่น
แหล่งข่าวให้ข้อมูลว่า ดีไวซ์ทั้งสามตัวของกูเกิล หนึ่งในนั้นจะเป็นดีไวซ์ที่มีหน้าจอและมีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าองค์กร ขณะที่อีกสองดีไวซ์ จะเน้นไปที่เรื่องของเสียง และจะเจาะกลุ่มลูกค้าแนวสปอร์ต เหมือนอย่าง Google glass รุ่นแรก หรืออธิบายง่ายๆ ว่า มันคือ 'หูฟังที่สวมใส่บนใบหน้า'
ส่วนผู้ดูแลโปรเจ็ค ยังคงได้รับการนำทีมโดย Tony Fadell ผู้ร่วมก่อตั้ง Nest ซึ่งเคยทำงานด้านการออกแบบที่แอปเปิล นอกจากนี้ทีมงานยังได้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเสียง ที่กูเกิลคว้าตัวมาหลังจากที่ Amazon.com เทกระจาดวิศวกรจาก Lab126 เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ มีหลายเหตุผลว่า ทำไมโปรเจ็คแว่นตาอัจฉริยะของกูเกิลจึงไม่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ หนึ่งในนั้นอาจเป็นเพราะมันปรากฏอยู่บนใบหน้าชัดเจนและการที่มีการติดตั้งกล้องไว้ด้วย ก็อาจะทำให้เกิดการใช้งานในทางที่ผิด ซึ่งการที่กูเกิล ตัดสินใจเบนเข็มไปหาลูกค้าองค์กร และการละทิ้งหน้าจอก็น่าจะเป็นการพิสูจน์ได้ดี
ที่มา TechSpot