อริยมรรคมรรค มีองค์ ๘ นี้ เมื่อย่อลงก็จะได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา แต่เมื่อจะย่อลงอีกก็จะได้เป็น สมาธิกับปัญญา (ที่เรียกว่าสมถะและวิปัสสนา) เพราะการที่เราจะมีสมาธิได้ จะต้องมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่แล้วตลอดเวลา ถ้าไม่มีศีลก็ย่อมจะไม่มีสมาธิ ซึ่งในส่วนของศีลและสมาธินั้นจะมีเนื้อหาไม่มาก แต่ส่วนที่มีเนื้อหามากและสำคัญที่สุดก็คือเรื่องปัญญา เพราะปัญญาเป็นเหมือนดวงตาที่ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้อย่างแจ่มชัด ถ้าขาดดวงตาก็เท่ากับเรามองไม่เห็นสิ่งต่างๆตามที่มันเป็นอยู่จริง เมื่อไม่มีดวงตาเราก็จะมืดมน และมีโอกาสที่จะทำอะไรๆที่ผิดพลาดได้ง่าย เพราะเราต้องอาศัยคนอื่นช่วยชี้นำ ถ้าบังเอิญคนชี้นำดวงตาไม่บอด เราก็โชคดีไป แต่ถ้าบังเอิญคนชี้นำก็ตาบอดเหมือนเรา ก็จะทำให้เราก็จะเดินหลงทางได้โดยไม่รู้ตัว
พุทธศาสนา (ที่แท้จริง) เป็นศาสนาที่ใช้ปัญญานำหน้าการปฏิบัติ ดังนั้นพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาของผู้มีความรู้ทางโลก ที่เขามีเหตุผล ยอมรับความจริง และมีจิตใจดีงาม (พุทธศาสนาในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นแค่เปลือกๆ ยังไม่ใช่แท้จริง เพราะใช้ความเชื่อนำหน้าการปฏิบัติ จึงมีแต่เรื่องที่งมงาย ไร้สาระ ไม่มีเหตุผล พิสูจน์ไม่ได้ และไม่เป็นประโยชน์แก่มนุษย์อย่างแท้จริง) แต่คนดีมีความรู้เช่นนี้ก็มีน้อยมากในโลก นี่เองที่ทำให้พุทธศาสนาในปัจจุบันกลายเป็นศาสนาที่มีแต่เรื่องความเชื่ออยู่เต็มไปหมด จนคนดีมีความรู้เขาไม่ค่อยสนใจมาศึกษา แต่ถ้าเรานำเอาเรื่องปัญญามาให้เขา ก็จะสนใจทันที
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจคำว่าปัญญานี้ก่อน คือคำว่า ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ หรือ รู้รอบ คือหมายถึงว่า เมื่อเราได้เรียนรู้สิ่งใดหรือเรื่องใดแล้ว เราได้รู้สิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นอย่างครบถ้วนเท่าที่จำเป็นจะต้องรู้ แต่ถ้ารู้ไม่ครบถ้วนก็ยังไม่เรียกว่าเป็นปัญญา เปรียบเหมือนกับการที่เราจะศึกษาสระน้ำ เราก็ต้องรู้ให้ครบทั้งความกว้าง ความยาว และความลึก จึงจะเรียกว่ามีปัญญา แต่ถ้าเราเอาแต่มองที่บนสระ เราก็จะได้แค่ความกว้างความยาวของสระเท่านั้น แต่ไม่รู้ถึงความลึก อย่างนี้ไม่เรียกว่ามีปัญญา เราต้องลงไปวัดความลึกของก้นสระในแต่ละจุดด้วย เราจึงจะรู้ครบหรือรอบรู้ หรือมีปัญญาในเรื่องนี้ได้
คำว่า ความรอบรู้ (หรือปัญญา) ของพุทธศาสนานี้ ไม่ได้หมายถึงว่า จะต้องรู้ไปหมดทุกเรื่อง (ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะไปรู้อะไรได้หมดทุกเรื่อง) คือมันหมายถึงว่า รู้เท่าที่จำเป็นจะต้องรู้ หรือเท่าที่ควรจะรู้ ซึ่งก็คือเมื่อรู้แล้วมันดับทุกข์ได้จริงก็เป็นอันว่าได้รู้เท่าที่จำเป็นจะต้องรู้แล้ว (ถึงจะรู้ไปมากกว่านี้ก็เป็นแค่ของแถม เช่น รู้รายละเอียดมากจนสามารถสอนคนอื่นได้ หรือรู้วาระจิตของคนอื่นได้ เป็นต้น)
คำว่าปัญญานี้ในทางโลกจะใช้คำว่า ความรู้ แทน (ถ้าใช้คำว่าปัญญาอาจทำให้เข้าใจสับสนกับคำว่าปัญญาในทางศาสนา) คือเมื่อเราได้เรียนรู้เรื่องใดน้อย เราก็มีความรู้ในเรื่องนั้นน้อย ถ้าเรามีความรู้ในเรื่องใดมาก เราก็มีความรูในเรื่องนั้นมาก ส่วนในทางพุทธศาสนานั้น คำว่า ปัญญา จะหมายถึง ความรอบรู้ในเรื่องการดับทุกข์ (หรือพ้นทุกข์ หรือไม่มีทุกข์) คือพระพุทธเจ้าจะสอนเฉพาะเรื่องการดับทุกข์เท่านั้น เพราะเรื่องความทุกข์นี้เป็นภัยอันใหญ่หลวงของชีวิต ที่เราจะต้องรีบหาทางแก้ไข (หรือดับหรือทำลาย) และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับชีวิตอีกต่อไปตลอดเท่าที่จะยังมีชีวิตอยู่นี้ ดังนั้นการที่เรามีความรอบรู้ในเรื่องการดับทุกข์อย่างถูกต้อง ก็เรียกว่าเรามีปัญญาตามหลักพุทธศาสนาแล้ว
ปัญญาของอริยมรรค
พุทธศาสนา (ที่แท้จริง) เป็นศาสนาที่ใช้ปัญญานำหน้าการปฏิบัติ ดังนั้นพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาของผู้มีความรู้ทางโลก ที่เขามีเหตุผล ยอมรับความจริง และมีจิตใจดีงาม (พุทธศาสนาในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นแค่เปลือกๆ ยังไม่ใช่แท้จริง เพราะใช้ความเชื่อนำหน้าการปฏิบัติ จึงมีแต่เรื่องที่งมงาย ไร้สาระ ไม่มีเหตุผล พิสูจน์ไม่ได้ และไม่เป็นประโยชน์แก่มนุษย์อย่างแท้จริง) แต่คนดีมีความรู้เช่นนี้ก็มีน้อยมากในโลก นี่เองที่ทำให้พุทธศาสนาในปัจจุบันกลายเป็นศาสนาที่มีแต่เรื่องความเชื่ออยู่เต็มไปหมด จนคนดีมีความรู้เขาไม่ค่อยสนใจมาศึกษา แต่ถ้าเรานำเอาเรื่องปัญญามาให้เขา ก็จะสนใจทันที
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจคำว่าปัญญานี้ก่อน คือคำว่า ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ หรือ รู้รอบ คือหมายถึงว่า เมื่อเราได้เรียนรู้สิ่งใดหรือเรื่องใดแล้ว เราได้รู้สิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นอย่างครบถ้วนเท่าที่จำเป็นจะต้องรู้ แต่ถ้ารู้ไม่ครบถ้วนก็ยังไม่เรียกว่าเป็นปัญญา เปรียบเหมือนกับการที่เราจะศึกษาสระน้ำ เราก็ต้องรู้ให้ครบทั้งความกว้าง ความยาว และความลึก จึงจะเรียกว่ามีปัญญา แต่ถ้าเราเอาแต่มองที่บนสระ เราก็จะได้แค่ความกว้างความยาวของสระเท่านั้น แต่ไม่รู้ถึงความลึก อย่างนี้ไม่เรียกว่ามีปัญญา เราต้องลงไปวัดความลึกของก้นสระในแต่ละจุดด้วย เราจึงจะรู้ครบหรือรอบรู้ หรือมีปัญญาในเรื่องนี้ได้
คำว่า ความรอบรู้ (หรือปัญญา) ของพุทธศาสนานี้ ไม่ได้หมายถึงว่า จะต้องรู้ไปหมดทุกเรื่อง (ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะไปรู้อะไรได้หมดทุกเรื่อง) คือมันหมายถึงว่า รู้เท่าที่จำเป็นจะต้องรู้ หรือเท่าที่ควรจะรู้ ซึ่งก็คือเมื่อรู้แล้วมันดับทุกข์ได้จริงก็เป็นอันว่าได้รู้เท่าที่จำเป็นจะต้องรู้แล้ว (ถึงจะรู้ไปมากกว่านี้ก็เป็นแค่ของแถม เช่น รู้รายละเอียดมากจนสามารถสอนคนอื่นได้ หรือรู้วาระจิตของคนอื่นได้ เป็นต้น)
คำว่าปัญญานี้ในทางโลกจะใช้คำว่า ความรู้ แทน (ถ้าใช้คำว่าปัญญาอาจทำให้เข้าใจสับสนกับคำว่าปัญญาในทางศาสนา) คือเมื่อเราได้เรียนรู้เรื่องใดน้อย เราก็มีความรู้ในเรื่องนั้นน้อย ถ้าเรามีความรู้ในเรื่องใดมาก เราก็มีความรูในเรื่องนั้นมาก ส่วนในทางพุทธศาสนานั้น คำว่า ปัญญา จะหมายถึง ความรอบรู้ในเรื่องการดับทุกข์ (หรือพ้นทุกข์ หรือไม่มีทุกข์) คือพระพุทธเจ้าจะสอนเฉพาะเรื่องการดับทุกข์เท่านั้น เพราะเรื่องความทุกข์นี้เป็นภัยอันใหญ่หลวงของชีวิต ที่เราจะต้องรีบหาทางแก้ไข (หรือดับหรือทำลาย) และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับชีวิตอีกต่อไปตลอดเท่าที่จะยังมีชีวิตอยู่นี้ ดังนั้นการที่เรามีความรอบรู้ในเรื่องการดับทุกข์อย่างถูกต้อง ก็เรียกว่าเรามีปัญญาตามหลักพุทธศาสนาแล้ว