จาก blog post นี้ของดร. นิเวศน์นะครับ
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2015/11/16/1653
ดร. ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับทิศทางของหุ้นมือถือ ซึ่ง ดร. เชื่อว่าธุรกิจมือถือจะถดถอยอย่างแน่นอน จากการที่หากมีผู้เล่นเข้ามาเพิ่มขึ้น (กรณี JAS bid 900 ได้) และการกำกับราคาทำให้ไม่สามารถขึ้นราคาได้ และต้นทุนใบอนุญาตและอุปกรณ์ที่สูงทำให้ความสามารถในการทำกำไรลดลง โดย ดร. นิเวศน์ให้เหตุผล เปรียบเทียบกับทีวีดิจิตอลครับ ซึ่งแข่งขันกันสูงจนน่าจะเกิดอาการขาดทุนไปตามๆ กัน
ผมขอแสดงความคิดเห็นบ้างก็แล้วกันนะครับ พอลองมามองสาเหตุที่ทีวีดิจิตอลขาดทุน ผมขอเดาคร่าวๆ ว่า
1. ทีวีดิจิตอลที่ขาดทุนกันนั้น คาดว่าน่าจะเกิดจากการที่ไม่มี content โดยผมดูคร่าวๆ ก็พบว่า WORK หรือ Workpoint นั้นงบการเงินก็ออกมากำไร เพราะ WORK นั้นสร้าง content ที่มีคนดูได้ด้วยตัวเองเป็นจำนวนมาก ดังนั้นใครที่มี content ที่มีคนติดตามจะได้เปรียบ
2. การใช้งานทีวี นั้นนับจากเวลาที่ดูเป็นหลัก รายได้ก็ขายเป็น “เวลา” ที่ออกอากาศ ซึ่งเวลาของคนเรามีจำกัด ต้องเลือกดูรายการใดรายการหนึ่งในช่วงเวลาเดียวเท่านั้น แล้วรายการนั้นจะเก็บไว้ดูก็ลำบาก ถ้าไปดูย้อนหลังต้องไปดูสื่ออื่นเช่น อินเตอร์เน็ตหรือ youtube
3. barrier to entry ของทีวีดิจิตอลนั้นไม่สูงเท่ากับมือถือ เพราะขนาดเม็ดเงินที่ต้องลงทุนมีสัดส่วนน้อยกว่าค่อนข้างเยอะ หลักพันล้าน กับหลักหมื่นล้านบาท ทำให้นายทุนที่มีเงินระดับหนึ่งก็สามารถเข้ามาได้ง่ายกว่า
ในขณะที่มือถือนั้น ผมมองว่าทิศทางไม่ใช่ถดถอยแต่น่าจะโตขึ้น คือผมเดาตรงข้ามกับ ดร. นิเวศน์นะ
1. การควบคุมราคาโดยภาครัฐ
ตรงจุดนี้ผมหาข้อมูลไม่เจอนะครับว่า กสทช. ว่าอย่างไรเกี่ยวกับการใช้บริการ data หรือเน็ต แต่ผมหาเจอแต่ประกาศค่าโทร ตาม link นี้ครับ ถ้าใครมี link จำกัดค่าเน็ต บอกกันด้วยครับ
http://tcp.nbtc.go.th/uploads/files/annunciate/P184-190.pdf
ซึ่งในประกาศระบุค่าโทรไว้ว่านาทีละ 99 สตางค์ เท่าที่อ่านในเน็ต cap ค่าเน็ตไว้ MB ละ 28 สตางค์ (ไม่มีข้อมูลอ้างอิง) ซึ่งรู้กันอยู่ว่าการใช้งานค่าโทรนั้นหดหายลงอย่างมากครับ แต่ที่เพิ่มเติมมากลับเป็น internet ซึ่งการ cap ราคา net ไว้อาจจะกลายเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำ หมายความว่า max price คือ 28 สตางค์ ต่อ MB ดียังไงลองนึกภาพตามนะครับ ลองมา thought experiment กันหน่อย
ลองนึกดูนะครับว่าทุกวันนี้เราดู youtube เล่น facebook line instagram กันเยอะแค่ไหน จากสมัยก่อนที่วิดีโอความละเอียดอยู่ 480p กลายมาเป็น 720p กลายมาเป็น 1080p ขนาดวิดีโอต่างกันมหาศาลครับ ยิ่งเดี๋ยวนี้ มี 1080p60 เข้าไปที่ 60 frames per sec อีก
เดี๋ยวผู้อ่านที่ไม่เชี่ยวชาญการดูวิดีโอจะงง แล้วขนาดมันต่างกันขนาดไหนละ ผมลองเทียบอย่างง่ายๆ แล้วกันครับ (อาจไม่ถูกเป๊ะ ๆ)
1080p คือขนาดหน้าจอ 1920x 1080 หรือ เทียบกับกล้องขนาด 2.1 MegaPixels ครับ
ถ้าดูวิดีโอ 1080p 30 frames per sec (ภาพต่อวิ ยิ่งสูงยิ่งลื่น) เป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงใช้ ประมาณ 20GB ครับ ถ้า 60 frames per sec ก็คูณสองเข้าไป
อ่าวถ้าผมไม่ดูวิดีโอล่ะ เว็บ instagram รูปทุกวันนี้ hd กันหมด กดทีหนึ่งเน็ตแทบหมดเลยครับ
กับเทรนด์ในอนาคตที่ youtube จะทำ 4k วิดีโอ คือ 4 เท่า (จริงๆ แล้วเยอะกว่านั้น) นั้นหมายถึงปริมาณข้อมูลมหาศาลในอนาคตครับ
หลายคนอาจจะเถียงครับว่าเน็ตมือถือใครเขาจะดู 1080p ได้กระตุกปวดตากันพอดี แต่นั้นคือยุค 3g ครับ ถ้ากลายเป็น 4g ละ
2. ยังไม่พอครับการใช้งานมือถือกับไม่ถุกจำกัดด้วยเวลาดู กล่าวคือผู้ใช้งานไม่ต้องเฝ้ามือถือตลอดเวลาก็มีการใช้งาน หรือคนหนึ่งมีหลายเครื่อง ทั้ง notebook tablet มือถือหลายเครื่อง แต่ทุกเครื่องต้องการเชื่อมต่อไม่ว่าจะเป็น social network ต่าง ๆ อีกทั้ง content บางอย่างยังดูซ้ำได้ เช่นฟังเพลงบน youtube ดูละครย้อนหลัง รายการย้อนหลัง
3. โครงสร้างรายได้ ทีวีนั้นรายได้คือโฆษณา ซึ่งต้องเอา eyeballs หรือ เรตติ้งหรือคนดูมาแลก ในขณะที่มือถือ จ่ายเป็นรายเดือน หรือ upfront prepaid ตามการใช้งานทำให้เกิด network effect คือ ยิ่งบริการดี คนยิ่งใช้เยอะ ในขณะทีวีดิจิตอลนั้นต้องทำ content แบบ hit and miss ถ้าดีคนดูเยอะ ถ้าไม่ดีเงินหายไปเลย
4. Switching Cost การเปลี่ยนค่าย ทีวีง่ายแค่กดรีโมท แต่มือถือ คนจะย้ายค่าย แม้ว่ามีการออกนโยบายให้ย้ายได้เบอร์เดิมแล้ว แต่ต้องยอมรับว่ามันยากกว่าการกดรีโมทเยอะมากครับ
และสุดท้ายถ้าไม่พูดถึงไม่ได้คือ ; 5. Internet of Things หรือ IoTs ถ้าพูดง่ายๆ คือต่อไปนี้จะมีอุปกรณ์จำนวนมากที่ต้องการการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เช่น smart meter, smart home, smart watch, smart wristband, smart buffalo และอื่นๆ อีกมากมาย ที่เชื่อมต่อเน็ต ผ่านอะไรก็ผ่านเน็ตมือถือไงละครับ
สุดท้ายนี้นี่เป็นความคิดเห็นของคนตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งครับ อาจจะผิดก็ได้ แต่ผมเห็นต่าง ผิดพลาดขออภัยมา ณ ที่นี่นะครับ
8)
ปล. กลับมาอ่านของตัวเองเขียนอีกรอบ กับของดร. นิเวศน์อีกรอบ พอคิดในมุมกลับแล้ว การคาดเดาผลประกอบการในหลักสิบปีขึ้นไปของกลุ่มสื่อสารทำได้ยากมาก ๆ แม้แต่การแข่งขัน โดยในรอบสิบปีที่ผ่านมาเปลี่ยนแปลงไปเยอะมากจริงๆ ตั้งแต่ hutch orange กลายมาเป็น true ที่หนี้เยอะแต่พลิกกลับมาเป็นกำไร dtac เริ่มจะตกจากอันดับสอง(ในแง่จำนวน sim) ais มีปัญหาเรื่องคลื่น ไหนจะเทคโนโลยีที่จะต้องวิ่งตามตลอด และใช้การลงทุนที่สูง การใช้งานคงขยายตัว แต่การแข่งขันยังคงจะเลือดสาดต่อไป นั่นหมายถึงกำไรอาจจะไม่แน่นอนนั่นเองครับ ถ้ามองในฐานะของคนพอร์ตใหญ่โตระดับดร. แล้วผมว่า การเอาพอร์ตไปผูกกับธุรกิจที่เสี่ยงและแข่งขันสูงอาจจะเป็นเรื่องเสี่ยงเกินไปก็เป็นได้ครับ เพราะอย่าง Warren Buffett เองก็ไม่ชอบหุ้นเทคโนโลยีที่คาดเดาระยะยาวไม่ได้เหมือนกัน
อ้างอิง:
http://www.finmoment.com/วิเคราะห์ทิศทางสื่อสาร/
ลองอ่านวิเคราะห์หุ้นกลุ่มสื่อสารดูได้ที่
เจาะลึก INTUCH ผู้กุมอำนาจสื่อสารไทย!
เจาะลึก TRUE หุ้นแสนล้าน (หนี้)!
เจาะลึก ศึกชิงบังลังก์หุ้นมือถือ ADVANC vs TRUE vs DTAC สมรภูมิแสนล้าน!
เจาะลึก JAS หรือจะเป็นม้ามืด 4G!
ไปอ่านวิเคราะห์หุ้นได้ที่:
http://www.finmoment.com
วิเคราะห์ทิศทางของหุ้นมือถือในอนาคต
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2015/11/16/1653
ดร. ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับทิศทางของหุ้นมือถือ ซึ่ง ดร. เชื่อว่าธุรกิจมือถือจะถดถอยอย่างแน่นอน จากการที่หากมีผู้เล่นเข้ามาเพิ่มขึ้น (กรณี JAS bid 900 ได้) และการกำกับราคาทำให้ไม่สามารถขึ้นราคาได้ และต้นทุนใบอนุญาตและอุปกรณ์ที่สูงทำให้ความสามารถในการทำกำไรลดลง โดย ดร. นิเวศน์ให้เหตุผล เปรียบเทียบกับทีวีดิจิตอลครับ ซึ่งแข่งขันกันสูงจนน่าจะเกิดอาการขาดทุนไปตามๆ กัน
ผมขอแสดงความคิดเห็นบ้างก็แล้วกันนะครับ พอลองมามองสาเหตุที่ทีวีดิจิตอลขาดทุน ผมขอเดาคร่าวๆ ว่า
1. ทีวีดิจิตอลที่ขาดทุนกันนั้น คาดว่าน่าจะเกิดจากการที่ไม่มี content โดยผมดูคร่าวๆ ก็พบว่า WORK หรือ Workpoint นั้นงบการเงินก็ออกมากำไร เพราะ WORK นั้นสร้าง content ที่มีคนดูได้ด้วยตัวเองเป็นจำนวนมาก ดังนั้นใครที่มี content ที่มีคนติดตามจะได้เปรียบ
2. การใช้งานทีวี นั้นนับจากเวลาที่ดูเป็นหลัก รายได้ก็ขายเป็น “เวลา” ที่ออกอากาศ ซึ่งเวลาของคนเรามีจำกัด ต้องเลือกดูรายการใดรายการหนึ่งในช่วงเวลาเดียวเท่านั้น แล้วรายการนั้นจะเก็บไว้ดูก็ลำบาก ถ้าไปดูย้อนหลังต้องไปดูสื่ออื่นเช่น อินเตอร์เน็ตหรือ youtube
3. barrier to entry ของทีวีดิจิตอลนั้นไม่สูงเท่ากับมือถือ เพราะขนาดเม็ดเงินที่ต้องลงทุนมีสัดส่วนน้อยกว่าค่อนข้างเยอะ หลักพันล้าน กับหลักหมื่นล้านบาท ทำให้นายทุนที่มีเงินระดับหนึ่งก็สามารถเข้ามาได้ง่ายกว่า
ในขณะที่มือถือนั้น ผมมองว่าทิศทางไม่ใช่ถดถอยแต่น่าจะโตขึ้น คือผมเดาตรงข้ามกับ ดร. นิเวศน์นะ
1. การควบคุมราคาโดยภาครัฐ
ตรงจุดนี้ผมหาข้อมูลไม่เจอนะครับว่า กสทช. ว่าอย่างไรเกี่ยวกับการใช้บริการ data หรือเน็ต แต่ผมหาเจอแต่ประกาศค่าโทร ตาม link นี้ครับ ถ้าใครมี link จำกัดค่าเน็ต บอกกันด้วยครับ
http://tcp.nbtc.go.th/uploads/files/annunciate/P184-190.pdf
ซึ่งในประกาศระบุค่าโทรไว้ว่านาทีละ 99 สตางค์ เท่าที่อ่านในเน็ต cap ค่าเน็ตไว้ MB ละ 28 สตางค์ (ไม่มีข้อมูลอ้างอิง) ซึ่งรู้กันอยู่ว่าการใช้งานค่าโทรนั้นหดหายลงอย่างมากครับ แต่ที่เพิ่มเติมมากลับเป็น internet ซึ่งการ cap ราคา net ไว้อาจจะกลายเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำ หมายความว่า max price คือ 28 สตางค์ ต่อ MB ดียังไงลองนึกภาพตามนะครับ ลองมา thought experiment กันหน่อย
ลองนึกดูนะครับว่าทุกวันนี้เราดู youtube เล่น facebook line instagram กันเยอะแค่ไหน จากสมัยก่อนที่วิดีโอความละเอียดอยู่ 480p กลายมาเป็น 720p กลายมาเป็น 1080p ขนาดวิดีโอต่างกันมหาศาลครับ ยิ่งเดี๋ยวนี้ มี 1080p60 เข้าไปที่ 60 frames per sec อีก
เดี๋ยวผู้อ่านที่ไม่เชี่ยวชาญการดูวิดีโอจะงง แล้วขนาดมันต่างกันขนาดไหนละ ผมลองเทียบอย่างง่ายๆ แล้วกันครับ (อาจไม่ถูกเป๊ะ ๆ)
1080p คือขนาดหน้าจอ 1920x 1080 หรือ เทียบกับกล้องขนาด 2.1 MegaPixels ครับ
ถ้าดูวิดีโอ 1080p 30 frames per sec (ภาพต่อวิ ยิ่งสูงยิ่งลื่น) เป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงใช้ ประมาณ 20GB ครับ ถ้า 60 frames per sec ก็คูณสองเข้าไป
อ่าวถ้าผมไม่ดูวิดีโอล่ะ เว็บ instagram รูปทุกวันนี้ hd กันหมด กดทีหนึ่งเน็ตแทบหมดเลยครับ
กับเทรนด์ในอนาคตที่ youtube จะทำ 4k วิดีโอ คือ 4 เท่า (จริงๆ แล้วเยอะกว่านั้น) นั้นหมายถึงปริมาณข้อมูลมหาศาลในอนาคตครับ
หลายคนอาจจะเถียงครับว่าเน็ตมือถือใครเขาจะดู 1080p ได้กระตุกปวดตากันพอดี แต่นั้นคือยุค 3g ครับ ถ้ากลายเป็น 4g ละ
2. ยังไม่พอครับการใช้งานมือถือกับไม่ถุกจำกัดด้วยเวลาดู กล่าวคือผู้ใช้งานไม่ต้องเฝ้ามือถือตลอดเวลาก็มีการใช้งาน หรือคนหนึ่งมีหลายเครื่อง ทั้ง notebook tablet มือถือหลายเครื่อง แต่ทุกเครื่องต้องการเชื่อมต่อไม่ว่าจะเป็น social network ต่าง ๆ อีกทั้ง content บางอย่างยังดูซ้ำได้ เช่นฟังเพลงบน youtube ดูละครย้อนหลัง รายการย้อนหลัง
3. โครงสร้างรายได้ ทีวีนั้นรายได้คือโฆษณา ซึ่งต้องเอา eyeballs หรือ เรตติ้งหรือคนดูมาแลก ในขณะที่มือถือ จ่ายเป็นรายเดือน หรือ upfront prepaid ตามการใช้งานทำให้เกิด network effect คือ ยิ่งบริการดี คนยิ่งใช้เยอะ ในขณะทีวีดิจิตอลนั้นต้องทำ content แบบ hit and miss ถ้าดีคนดูเยอะ ถ้าไม่ดีเงินหายไปเลย
4. Switching Cost การเปลี่ยนค่าย ทีวีง่ายแค่กดรีโมท แต่มือถือ คนจะย้ายค่าย แม้ว่ามีการออกนโยบายให้ย้ายได้เบอร์เดิมแล้ว แต่ต้องยอมรับว่ามันยากกว่าการกดรีโมทเยอะมากครับ
และสุดท้ายถ้าไม่พูดถึงไม่ได้คือ ; 5. Internet of Things หรือ IoTs ถ้าพูดง่ายๆ คือต่อไปนี้จะมีอุปกรณ์จำนวนมากที่ต้องการการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เช่น smart meter, smart home, smart watch, smart wristband, smart buffalo และอื่นๆ อีกมากมาย ที่เชื่อมต่อเน็ต ผ่านอะไรก็ผ่านเน็ตมือถือไงละครับ
สุดท้ายนี้นี่เป็นความคิดเห็นของคนตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งครับ อาจจะผิดก็ได้ แต่ผมเห็นต่าง ผิดพลาดขออภัยมา ณ ที่นี่นะครับ
8)
ปล. กลับมาอ่านของตัวเองเขียนอีกรอบ กับของดร. นิเวศน์อีกรอบ พอคิดในมุมกลับแล้ว การคาดเดาผลประกอบการในหลักสิบปีขึ้นไปของกลุ่มสื่อสารทำได้ยากมาก ๆ แม้แต่การแข่งขัน โดยในรอบสิบปีที่ผ่านมาเปลี่ยนแปลงไปเยอะมากจริงๆ ตั้งแต่ hutch orange กลายมาเป็น true ที่หนี้เยอะแต่พลิกกลับมาเป็นกำไร dtac เริ่มจะตกจากอันดับสอง(ในแง่จำนวน sim) ais มีปัญหาเรื่องคลื่น ไหนจะเทคโนโลยีที่จะต้องวิ่งตามตลอด และใช้การลงทุนที่สูง การใช้งานคงขยายตัว แต่การแข่งขันยังคงจะเลือดสาดต่อไป นั่นหมายถึงกำไรอาจจะไม่แน่นอนนั่นเองครับ ถ้ามองในฐานะของคนพอร์ตใหญ่โตระดับดร. แล้วผมว่า การเอาพอร์ตไปผูกกับธุรกิจที่เสี่ยงและแข่งขันสูงอาจจะเป็นเรื่องเสี่ยงเกินไปก็เป็นได้ครับ เพราะอย่าง Warren Buffett เองก็ไม่ชอบหุ้นเทคโนโลยีที่คาดเดาระยะยาวไม่ได้เหมือนกัน
อ้างอิง:
http://www.finmoment.com/วิเคราะห์ทิศทางสื่อสาร/
ลองอ่านวิเคราะห์หุ้นกลุ่มสื่อสารดูได้ที่
เจาะลึก INTUCH ผู้กุมอำนาจสื่อสารไทย!
เจาะลึก TRUE หุ้นแสนล้าน (หนี้)!
เจาะลึก ศึกชิงบังลังก์หุ้นมือถือ ADVANC vs TRUE vs DTAC สมรภูมิแสนล้าน!
เจาะลึก JAS หรือจะเป็นม้ามืด 4G!
ไปอ่านวิเคราะห์หุ้นได้ที่:
http://www.finmoment.com