Ajay Bhatt อาจจะยังเป็นชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นหูกันมากนัก ซึ่งเขาก็คือ ผู้ร่วมคิดค้นและอยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีที่มีผู้ใช้งานกว่าพันล้านคนในแต่ละวันนั่นเอง
โดย Bhatt ได้เข้าร่วมกับทีมสถาปัตยกรรมชิปเซ็ตของอินเทล ในฐานะเจ้าหน้าที่อาวุโสสถาปนิกในปี 1990 ในเวลานั้น คอมพิวเตอร์ยังอาศัยพอร์ตการต่อแบบอนุกรมและขนานกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น เม้าส์, แป้นพิมพ์, ปริ้นเตอร์ และจอยสติ๊ก ซึ่งพอร์ตดังกล่าวมีข้อบกพร่องในการทำงานหลายจุด อาทิ อัตราการถ่ายโอนข้อมูลที่ช้า และความจริงที่ว่า บางอย่างไม่สามารถทำงานควบคู่กันไปได้ ด้วยเหตุนี้ Bhatt จึงได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนามาตรฐานใหม่ Universal Serial Bus หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า USB ให้เป็นตัวแทนมาตรฐานการเชื่อมต่อสากลเพียงหนึ่งเดียว เข้ามาแทนที่การเชื่อมต่อพอร์ตอนุกรมและขนานแบบเก่า โดยมาตรฐาน USB 1.0 Release Candidate เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 1995
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของ USB ในช่วงแรกเป็นไปอย่างช้า ๆ และเกิดปัญหาความไม่เข้ากันในการทำงาน แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ไม่นานการเติบโตของมาตรฐานใหม่ก็เป็นไปอย่างก้าวกระโดด ส่วนหนึ่งของความสำเร็จของ USB มาจากการตัดสินใจของอินเทลที่เปิดกว้างและให้ใช้งานได้ฟรี ซึ่งปัจจุบัน Bhatt ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคโนฯของอินเทล และเคยได้รับรางวัลมากมายจากการทำงานในฐานะวิศวกร
ที่มา
TechSpot
รู้หรือไม่ มาตรฐาน USB มีอายุครบ 20 ปีแล้ว
Ajay Bhatt อาจจะยังเป็นชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นหูกันมากนัก ซึ่งเขาก็คือ ผู้ร่วมคิดค้นและอยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีที่มีผู้ใช้งานกว่าพันล้านคนในแต่ละวันนั่นเอง
โดย Bhatt ได้เข้าร่วมกับทีมสถาปัตยกรรมชิปเซ็ตของอินเทล ในฐานะเจ้าหน้าที่อาวุโสสถาปนิกในปี 1990 ในเวลานั้น คอมพิวเตอร์ยังอาศัยพอร์ตการต่อแบบอนุกรมและขนานกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น เม้าส์, แป้นพิมพ์, ปริ้นเตอร์ และจอยสติ๊ก ซึ่งพอร์ตดังกล่าวมีข้อบกพร่องในการทำงานหลายจุด อาทิ อัตราการถ่ายโอนข้อมูลที่ช้า และความจริงที่ว่า บางอย่างไม่สามารถทำงานควบคู่กันไปได้ ด้วยเหตุนี้ Bhatt จึงได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนามาตรฐานใหม่ Universal Serial Bus หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า USB ให้เป็นตัวแทนมาตรฐานการเชื่อมต่อสากลเพียงหนึ่งเดียว เข้ามาแทนที่การเชื่อมต่อพอร์ตอนุกรมและขนานแบบเก่า โดยมาตรฐาน USB 1.0 Release Candidate เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 1995
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของ USB ในช่วงแรกเป็นไปอย่างช้า ๆ และเกิดปัญหาความไม่เข้ากันในการทำงาน แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ไม่นานการเติบโตของมาตรฐานใหม่ก็เป็นไปอย่างก้าวกระโดด ส่วนหนึ่งของความสำเร็จของ USB มาจากการตัดสินใจของอินเทลที่เปิดกว้างและให้ใช้งานได้ฟรี ซึ่งปัจจุบัน Bhatt ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคโนฯของอินเทล และเคยได้รับรางวัลมากมายจากการทำงานในฐานะวิศวกร
ที่มา TechSpot