คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
เอกชน ต้องดูเป็นรายกรณีครับ
หากวุฒิไม่ตรง แต่มีความรู้ความสามารถตรงตามที่องค์กรต้องการ
ก็อาจมีโอกาสทำได้ครับ
องค์กรเอกชนยืดหยุ่นได้ครับ แล้วแต่องค์กรนั้นๆ
แต่
หน่วยงานราขการ หากคุณวุฒิไม่ตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จะทำไม่ได้ครับ เพราะมีกฎระเบียบอยู่
งานราชการ สำคัญที่สุด คือ คุณวุฒิที่ตรงตามประกาศรับสมัครสอบครับ
ต้องมีวุฒิการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัคร โดยสามารถตรวจสอบผลการรับรองคุณวุฒิของเราได้ที่
http://e-accreditation.ocsc.go.th/acc/index.html
ด้วยการนำชื่อหลักสูตรที่เราจบการศึกษา (หรือชื่อปริญญาที่เรารับ) มาตรวจสอบ
การรับรองคุณวุฒิในการในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ หลักๆจะอ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.
(สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
ทาง ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิเป็น “สาขา” และ “ทาง” เช่น
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอก วิศวกรรมโยธา
ผลการรับรอง: คุณวุฒิสาขา"วิศวกรรมศาสตร์" ทาง"วิศวกรรมโยธา"
“สาขา” คือ กลุ่มสาขาวิชาการศึกษาใหญ่ๆ เช่น สาขาเกษตรศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
“ทาง” คือ สาขาวิชาเอกที่เราเรียน เช่น ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมชลประทาน ทางบริหารรัฐกิจ ทางเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น
มาตรฐานที่ สำนักงาน ก.พ. กำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าเป็นวุฒิทางใด
ในระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี จะต้องศึกษาวิชานั้น ๆ ไม่ต่ำกว่า 30 หน่วยกิต ตามระบบการศึกษาทวิภาค
และไม่ต่ำกว่า 38 หน่วยกิต ตามระบบการศึกษาไตรภาค
ในกรณีหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง จะพิจารณารายวิชาที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี 2 ปีหลัง ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
แล้วจึงพิจารณาจากรายวิชาที่ศึกษาในระดับ ปวท. หรือ ปวส. หรือ อนุปริญญา หรือ เทียบเท่าไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
คุณวุฒิสำหรับผู้สมัครสอบงานราชการต่างๆ จะสำคัญที่สุดครับ หากคุณวุฒิไม่ตรง จะถือว่าหมดสิทธิสมัครแต่แรกครับ
จะมาเนียนๆว่า ตนมีความรู้ด้านนั้นๆ, มีประสบการณ์ด้านนั้นๆ ฯลฯ แล้วมาสมัครในตำแหน่งที่คุณวุฒิไม่ตรง นี่ไม่ได้ครับ
เช่น หน่วยงานรับคุณวุฒิทางภาษาอังกฤษ บุคคลที่ได้คะแนน TOEIC, TOEFL เต็ม เคยอยู่อเมริกามา 4 ปี
จะมาเนียนว่าตนมีความรู้และประสบการณ์ด้านภาษาอังกฤษมาก แล้วมาสมัครสอบโดยที่ไม่มีคุณวุฒิทางภาษาอังกฤษ ไม่ได้ครับ
ไม่เหมือนกรณีบริษัทเอกชน ที่ส่วนมากจะไม่ค่อยเคร่งเรื่องของวุฒิเจาะจงอะไรมากนัก (ไม่ต้องผ่านการรับรอง ขอแค่ชื่อสาขาที่จบมาตรง)
ก็เนื่องจากว่าไม่มีกฎระเบียบอะไรมาเป็นกรอบบังคับมากน่ะครับ เอกชนจะรับผิดชอบตนเองอยู่แล้ว
องค์กรเอกชน ถ้ารับคนที่มีคุณวุฒิไม่ตรง ก็จะเสียหายแค่องค์กรเอกชนนั้นๆ
ส่วนในกรณีหน่วยงานราชการ หากไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว (ซึ่งจริงๆก็ยืดหยุ่นได้ในระดับหนึ่ง)
ความเสียหายเนื่องจากการรับบุคคลที่คุณวุฒิไม่ตรงเข้ามาบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการ หรือ พนักงานของรัฐ
ก็จะเกิดความเสียหายเป็นวงกว้างทั้งประเทศครับ
ทีนี้คุณวุฒิไม่ตรงก็คือหมดสิทธิสมัครสอบมาแต่แรก
การที่รู้อยู่แล้วและเนียนสมัครไป นอกจากเสียตังค์ค่าสมัครฟรีแล้ว ก็อาจมีความผิดนะครับ
เพราะในการสมัครสอบดังกล่าว จะถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ลงลายมือชื่อและรับรองความถูกต้องของข้อมูล
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2554 ดังนั้น หากผู้สมัครสอบจงใจกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ
อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ครับผม
ทั้งนี้ หากประกาศไม่ได้ระบุรับคุณวุฒิ ป.โท
แม้เราจะจบ ป.โท ตรงตามประกาศรับสมัครก็ตาม
แต่หากเราไม่มีคุณวุฒิ ป.ตรี ที่ตรงตามประกาศรับสมัคร
ก็สมัครไม่ได้นะครับ ถือว่าคุณวุฒิ ไม่ตรงตามประกาศรับเช่นกัน
(มีคุณวฒิสูงกว่าที่ประกาศรับ และยังไม่มีคุณวุฒิในสาขาวิชาตามที่ประกาศรับอีกด้วย)
ในการเรียนต่อระดับ บัณฑิตศึกษา ถ้าจำแนกตาม สาขาของ ป.ตรี ที่รับเข้าศึกษาต่อแล้ว จะแยกได้ 3 แบบ คือ
1. สายตรง รับเฉพาะสาขา เช่น ป.โท นิติศาสตรมหาบัณฑิต บังคับต้องจบ ป.ตรี นิติศาสตรบัณฑิต มาเท่านั้นถึงจะเรียนต่อได้
2. สายประยุกต์ รับหลายสาขา เช่น ป.โท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ รับผู้จบ ป.ตรี จากหลายสาขา เช่น วิทยาศาสตรบัณฑิต, สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ฯลฯ
3. สายทั่วไป รับทุกสาขา เช่น ป.โท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, บริหารธุรกิจ รับผู้จบ ป.ตรี ได้ทุกสาขาเป็นต้น
ปริญญามหาบัณฑิต (ป.โท) โครงสร้างหลักสูตรจะมีหน่วยกิต 36 หน่วยกิต แบ่งตามแผนได้ประมาณ 3 แบบ คือ
1. ก. 1 ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว 36 หน่วยกิต
2. ก. 2 ทำวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต + เรียน 24 หน่วยกิต
3. ข. ทำค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต + เรียน 30 หน่วยกิต
จากข้อมูลที่ให้ไว้ข้างต้น ขอสรุป ดังนี้
- การที่ หน่วยงานราชการต่างๆ ไม่รับ วุฒิ ป.โท แม้ว่าจะเป็นวุฒิที่สูงกว่า ป.ตรี ก็ตาม นั้น
ก็เพราะว่า ป.โท จะเน้นไปที่การทำวิทยานิพนธ์มากกว่า และในบางสาขาก็สามารถรับผู้จบ ป.ตรี ได้จากหลายตรงสาขา
พออนุมานได้ว่า หน่วยงานฯ ต้องการผู้ที่เรียนจบ ป.ตรี ใน สาขาวิชาที่ระบุ
ซึ่งอย่างน้อยๆต้องเรียนวิชาตามสาขานั้นๆมาแล้วไม่ต่ำกว่า 30 หน่วยกิต ตามหลักเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิของ ก.พ. ครับ
สั้นๆ คือ หน่วยงานฯ อยากได้ผู้ที่มีพื้นฐานในสาขาวิชานั้นๆมาแล้วระดับหนึ่งน่ะครับ
จึงไม่รับ ป.โท ซึ่งอาจจะจบจาก ป.ตรี สาขาใดก็ได้มาครับ
หากวุฒิไม่ตรง แต่มีความรู้ความสามารถตรงตามที่องค์กรต้องการ
ก็อาจมีโอกาสทำได้ครับ
องค์กรเอกชนยืดหยุ่นได้ครับ แล้วแต่องค์กรนั้นๆ
แต่
หน่วยงานราขการ หากคุณวุฒิไม่ตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จะทำไม่ได้ครับ เพราะมีกฎระเบียบอยู่
งานราชการ สำคัญที่สุด คือ คุณวุฒิที่ตรงตามประกาศรับสมัครสอบครับ
ต้องมีวุฒิการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัคร โดยสามารถตรวจสอบผลการรับรองคุณวุฒิของเราได้ที่
http://e-accreditation.ocsc.go.th/acc/index.html
ด้วยการนำชื่อหลักสูตรที่เราจบการศึกษา (หรือชื่อปริญญาที่เรารับ) มาตรวจสอบ
การรับรองคุณวุฒิในการในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ หลักๆจะอ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.
(สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
ทาง ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิเป็น “สาขา” และ “ทาง” เช่น
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอก วิศวกรรมโยธา
ผลการรับรอง: คุณวุฒิสาขา"วิศวกรรมศาสตร์" ทาง"วิศวกรรมโยธา"
“สาขา” คือ กลุ่มสาขาวิชาการศึกษาใหญ่ๆ เช่น สาขาเกษตรศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
“ทาง” คือ สาขาวิชาเอกที่เราเรียน เช่น ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมชลประทาน ทางบริหารรัฐกิจ ทางเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น
มาตรฐานที่ สำนักงาน ก.พ. กำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าเป็นวุฒิทางใด
ในระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี จะต้องศึกษาวิชานั้น ๆ ไม่ต่ำกว่า 30 หน่วยกิต ตามระบบการศึกษาทวิภาค
และไม่ต่ำกว่า 38 หน่วยกิต ตามระบบการศึกษาไตรภาค
ในกรณีหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง จะพิจารณารายวิชาที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี 2 ปีหลัง ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
แล้วจึงพิจารณาจากรายวิชาที่ศึกษาในระดับ ปวท. หรือ ปวส. หรือ อนุปริญญา หรือ เทียบเท่าไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
คุณวุฒิสำหรับผู้สมัครสอบงานราชการต่างๆ จะสำคัญที่สุดครับ หากคุณวุฒิไม่ตรง จะถือว่าหมดสิทธิสมัครแต่แรกครับ
จะมาเนียนๆว่า ตนมีความรู้ด้านนั้นๆ, มีประสบการณ์ด้านนั้นๆ ฯลฯ แล้วมาสมัครในตำแหน่งที่คุณวุฒิไม่ตรง นี่ไม่ได้ครับ
เช่น หน่วยงานรับคุณวุฒิทางภาษาอังกฤษ บุคคลที่ได้คะแนน TOEIC, TOEFL เต็ม เคยอยู่อเมริกามา 4 ปี
จะมาเนียนว่าตนมีความรู้และประสบการณ์ด้านภาษาอังกฤษมาก แล้วมาสมัครสอบโดยที่ไม่มีคุณวุฒิทางภาษาอังกฤษ ไม่ได้ครับ
ไม่เหมือนกรณีบริษัทเอกชน ที่ส่วนมากจะไม่ค่อยเคร่งเรื่องของวุฒิเจาะจงอะไรมากนัก (ไม่ต้องผ่านการรับรอง ขอแค่ชื่อสาขาที่จบมาตรง)
ก็เนื่องจากว่าไม่มีกฎระเบียบอะไรมาเป็นกรอบบังคับมากน่ะครับ เอกชนจะรับผิดชอบตนเองอยู่แล้ว
องค์กรเอกชน ถ้ารับคนที่มีคุณวุฒิไม่ตรง ก็จะเสียหายแค่องค์กรเอกชนนั้นๆ
ส่วนในกรณีหน่วยงานราชการ หากไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว (ซึ่งจริงๆก็ยืดหยุ่นได้ในระดับหนึ่ง)
ความเสียหายเนื่องจากการรับบุคคลที่คุณวุฒิไม่ตรงเข้ามาบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการ หรือ พนักงานของรัฐ
ก็จะเกิดความเสียหายเป็นวงกว้างทั้งประเทศครับ
ทีนี้คุณวุฒิไม่ตรงก็คือหมดสิทธิสมัครสอบมาแต่แรก
การที่รู้อยู่แล้วและเนียนสมัครไป นอกจากเสียตังค์ค่าสมัครฟรีแล้ว ก็อาจมีความผิดนะครับ
เพราะในการสมัครสอบดังกล่าว จะถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ลงลายมือชื่อและรับรองความถูกต้องของข้อมูล
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2554 ดังนั้น หากผู้สมัครสอบจงใจกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ
อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ครับผม
ทั้งนี้ หากประกาศไม่ได้ระบุรับคุณวุฒิ ป.โท
แม้เราจะจบ ป.โท ตรงตามประกาศรับสมัครก็ตาม
แต่หากเราไม่มีคุณวุฒิ ป.ตรี ที่ตรงตามประกาศรับสมัคร
ก็สมัครไม่ได้นะครับ ถือว่าคุณวุฒิ ไม่ตรงตามประกาศรับเช่นกัน
(มีคุณวฒิสูงกว่าที่ประกาศรับ และยังไม่มีคุณวุฒิในสาขาวิชาตามที่ประกาศรับอีกด้วย)
ในการเรียนต่อระดับ บัณฑิตศึกษา ถ้าจำแนกตาม สาขาของ ป.ตรี ที่รับเข้าศึกษาต่อแล้ว จะแยกได้ 3 แบบ คือ
1. สายตรง รับเฉพาะสาขา เช่น ป.โท นิติศาสตรมหาบัณฑิต บังคับต้องจบ ป.ตรี นิติศาสตรบัณฑิต มาเท่านั้นถึงจะเรียนต่อได้
2. สายประยุกต์ รับหลายสาขา เช่น ป.โท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ รับผู้จบ ป.ตรี จากหลายสาขา เช่น วิทยาศาสตรบัณฑิต, สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ฯลฯ
3. สายทั่วไป รับทุกสาขา เช่น ป.โท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, บริหารธุรกิจ รับผู้จบ ป.ตรี ได้ทุกสาขาเป็นต้น
ปริญญามหาบัณฑิต (ป.โท) โครงสร้างหลักสูตรจะมีหน่วยกิต 36 หน่วยกิต แบ่งตามแผนได้ประมาณ 3 แบบ คือ
1. ก. 1 ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว 36 หน่วยกิต
2. ก. 2 ทำวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต + เรียน 24 หน่วยกิต
3. ข. ทำค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต + เรียน 30 หน่วยกิต
จากข้อมูลที่ให้ไว้ข้างต้น ขอสรุป ดังนี้
- การที่ หน่วยงานราชการต่างๆ ไม่รับ วุฒิ ป.โท แม้ว่าจะเป็นวุฒิที่สูงกว่า ป.ตรี ก็ตาม นั้น
ก็เพราะว่า ป.โท จะเน้นไปที่การทำวิทยานิพนธ์มากกว่า และในบางสาขาก็สามารถรับผู้จบ ป.ตรี ได้จากหลายตรงสาขา
พออนุมานได้ว่า หน่วยงานฯ ต้องการผู้ที่เรียนจบ ป.ตรี ใน สาขาวิชาที่ระบุ
ซึ่งอย่างน้อยๆต้องเรียนวิชาตามสาขานั้นๆมาแล้วไม่ต่ำกว่า 30 หน่วยกิต ตามหลักเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิของ ก.พ. ครับ
สั้นๆ คือ หน่วยงานฯ อยากได้ผู้ที่มีพื้นฐานในสาขาวิชานั้นๆมาแล้วระดับหนึ่งน่ะครับ
จึงไม่รับ ป.โท ซึ่งอาจจะจบจาก ป.ตรี สาขาใดก็ได้มาครับ
แสดงความคิดเห็น
สอบถามเกี่ยวกับวุฒิที่ใช้ในการสมัครงานครับ เขาระบุวุฒินี้ แต่ผมมีวุฒินี้ (รายละเอียดด้านในนะ)
มีองค์เอกชน รัฐวิสาหกิจ ราชการ มหาวิทยาลัย กำลังเปิดรับสมัครตำแหน่งงานที่ผมสนใจ
แต่วุฒิที่เขารับคือ วุฒิ ป.ตรี ทางสายศึกษาศาสตร์
ซึ่ง ป. ตรี ผมไม่ได้เรียนสายนี้มา
แต่ ป.โท ผมจบสายศึกษาศาสตร์ตรงกับที่เขารับ มาครับ
ถ้าผมไปสมัคร (มันดันเสียตังด้วยนะสิ) ผมจะมีเกณฑ์ผ่านไหมครับ
ไม่ได้หมายความว่าสอบผ่านนะ หมายความว่าคุณสมบัติจะผ่านไปให้สอบไหม
หรือคุณสมบัติไม่ผ่าน เพราะวุฒิรับแค่ ป.ตรี
พี่ๆ HR หรือคนที่มีประสบการณ์แบบนี้ว่าไงบ้างครับผม
ปล.ไม่เอาประเด็นเรื่องเงินเดือนเข้ามาเกี่ยวนะครับ ตัดออกไปก่อนเลย