แพทย์ทหาร(วพม) และ นักเรียนนายร้อย(จปร)

เริ่มต้นต้องขออภัยที่ใช้ตัวย่อนะครับ คือแพทย์ทหารวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้าถือเป็นนักเรียนนายร้อยไหมครับ แล้วผมมีข้อสงสัย
- ทำไมไม่ได้เป็นกรมนักเรียนแพทย์ทหาร รักษาพระองค์ เหมือนนักเรียนนายร้อย ประวัติที่นี่ก็ยาวนานสร้างนายทหารเหล่าแพทย์มาเยอะ ลงไปช่วยใต้ก็เยอะ
- เห็นบอกว่าการจะหวังถึงนายพลเอก มีโอกาสเป็นไปได้น้อย รวมถึงการเป็นราชองค์รักษ์ด้วย จริงหรือไม่ครับ
- สุดท้าย นักเรียนแพทย์ทหารบางท่าน ไปอยู่ในรายชื่อสำรองของ รพ ทหาร(ตอนเป็น intern) ทั้งที่ตนเองอยูในโรงเรียนทหาร ทางกองทัพควรจะให้การพิจารณาเป็นพิเศษแก่นักเรียนแพทย์ทหารก่อนนักเรียนแพทย์ สถาบันอื่นเนื่องจากเป็นสถาบันของกองทัพแต่กลับมีรายชื่อนักเรียนแพทย์ทหาร ติดสำรองในรพ ทหารทุกปี อันนี้ผมอยากทราบเหตุผลนะครับ มีการพิจารณาหรือไม่

ปล. ไม่มีเจตนาใดๆ เป็นข้อสงสัยของผมเองนะครับ เพราะว่าผมเห็นนักเรียนแพทย์ที่นี่เรียนก็หนักฝึกก็หนัก เปรียบเสมือนโรงเรียนแพทย์และโรงเรียนทหาร
อยากทราบความคิดเห็นจากคนในสังคมทหาร นักเรียนนายร้อย ผู้ที่มีความรู้ทุกท่าน ขอบคุณครับ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
จริงๆ ถ้าทางการ คำว่า"นักเรียนนายร้อย" หมายถึงนักเรียนนายร้อยจปร.เท่านั้นครับ เหมือนที่"นักเรียนแพทย์ทหาร"หมายถึงนักเรียนแพทย์พระมงกุฎ มันเป็นแค่ชื่อเรียกของนักเรียนโรงเรียนต่างๆครับครับ ทั้งนี้ตามกม.นักเรียนทหารระดับที่จบมาเป็นระดับสัญญาบัตรนั้นมาฐานะเท่ากันครับ(นนร. นพท. นรพ.)

ในแง่ของการบรรจุเป็นข้าราชการ อาชีพหมอเป็นอาชีพที่ถ้าอยากเป็นข้าราชการยังไงก็ได้เป็นอยู่แล้วหนิครับ จะซีเรียสทำไม ถึงไม่ได้บรรจุทหารก็ได้บรรรจุที่อื่นอยู่ดี และถ้าอยากเป็นหมอทหารจริงๆปีๆนึงเปิดเยอะมาก แต่แทบไม่มีคนสมัคร เหอะๆ  และเท่าที่ผมเข้าใจ ในส่วนของ นพท.ที่จะได้บรรจุในกองทัพ จะทราบอยู่แล้วตั้งแต่ปีแรกๆว่าใครเป็นนักเรียนทุนบ้าง ซึ่งกลุ่มนี้น่าจะเป็นตัวจริงในรพ.ทหารแต่แรก และมีฐานะเป็นนักเรียนทหารอย่างสมบูรณ์ นักเรียนคนอื่นๆ ฐานะก็คือนักเรียนแพทย์ทั่วไปที่มาฝากเรียนกับรพ.พระมงกุฎ

ส่วนตัวผมคิดว่า หมอที่เรียนแพทย์พระมงกุฎ ส่วนใหญ่จริงๆ ก็มาเรียนเพื่อเป็นหมอ ผมว่าไม่ได้อยากเป็นหมอทหารนะ เพราะถ้าพูดถึงความก้าวหน้าอะไรต่างๆแล้วมันเทียบไม่ได้กับหมอในกระทรวงสาธารณะสุขหรอก เพราะทหารสายหลักมันก็ไม่ใช่หมออยู่แล้ว ไปอยู่สังกัดกระทรวงน่าดีกว่านะ ความจริงแต่ละกระทรวงแต่ละสายมันก็มีสายงานหลักอยู่แล้ว จบเกษตรก็มักไปเป็นใหญ่ได้ในกระทรวงเกษตร จบรัฐศาสตร์ก็ไปอยู่มหาดไท สายหมอก็คือกระทรวงสาธารณะสุข สายงานอื่นๆมาอยู่ผิดที่มันก็ไม่ก้าวหน้าหรอก อันนี้เป็นเรื่องปรกติๆมากๆ เหมือนที่เราไม่เคยเห็นวิศวะเป็นอธิบดีกรมใหญ่ๆ หรือเป็นปลัดกระทรวงสาธารณะสุขนั่นแหละ (อันนี้อย่าว่าแต่สายนอกสายงานแพทย์เลย ขนาดสายสาธารณะสุขอื่นๆที่ไม่ใช่หมอยังไม่โตเลย) แต่นั่นแหละครับอย่างที่ คห.อื่นๆบอกต้องยอมรับว่าจุดประสงค์มันต่างกัน หมอเองจริงๆแล้วส่วนมากก็มีลู่ทางอื่นๆนอกจากการรับราชการอยู่แล้ว

โลกนี้ไม่มีอะไรเท่าเทียมหรอกครับ แต่บางทีเรามัวแต่มองสิ่งที่คนอื่นได้เปรียบจนไม่มองสิ่งที่คนอื่นเค้าเสียเปรียบเราบ้าง อย่างเทียบกับ นนร. นักเรียนแพทย์มีความก้าวหน้าน้อยกว่าจริง แต่เงินเดือน นพท. เงินเดือนเยอะกว่าเยอะกว่า นนร. ตั้งหลายเท่าทั้งๆที่เรียนมากกว่าแค่ปีเดียว (ถ้ารวม นตท.อีกนี่เรียนในระบบทหารน้อยกว่าอีก)  และถ้าเทียบกับคนส่วนใหญ่จริงๆ ถึงสายแพทย์จะยศน้อยกว่าแต่รายได้มากกว่ามากครับ (กรุณาอย่ารวมพวกโกงกิน เพราะจริงๆ มันก็ไม่ได้โกงกันทุกคน และคนส่วนน้อยครับที่ไปถึงจุดนั้น) พอหันไปเทียบกับนักเรียนแพทย์จากมหาลัยทั่วไป นักเรียนแพทย์ทหารก็ได้เปรียบที่เวลาเรียนเค้าก็มีทุนให้อยู่แล้ว (เข้าใจครับว่านักเรียนแพทย์เป็นนักเรียนทุนทุกคน แต่นักเรียนแพทย์ทหารตัวจริงนั้นทุนเยอะกว่ามาก ค่าเรียนส่วนที่ต้องจ่ายจริงๆน้อยมาก) ระหว่างเรียนมีเงินเดือน มีเบี้ยเลี้ยงให้ จบมาก็พอบรรจุ เป็นข้าราชการทหารการขอเข้าเรียนเฉพาะทางง่ายกว่าแพทย์สังกัดอื่นๆ เยอะเพราะโควต้าเฉพาะทางแยกสังกัดอยู่แล้ว แต่ความก้าวหน้าในอาชีพราชการจะไม่เท่าหมอสังกัดอื่นๆ (หึๆ แต่ถามหน่อยเถอะหมอจบเฉพาะทางแล้ว ซักกี่คนจะมาสนความก้าวหน้าในอาชีพราชการ)

ปล.หมอเป็นพลเอก เยอะแยะครับ  อย่างในเหล่าผม(ทอ.) หมอนี่ก็ความก้าวหน้าพอๆ กับคนจบรร.หลักที่ไม่ได้เป็นนักบินแหละ
ปล.2 หมอเป็นราชองครักษ์ได้ครับ แต่จะเป็นช้ากว่า โดยปรกติต้องระดับนายพลครับ แต่อีกแง่นึงผมว่าหมอเข้าเวรปรกติก็เหนื่อยแล้วนะ จะยังอยากเข้าเวรราชองครักษ์อีกหรือ ส่วนใหญ่เห็นแต่เค้าอยากเลี่ยงกัน และปรกติหมอจำนวนนึงจะเป็นไปเป็นแพทย์พระจำพระองค์เลยครับ อย่างที่บอกบทบาทหน้าที่มันต่างกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่