เห็นข่าวการบินไทยขาดทุนแล้ว ไกล้เคียงกับบทความนี้ที่สุดเลย ตอนนี้

นี่คือบะหมี่ที่กอบกู้วิกฤติล้มละลายสายการบินแห่งชาติญี่ปุ่น !

มีข่าวว่า “สายการบินแห่งชาติของประเทศหนึ่งกำลังประสบปัญหาขาดทุนใกล้ล้มละลาย” ออกมา

และผมกำลังทาน “บะหมี่กระป๋อง” ของ Japan Airlines, อีกหนึ่งสายการบินที่เคยเกือบล้มละลาย [on the Edge of Bankruptcy] เพราะ “แอร์ฯ หยิ่ง” และ “ไม่มีหัวใจของการบริการ [Never doing their Jobs from their Hearts]”

จนกระทั่งมีผู้บริหาร Kyocera ชื่อ “Inamori Kazuo” เสนอตัวเข้าไปกอบกู้วิกฤติโดยปฏิเสธการรับเงินเดือน

เพื่อช่วยให้ “สายการบินแห่งชาติ” กลับมาเป็น “ความภาคภูมิใจของชาวญี่ปุ่น” อีกครั้ง

และนี่คือ “บะหมี่กระป๋อง” ที่ Inamori เสนอให้บรรดานางฟ้า “ขาย” มัน…

ทฤษฏีการบริหารเชื้อโรค [Amoeba Management]

เป็นการตั้งชื่อ Style ญี่ปุ่น, เนื้อหาก็คือ “เชื้อโรคคือหน่วยที่เล็กที่สุด”

กฏ 3 ข้อของ Amoeba Management ก็คือ

1. เคารพซึ่งกันและกัน [Respect People] : จงจำไว้ว่าชีวิตเกิดขึ้นมาจากหน่วยเล็กๆ ที่ประกอบกัน…

2. ถ่อมตน [Modest] : ดูเหมือนว่า “ช่องว่าง” ระหว่างคนจนกับคนรวยจะกว้างขึ้นทุกวัน และคนที่คิดว่าตนรวยกว่า / เหนือกว่าก็แสดงอำนาจ [ทั้งในและนอกองค์กร] โดยลืมไปว่า “ชีวิตเกิดขึ้นมาจากหน่วยเล็กๆ ที่ประกอบกัน” ดังข้อ 1

3. เข้มแข็ง [Be Brave] : และจงมั่นใจในวิถีทางของตน

  เพื่อลด “ความหยิ่ง” ของตน, บะหมี่กระป๋อง “Jal De Sky [JALですかい]” ก็ถือกำเนิดขึ้นมา…

ทำไมต้องบะหมี่กระป๋อง ?

ว่ากันว่าจริงๆ แล้วบะหมี่กระป๋อง [Instant Noodle] ก็ไม่ได้สร้างกำไรมากมายอะไรให้ Japan Airlines ถึงขั้น “ฟื้นจากการล้มละลาย”, แต่ Inamori ใช้มันในฐานะ “กุศโลบาย” ที่ทำให้บรรดานางฟ้าทั้งหลายลดความหยิ่งลง…

ด้วยการขายบะหมี่กระป๋อง, ซึ่งเป็นอาหารญี่ปุ่นที่ราคาถูกสุดบนเครื่องบิน

[มีเรื่องเล่าว่าตัว Inamori เองก็ทำงานหนักมากเพื่อกอบกู้ JAL ถึงขั้นที่ทานบะหมี่กระป๋องให้คนอื่นเห็นบ่อยๆ]

“คืนหัวใจแห่งการบริการกลับมา”

ภายในเวลาไม่ถึงสองปี, Japan Airlines ก็คว้ารางวัล “สายการบินที่ตรงต่อเวลาที่สุดในโลก”

แล้ว Inamori ก็จากไป, แม้จะมีการทาบทามจากคณะรัฐมนตรีให้เขาอยู่ดูแล Jal ต่อก็ตาม

Jal De Sky Review : บะหมี่กระป๋องบนท้องฟ้า

ปัจจุบันเราสามารถ “ขอ” บะหมี่กระป๋องมาลองทานระหว่างบินได้หรือจะซื้อแบบยกชุดที่ Airport ก็มี

และบะหมี่กระป๋องของ Japan Airlines ยังมีรสใหม่ออกมาเรื่อยๆ [เป็นการทำตลาด Style ญี่ปุ่นจริงๆ]

แต่ที่ผมลงใน Review นี้คือ “Udon de Sky [うどんですかい]”

เมื่อเทียบกับบะหมี่แบบ Soba & Ramen, เส้น “อุด้ง [Udon]” จะหนาและหนักกว่านิดหน่อย

ในกระป๋องก็ยังมีลูกชิ้นปลารูปเครื่องบิน [!] / เต้าหู้ทอด / ต้นหอมและผงเครื่องปรุงโรยมาเสร็จสรรพ, แค่เติมน้ำร้อนลงไปแล้วรอสามนาทีก็ทานได้ [แต่เรื่องรสชาติก็ถือว่าธรรมดาตามประสาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ออกเค็มเป็นหลัก]

รวมๆ แล้วผมชอบสูตรดั้งเดิมที่เป็นเส้น Ramen มากกว่าครับ

Japan Airlines as a Case Study : สายการบินนี้สอนอะไร ?

กลับไปอ่าน Paragraph ที่สองว่าด้วยเรื่องของทฤษฏีแห่ง Amoeba ได้…

ไม่มากก็น้อย, ผมว่าสิ่งที่ Inamori คิดคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงใกล้ตัว

เรามักมองแต่ยอดของ Pyramid, ผู้ที่อยู่บนสุดย่อมมีความสำคัญมากกว่า

และดูเหมือนว่าตัวผู้บริหารเองก็คิดเช่นนั้น

โดยลืมความสำคัญของ “อิฐ” ก้อนล่างสุดซึ่งก็คือตัว Pyramid เช่นกัน

หากไม่อยากเปรียบตัวเองเป็น “เชื้อโรค”, ผมก็มองว่า “ส่วนผสม” ใน Ramen เองก็ใช่และเราไม่สามารถเรียกชามที่มีบะหมี่เปล่าๆ หรือมีแค่น้ำแกงว่า “Ramen” ได้ แต่ทั้งหมดต้องประกอบกับขึ้นมาจากเส้น / หมูและน้ำซุปครับ

ส่วน “สายการบินแห่งชาติที่กำลังประสบปัญหาใกล้ล้มละลาย” นั้น, ผมหมายถึง Mongolian Airlines ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ “การบินไทย” ที่ขาดทุน 12600 ล้านบาทจนต้องรัฐบาลเอาภาษีประชาชนไปค้ำไว้โดยไม่แก้ไขแต่อย่างใด…

แอร์ฯ หยิ่งนี่ไม่ดีนะครับ

Credit : http://www.cookiecoffee.com/food/79500/japan-airlines-jal-de-sky-ramen-bankruptcy-review-iphone-6s

=========================================================================
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่