แขนงวิชาของการถ่ายภาพแตกย่อยออกเป็นหมวดต่างๆมากมาย ที่รู้จักโดยทั่วไปคงไม่พ้นการถ่ายภาพบุคคล (Portrait), ภูมิทัศน์ (Landscape), ชีวลักษณ์ (Still Life), ภาพตามท้องถนน (Street) และอื่นๆอีกมาก แต่เมื่อเราจำกัดความของการใช้กล้องเพื่อการท่องเที่ยวแล้ว มีทักษะใดบ้างที่ควรมีติดตัวเอาไว้เพื่อที่จะได้ใช้สอยประโยชน์ได้ทันทีเมื่อสถานการณ์มาถึง ด้วยข้อจำกัดของการเป็นนักท่องเที่ยวเพียงเท่านั้น
การเป็นนักท่องเที่ยวที่ถ่ายภาพเป็น..
'นักท่องเที่ยวที่ถ่ายภาพเป็น' อาจหมายถึง คนที่ไปนั่นไปนี่โดยมีสาระสำคัญคือการท่องเที่ยวเป็นหลักแต่มีทักษะถ่ายภาพติดตัว ไม่ได้มีความคิดว่าจะต้องบากบั่นเพี่อไปรอช่วงจังหวะนาทีทองหรืออดทนเฝ้ารอภาพที่ล้ำค่าในชีวิต แต่เป็นคนธรรมดาที่มีกล้องติดตัวและอยากเก็บภาพช่วงเวลาที่ได้ไปสัมผัสมา ยิ่งในยุคที่ใครก็ถ่ายภาพได้ง่ายๆแบบนี้ ทำให้กล้องถ่ายภาพดิจิตอลได้แทรกซึมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนในยุคไซเบอร์กันหมดแล้ว
จำกัดความหมายของคำว่า "นักท่องเที่ยวที่ถ่ายภาพเป็น" ให้มีขอบเขตที่แคบลงจึงเป็นการพูดถึง
คนที่ต้องพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก แทบไม่มีอุปกรณ์ใดๆช่วยเหลือเลยนอกจากกล้องถ่ายรูปและเลนส์
บทความนี้จึงเป็นการกล่าวถึงทักษะกว้างๆที่นักท่องเที่ยวต้องประสบ โดยพูดถึงสถานการณ์จริงและวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นหรือการฝึกฝนที่จำเป็นเพื่อที่จะได้ภาพถ่ายที่มีคุณภาพมากที่สุดเท่าที่ทำได้
***เนื่องจากในบทความมีการแนะนำระยะของเลนส์ที่ใช้ด้วย และกล้องที่ผมใช้เป็นของค่าย FujiFilm (ระยะจะถูกคูณด้วย 1.5 ซึ่งเป็นผลจากเซ็นเซอร์ APS-C) จึงมีแต่การพูดถึงเลนส์ค่ายนี้ อย่างไรก็ตามผู้อ่านสามารถหาเลนส์ระยะเทียบเคียงได้ครับ
ความเข้าใจเกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพดิจิตอลเบื้องต้น
กล้องคอมแพค (เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป)
กล้องไร้กระจก (เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการภาพคุณภาพดี)
กล้องแบบกระจกสะท้อน (ทั่วไป-มืออาชีพ)
กล้องถ่ายภาพดิจิตอลก็คือกล้องที่เราใช้ๆกันอยู่นี่ล่ะครับ เป็นอุปกรณ์ที่เราใช้บันทึกภาพซึ่งน้อยคนที่จะไม่รู้จัก ทุกวันนี้แค่คุณมีโทรศัพท์ที่ถ่ายรูปได้นั่นก็คือกล้องดิจิตอลแล้ว กลไกของกล้องดิจิตอลนี้ใช้เซ็นเซอร์รับภาพซึ่งเข้ามาแทนฟิล์ม คอยแปลงสัญญาณภาพและเข้ารหัสให้อยู่ในไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าจะต้องเปลืองฟิล์มกันอีกแล้ว
แต่ถ้าพูดถึงกล้องดิจิตอลในระดับที่สูงขึ้นมาหน่อย หลักๆแล้วมีสามประเภทด้วยกัน ได้แก่ กล้องคอมแพค (ขนาดกระทัดรัดใช้งานง่าย) และกล้องระดับมืออาชีพอย่าง DSLR ที่มีกลไกฟังก์ชั่นให้ใช้สอยได้อย่างเต็มรูปแบบ และในประเภทสุดท้ายคือกล้องไร้กระจก (Mirrorless) ซึ่งเป็นกล้องที่ผมใช้อยู่ มีขนาดเล็กแต่คุณภาพที่ได้นั้นเทียบเท่ากล้องใหญ่เลยทีเดียว
การเลือกซื้อกล้องถ่ายภาพดิจิตอลสำหรับคนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยจึงมีปัญหาเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เช่น "ฉันควรจะใช้กล้องอะไรดี" เพราะมีหลายค่ายหลายรุ่นให้เลือกเต็มไปหมด
ความเข้าใจเกี่ยวกับเลนส์ถ่ายภาพเบื้องต้น
นักท่องเที่ยวที่ใช้กล้องถ่ายภาพดิจิตอลแบบเปลี่ยนเลนส์ได้ (Interchangeable-Lens Digital Camera) เรื่องของการเลือกใช้ประเภทของเลนส์นับเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องศึกษาเอาไว้นะครับ จะได้ไม่มานั่งปวดหัวว่าฉันซื้อเลนส์อะไรมาใช้ก็ไม่รู้ในภายหลัง
ตัวกำกับย่อของเลนส์ถ่ายภาพนั้น จะอยู่ในรูปของ [(ชื่อรุ่น)(ทางยาวโฟกัส)(รูรับแสงกว้างสุดที่เลนส์ทำได้)]
ยกตัวอย่างเช่น XF 23mm f/1.4 สัญลักษณ์ XF เป็นสัญลักษณ์เลนส์เกรดคุณภาพของค่าย FujiFilm, 23mm หมายถึงระยะทางยาวโฟกัสซึ่งเป็นระยะทั่วไปเมื่อประกบกับเซ็นเซอร์ขนาด APS-C (เซ็นเซอร์ชนาดนี้ เล็กกว่าเซ็นเซอร์แบบอัตราส่วน 1:1 ต้องคูณด้วย 1.5 = 34.5mm เทียบเท่าในกล้องฟิล์มขนาด 35mm นั่นเอง เวลายกกล้องเล็งขึ้นมาจะใกล้เคียงกับตาเห็น) และ f/1.4 เป็นขนาดรูรับแสงกว้างสุดซึ่งถือว่ายิ่งเลขน้อยยิ่งกว้างมาก 1.4 นี่ก็กว้างมากเลยครับ ยิ่งกว้างก็ยิ่งแพงด้วยนะมีผลต่อการละลายฉากหลังด้วย
หมายเหตุ : เลนส์ที่ซูมได้จะเป็นตัวเลข (ทางยาวโฟกัสต่ำสุด)-(ทางยาวโฟกัสสูงสุด) เช่น XF 18-135mm ข้อดีคือซูมได้ไม่ต้องเหนื่อยมากในการวิ่งหาระยะ ข้อเสียคือคุณภาพต่ำกว่าเลนส์ที่ซูมไม่ได้เพราะมีความคลาดเคลื่อนของชิ้นแก้วที่เพิ่มเข้ามา
ระยะทางยาวโฟกัสถ้าตัวเลขน้อยจะเหมือนกับเราเดินถอยหลังออกไป มุมรับภาพจะกว้างขึ้นแต่ถ้าเลขทางยาวโฟกัสมีมากก็เหมือนภาพถูกซูมเข้ามาครับ มีผลต่อภาพและการละลายที่เกิดด้วย
ลองนึกถึงเวลาที่คุณยกกล้องถ่ายพระอาทิตย์สิ ถ้าเลนส์ซูมไม่ได้คุณไม่มีวันจะวิ่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์หรือทำให้ดวงอาทิตย์ใหญ่ขึ้นได้เลย แต่ถ้าซูมได้หรือเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากๆ ดวงอาทิตย์ก็ดูเหมือนจะเข้าใกล้ตาเรามากยิ่งขึ้น นี่คือประโยชน์ของเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากๆครับ ส่วนข้อเสียก็คือหาโอกาสถ่ายได้ยากถ้าไม่ตั้งใจกันจริงๆ แถมโอกาสที่ภาพจะเบลอจากการถ่ายด้วยมือสูงกว่าเลนส์ระยะทางยาวต่ำๆด้วย
ทักษะที่จำเป็น : การถ่ายภาพบุคคล (Portrait)
ถ้าไม่มีการจัดฉากหรืออะไรมาปรุงแต่งเลย
ก็คงต้องเป็นเรื่องของแววตาและอารมณ์ภาพแล้วล่ะ
FujiFilm FinePix X100s (23mm เทียบเท่าประมาณ 35mm)
ทักษะในการถ่ายภาพบุคคลถือเป็นสิ่งจำเป็นระดับต้นๆที่ต้องพูดถึง แค่คุณยกกล้องเซลฟี่ตัวเองก็ถือว่าเป็นภาพบุคคลแล้วนะครับ การถ่ายภาพบุคคลนั้นก็แยกออกเป็นประเภทย่อยๆได้อีกเยอะ แต่ที่นักท่องเที่ยวอย่างเราๆไปเจอคงไม่พ้นภาพถ่ายบุคคลแนวธรรมชาติ (Natural Portrait) คือตัวแบบเป็นแบบไหนก็ถ่ายแบบนั้น แสงมีแค่ไหนก็ต้องถ่ายแบบนั้นตามมีตามเกิด การวิ่งหาทิศทางแสงที่เหมาะสมหรือโอกาสดีๆในการถ่ายทอดวิถีชีวิตของชาวบ้านหรือคนแถวนั้นจะมีพลังหรือไม่ก็จะอยู่ที่แววตาเป็นหลักครับ ของอย่างนี้ลองฝึกบ่อยๆนะครับ
ทักษะที่จำเป็น : การถ่ายภาพภูมิทัศน์ (Landscape)
เห็นได้บ่อยมากสำหรับผู้ที่ชอบท่องเที่ยวแล้วอยากเก็บภาพสถานที่ซึ่งเคยไปเยือนมาเป็นที่ระลึก อาจจะหมายความรวมไปถึงการถ่ายภาพแนวชุมชนเมือง, สถาปัตยกรรม หรือภาพที่มีการแสดงความกว้างไกลออกไปมากๆเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นจะเป็นวิวภูเขา, ทะเล, ตึกรามบ้านช่องก็ได้ทั้งนั้น
เทคนิคของการถ่ายภาพแนวนี้สำคัญคือระนาบหรือความถูกต้องของทัศนมิติ (Perspective Correction) ให้ลองเปิดโหมดวัดระนาบดูนะครับว่าได้ความเที่ยงตรงหรือไม่ แม้ว่าท้ายที่สุดคุณอาจจะคิดว่าถ่ายมาเอียงก็แก้ในคอมพิวเตอร์ได้
แต่การทำทุกอย่างให้เรียบร้อยตั้งแต่หน้ากล้องคือสิ่งที่ดีที่สุดนะครับ ภาพที่ตึกตรงเป็นเส้นตรงหรือทะเลที่สุดลูกหูลูกตาจนไปตัดเป็นเส้นนอนกับท้องฟ้าดูน่าสนใจต่อผู้พบเห็นมากเลยทีเดียว
ทักษะที่จำเป็น : การถ่ายภาพชีวลักษณ์ (Still Life)
ภาพถ่ายแนวชีวลักษณ์หรือภาพถ่ายสิ่งที่ไม่มีชีวิตนั้นมีความยากซ่อนอยู่ในความง่าย นักท่องเที่ยวอย่างเราๆก็อยากเก็บรายละเอียดของสถานที่ต่างๆที่ได้ไปเช่นสิ่งของ, รายละเอียดต่างๆ และอื่นๆ เนื่องจากเป็นการถ่ายสิ่งที่ไม่มีชีวิตโดยส่วนใหญ่ มุมมองและการนำเสนอจึงต้องมีการใส่จินตนาการหรือประสบการณ์ในชีวิตที่ผ่านมาเข้าไปด้วย
การถ่ายภาพแนวนี้นั้นส่วนตัวผมคิดว่ายากกว่าการถ่ายภาพหลายๆแบบที่เคยถ่าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ถ่ายมีความซีเรียสเพียงใดในการบันทึกภาพ เอาเข้าจริงการเป็นนักท่องเที่ยวมักถูกจำกัดด้วยภาพแวดล้อมและเวลาอยู่แล้ว (มักจะนึกไม่ทันถ่าย) เรื่องของความเข้าใจต่างๆไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ (Space), ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของวัตถุที่สนใจ (Subject) และวัตถุอื่น (Object), การสร้างมิติ (Dimension), ความเข้าใจในสิ่งที่กำลังถูกบันทึก ฯลฯ แทบจะต้องคิดได้ในเวลารวดเร็ว ทั้งนี้เป็นเรื่องของการฝึกฝนมาก่อนด้วยจึงจะออกมาด้วยสัญชาตญาณ เรียกว่าฝึกถ่ายมาจนหยิบใช้ได้ว่างั้นเถอะ
ในระดับที่สูงขึ้นไปนั้นอาจจะมีการใช้ทิศทางแสงและเงาของสภาพแวดล้อมเข้ามาประกอบ รวมไปถึงการจัดองค์ประกอบเข้าไปด้วย ว่ากันว่าการถ่ายภาพแนวนี้สามารถสะท้อนรสนิยมและทัศนคติของผู้ถ่ายได้เลยทีเดียว
ทักษะที่จำเป็น : การถ่ายภาพอาหาร (Food)
วัตถุที่มีรายละเอียดตามความสูงอาจต้องเก็บภาพแบบนี้
FujiFilm FinePix X-Pro1 + Carl Zeiss Touit Planar 32mm f/1.8
Food Photography ถือเป็นแขนงหนึ่งของการถ่ายภาพชีวลักษณ์ (Still Life) เรียกว่าตัดประเด็นเรื่องการถ่ายภาพเพื่อการค้า (Commercial) ออกไปได้เลยนะครับ เพราะเราจะถ่ายภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติจริงๆเท่านั้น ทุกวันนี้เรียกได้ว่าใครๆก็ถ่ายสิ่งที่ตัวเองกินเข้าไปกันมากมาย เพราะการกินเกิดขึ้นได้ทุกวัน ทำไมคุณจะไม่ลองฝึกฝนทักษะเพื่อสิ่งเหล่านี้บ้างล่ะ
อย่างเวลาผมไปเที่ยวตระเวณกิน ถ้าเป็นร้านอาหารที่สามารถจองที่นั่งได้ก็จะเลือกมุมข้างหน้าต่างไว้ก่อนเพราะแสงนุ่มที่สุด ให้แสงยิงเข้ามาจากทางด้านหลังแบบเฉียง 45 องศา นอกจากนี้ภาชนะหรือประเภทของอาหารที่รับประทานก็มีผลต่อมุมที่เลือกใช้ด้วย เช่นสปาเก็ตตี้ที่มีมิติแทบจะแบนราบ ก็อาจจะต้องใช้มุมแบบ 90 หรือใช้ส้อมยกขึ้นมาแล้วถ่ายแบบเอียง 45 องศาเอา
เนื่องด้วยการถ่ายภาพอาหารนั้นจำเป็นที่จะต้องซีเรียสเรื่องความผิดเพี้ยนของภาพให้น้อยเข้าไว้ ระยะทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่ใช้จึงต้องเกินกว่า 35 mm ขึ้นก็พอยอมรับได้ ถ้ามีโอกาสหรือสามารถใช้ระยะที่ยาวกว่านี้ได้ (อย่างผมใช้ 50 - 75mm แหน่ะ) ก็ควรลองดูนะครับ
ทักษะที่จำเป็น : การถ่ายภาพบนท้องถนน (Street)
ความรวดเร็วในการตั้งค่ากล้องและผู้บันทึกเท่านั้นที่จะคว้าจังหวะเอาไว้ได้ในการถ่ายภาพประเภทนี้
(ซึ่งผมก็พลาดบ่อยมากเลยล่ะ)
FujiFilm FinePix X-Pr01 + Carl Zeiss Touit Planar 32mm f/1.8
การถ่ายภาพบนท้องถนนเน้นความฉับไวในการช่วงชิงจังหวะหรือความสามารถในการสังเกตสิ่งรอบตัวเป็นหลัก อีกทั้งความรวดเร็วในการเข้าถึงโหมดต่างๆอย่างก็สำคัญยิ่งหย่อนไม่แพ้กัน ผู้บันทึกภาพจึงต้องมีความเข้าใจความสัมพันธ์ต่างๆและตัวเลือกที่ใช้ในกล้องเป็นอย่างดีก่อนถ่ายภาพประเภทนี้
ในบางครั้งการกำหนดค่าความไวแสง (ISO) ถูกตั้งไว้อัตโนมัติจนถึงค่ากำหนดที่ผู้ถ่ายยอมรับได้ และความเร็วชัตเตอร์ก็ต้องถูกตั้งไว้แบบตายตัวเพื่อให้เป็นที่มันใจได้ว่าภาพที่ได้ไม่มีความสั่นไหวแน่นอน (Shutter Priority Mode) ความสำคัญที่น้อยที่สุดจึงเป็นเรื่องของรูรับแสงที่ส่งผลถึงระยะชัดกับการถ่ายแนวนี้ แต่หากมีโอกาสผู้ถ่ายก็ควรใส่ใจเช่นกัน
เรื่องของการเข้าถึงตัวแบบนั้นถ้าใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากๆมาทดแทนนั้นอาจจะช่วยได้บ้าง แต่ประเภทของกล้องที่ไม่สร้างความตื่นตระหนกให้กับวัตถุสิ่งมีชีวิตในภาพก็จำเป็นเช่นกันครับ
พยายามจะเอาบทความที่เขียนไว้ในนี้มาให้อ่านนะครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้www.dozzdiy.com/บล็อก หรือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/dozzdiy
ทักษะถ่ายภาพที่นักท่องเที่ยวควรมีติดตัว
การเป็นนักท่องเที่ยวที่ถ่ายภาพเป็น..
'นักท่องเที่ยวที่ถ่ายภาพเป็น' อาจหมายถึง คนที่ไปนั่นไปนี่โดยมีสาระสำคัญคือการท่องเที่ยวเป็นหลักแต่มีทักษะถ่ายภาพติดตัว ไม่ได้มีความคิดว่าจะต้องบากบั่นเพี่อไปรอช่วงจังหวะนาทีทองหรืออดทนเฝ้ารอภาพที่ล้ำค่าในชีวิต แต่เป็นคนธรรมดาที่มีกล้องติดตัวและอยากเก็บภาพช่วงเวลาที่ได้ไปสัมผัสมา ยิ่งในยุคที่ใครก็ถ่ายภาพได้ง่ายๆแบบนี้ ทำให้กล้องถ่ายภาพดิจิตอลได้แทรกซึมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนในยุคไซเบอร์กันหมดแล้ว
จำกัดความหมายของคำว่า "นักท่องเที่ยวที่ถ่ายภาพเป็น" ให้มีขอบเขตที่แคบลงจึงเป็นการพูดถึงคนที่ต้องพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก แทบไม่มีอุปกรณ์ใดๆช่วยเหลือเลยนอกจากกล้องถ่ายรูปและเลนส์
บทความนี้จึงเป็นการกล่าวถึงทักษะกว้างๆที่นักท่องเที่ยวต้องประสบ โดยพูดถึงสถานการณ์จริงและวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นหรือการฝึกฝนที่จำเป็นเพื่อที่จะได้ภาพถ่ายที่มีคุณภาพมากที่สุดเท่าที่ทำได้
***เนื่องจากในบทความมีการแนะนำระยะของเลนส์ที่ใช้ด้วย และกล้องที่ผมใช้เป็นของค่าย FujiFilm (ระยะจะถูกคูณด้วย 1.5 ซึ่งเป็นผลจากเซ็นเซอร์ APS-C) จึงมีแต่การพูดถึงเลนส์ค่ายนี้ อย่างไรก็ตามผู้อ่านสามารถหาเลนส์ระยะเทียบเคียงได้ครับ
ความเข้าใจเกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพดิจิตอลเบื้องต้น
กล้องคอมแพค (เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป)
กล้องไร้กระจก (เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการภาพคุณภาพดี)
กล้องแบบกระจกสะท้อน (ทั่วไป-มืออาชีพ)
กล้องถ่ายภาพดิจิตอลก็คือกล้องที่เราใช้ๆกันอยู่นี่ล่ะครับ เป็นอุปกรณ์ที่เราใช้บันทึกภาพซึ่งน้อยคนที่จะไม่รู้จัก ทุกวันนี้แค่คุณมีโทรศัพท์ที่ถ่ายรูปได้นั่นก็คือกล้องดิจิตอลแล้ว กลไกของกล้องดิจิตอลนี้ใช้เซ็นเซอร์รับภาพซึ่งเข้ามาแทนฟิล์ม คอยแปลงสัญญาณภาพและเข้ารหัสให้อยู่ในไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าจะต้องเปลืองฟิล์มกันอีกแล้ว
แต่ถ้าพูดถึงกล้องดิจิตอลในระดับที่สูงขึ้นมาหน่อย หลักๆแล้วมีสามประเภทด้วยกัน ได้แก่ กล้องคอมแพค (ขนาดกระทัดรัดใช้งานง่าย) และกล้องระดับมืออาชีพอย่าง DSLR ที่มีกลไกฟังก์ชั่นให้ใช้สอยได้อย่างเต็มรูปแบบ และในประเภทสุดท้ายคือกล้องไร้กระจก (Mirrorless) ซึ่งเป็นกล้องที่ผมใช้อยู่ มีขนาดเล็กแต่คุณภาพที่ได้นั้นเทียบเท่ากล้องใหญ่เลยทีเดียว
การเลือกซื้อกล้องถ่ายภาพดิจิตอลสำหรับคนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยจึงมีปัญหาเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เช่น "ฉันควรจะใช้กล้องอะไรดี" เพราะมีหลายค่ายหลายรุ่นให้เลือกเต็มไปหมด
ความเข้าใจเกี่ยวกับเลนส์ถ่ายภาพเบื้องต้น
นักท่องเที่ยวที่ใช้กล้องถ่ายภาพดิจิตอลแบบเปลี่ยนเลนส์ได้ (Interchangeable-Lens Digital Camera) เรื่องของการเลือกใช้ประเภทของเลนส์นับเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องศึกษาเอาไว้นะครับ จะได้ไม่มานั่งปวดหัวว่าฉันซื้อเลนส์อะไรมาใช้ก็ไม่รู้ในภายหลัง
ตัวกำกับย่อของเลนส์ถ่ายภาพนั้น จะอยู่ในรูปของ [(ชื่อรุ่น)(ทางยาวโฟกัส)(รูรับแสงกว้างสุดที่เลนส์ทำได้)]
ยกตัวอย่างเช่น XF 23mm f/1.4 สัญลักษณ์ XF เป็นสัญลักษณ์เลนส์เกรดคุณภาพของค่าย FujiFilm, 23mm หมายถึงระยะทางยาวโฟกัสซึ่งเป็นระยะทั่วไปเมื่อประกบกับเซ็นเซอร์ขนาด APS-C (เซ็นเซอร์ชนาดนี้ เล็กกว่าเซ็นเซอร์แบบอัตราส่วน 1:1 ต้องคูณด้วย 1.5 = 34.5mm เทียบเท่าในกล้องฟิล์มขนาด 35mm นั่นเอง เวลายกกล้องเล็งขึ้นมาจะใกล้เคียงกับตาเห็น) และ f/1.4 เป็นขนาดรูรับแสงกว้างสุดซึ่งถือว่ายิ่งเลขน้อยยิ่งกว้างมาก 1.4 นี่ก็กว้างมากเลยครับ ยิ่งกว้างก็ยิ่งแพงด้วยนะมีผลต่อการละลายฉากหลังด้วย
หมายเหตุ : เลนส์ที่ซูมได้จะเป็นตัวเลข (ทางยาวโฟกัสต่ำสุด)-(ทางยาวโฟกัสสูงสุด) เช่น XF 18-135mm ข้อดีคือซูมได้ไม่ต้องเหนื่อยมากในการวิ่งหาระยะ ข้อเสียคือคุณภาพต่ำกว่าเลนส์ที่ซูมไม่ได้เพราะมีความคลาดเคลื่อนของชิ้นแก้วที่เพิ่มเข้ามา
ระยะทางยาวโฟกัสถ้าตัวเลขน้อยจะเหมือนกับเราเดินถอยหลังออกไป มุมรับภาพจะกว้างขึ้นแต่ถ้าเลขทางยาวโฟกัสมีมากก็เหมือนภาพถูกซูมเข้ามาครับ มีผลต่อภาพและการละลายที่เกิดด้วย
ลองนึกถึงเวลาที่คุณยกกล้องถ่ายพระอาทิตย์สิ ถ้าเลนส์ซูมไม่ได้คุณไม่มีวันจะวิ่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์หรือทำให้ดวงอาทิตย์ใหญ่ขึ้นได้เลย แต่ถ้าซูมได้หรือเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากๆ ดวงอาทิตย์ก็ดูเหมือนจะเข้าใกล้ตาเรามากยิ่งขึ้น นี่คือประโยชน์ของเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากๆครับ ส่วนข้อเสียก็คือหาโอกาสถ่ายได้ยากถ้าไม่ตั้งใจกันจริงๆ แถมโอกาสที่ภาพจะเบลอจากการถ่ายด้วยมือสูงกว่าเลนส์ระยะทางยาวต่ำๆด้วย
ก็คงต้องเป็นเรื่องของแววตาและอารมณ์ภาพแล้วล่ะ
FujiFilm FinePix X100s (23mm เทียบเท่าประมาณ 35mm)
เห็นได้บ่อยมากสำหรับผู้ที่ชอบท่องเที่ยวแล้วอยากเก็บภาพสถานที่ซึ่งเคยไปเยือนมาเป็นที่ระลึก อาจจะหมายความรวมไปถึงการถ่ายภาพแนวชุมชนเมือง, สถาปัตยกรรม หรือภาพที่มีการแสดงความกว้างไกลออกไปมากๆเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นจะเป็นวิวภูเขา, ทะเล, ตึกรามบ้านช่องก็ได้ทั้งนั้น
เทคนิคของการถ่ายภาพแนวนี้สำคัญคือระนาบหรือความถูกต้องของทัศนมิติ (Perspective Correction) ให้ลองเปิดโหมดวัดระนาบดูนะครับว่าได้ความเที่ยงตรงหรือไม่ แม้ว่าท้ายที่สุดคุณอาจจะคิดว่าถ่ายมาเอียงก็แก้ในคอมพิวเตอร์ได้ แต่การทำทุกอย่างให้เรียบร้อยตั้งแต่หน้ากล้องคือสิ่งที่ดีที่สุดนะครับ ภาพที่ตึกตรงเป็นเส้นตรงหรือทะเลที่สุดลูกหูลูกตาจนไปตัดเป็นเส้นนอนกับท้องฟ้าดูน่าสนใจต่อผู้พบเห็นมากเลยทีเดียว
ภาพถ่ายแนวชีวลักษณ์หรือภาพถ่ายสิ่งที่ไม่มีชีวิตนั้นมีความยากซ่อนอยู่ในความง่าย นักท่องเที่ยวอย่างเราๆก็อยากเก็บรายละเอียดของสถานที่ต่างๆที่ได้ไปเช่นสิ่งของ, รายละเอียดต่างๆ และอื่นๆ เนื่องจากเป็นการถ่ายสิ่งที่ไม่มีชีวิตโดยส่วนใหญ่ มุมมองและการนำเสนอจึงต้องมีการใส่จินตนาการหรือประสบการณ์ในชีวิตที่ผ่านมาเข้าไปด้วย
การถ่ายภาพแนวนี้นั้นส่วนตัวผมคิดว่ายากกว่าการถ่ายภาพหลายๆแบบที่เคยถ่าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ถ่ายมีความซีเรียสเพียงใดในการบันทึกภาพ เอาเข้าจริงการเป็นนักท่องเที่ยวมักถูกจำกัดด้วยภาพแวดล้อมและเวลาอยู่แล้ว (มักจะนึกไม่ทันถ่าย) เรื่องของความเข้าใจต่างๆไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ (Space), ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของวัตถุที่สนใจ (Subject) และวัตถุอื่น (Object), การสร้างมิติ (Dimension), ความเข้าใจในสิ่งที่กำลังถูกบันทึก ฯลฯ แทบจะต้องคิดได้ในเวลารวดเร็ว ทั้งนี้เป็นเรื่องของการฝึกฝนมาก่อนด้วยจึงจะออกมาด้วยสัญชาตญาณ เรียกว่าฝึกถ่ายมาจนหยิบใช้ได้ว่างั้นเถอะ
ในระดับที่สูงขึ้นไปนั้นอาจจะมีการใช้ทิศทางแสงและเงาของสภาพแวดล้อมเข้ามาประกอบ รวมไปถึงการจัดองค์ประกอบเข้าไปด้วย ว่ากันว่าการถ่ายภาพแนวนี้สามารถสะท้อนรสนิยมและทัศนคติของผู้ถ่ายได้เลยทีเดียว
FujiFilm FinePix X-Pro1 + Carl Zeiss Touit Planar 32mm f/1.8
Food Photography ถือเป็นแขนงหนึ่งของการถ่ายภาพชีวลักษณ์ (Still Life) เรียกว่าตัดประเด็นเรื่องการถ่ายภาพเพื่อการค้า (Commercial) ออกไปได้เลยนะครับ เพราะเราจะถ่ายภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติจริงๆเท่านั้น ทุกวันนี้เรียกได้ว่าใครๆก็ถ่ายสิ่งที่ตัวเองกินเข้าไปกันมากมาย เพราะการกินเกิดขึ้นได้ทุกวัน ทำไมคุณจะไม่ลองฝึกฝนทักษะเพื่อสิ่งเหล่านี้บ้างล่ะ
อย่างเวลาผมไปเที่ยวตระเวณกิน ถ้าเป็นร้านอาหารที่สามารถจองที่นั่งได้ก็จะเลือกมุมข้างหน้าต่างไว้ก่อนเพราะแสงนุ่มที่สุด ให้แสงยิงเข้ามาจากทางด้านหลังแบบเฉียง 45 องศา นอกจากนี้ภาชนะหรือประเภทของอาหารที่รับประทานก็มีผลต่อมุมที่เลือกใช้ด้วย เช่นสปาเก็ตตี้ที่มีมิติแทบจะแบนราบ ก็อาจจะต้องใช้มุมแบบ 90 หรือใช้ส้อมยกขึ้นมาแล้วถ่ายแบบเอียง 45 องศาเอา
เนื่องด้วยการถ่ายภาพอาหารนั้นจำเป็นที่จะต้องซีเรียสเรื่องความผิดเพี้ยนของภาพให้น้อยเข้าไว้ ระยะทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่ใช้จึงต้องเกินกว่า 35 mm ขึ้นก็พอยอมรับได้ ถ้ามีโอกาสหรือสามารถใช้ระยะที่ยาวกว่านี้ได้ (อย่างผมใช้ 50 - 75mm แหน่ะ) ก็ควรลองดูนะครับ
(ซึ่งผมก็พลาดบ่อยมากเลยล่ะ)
FujiFilm FinePix X-Pr01 + Carl Zeiss Touit Planar 32mm f/1.8
การถ่ายภาพบนท้องถนนเน้นความฉับไวในการช่วงชิงจังหวะหรือความสามารถในการสังเกตสิ่งรอบตัวเป็นหลัก อีกทั้งความรวดเร็วในการเข้าถึงโหมดต่างๆอย่างก็สำคัญยิ่งหย่อนไม่แพ้กัน ผู้บันทึกภาพจึงต้องมีความเข้าใจความสัมพันธ์ต่างๆและตัวเลือกที่ใช้ในกล้องเป็นอย่างดีก่อนถ่ายภาพประเภทนี้
ในบางครั้งการกำหนดค่าความไวแสง (ISO) ถูกตั้งไว้อัตโนมัติจนถึงค่ากำหนดที่ผู้ถ่ายยอมรับได้ และความเร็วชัตเตอร์ก็ต้องถูกตั้งไว้แบบตายตัวเพื่อให้เป็นที่มันใจได้ว่าภาพที่ได้ไม่มีความสั่นไหวแน่นอน (Shutter Priority Mode) ความสำคัญที่น้อยที่สุดจึงเป็นเรื่องของรูรับแสงที่ส่งผลถึงระยะชัดกับการถ่ายแนวนี้ แต่หากมีโอกาสผู้ถ่ายก็ควรใส่ใจเช่นกัน
เรื่องของการเข้าถึงตัวแบบนั้นถ้าใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากๆมาทดแทนนั้นอาจจะช่วยได้บ้าง แต่ประเภทของกล้องที่ไม่สร้างความตื่นตระหนกให้กับวัตถุสิ่งมีชีวิตในภาพก็จำเป็นเช่นกันครับ
พยายามจะเอาบทความที่เขียนไว้ในนี้มาให้อ่านนะครับ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ หรือ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้