ใครกำหนด บทประพันธ์ ศรีฟ้า ลดาวัล (ผู้แต่ง อีสา)
เรื่องย่อ
ศรีฟ้า ลดาวัลย์ เปิดเรื่องในนวนิยายของท่านด้วยคำประพันธ์ที่ว่า
อันชีวิต เราไซร้ ใครลิขิต
พระพรหมผู้ เทวฤทธิ์ หรือไฉน
หรือพระยม สมมติ เทพองค์ใด
หรือตัวเรา เองไซร้ ลิขิตมัน?
จึงหมุนเวียน เปลี่ยนไป ไม่สิ้นสุด
ประเดี๋ยวสุข ทุกข์สุด จะแปรผัน
มีทั้งยิ้ม ทั้งเศร้า คลุกเคล้ากัน
ชีวิตนั้น กำหนด ด้วยอะไร?
นวนิยายเรื่องนี้ เป็นนิยายพีเรียดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เล่าถึงชีวิตที่หมุนวนไปตามคลื่นแห่งกระแสกรรมของผู้หญิงคนหนึ่ง คุณนิ่ม หรือ หม่อมราชวงศ์ทาริกา บทมาลย์บำเรอ ธิดาคนสุดท้องของเจ้าพระยาบทมาลย์บำเรอรักษ์ ขุนนางในยุคที่ยังไม่เริ่มการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในท่ามกลางญาติพี่น้องนับยี่สิบชีวิตและข้าทาสบริวารอันพรั่งพร้อม เด็กหญิงผู้เป็นดั่งแก้วตาดวงใจของพระยาบทมาลย์ฯ ในวัยสนธยาผู้นี้ ช่างเป็นชีวิตที่รื่นรมย์มีความสุข ความทุกข์ใดๆหาได้แผ้วพานผ่านเข้ามาไม่ เด็กหญิงไม่รู้เลยแม้แต่น้อย ว่าภายใต้ชายคาอันกว้างใหญ่ไพศาล ที่เปรียบเสมือนปราการคุ้มภัยอันมั่นคงแข็งแกร่งนี้ ในความจริงแล้ว มันกำลังล่มสลายลงช้าๆ
ทุกข์แรก เริ่มต้นด้วยการจากไป ของมารดา ด้วยวัณโรคหรือฝีในท้องในเวลานั้น นั่นคือจุดเริ่มต้นของความสูญเสียที่ทาริการู้จักเป็นครั้งแรก
ต่อมา คือการเปลี่ยนแปลงการปกครอง... บทบาทของ ขุนนางอย่างเจ้าพระยาบทมาลย์ จำต้องเปลี่ยนไปตามยุคสังคมใหม่ในเวลานั้น ปัญหาของครอบครัวที่คุ้นชินกับความฟุ่มเฟือย และจมไม่ลง โดยไม่มีใครล่วงรู้ว่าข้าวของในบ้านถูกนำไปขาย เพื่อพยุงฐานะและเกียรติยศ...
ทาริกา เติบโตขึ้นเป็นสาวสะพรั่งพร้อมกับคุณแจ๋ว ลูกของภรรยาน้อยอีกท่านหนึ่งของพระยาบทมาลย์ฯ ในเวลาต่อมาชะตาชีวิตก็เริ่มหักเห เมื่อได้รู้จักกับ ไทยธชา ชายหนุ่มสุดโก้ผู้เรียนจบกฎหมายมาจากเมืองนอก และติดใจความงามของหญิงสาว ในที่สุดด้วยความรักและความเห็นชอบของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย ไทยธชาและทาริกา ก็แต่งงานกัน
ทุกอย่างคงจบลงด้วยความสุข ถ้าหากว่าในคืนวันส่งตัวเข้าหอนั้นเอง ไทยธชาประสบอุบัติเหตุอาการสาหัส!
หลังจากพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ทันทีเมื่อกลับมาถึงเรือนหอของตน และเตรียมตัวที่จะเดินทางไปเมืองนอกพร้อมกับภรรยาที่เพิ่งแต่งงานด้วย ไทยธชาก็พบว่า ทาริกา ต้องไปเฝ้าอาการบิดาที่เกิดอุบัติเหตุจนกลายเป็นอัมพาตไปเสียแล้ว
ชายหนุ่มต้องตัดใจ เดินทางไปเมืองนอกเพียงลำพัง
ดูเหมือนโชคชะตา จะกระหน่ำซ้ำเติมยิ่งขึ้นไปอีก อาการของพระยาบทมาลย์ฯ ทรุดหนักจนเสียชีวิตลงในเวลาต่อมา และแล้วความจริงเกี่ยวกับหนี้สินของตระกูลก็ปรากฏขึ้นจนญาติพี่น้องต่างเริ่มกินแหนงแคลงใจกัน จนนำมาซึ่งการทะเลาะเบาะแว้ง กระนั้นหญิงสาวก็ยังเหลือความหวังสุดท้าย จึงตัดสินใจที่จะเดินทางไปยังยุโรปเพื่อไปอยู่กับไทยธชา ที่ทำงานอยู่ที่นั่น
แต่แล้วสงครามโลกที่เริ่มต้นขึ้นทั้งฝั่งยุโรปและเอเชียเอง ก็ขวางกั้นไม่ให้การเดินทางนี้เกิดขึ้น กาลเวลาที่เนิ่นนานแม้หญิงสาวจะรอคอยสามีผู้เป็นที่รักอย่างอดทน แต่สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ไทยธชา ได้ภรรยาคนใหม่ที่เขาพบที่นั่นเสียแล้ว
ทาริกาตัดสินใจขอหย่า... หญิงสาววัยต้นยี่สิบที่บัดนี้กลายเป็นแม่ม่ายสามีทิ้ง กลายเป็นข่าวครึกโครมที่ใครๆก็พูดถึง จากชีวิตที่เคยอยู่อย่างสุขสบาย บัดนี้หล่อนต้องออกทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงชีวิต แต่ว่าความสวยนั้นดูเหมือนจะเป็นภัยให้ผู้ชายหลายคนคิดจะเข้ามาเพื่อหวังผล แต่ทาริกาก็ใช้สติและความทระนงในศักดิ์ศรี ข้ามผ่านเหตุการณ์เหล่านั้นไปได้ แต่ดูเหมือน “ใคร”ได้กำหนดชีวิตน้อยนี้เอาไว้แล้ว ให้ต้องเผชิญกับระลอกคลื่นใหม่ ที่ถาโถมเข้ามาอีกครั้ง ราวกับพระเจ้าเล่นตลก
ปริเยศ... ชายหนุ่มคนที่สองที่เข้ามาติดพันและเป็นนายจ้างของหญิงสาวนั้นเอง เขาไม่สนใจว่าหล่อนจะเป็นแม่ม่ายเคยผ่านผู้ชายมาก่อนหรือไม่ก็ตาม เขาประทับใจความเข้มแข็ง สู้ชีวิตของหญิงสาว แม้ว่าจะเกิดมาอย่างมีชาติตระกูลสูงส่ง ซ้ำต้องเผชิญกับปัญหาเพียงลำพังก็ตาม ความประทับใจนั้นแปรเปลี่ยนเป็นความรัก ในท่ามกลางเสียงนินทาของเพื่อนร่วมงาน ที่มองว่าหญิงสาวต้องการ “จับ”ปริเยศ และข่าวคาวต่างๆที่ เอ่ยถึงหญิงสาวในทางเสียหายมากมาย เขาได้พิสูจน์ตัวเอง และทำให้หญิงสาวยอมรับได้ในที่สุด ความรักครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างสวยงาม ถ้าหากว่า...
ปริเยศจะไม่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในวันที่จะแต่งงานกับหล่อน เป็นครั้งที่สอง!
มันเกิดขึ้นด้วยอารมณ์ชั่ววูบ ที่เขาหวาดระแวงหญิงสาว ว่าไปมีความสัมพันธ์กับท่านนายพลผู้หนึ่ง ตามข้อครหา และด้วยอารมณ์อันขาดสติ ปริเยศขับรถประสานงากับรถบรรทุกจนเสียชีวิต...
หล่อนตกเป็นเป้าสายตาของทุกคนที่นั่งอยู่ก่อน หลายคนเอนเข้าหากัน และซุบซิบ...
“นั่นไง คู่รักคุณปริเยศที่นั่งรถไปด้วยกัน เมียคุณไทยธชาเรอะ... เคราะห์กรรมของคุณปริเยศ แม่คนนี้ ใครๆเขาก็รู้กันว่าดวงแกไม่ดี แต่งงานครั้งแรก รถยนต์เจ้าบ่าวก็คว่ำวันส่งตัวนั่นเอง”
... ทาริกาพยายามสะกดความประหม่า และก้อนสะอื้นซึ่งวิ่งขึ้นมาจุกอยู่ในลำคอ หล่อนก้มลงกราบหีบศพ ขอบตาร้อนผ่าว แต่น้ำตานั้นไหลย้อนกลับไปภายในหมดสิ้น มือที่พยายามจุดธูปสั่นระริก จุดแล้วดับ จุดแล้วดับ เป็นหลายหน พอลุกแดง ควันธูปก็ลอยเป็นสาย ลมคงพัดช่วยให้ควันนั้นลอยวนเวียนอยู่เบื้องหน้าภาพปริเยศ
ทาริการู้สึกว่าศีรษะของหล่อนหมุนติ้ว เมื่อก้มลงกราบจึงฟุบอยู่ตรงนั้นชั่วขณะ หล่อนพยายามกัดฟันยกศีรษะขึ้น สีหน้าเผือดขาวปากสั่นระริก...
และบุรุษคนที่สามในชีวิตก็ก้าวเข้ามา เขายื่นมือช่วยเหลือหล่อนเอาไว้ในเวลาวิกฤตินั้นพอดี ปริวรรต เป็นลูกผู้พี่ของปริเยศ พ่อค้านักธุรกิจ ที่ถูกมองว่าเป็นเพลย์บอย เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ร่ำรวยขึ้นมาจากอาชีพทุจริต ซ้ำยังเป็น “ชู้รัก” กับ คุณหญิงรัชนีกร สาวใหญ่ผู้ร่ำรวยและทรงอิทธิพลของท่านนายพลท่านหนึ่งในยุคนั้นอีกด้วย
ปริวรรต ประทับใจหญิงสาวที่ยืนหยัดขึ้นไม่ว่าจะเผชิญอุปสรรคในชีวิตสักกี่ครั้งกี่หน ฝ่ากระแสแรงลมจากปากมนุษย์และเสียงเซ็งแซ่นินทาด้วยจิตอกุศลเหล่านั้นด้วยความกล้าหาญอดทน
เขาเองก็ไม่ใช่คนดีที่เพียบพร้อมเช่นกัน มีความเลวของความเป็นปุถุชนที่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหา จึงไม่ได้สนใจเสียงครหาเหล่านั้นสักน้อยนิด หรือแม้แต่ คำกล่าวที่ว่า หญิงสาวคือตัวกาลกิณี ที่ทำให้สามีต้องจากไปแล้วถึงสองคน
แต่สิ่งที่เขามี และมั่นใจว่ามีเหนือกว่าชายอีกสองคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของหญิงสาวก็คือความรักที่มั่นคง พร้อมจะมอบให้กับทาริกา ความเชื่อใจและศรัทธาซึ่งกันและกัน เขาพร้อมแล้วที่จะพิสูจน์ ทั้งข้อครหา และพิสูจน์หัวใจรักที่มีต่อหล่อน โดยใช้ชีวิตของตัวเองเป็นเดิมพัน...
นิยายขนาดยาวเรื่องนี้ ดำเนินเรื่องอย่างเข้มข้น ทั้งในด้านความเชื่อ สะท้อนชีวิตสังคมผู้ดี ในยุคขุนน้ำขุนนางก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนล่มสลายลงไปในที่สุด ชีวิตของทาริกา ก็เหมือนลอยอยู่ในทะเลแห่งมรสุม แต่หญิงสาวก็ไม่ได้ปล่อยให้ตัวเองต้องล่องลอยไปตามกระแสกรรมเหล่านั้น ตรงกันข้าม หล่อนกลับลุกขึ้นเพื่อเผชิญหน้ากับมันอย่างกล้าหาญ และจุดนี้เอง คือคำตอบที่ว่า ใครกำหนด
สำหรับผมแล้ว คิดว่าผู้ที่จะกำหนดชะตาชีวิต ให้เป็นไปในทิศทางใด ก็คือ ตัวของเราเอง!
ทาริกา หรือคุณนิ่ม เป็นตัวละครเอกของเรื่องนี้ขึ้นชื่อว่า ผู้หญิงกินสามี มักจะอาภัพรัก
อยากเห็นนางเอกคนไหน พลิกรับบทเป็น ทาริกา หรือ คุณนิ่ม ผู้หญิงอาภัพรัก เป็นผู้หญิงกินสามี ในเรื่อง "ใครกำหนด"
เรื่องย่อ
ศรีฟ้า ลดาวัลย์ เปิดเรื่องในนวนิยายของท่านด้วยคำประพันธ์ที่ว่า
อันชีวิต เราไซร้ ใครลิขิต
พระพรหมผู้ เทวฤทธิ์ หรือไฉน
หรือพระยม สมมติ เทพองค์ใด
หรือตัวเรา เองไซร้ ลิขิตมัน?
จึงหมุนเวียน เปลี่ยนไป ไม่สิ้นสุด
ประเดี๋ยวสุข ทุกข์สุด จะแปรผัน
มีทั้งยิ้ม ทั้งเศร้า คลุกเคล้ากัน
ชีวิตนั้น กำหนด ด้วยอะไร?
นวนิยายเรื่องนี้ เป็นนิยายพีเรียดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เล่าถึงชีวิตที่หมุนวนไปตามคลื่นแห่งกระแสกรรมของผู้หญิงคนหนึ่ง คุณนิ่ม หรือ หม่อมราชวงศ์ทาริกา บทมาลย์บำเรอ ธิดาคนสุดท้องของเจ้าพระยาบทมาลย์บำเรอรักษ์ ขุนนางในยุคที่ยังไม่เริ่มการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในท่ามกลางญาติพี่น้องนับยี่สิบชีวิตและข้าทาสบริวารอันพรั่งพร้อม เด็กหญิงผู้เป็นดั่งแก้วตาดวงใจของพระยาบทมาลย์ฯ ในวัยสนธยาผู้นี้ ช่างเป็นชีวิตที่รื่นรมย์มีความสุข ความทุกข์ใดๆหาได้แผ้วพานผ่านเข้ามาไม่ เด็กหญิงไม่รู้เลยแม้แต่น้อย ว่าภายใต้ชายคาอันกว้างใหญ่ไพศาล ที่เปรียบเสมือนปราการคุ้มภัยอันมั่นคงแข็งแกร่งนี้ ในความจริงแล้ว มันกำลังล่มสลายลงช้าๆ
ทุกข์แรก เริ่มต้นด้วยการจากไป ของมารดา ด้วยวัณโรคหรือฝีในท้องในเวลานั้น นั่นคือจุดเริ่มต้นของความสูญเสียที่ทาริการู้จักเป็นครั้งแรก
ต่อมา คือการเปลี่ยนแปลงการปกครอง... บทบาทของ ขุนนางอย่างเจ้าพระยาบทมาลย์ จำต้องเปลี่ยนไปตามยุคสังคมใหม่ในเวลานั้น ปัญหาของครอบครัวที่คุ้นชินกับความฟุ่มเฟือย และจมไม่ลง โดยไม่มีใครล่วงรู้ว่าข้าวของในบ้านถูกนำไปขาย เพื่อพยุงฐานะและเกียรติยศ...
ทาริกา เติบโตขึ้นเป็นสาวสะพรั่งพร้อมกับคุณแจ๋ว ลูกของภรรยาน้อยอีกท่านหนึ่งของพระยาบทมาลย์ฯ ในเวลาต่อมาชะตาชีวิตก็เริ่มหักเห เมื่อได้รู้จักกับ ไทยธชา ชายหนุ่มสุดโก้ผู้เรียนจบกฎหมายมาจากเมืองนอก และติดใจความงามของหญิงสาว ในที่สุดด้วยความรักและความเห็นชอบของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย ไทยธชาและทาริกา ก็แต่งงานกัน
ทุกอย่างคงจบลงด้วยความสุข ถ้าหากว่าในคืนวันส่งตัวเข้าหอนั้นเอง ไทยธชาประสบอุบัติเหตุอาการสาหัส!
หลังจากพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ทันทีเมื่อกลับมาถึงเรือนหอของตน และเตรียมตัวที่จะเดินทางไปเมืองนอกพร้อมกับภรรยาที่เพิ่งแต่งงานด้วย ไทยธชาก็พบว่า ทาริกา ต้องไปเฝ้าอาการบิดาที่เกิดอุบัติเหตุจนกลายเป็นอัมพาตไปเสียแล้ว
ชายหนุ่มต้องตัดใจ เดินทางไปเมืองนอกเพียงลำพัง
ดูเหมือนโชคชะตา จะกระหน่ำซ้ำเติมยิ่งขึ้นไปอีก อาการของพระยาบทมาลย์ฯ ทรุดหนักจนเสียชีวิตลงในเวลาต่อมา และแล้วความจริงเกี่ยวกับหนี้สินของตระกูลก็ปรากฏขึ้นจนญาติพี่น้องต่างเริ่มกินแหนงแคลงใจกัน จนนำมาซึ่งการทะเลาะเบาะแว้ง กระนั้นหญิงสาวก็ยังเหลือความหวังสุดท้าย จึงตัดสินใจที่จะเดินทางไปยังยุโรปเพื่อไปอยู่กับไทยธชา ที่ทำงานอยู่ที่นั่น
แต่แล้วสงครามโลกที่เริ่มต้นขึ้นทั้งฝั่งยุโรปและเอเชียเอง ก็ขวางกั้นไม่ให้การเดินทางนี้เกิดขึ้น กาลเวลาที่เนิ่นนานแม้หญิงสาวจะรอคอยสามีผู้เป็นที่รักอย่างอดทน แต่สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ไทยธชา ได้ภรรยาคนใหม่ที่เขาพบที่นั่นเสียแล้ว
ทาริกาตัดสินใจขอหย่า... หญิงสาววัยต้นยี่สิบที่บัดนี้กลายเป็นแม่ม่ายสามีทิ้ง กลายเป็นข่าวครึกโครมที่ใครๆก็พูดถึง จากชีวิตที่เคยอยู่อย่างสุขสบาย บัดนี้หล่อนต้องออกทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงชีวิต แต่ว่าความสวยนั้นดูเหมือนจะเป็นภัยให้ผู้ชายหลายคนคิดจะเข้ามาเพื่อหวังผล แต่ทาริกาก็ใช้สติและความทระนงในศักดิ์ศรี ข้ามผ่านเหตุการณ์เหล่านั้นไปได้ แต่ดูเหมือน “ใคร”ได้กำหนดชีวิตน้อยนี้เอาไว้แล้ว ให้ต้องเผชิญกับระลอกคลื่นใหม่ ที่ถาโถมเข้ามาอีกครั้ง ราวกับพระเจ้าเล่นตลก
ปริเยศ... ชายหนุ่มคนที่สองที่เข้ามาติดพันและเป็นนายจ้างของหญิงสาวนั้นเอง เขาไม่สนใจว่าหล่อนจะเป็นแม่ม่ายเคยผ่านผู้ชายมาก่อนหรือไม่ก็ตาม เขาประทับใจความเข้มแข็ง สู้ชีวิตของหญิงสาว แม้ว่าจะเกิดมาอย่างมีชาติตระกูลสูงส่ง ซ้ำต้องเผชิญกับปัญหาเพียงลำพังก็ตาม ความประทับใจนั้นแปรเปลี่ยนเป็นความรัก ในท่ามกลางเสียงนินทาของเพื่อนร่วมงาน ที่มองว่าหญิงสาวต้องการ “จับ”ปริเยศ และข่าวคาวต่างๆที่ เอ่ยถึงหญิงสาวในทางเสียหายมากมาย เขาได้พิสูจน์ตัวเอง และทำให้หญิงสาวยอมรับได้ในที่สุด ความรักครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างสวยงาม ถ้าหากว่า...
ปริเยศจะไม่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในวันที่จะแต่งงานกับหล่อน เป็นครั้งที่สอง!
มันเกิดขึ้นด้วยอารมณ์ชั่ววูบ ที่เขาหวาดระแวงหญิงสาว ว่าไปมีความสัมพันธ์กับท่านนายพลผู้หนึ่ง ตามข้อครหา และด้วยอารมณ์อันขาดสติ ปริเยศขับรถประสานงากับรถบรรทุกจนเสียชีวิต...
หล่อนตกเป็นเป้าสายตาของทุกคนที่นั่งอยู่ก่อน หลายคนเอนเข้าหากัน และซุบซิบ...
“นั่นไง คู่รักคุณปริเยศที่นั่งรถไปด้วยกัน เมียคุณไทยธชาเรอะ... เคราะห์กรรมของคุณปริเยศ แม่คนนี้ ใครๆเขาก็รู้กันว่าดวงแกไม่ดี แต่งงานครั้งแรก รถยนต์เจ้าบ่าวก็คว่ำวันส่งตัวนั่นเอง”
... ทาริกาพยายามสะกดความประหม่า และก้อนสะอื้นซึ่งวิ่งขึ้นมาจุกอยู่ในลำคอ หล่อนก้มลงกราบหีบศพ ขอบตาร้อนผ่าว แต่น้ำตานั้นไหลย้อนกลับไปภายในหมดสิ้น มือที่พยายามจุดธูปสั่นระริก จุดแล้วดับ จุดแล้วดับ เป็นหลายหน พอลุกแดง ควันธูปก็ลอยเป็นสาย ลมคงพัดช่วยให้ควันนั้นลอยวนเวียนอยู่เบื้องหน้าภาพปริเยศ
ทาริการู้สึกว่าศีรษะของหล่อนหมุนติ้ว เมื่อก้มลงกราบจึงฟุบอยู่ตรงนั้นชั่วขณะ หล่อนพยายามกัดฟันยกศีรษะขึ้น สีหน้าเผือดขาวปากสั่นระริก...
และบุรุษคนที่สามในชีวิตก็ก้าวเข้ามา เขายื่นมือช่วยเหลือหล่อนเอาไว้ในเวลาวิกฤตินั้นพอดี ปริวรรต เป็นลูกผู้พี่ของปริเยศ พ่อค้านักธุรกิจ ที่ถูกมองว่าเป็นเพลย์บอย เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ร่ำรวยขึ้นมาจากอาชีพทุจริต ซ้ำยังเป็น “ชู้รัก” กับ คุณหญิงรัชนีกร สาวใหญ่ผู้ร่ำรวยและทรงอิทธิพลของท่านนายพลท่านหนึ่งในยุคนั้นอีกด้วย
ปริวรรต ประทับใจหญิงสาวที่ยืนหยัดขึ้นไม่ว่าจะเผชิญอุปสรรคในชีวิตสักกี่ครั้งกี่หน ฝ่ากระแสแรงลมจากปากมนุษย์และเสียงเซ็งแซ่นินทาด้วยจิตอกุศลเหล่านั้นด้วยความกล้าหาญอดทน
เขาเองก็ไม่ใช่คนดีที่เพียบพร้อมเช่นกัน มีความเลวของความเป็นปุถุชนที่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหา จึงไม่ได้สนใจเสียงครหาเหล่านั้นสักน้อยนิด หรือแม้แต่ คำกล่าวที่ว่า หญิงสาวคือตัวกาลกิณี ที่ทำให้สามีต้องจากไปแล้วถึงสองคน
แต่สิ่งที่เขามี และมั่นใจว่ามีเหนือกว่าชายอีกสองคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของหญิงสาวก็คือความรักที่มั่นคง พร้อมจะมอบให้กับทาริกา ความเชื่อใจและศรัทธาซึ่งกันและกัน เขาพร้อมแล้วที่จะพิสูจน์ ทั้งข้อครหา และพิสูจน์หัวใจรักที่มีต่อหล่อน โดยใช้ชีวิตของตัวเองเป็นเดิมพัน...
นิยายขนาดยาวเรื่องนี้ ดำเนินเรื่องอย่างเข้มข้น ทั้งในด้านความเชื่อ สะท้อนชีวิตสังคมผู้ดี ในยุคขุนน้ำขุนนางก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนล่มสลายลงไปในที่สุด ชีวิตของทาริกา ก็เหมือนลอยอยู่ในทะเลแห่งมรสุม แต่หญิงสาวก็ไม่ได้ปล่อยให้ตัวเองต้องล่องลอยไปตามกระแสกรรมเหล่านั้น ตรงกันข้าม หล่อนกลับลุกขึ้นเพื่อเผชิญหน้ากับมันอย่างกล้าหาญ และจุดนี้เอง คือคำตอบที่ว่า ใครกำหนด
สำหรับผมแล้ว คิดว่าผู้ที่จะกำหนดชะตาชีวิต ให้เป็นไปในทิศทางใด ก็คือ ตัวของเราเอง!
ทาริกา หรือคุณนิ่ม เป็นตัวละครเอกของเรื่องนี้ขึ้นชื่อว่า ผู้หญิงกินสามี มักจะอาภัพรัก