คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
จริงๆมันไม่ใช่ฝาท่อครับ มันเป็นฝาบ่อพัก
หน้าที่ของบ่อพักมี 2 อย่าง คือเอาไงลอกท่อ กับรับน้ำจากถนนเข้าท่อระบายน้ำ
ปรกติจะมีทุกๆ 10 เมตร เพื่อให้น้ำไหลเข้าทันไม่ท่วมผิวจราจร(ถ้าท่อตันก็ไหลไม่ได้นะ)
ส่วนบางช่วงจะถี่มากกว่า 10 เมตร ก็เป็นเพราะช่วงนั่นถนนมันกว้างพื้นที่รับน้ำมาก
จึงต้องมีช่องรับน้ำหลายจุด ไม่งั้นน้ำไหลเข้าไม่ทัน ถ้าไปปิดน้ำมาเยอะๆมันก็ขังผิวจราจร
แต่บางฝาก็เป็นของพวกระบบสื่อสาร ไฟฟ้า ปะปา ก็มีครับ
หน้าที่ของบ่อพักมี 2 อย่าง คือเอาไงลอกท่อ กับรับน้ำจากถนนเข้าท่อระบายน้ำ
ปรกติจะมีทุกๆ 10 เมตร เพื่อให้น้ำไหลเข้าทันไม่ท่วมผิวจราจร(ถ้าท่อตันก็ไหลไม่ได้นะ)
ส่วนบางช่วงจะถี่มากกว่า 10 เมตร ก็เป็นเพราะช่วงนั่นถนนมันกว้างพื้นที่รับน้ำมาก
จึงต้องมีช่องรับน้ำหลายจุด ไม่งั้นน้ำไหลเข้าไม่ทัน ถ้าไปปิดน้ำมาเยอะๆมันก็ขังผิวจราจร
แต่บางฝาก็เป็นของพวกระบบสื่อสาร ไฟฟ้า ปะปา ก็มีครับ
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
สงสัยเรื่องฝาท่อตามท้องถนนในกรุงเทพ, เจ้าหน้าที่ มาเปิดใช้งานจริง มากน้อยแค่ไหนครับ ?
ผมเลย เอะใจ ว่า ทั้งๆที่ ฝาท่อนี้มันก็อยู่ตรงนี้มาหลายปีแล้ว และมันไม่เคยมีข่าวปิดถนนตรงนี้เพื่อย้ายอะไรเลย แต่อยู่ดีๆ ก็สามารถมาลาดยางปิด ได้ซะงั้น ก็เลยมีคำถามครับ …..
>>> ฝาท่อที่อยู่ทั่ว กทม มันจำเป็นต้องมีจริงๆเหรอ ? เจ้าหน้าที่ (หน่วยงานของท่อที่อยู่ใต้ถนนนั้นๆ) มาใช้งานจริง มากน้อยแค่ไหนครับ ?
>>> แล้วบางถนน ทำไม มันต้องถี่มากๆ ทุกๆ 5 เมตรเลย ? (เช่น ถนนพหลโยธิน เลนขวาสุด หน้าจตุจักรไปแยกลาดพร้าว หรือ ถนนสามเสน เลน ซ้ายสุดฝั่งตรงข้าม รร โยธินบูรณะ)
อย่างที่รู้กัน ทุกวันนี้ รถใน กทม ก็แน่นมากเพราะ ถนนไม่พอ พอจะมีจังหวะถนนโล่ง ดั๊นจะมา มีฝาท่อ มาคอยกั๊ก ไม่ให้รถไหลลื่นกันอีก
ไม่รู้มีใครที่ ทำงานในหน่วยงานที่เกี่ยวกับท่อทั้งหลายใต้ถนนใน กทม พอจะให้คำตอบได้ไหมครับ
ปล. ผมแท๊กไว้ 2 ห้อง คือ รัชดา (เพราะ เกี่ยวกับการเดินทาง) กับ ชายคา (น่าจะมี วิศวะโยธา อยู่กันเยอะ)