[CR] การตัดสินใจกับการเรียนป.โทที่ "นิเทศ นิด้า"

สวัสดีค่าาาาาทุกคน ☺
สาเหตุที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เพราะว่ามีเพื่อนๆชอบมาถามค่ะ ว่าทำไมถึงเรียนต่อ ทำไมไม่ทำงานก่อนแล้วค่อยเรียน
หรือทำไมไม่เรียนไปทำงานไป...และคำถามมีอีกมากมาย
เลยอยากให้กระทู้นี้เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการตัดสินใจ สำหรับคนที่กำลังหาข้อมูล หรือตัดสินใจว่าเรียนต่อป.โทนะค้าาา :3

เชื่อได้เลยค่ะว่าคณะนิเทศศาสตร์ คงเป็นคณะในฝันของใครหลายๆคนใช่มั้ยคะ?
จขกท.เองก็เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ ที่มีความใฝ่ฝันที่อยากจะเรียนนิเทศตั้งแต่ตอนป.ตรี
ด้วยคณะนิเทศศาสตร์ถือได้ว่าเป็นหนึ่งคณะยอดฮิตในเกือบทุกยุคทุกสมัยเลยก็ว่าได้
ตอนที่แอดมิชชั่นตอนนั้นมีธงในใจอยู่ที่เดียวค่ะคือ “นิเทศ จุฬาฯ”
ใครๆก็รู้ว่าที่นิเทศ จุฬาฯ...คะแนนแอดมิชชั่นนี่สูงมากกกกกกกกกกกกกก
ในตอนนั้น จขกท. ก็ยื่นนิเทศ จุฬาฯ ไปตอนแอดกลางนะ แต่ไม่ติด  TT

ก็เลยตัดสินใจเบนเข็มไปเรียนทางด้านภาษาแทน เพราะตอนนั้นแม่ของจขกท. อยากให้เรียนภาษา
แม่ให้เหตุผลว่า เรียนภาษาก่อน ให้มีพื้นฐานแน่นๆ แล้วจะเรียนอะไรต่อก็ค่อยว่ากัน
จขกท. ตัดสินใจเรียนทางด้านภาษาในมหาวิทยาลัยเอกชนค่ะ
เพราะจขกท.มีความคิดเห็นว่า มหาวิทยาลัยเอกชน มีอุปกรณ์การเรียนการสอน
รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่ค่อนข้างทันสมัย ครูผู้สอนเองก็มีคุณภาพ

หลังจากที่เรียนปริญญาตรีจบจากมหาวิทยาลัยเอกชน ก็ถึงช่วงเวลาที่จะต้องตัดสินใจว่าจะทำอะไรต่อ
ตอนนั้นบอกได้เลยว่า สองจิตสองใจมากถึงมากที่สุด ระหว่างการเรียนปริญญาโทต่อกับทำงาน
แม่และพี่สาวของจขกท.แอบเชียร์ให้เรียนต่อปริญญาโท เพราะว่าในตอนนี้ยังมีไฟในการเรียนอยู่
อดทนอีกแค่ 2 ปี หลังเรียนจบป.โทแล้วค่อยทำงาน
หลังจากที่ได้รับแรงเชียร์มาจากแม่และพี่สาว จขกท.เลยมาลองคิดๆดู ว่าถ้าจะเรียนจริงๆ แล้วอยากเรียนอะไร?
ตอนนั้นความคิดแรกก็ขึ้นมาในหัวเลยค่ะ...อยากเรียนอะไรที่มันแตกต่างจากการที่เป็นภาษา อยากเรียนอะไรที่เป็นเฉพาะด้าน
และคำตอบก็ปิ๊งขึ้นมาในใจว่า นิเทศศาสตร์ไง อยากเรียนมาตั้งแต่ป.ตรีแล้วด้วย
แต่อยากเรียนป.โทในมหาวิทยาลัยที่เป็นรัฐบาล เพราะอยากทำให้แม่กับพี่สาวภูมิใจ☺

จากนั้นก็หาข้อมูลค่ะ...แน่นอน ว่า นิเทศ จุฬาฯ เป็นอันดับแรกที่เรานึกถึง
เราก็หาข้อมูลได้ว่า การสอบเข้าป.โท นิเทศ จุฬาฯ จะต้องสอบ 3อย่างคือ
CU-TEP (ภาษาอังกฤษ), CU- TMC (การใช้ภาษาไทย) และสอบข้อเขียนวัดความรู้ทางนิเทศศาสตร์
คือคะแนน CU-TEP กับ CU-TMC ต้องผ่านเกณฑ์ตามที่คะแนนกำหนดไว้ สามารถสอบได้หลายครั้ง
ส่วนข้อเขียนวัดความรู้นิเทศเนี่ยต้องผ่านเกณฑ์และต้องสอบแบบปีต่อปี(รอบต่อรอบ)
คะแนน CU-TEP จขกท.มีอยู่ในมืออยู่แล้ว เพราะไปสอบเก็บไว้เมื่อ2ปีก่อนนู้น...แล้วพอดีคะแนนยังไม่หมดอายุ 555555
ส่วน CU-TMC ก็ไปสอบค่ะ...สอบครั้งแรกและครั้งเดียว คือลุ้นมาก กลัวคะแนนไม่ถึงเกณฑ์
เพราะจบเอกอังกฤษมา ถึงจะได้ใช้ภาษาไทยทุกวัน แต่ความมั่นใจในการสอบนี่แทบจะไม่มีเลยยยย TT
แต่ผลออกมา คือผ่านเกณฑ์ค่ะ เลยเส้นยาแดงผ่าแปดมานิดนึง
สำหรับการสอบวัดความรู้ทางนิเทศนั้นพูดได้เลยว่า ไม่มั่นใจที่สุด เพราะไม่ได้เรียนตอนป.ตรี เลยซื้อหนังสือมาอ่านเอง
และผลที่ออกมาคือ “ไม่ผ่านการสอบวัดความรู้ทางนิเทศค่ะ”
ถามว่าเสียใจมั้ย…ก็เสียใจแหละ หวังไว้เยอะ อยากเรียนมาตั้งแต่ป.ตรีแล้วด้วย

แต่แล้วสวรรค์ก็โปรด…เมื่อพี่สาวของจขกท.รู้ว่าไม่ติดที่นิเทศ จุฬาฯ พี่สาวก็หาข้อมูลว่ายังมีที่ไหนยังเปิดรับสมัครเรียนป.โทอยู่อีกบ้าง
ปรากฏว่าก็เจอ “นิด้า” ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาล
ที่สำคัญคือมี”คณะนิเทศศาสตร์” ยังเปิดรับสมัครอยู่และมีทุนให้เรียนด้วย
พี่สาวก็รีบโทรมาบอกให้เตรียมเอกสารไปสมัครสอบในวันรุ่งขึ้นเลย
ตอนนั้นยัง งงๆมึนๆอยู่เลย เอาจริงๆไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่าที่นิด้า มีคณะนิเทศ
(และยังเกิดคำถามในใจว่า นิด้าคือรัฐบาลหรอ?)
แต่ก็เอาเถอะ ลองดู อย่างน้อยก็เป็นคณะที่อยากเรียนละกัน
ตอนนั้นแอบตั้งธงในใจว่า “ถ้าไม่ได้ทุน…จะไปหางานทำละ”
หลังจากไปที่ยื่นเอกสารก็รอวันสัมภาษณ์ในสัปดาห์ถัดไป คือตอนนั้นทุกอย่างเร็วมากจริงๆ
เหมือนนิด้าเป็นรับสมัครรอบพิเศษ เหมือนคนเรียนน้อยไรงี้มั้งนะ
อีกอย่างใกล้จะเปิดเทอมแล้วด้วย นับจากวันสัมภาษณ์คืออีก 3 สัปดาห์คือวันเปิดเทอม

ในวันสัมภาษณ์ ตอนนั้นอาจารย์ที่สัมภาษณ์มี 2 คน (ผู้ชาย 1คน/ผู้หญิง 1คน)
อาจารย์ที่สัมภาษณ์ใจดีมาก ดู relax สุดๆ คำถามที่อาจารย์ถามก็จะมีประมาณว่า
-    ให้แนะนำตัว
-    ตอนเรียนทำกิจกรรมอะไรบ้าง? (ทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย)
-    ตอนที่เรียนป.ตรีได้ข่าวว่าได้ทุนไปเรียนที่ญี่ปุ่นมา...เป็นยังไงบ้าง เล่าให้ฟังหน่อย
-    คิดว่าประเทศญี่ปุ่นมีข้อดี ข้อเสียอะไร? (ในความคิดของเรา ที่เราไปเจอมา)
-    อันนี้คำถามสุดท้าย ถามเป็นภาษาอังกฤษว่า ทำไมอาจารย์ถึงต้องเลือกเราเข้ามาเรียน?

หลังจากนั้นก็รอผลสัมภาษณ์ ก็เริ่มศึกษาหลักสูตรที่นิเทศ นิด้าว่าเป็นยังไงแบบจริงจัง...หาข้อมูลเชิงลึกเลย
จริงแล้วชื่อคณะเต็มๆคือ นิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ (ตอนนั้นคือ โห...ชื่อคณะก็น่าสนใจละ เป็นการจัดการด้วย)
แล้วก็คณะนี้เป็นคณะที่เพิ่งเปิดได้ 3 ปี และแต่ละปีจะมีนักศึกษา 2 รุ่น
แล้วก็มีหลายวิชาเอก เช่น การสื่อสารการตลาด การสื่อสารดิจิตอล การพัฒนาอย่างยั่งยืน ฯลฯ
นี่พูดเลยแอบเล็งการตลาดไว้เลย เพราะคิดว่าน่าจะสนุก น่าจะเข้ากับบุคลิกของตัวเอง
แล้วก็ระยะเวลาเรียน ใช้ระยะเวลาเรียน 1ปีครึ่ง - 2ปี (อืม...อันนี้น่าสน ปีครึ่งก็น่าจะจบ)

ตัดภาพกลับมาถึงวันที่ประกาศผลสัมภาษณ์ทุน...
(แท่นแท๊นนนน) คือ จขกท.ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษา ประเภท 2 เรียนที่คณะนิเทศ นิด้า ☺
(โอ้ยยยดีใจน้ำตาจะไหล...ต้องขอแชร์นะคะเลยแหละ 55555555555555)
รายละเอียดทุนก็คือ นิด้าออกค่าหน่วยกิตให้ทั้งหมดตลอดหลักสูตร แต่ว่าเราต้องออกพวกค่าจิปาถะ
เช่น ค่ากิจกรรม ค่าห้องสมุด ค่านู้นค่านี่ (รวมๆประมาณ 10,000 นิดๆ)
ก็โอเคนะ ออกนิดหน่อย แบ่งเบาภาระที่บ้านด้วย
อีกอย่างก็ได้ทำให้แม่กับพี่สาวภูมิใจด้วยว่า ลูกสาว/น้องสาวได้ทุนเรียนโทที่นิด้า

และตอนนี้การเรียนเทอมแรกในรั้วนิด้า ของจขกท.ได้เริ่มมา3เดือนแล้วค่ะ ผ่านการสอบมิดเทอมมาเรียบร้อย
ถ้าถามว่าเรียนเป็นยังไง สนุกมั้ย?...ตอบได้เลยว่า สนุกดี ได้เจออะไรใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆ ได้เจอสังคมใหม่
ด้วยตัวหลักสูตรของที่นิเทศ นิด้า ในมุมมองของจขกท.เองนะคะ
จขกท.ว่า มันน่าสนใจดี เพราะมันเรียนทั้งการจัดการ และเรียนเรื่องนวัตกรรมด้วย
ซึ่งตอนนี้สถาบันที่เปิดสอนในแนวๆนี้ที่เมืองไทยมีอยู่ไม่กี่ที่เอง

หากใครที่กำลังมองหาที่เรียนป.โท แล้วสนใจทางด้านนิเทศศาสตร์
อยากแนะนำที่นิเทศ นิด้าไว้เป็นหนึ่งในตัวเลือกนะ หลักสูตรมันน่าสนใจดี แถมมีทุนให้ด้วย
เราว่ามันดีนะ...ได้เรียนปริญญาโทโดยที่ไม่ต้องออกเงินเยอะ แถมได้เรียนในสถาบันที่มีชื่อเสียงอย่าง“นิด้า”อีกด้วย
ชื่อสินค้า:   นิเทศ นิด้า กับ นิเทศ จุฬา
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่