สวัสดีครับ วันนี้ผม Partita ขอเสนอเนื้อหาดาราศาสตร์สั้น ๆ เรื่อง วัตถุอวกาศที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งครับ
วัตถุอวกาศชิ้นนี้ ชื่อว่า WT1190F จัดอยู่ในกลุ่ม ขยะอวกาศ (Space junk) มันถูกตรวจจับครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2013
โดยหอสังเกตุการณ์ทางดาราศาสตร์ Catalina Sky Survey หลังจากนั้นก็หลุดการ tracking ไป จนกระทั่งถูกตรวจจับได้อีกครั้ง
เมื่อ 3 ธันวาคมปีเดียวกันครับ ทีมที่ตรวจสอบวัตถุชิ้นนี้ ได้ตรวจพบว่ามันมีวงโคจรรอบโลกที่ค่อนข้างวงรีมาก จุดที่ใกล้โลกสุด
ก็มีระยะห่าง 21,220 กิโลเมตร แต่ .... ด้านที่ไกลนั้นห่างออกไปถึง 655,370 กิโลเมตร !! มากถึงเกือบ 2 เท่าของระยะดวงจันทร์
เลยทีเดียว และจากการตรวจสอบคุณสมบัติของมันพบว่ามันมีขนาดประมาณ 2 X 4 เมตร มีความหนาแน่นต่ำมากเพียง 0.1 กรัม
ต่อ ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งต่ำเกินไปที่จะเป็นวัตถุดาราศาสตร์ตามธรรมชาติ ซึ่งจะหนาแน่นเฉลี่ย 5 - 8 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
ซึ่งนักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างเห็นว่ามันน่าจะเป็นพวกถังเชื้อเพลิง หรือ อุปกรณ์อะไรประมาณนี้ครับ
ภาพของ WT1190F ที่ตรวจจับได้เมื่อ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยกล้องโทรทรรศน์
ขนาด 2.2 เมตร ที่หอสังเกตุการณ์ดาราศาสตร์ Hawaii
นี่คือวงโคจรของวัตถุ WT1190F ซึ่งจะเห็นว่าเป็นวงรีที่ไกลมาก เลยดวงจันทร์ไปอีกเกือบ 2 เท่า
จากวงโคจรของวัตถุ WT1190F และคุณสมบัติอื่น ๆ ของมัน นักดาราศาสตร์มีความเห็นว่ามันน่าจะเป็นวัตถุ
ตั้งแต่
สมัยโครงการ Apollo โน่นเลยครับ และมีข้อเสนอหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ คือ WT1190F นี้ อาจเป็น Lanar Module
ในโครงการ Apollo 10 (มีชื่อเล่นว่า Snoopy) ครับ ..... ซึ่ง Snooply module นี้ หลังสิ้นภารกิจที่ดวงจันทร์แล้ว ก็ได้สั่งให้มันจุดจรวดขับดัน
ขั้นสุดท้ายเพื่อเข้าสู่วงโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Heliocentric orbit) แต่ .... เจ้า Snoopy อาจถูกแรงโน้มถ่วงของโลกจับใว้ กลายเป็นหนึ่งในวัตถุ
ที่มีการโคจรในระบบ โลก - ดวงจันทร์ ไปเลยครับ ดังนั้น มันจึงน่าตื่นเต้นมาก หาก สิ่งนี้ คือเจ้า Snoopy Module ที่สงสัยกันมานานแสนนาน
ถึง
42 ปี ว่าเจ้าไปอยู่แห่งหนใดมา ??
นี่คือภาพของ Lunar Module ของโครงการ Apollo 10 หรือ เจ้า Snoopy
วัตถุ WT1190F นี้ จากการคำนวณล่าสุดของนักดาราศาสตร์ มันจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก (พูดง่าย ๆ พุ่งชนโลก)
ในวันที่ศุกร์ที่ 13 พฤษจิกายน นี้ เวลา 13:19 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยจะเริ่มเข้าชั้นบรรยากาศโลกบริเวณ
มหาสมุทรอินเดีย และค่อย ๆ ตกลงเผาไหม้บริเวณฝั่งตะวันตกของประเทศศรีลังกา ตามภาพนี้ครับ
ตำแหน่งที่คาดว่าจะตกลงทะเล
จบแล้วครับ
วัตถุอวกาศ WT-1190F กำลังจะตกลงสู่โลกวันที่ 13 พฤศจิกายน นี้ ....
วัตถุอวกาศชิ้นนี้ ชื่อว่า WT1190F จัดอยู่ในกลุ่ม ขยะอวกาศ (Space junk) มันถูกตรวจจับครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2013
โดยหอสังเกตุการณ์ทางดาราศาสตร์ Catalina Sky Survey หลังจากนั้นก็หลุดการ tracking ไป จนกระทั่งถูกตรวจจับได้อีกครั้ง
เมื่อ 3 ธันวาคมปีเดียวกันครับ ทีมที่ตรวจสอบวัตถุชิ้นนี้ ได้ตรวจพบว่ามันมีวงโคจรรอบโลกที่ค่อนข้างวงรีมาก จุดที่ใกล้โลกสุด
ก็มีระยะห่าง 21,220 กิโลเมตร แต่ .... ด้านที่ไกลนั้นห่างออกไปถึง 655,370 กิโลเมตร !! มากถึงเกือบ 2 เท่าของระยะดวงจันทร์
เลยทีเดียว และจากการตรวจสอบคุณสมบัติของมันพบว่ามันมีขนาดประมาณ 2 X 4 เมตร มีความหนาแน่นต่ำมากเพียง 0.1 กรัม
ต่อ ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งต่ำเกินไปที่จะเป็นวัตถุดาราศาสตร์ตามธรรมชาติ ซึ่งจะหนาแน่นเฉลี่ย 5 - 8 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
ซึ่งนักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างเห็นว่ามันน่าจะเป็นพวกถังเชื้อเพลิง หรือ อุปกรณ์อะไรประมาณนี้ครับ
ภาพของ WT1190F ที่ตรวจจับได้เมื่อ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยกล้องโทรทรรศน์
ขนาด 2.2 เมตร ที่หอสังเกตุการณ์ดาราศาสตร์ Hawaii
นี่คือวงโคจรของวัตถุ WT1190F ซึ่งจะเห็นว่าเป็นวงรีที่ไกลมาก เลยดวงจันทร์ไปอีกเกือบ 2 เท่า
จากวงโคจรของวัตถุ WT1190F และคุณสมบัติอื่น ๆ ของมัน นักดาราศาสตร์มีความเห็นว่ามันน่าจะเป็นวัตถุ
ตั้งแต่สมัยโครงการ Apollo โน่นเลยครับ และมีข้อเสนอหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ คือ WT1190F นี้ อาจเป็น Lanar Module
ในโครงการ Apollo 10 (มีชื่อเล่นว่า Snoopy) ครับ ..... ซึ่ง Snooply module นี้ หลังสิ้นภารกิจที่ดวงจันทร์แล้ว ก็ได้สั่งให้มันจุดจรวดขับดัน
ขั้นสุดท้ายเพื่อเข้าสู่วงโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Heliocentric orbit) แต่ .... เจ้า Snoopy อาจถูกแรงโน้มถ่วงของโลกจับใว้ กลายเป็นหนึ่งในวัตถุ
ที่มีการโคจรในระบบ โลก - ดวงจันทร์ ไปเลยครับ ดังนั้น มันจึงน่าตื่นเต้นมาก หาก สิ่งนี้ คือเจ้า Snoopy Module ที่สงสัยกันมานานแสนนาน
ถึง 42 ปี ว่าเจ้าไปอยู่แห่งหนใดมา ??
นี่คือภาพของ Lunar Module ของโครงการ Apollo 10 หรือ เจ้า Snoopy
วัตถุ WT1190F นี้ จากการคำนวณล่าสุดของนักดาราศาสตร์ มันจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก (พูดง่าย ๆ พุ่งชนโลก)
ในวันที่ศุกร์ที่ 13 พฤษจิกายน นี้ เวลา 13:19 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยจะเริ่มเข้าชั้นบรรยากาศโลกบริเวณ
มหาสมุทรอินเดีย และค่อย ๆ ตกลงเผาไหม้บริเวณฝั่งตะวันตกของประเทศศรีลังกา ตามภาพนี้ครับ
ตำแหน่งที่คาดว่าจะตกลงทะเล
จบแล้วครับ