** ยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ **
๐ วิจารณ์วิพากษ์ครั้น ความเคย
ไป่ซึ่งบรรหารเฉลย หลีกได้
เราเคยกระทำเผย ผองอื่น ก็ดี
เขาก็กระทำไซร้ เซ่นข้อควรไฉน ฯ
๐ ยอมรับในต่างถ้อย วาที
ใจแคบเกินไป่ดี เด่นอ้าง
คิดหลายหลากพิถี เทอญเปรียบ เทียบแล
ชอบไม่ชอบเอ่ยบ้าง บ่อ้อยสร้อยเรียน ฯ
...หรือ..เราอาจเริ่มจากการแต่งกลอนก่อน เพราะมันง่ายกว่า...
**ยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์**
ธรรมดา วิพากษ์ วิจารณ์นั้น
คงไม่มี ผู้ใดนั่น มิเคยไหม
หรือผู้ใด ปฏิเสธ เช่นนั้นไป
ต้องยอมรับ ทั้งถูกให้ แลกระทำ...
พยายาม ทำความ เข้าใจว่า
แม้แต่ตัว เรายังว่า ดั่งขยำ
ชอบไม่ชอบ หรือเห็นบ้าง ต่างลำนำ
ความคิดของ คนอื่นร่ำ ต่างกันไป...
สิ่งง่ายสุด อยากมีสุข พึงยอมรับ
ไม่ว่าใคร วิจารณ์ยับ รับไฉน
การยอมรับ ใช่เห็นด้วย ช่วยใครๆ
ไม่จำเป็น เห็นด้วยได้ ในชี้แจง...
แค่ยอมรับ ความเห็นต่าง ก็เท่านั้น
บางครั้งอาจ รับมัน พลันหน่ายแหนง
ยากยอมรับ แต่ยังให้ โอกาสแสดง
พิจารณา ความค่อยแรง แห่งวิจารณ์...
สิ่งเหล่านั้น สรรค์ประโยชน์ บ้างรึเปล่า?
ทุกๆคำ วิจารณ์เล่า วาจาสาส์น
สร้างโอกาส พัฒนา ตราบเท่านาน
แม้ไร้ซึ่ง ใครโปรดปราน เห็นเหมือนคุณ...
ข้อเท็จจริง มีทั้งจริง ทั้งเท็จดอก
อย่าไปสน คำพูดหลอก แลเกื้อหนุน
แม้สูญเสีย เวลาไป ไยค้ำจุน
อย่าไปเผลอ สนับสนุน รุนแรงเกิน...
ตรงกันข้าม ให้สนใจ ในคำพูด
วิจารณ์ดี สรรค์สร้างสุด สรรเสริญ
สนความจริง แลประโยชน์ เชิญครับเชิญ
อย่ามัวเขิน เสียเวลา กับเท็จชม...
หากใครบอก คุณไม่มี ความสามารถ
ไม่จำเป็น ก็ตัดขาด แบบสาสม
หากใครบอก ผลงานห่วย อย่าระทม
เปิดใจรับ คำไม่ชม คำติเตียน...
สร้างวิกฤต แปลงโอกาส พัฒนาได้
รับฟังไว้ ในสาระ อ่านพูดเขียน
มองด้านลบ จบโอกาส ขยันเรียน
มองด้านดี มีแต่เพียร ประโยชน์เอย...
...จุดประสงค์ที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เพราะอย่างน้อยเป็นการช่วยน้องๆที่สนใจในการประพันธ์บทโคลงสี่สุภาพอันเป็นสมบัติทางวรรณกรรมแห่งชาติ
และหลายๆครั้ง พี่ได้พบว่ายังมีน้องๆหลายท่านยังแต่งไม่เป็น หรือแต่งแต่ยังไม่ค่อยตรงตามรูปแบบฉันทลักษณ์ วันนี้ผมจะลองแนะนำเทคนิคบางอย่าง
ในการประพันธ์บทโคลง ตามแต่กำลังความสามารถ ( หากผิดพลาดตรงไหน ขอให้ท่านผู้รู้ช่วยชี้แจง แนะนำเพิ่มเติมด้วยนะครับ ถือว่าช่วยๆกัน )
... ในส่วนของแผนผังโคลงสี่สุภาพ ผมคงจะไม่ไปอธิบายอะไรมากมายละ เพราะอย่างน้อยน้องๆก็ต้องเรียนจากในห้องเรียนหรือศึกษามาบ้างแล้วจากสื่อต่างๆ
...ผมจะยกตัวอย่างว่า หากเราจะแต่งโคลงสี่สุภาพ ในเนื้อหาเกี่ยวกับ " คำวิพากษ์วิจารณ์ " เราจะแต่งอย่างไรดี ? สมมุติว่าเรากำหนดว่าจะแต่ง ๒ บท
... ก่อนอื่น น้องๆก็ต้องหาข้อมูลมาหรือเรียบเรียงความคิดมาก่อนว่า คำวิพากษ์วิจารณ์นั้น เราจะพูดถึงประเด็นไหนบ้าง ? ก็ list รายละเอียดออกมาก่อน
เหมือนเราวางแผนจะปลูกต้นไม้ เราต้องเตรียมอะไรบ้าง แบบนี้
คำวิพากษ์วิจารณ์
1. มีทั้งเราวิพากษ์วิจารณ์เขา และเขาวิพากษ์วิจารณ์เรา
2. บางอย่างเราอาจชอบใจ ,ไม่ชอบใจ พาลมีอารมณ์ใส่ แต่ควรนึกถึงใจเขาใจเรา และเอามาคิด
3. มีทั้งคนชอบ ไม่ชอบ หรือไม่ทั้งสองอย่างคือ..เฉยๆ
4. ทำใจยอมรับว่าในโลกนี้ไม่มีใครจะชอบ จะไม่ชอบ จะเฉยๆ ในสิ่งเดียวกันเหมือนกันทุกคน ต่างคนก็ต่างความคิด ต่างประสบการณ์ความรู้
5. .... ฯลฯ
คือ...พยายาม list ออกมาให้มากที่สุดเท่าที่เราจะนึกได้ จะได้มีข้อมูลเยอะพอที่จะแต่งโคลงตามจำนวนบทที่เรากำหนดไว้
6. พยายามใช้คำให้หลากหลาย เพื่อจะได้ไม่ซ้ำซ้อน แต่ข้อนี้สำหรับมือใหม่ พี่เห็นว่าผ่านไปก่อน เพราะยังต้องมีอะไรให้ศึกษาอีกเยอะ
...ลงมือแต่งละนะ >>>
๐ วิจารณ์วิพากษ์ครั้น ความเคย
...บาทแรก เราก็พยายามเปิดหัวให้ผู้อ่านทราบถึงประเด็นที่เรากำลังจะบอก พยายามดูแบบกระสวนประกอบให้ตรงเอก โท ตรงที่กำหนดด้วย
...วรรคแรก ๕ คำหรือพยางค์ ส่วนวรรคสอง ๒ คำหรือพยางค์ หากเป็นไปได้พยายามวางให้คำท้ายวรรคแรกสัมผัสอักษรหรือรูปสระ กับคำต้นวรรคหลัง
เพื่อความไพเราะ อันนี้ก็มีส่วนให้ผู้อ่านอยากจะอ่านต่อรึเปล่าด้วย
ไป่ซึ่งใครเฉลย ........
... มาบาทสอง เราอยากจะบอกต่อว่าการวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น หรือคนอื่นมาทำกับเราบ้างมันเป็นเรื่องที่ปรกติ เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับความจริง
แต่..ใหม่ๆอาจติดแหงกตรง "คำโท" ที่วรรคหลังของบาทนี้ ดังนั้นเราเว้นไปก่อน เดี๋ยวกลับมาเขียนใหม่
... หากไม่ใช้คำ"เฉลย" อาจจะใช้คำอื่นๆก็ได้ เช่น "เลย" "เผย" ... ฯลฯ แต่อย่าใช้คำ "เคย" เพราะมันจะซ้ำกับท้ายวรรคแรก
เราเคยกระทำเผย ผองอื่น ( ก็ดี )
...บาทสาม ให้พยายามคิดในใจก่อนว่าจะสื่ออะไรต่อ กรณีนี้ พี่ใช้แนวคิดว่า บาทนี้เราจะบอกว่า เราเคยวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นนะ แล้วบาทสุดท้ายเรา
ก็จะได้มาสรุปต่อว่า คนอื่นเค้าก็มีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์เราเช่นกัน
... ส่วนคำในวงเล็บนั้น เป็นคำสร้อย จะมีหรือไม่ ? น้องก็พิจารณาเองว่า หากความมันครบข้อหมายแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ให้มันรกตา ( หรือเรียกว่า "รกสร้อย" )
เขาก็กระทำไซร้ เซ่นข้อควรไฉน ฯ
...บาทสุดท้าย ก็ต่อยอดความคิดลงมาจากบาทสาม คราวนี้เราใช้คำโท "ไซร้" จึงส่งผลให้คำโทคู่ในบาทสอง ต้องเป็นสระ ไ_ ้ เหมือนกัน...
...บาทสอง
ไป่ซึ่งใครเฉลย เลี่ยงได้ ( อาจใช้ หลีกได้ , หลบได้ , เลี่ยงให้ , หลบให้ , หลีกให้ ฯลฯ )
...เห็นไหมว่า เราจะคิดคำได้ง่ายขึ้น ตามเทคนิคนี้
...ลองลงมือแต่งเลยครับ "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" คนอื่นแค่คนแนะนำ แต่เราต้องทำเอง เหมือนการสอนว่ายน้ำมีครูสอนให้ก็จริง แต่... เราก็ต้องหัดว่ายด้วยตนเองอยู่ดี
>>> เราถึงจะว่ายเป็น
... ขอให้สนุกกับการแต่งโคลงครับ ...
มามะ มาแต่งโคลงกัน..
๐ วิจารณ์วิพากษ์ครั้น ความเคย
ไป่ซึ่งบรรหารเฉลย หลีกได้
เราเคยกระทำเผย ผองอื่น ก็ดี
เขาก็กระทำไซร้ เซ่นข้อควรไฉน ฯ
๐ ยอมรับในต่างถ้อย วาที
ใจแคบเกินไป่ดี เด่นอ้าง
คิดหลายหลากพิถี เทอญเปรียบ เทียบแล
ชอบไม่ชอบเอ่ยบ้าง บ่อ้อยสร้อยเรียน ฯ
...หรือ..เราอาจเริ่มจากการแต่งกลอนก่อน เพราะมันง่ายกว่า...
**ยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์**
ธรรมดา วิพากษ์ วิจารณ์นั้น
คงไม่มี ผู้ใดนั่น มิเคยไหม
หรือผู้ใด ปฏิเสธ เช่นนั้นไป
ต้องยอมรับ ทั้งถูกให้ แลกระทำ...
พยายาม ทำความ เข้าใจว่า
แม้แต่ตัว เรายังว่า ดั่งขยำ
ชอบไม่ชอบ หรือเห็นบ้าง ต่างลำนำ
ความคิดของ คนอื่นร่ำ ต่างกันไป...
สิ่งง่ายสุด อยากมีสุข พึงยอมรับ
ไม่ว่าใคร วิจารณ์ยับ รับไฉน
การยอมรับ ใช่เห็นด้วย ช่วยใครๆ
ไม่จำเป็น เห็นด้วยได้ ในชี้แจง...
แค่ยอมรับ ความเห็นต่าง ก็เท่านั้น
บางครั้งอาจ รับมัน พลันหน่ายแหนง
ยากยอมรับ แต่ยังให้ โอกาสแสดง
พิจารณา ความค่อยแรง แห่งวิจารณ์...
สิ่งเหล่านั้น สรรค์ประโยชน์ บ้างรึเปล่า?
ทุกๆคำ วิจารณ์เล่า วาจาสาส์น
สร้างโอกาส พัฒนา ตราบเท่านาน
แม้ไร้ซึ่ง ใครโปรดปราน เห็นเหมือนคุณ...
ข้อเท็จจริง มีทั้งจริง ทั้งเท็จดอก
อย่าไปสน คำพูดหลอก แลเกื้อหนุน
แม้สูญเสีย เวลาไป ไยค้ำจุน
อย่าไปเผลอ สนับสนุน รุนแรงเกิน...
ตรงกันข้าม ให้สนใจ ในคำพูด
วิจารณ์ดี สรรค์สร้างสุด สรรเสริญ
สนความจริง แลประโยชน์ เชิญครับเชิญ
อย่ามัวเขิน เสียเวลา กับเท็จชม...
หากใครบอก คุณไม่มี ความสามารถ
ไม่จำเป็น ก็ตัดขาด แบบสาสม
หากใครบอก ผลงานห่วย อย่าระทม
เปิดใจรับ คำไม่ชม คำติเตียน...
สร้างวิกฤต แปลงโอกาส พัฒนาได้
รับฟังไว้ ในสาระ อ่านพูดเขียน
มองด้านลบ จบโอกาส ขยันเรียน
มองด้านดี มีแต่เพียร ประโยชน์เอย...
...จุดประสงค์ที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เพราะอย่างน้อยเป็นการช่วยน้องๆที่สนใจในการประพันธ์บทโคลงสี่สุภาพอันเป็นสมบัติทางวรรณกรรมแห่งชาติ
และหลายๆครั้ง พี่ได้พบว่ายังมีน้องๆหลายท่านยังแต่งไม่เป็น หรือแต่งแต่ยังไม่ค่อยตรงตามรูปแบบฉันทลักษณ์ วันนี้ผมจะลองแนะนำเทคนิคบางอย่าง
ในการประพันธ์บทโคลง ตามแต่กำลังความสามารถ ( หากผิดพลาดตรงไหน ขอให้ท่านผู้รู้ช่วยชี้แจง แนะนำเพิ่มเติมด้วยนะครับ ถือว่าช่วยๆกัน )
... ในส่วนของแผนผังโคลงสี่สุภาพ ผมคงจะไม่ไปอธิบายอะไรมากมายละ เพราะอย่างน้อยน้องๆก็ต้องเรียนจากในห้องเรียนหรือศึกษามาบ้างแล้วจากสื่อต่างๆ
...ผมจะยกตัวอย่างว่า หากเราจะแต่งโคลงสี่สุภาพ ในเนื้อหาเกี่ยวกับ " คำวิพากษ์วิจารณ์ " เราจะแต่งอย่างไรดี ? สมมุติว่าเรากำหนดว่าจะแต่ง ๒ บท
... ก่อนอื่น น้องๆก็ต้องหาข้อมูลมาหรือเรียบเรียงความคิดมาก่อนว่า คำวิพากษ์วิจารณ์นั้น เราจะพูดถึงประเด็นไหนบ้าง ? ก็ list รายละเอียดออกมาก่อน
เหมือนเราวางแผนจะปลูกต้นไม้ เราต้องเตรียมอะไรบ้าง แบบนี้
คำวิพากษ์วิจารณ์
1. มีทั้งเราวิพากษ์วิจารณ์เขา และเขาวิพากษ์วิจารณ์เรา
2. บางอย่างเราอาจชอบใจ ,ไม่ชอบใจ พาลมีอารมณ์ใส่ แต่ควรนึกถึงใจเขาใจเรา และเอามาคิด
3. มีทั้งคนชอบ ไม่ชอบ หรือไม่ทั้งสองอย่างคือ..เฉยๆ
4. ทำใจยอมรับว่าในโลกนี้ไม่มีใครจะชอบ จะไม่ชอบ จะเฉยๆ ในสิ่งเดียวกันเหมือนกันทุกคน ต่างคนก็ต่างความคิด ต่างประสบการณ์ความรู้
5. .... ฯลฯ
คือ...พยายาม list ออกมาให้มากที่สุดเท่าที่เราจะนึกได้ จะได้มีข้อมูลเยอะพอที่จะแต่งโคลงตามจำนวนบทที่เรากำหนดไว้
6. พยายามใช้คำให้หลากหลาย เพื่อจะได้ไม่ซ้ำซ้อน แต่ข้อนี้สำหรับมือใหม่ พี่เห็นว่าผ่านไปก่อน เพราะยังต้องมีอะไรให้ศึกษาอีกเยอะ
...ลงมือแต่งละนะ >>>
๐ วิจารณ์วิพากษ์ครั้น ความเคย
...บาทแรก เราก็พยายามเปิดหัวให้ผู้อ่านทราบถึงประเด็นที่เรากำลังจะบอก พยายามดูแบบกระสวนประกอบให้ตรงเอก โท ตรงที่กำหนดด้วย
...วรรคแรก ๕ คำหรือพยางค์ ส่วนวรรคสอง ๒ คำหรือพยางค์ หากเป็นไปได้พยายามวางให้คำท้ายวรรคแรกสัมผัสอักษรหรือรูปสระ กับคำต้นวรรคหลัง
เพื่อความไพเราะ อันนี้ก็มีส่วนให้ผู้อ่านอยากจะอ่านต่อรึเปล่าด้วย
ไป่ซึ่งใครเฉลย ........
... มาบาทสอง เราอยากจะบอกต่อว่าการวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น หรือคนอื่นมาทำกับเราบ้างมันเป็นเรื่องที่ปรกติ เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับความจริง
แต่..ใหม่ๆอาจติดแหงกตรง "คำโท" ที่วรรคหลังของบาทนี้ ดังนั้นเราเว้นไปก่อน เดี๋ยวกลับมาเขียนใหม่
... หากไม่ใช้คำ"เฉลย" อาจจะใช้คำอื่นๆก็ได้ เช่น "เลย" "เผย" ... ฯลฯ แต่อย่าใช้คำ "เคย" เพราะมันจะซ้ำกับท้ายวรรคแรก
เราเคยกระทำเผย ผองอื่น ( ก็ดี )
...บาทสาม ให้พยายามคิดในใจก่อนว่าจะสื่ออะไรต่อ กรณีนี้ พี่ใช้แนวคิดว่า บาทนี้เราจะบอกว่า เราเคยวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นนะ แล้วบาทสุดท้ายเรา
ก็จะได้มาสรุปต่อว่า คนอื่นเค้าก็มีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์เราเช่นกัน
... ส่วนคำในวงเล็บนั้น เป็นคำสร้อย จะมีหรือไม่ ? น้องก็พิจารณาเองว่า หากความมันครบข้อหมายแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ให้มันรกตา ( หรือเรียกว่า "รกสร้อย" )
เขาก็กระทำไซร้ เซ่นข้อควรไฉน ฯ
...บาทสุดท้าย ก็ต่อยอดความคิดลงมาจากบาทสาม คราวนี้เราใช้คำโท "ไซร้" จึงส่งผลให้คำโทคู่ในบาทสอง ต้องเป็นสระ ไ_ ้ เหมือนกัน...
...บาทสอง
ไป่ซึ่งใครเฉลย เลี่ยงได้ ( อาจใช้ หลีกได้ , หลบได้ , เลี่ยงให้ , หลบให้ , หลีกให้ ฯลฯ )
...เห็นไหมว่า เราจะคิดคำได้ง่ายขึ้น ตามเทคนิคนี้
...ลองลงมือแต่งเลยครับ "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" คนอื่นแค่คนแนะนำ แต่เราต้องทำเอง เหมือนการสอนว่ายน้ำมีครูสอนให้ก็จริง แต่... เราก็ต้องหัดว่ายด้วยตนเองอยู่ดี
>>> เราถึงจะว่ายเป็น
... ขอให้สนุกกับการแต่งโคลงครับ ...