รบกวนอธิบายเรื่องความดันของปีกในลักษณะต่อไปนี้ ช่วงกำลังแลนดิ้งหน่อยครับ

ตามที่เข้าใจนะครับ เครื่องบินตอนบินอยู่ที่สูง ลมที่วิ่งผ่านด้านนูนของปีกด้านบน จะทำให้อากาศเคลื่อนที่เร็วกว่าปกติ ตรงนี้เลยทำให้แรงดันตกลง ส่วนลมด้านล่างผ่านใต้ปีกเป็นแนวตรงไป ความดันเลยยังปกติ (ซึ่งก็คือความดันสูงกว่าด้านบนปีกนั่นเอง) จึงทำให้ปีกพยุงตัวเครื่องบินได้ ทีนี้คำถามครับ

1. สังเกตได้ว่า ตอนที่อยู่บนที่สูง แต่เหมือนเครื่องกำลังจะลดระดับหรือเตรียมลดระดับหรือเปล่าไม่แน่ใจ ปีกจะเปิดมาเล็กๆตามภาพนี้ ทำแบบนี้แรงดันทั้งบนและล่างจะเท่ากันใช่ไหมครับ เห็นเปิดขึ้นมานิดนึง (ทั้งที่ก่อนหน้านี้ตอนบินอยู่ที่สูง ปิดสนิท) ไม่รู้ว่า การเปิดขึ้นมาแบบนี้มีผลอะไรกับเครื่องบินเหรอครับ สงสัยครับ
http://www.mx7.com/i/6b5/CqRb97.jpg
2.การสไลด์ปีกลงไปด้านหลังแบบนี้ เพื่อต้องการให้ความดันด้านบนมีมากกว่าด้านล่าง ตอนกดปีกลง (คำถามคือ ทั้งที่จริงๆด้านบนซึ่งเป็นแบบนูน ก็มีความดันน้อยกว่าแนวเรียบใต้ปีกอยู่แล้ว แต่ทำแบบนี้เป็นการทำให้ความผิดปกติของความดันไปอยู่ที่ใต้ปีกมากกว่า เข้าใจแบบนี้ถูกไหมครับ)
http://www.mx7.com/i/ac7/ryJJP6.jpg
3. ช่วงจะแลนดิ้งตอนล้อสัมผัสพื้น ด้านล่างก็ยังแรงดันน้อยอยู่ เพราะสไลด์ปีกลงไปด้านหลังจนสุด แต่ต่อไปนี้ไม่ทราบว่า ผมเข้าใจหลักการถูกหรือเปล่านะครับ คือด้านบนก็ยกปีกขึ้นมาสุดแบบนี้เช่นกัน แรงดันด้านบนก็น่าจะตกไปเยอะมาก(หรือเปล่าครับ เพราะการเคลื่อนที่ของลมผิดปกติไปมาก) เลยสงสัยว่าแรงดันทั้งบนและล่างต่างก็น้อยไปหมด แล้วหลักการกดปีกไว้ไม่ให้เครื่องเด้งขึ้นตอนล้อสัมผัสพื้นมันคือยังไงครับ (แต่หลักการนึงที่พอเข้าใจก็คือ กางปีกด้านบนขึ้นเพื่อปะทะกับแรงลมที่มาเพื่อช่วยเรื่องเบรค อันนี้พอนึกภาพได้ แต่แรงดันบนและล่างหายไปทั้งคู่ ตรงนี้เลยยังสงสัยอยู่ครับ)
http://www.mx7.com/i/a5c/DrrKaV.jpg

ขอบคุณทุกๆคำตอบมากครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่