ปริศนา สี่ดรุณีศรีสุทธากุล


ผู้เขียนขอออกตัวก่อนว่า การวิจารณ์ครั้งนี้นำละครที่ออกอากาศ เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน
จากนิยายเรื่องปริศนา เจ้าสาวของอานนท์ รัตนาวดี ชุดไตรภาคจากนิยายของ ว.ณ ประมวลมารค
บทโทรทัศน์ของ เอื้องอรุณ สมิตสุวรรณ
กำกับการแสดงโดย อดุลย์ ดุลยรัตน์
ดนตรีและเพลงประกอบ วิรัช อยู่ถาวร
ผู้จัด วรายุฑ มิลินทจินดา ซึ่งเป็นผลงานละครลำดับที่ ๔ ในฐานะผู้จัด
พ.ศ. 2530,2531,2532  ออกอากาศ ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ 20.30น.
ซึ่งเขียนบท กำกับ และควบคุมการผลิต ทั้งไตรภาค เป็นตัวตั้งในการวิจารณ์ครั้งนี้
(รัตนวดีเป็นนิยายจดหมาย ที่บอกเล่าจากแต่ละคน ทำให้การเรียบเรียงบท ต่างจากสองเรื่องก่อน)

(ผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และผู้รู้โปรดชี้แนะ)

เนื่องจากดัดแปลงนิยายเป็นบทละครได้ดี และสมจริงที่สุด ในบริบทสังคมยุคนั้น
ที่สำคัญเรื่องปริศนานี้เป็นปฐมบทไตรภาค ถ้าไม่มีเจ้าสาวของอานนท์มาต่อปริศนา เนื้อเรื่องจะเสียอรรถรส
ไปมาก และยังมีตัวละครที่ยังไม่แต่งงานค้างอยู่ ซึ่งจะส่งต่อไปยังเรื่องของอานนท์ และรัตนาวดีแทน เช่น


ฉากแต่งงานปริศนา กับ ท่านชายพจน์ปรีชา
อานนท์ได้ช่อดอกไม้จากปริศนาโดยไม่ตั้งใจ จนได้แต่งงานกับสุชาดา

สิรี และนงลักษณ์เพื่อนสนิท เจอคู่ครอง คือ
โกศล  รองท่านทูตแต่งงานแล้วไปประจำที่ญี่ปุ่น
ตระกล  แต่งงานแล้วย้ายไปอยู่ยะลา ใกล้เหมืองของตระกล
(ตระกลแชมป์เทนนิสในไทย แรกทีเจอปริศนาคิดจะจีบ แต่พอไปพบแม่สมรถึงรู้ว่าปริศนาเป็นหลาน
โดยตระกลมีศักดิ์เป็นน้องชายต่างแม่ ของพระวินิจพ่อของปริศนา)

นพ พบรักกับวิมล ที่อังกฤษ ในรัตนาวดี ไม่ได้กลับไทย

ปริศนา เข้าใจสาแหรกของสุทธากุล และมูลเหตุก่อนหน้าที่ตนเกิด
(คำบอกเล่าจาก แม่สมร และแม่ตะวันในเจ้าสาวของอานนท์)

คุณหญิงเนตร เป็นภรรยาเอก ของเจ้าคุณพ่อ มีอนุหลายคน โดยให้อยู่เรือนเล็ก แยกกับตึกใหญ่
มีลูกกับอนุหลายคน ได้แก่ ตระกล เกสรฯ จากทั้งหมดยี่สิบคน

คุณหญิงเนตร อยากให้ลูกชายแต่งกับเจริญ ผู้หญิงเชื้อผู้ดีเก่า ที่หามาให้
ซึ่งลูกชายทั้งสามคน จากพี่น้องท้องเดียวกันหกคน ได้แก่

พระยาสุทธาเทพวิสุทธิ์ สุทธากุล ชื่อเล่น ใหญ่ (ลุงของปริศนา) แต่งกับแม่ตะวัน แต่คุณหญิงแม่ไม่ยอมรับ
พระวินิจมนตรี(พ่อปริศนา) หนีมาแต่งกับครูสมร(แม่ปริศนา) สอนที่โรงเรียนสิกขาลัย
หลวงวิรัชราชกิจ อาปริศนา หนีไปอยู่อเมริกาพร้อมพาปริศนาไปด้วย ยังโสดสนิท

แรกทีคุณหญิงแม่บังคับให้พระวินิจแต่งกับเจริญ แต่พระวินิจ รักกับครูสมรอยู่ก่อนแล้ว จึงตัดสินใจออกจากจวน
ย้ายมาอยู่แถบบางกะปิ(สุขุมวิท) มีลูกด้วยกันสี่คน แต่คุณพระป่วยตายกะทันหัน
ไม่ได้เห็นหน้าลูกคนสุดท้อง คุณพระได้สั่งเสียกับแม่สมรไว้ว่า

ให้รักลูกคนนี้มากกว่าลูกทุกคน เพราะเป็นลูกคนเดียวที่ไม่ได้เห็นหน้าพ่อ

จากนั้นคุณหญิงเนตร ก็บังคับให้ หลวงวิรัชแต่งกับเจริญ แต่อาวิรัชขอให้นายทำเรื่องย้ายไปประจำสถานทูตสหรัฐ
โดยขอปริศนาไปเลี้ยงดู เพื่อแบ่งเบาภาระของแม่สมร จนปริศนาเรียนจบป.ตรี อายุ 19 ปี ซึ่งเรียนได้เร็วกว่าคนอื่นในรุ่นเดียวกัน
อาวิรัช จึงให้ปริศนากลับเมืองไทย มาอยู่กับครอบครัว เพราะเกรงว่าฝรั่งจะมาคว้าหลานรักไป
และจะได้นำความรู้ที่ร่ำเรียนมา กลับมาพัฒนาประเทศ

เมื่อคุณหญิงเนตรเจอไม้นี้เข้า ก็แก้ทางกับลูกชายคนโตที่ยังเหลืออยู่ โดยยื่นคำขาดว่า

ถ้าพ่อใหญ่ไม่ยอมแต่งงานกับผู้หญิงมีแม่หามาให้ แม่จะอดข้าวตายให้รู้แล้วรู้รอดไป
แม่ไม่รู้ว่าจะเอาหน้าไว้ที่ไหน
(ที่จริงเจริญจะฟ้องคุณหญิงเนตร ที่ทำให้นางเป็นหม้ายขันหมากถึงสองครั้ง)

เจ้าคุณสุทธาฯตอนนั้น รักกับแม่ตะวัน สาวลูกครึ่งจีนอยู่ก่อนแล้ว แต่คุณหญิงแม่ไม่ยอมรับให้เข้าตึกใหญ่
แค่ให้อยู่แยกเรือน แม่ตะวันก็จำทนกินน้ำใต้ศอก ทั้งที่เป็นเอกภรรยา แต่ไม่ได้เป็นภรรยาเอก
ที่สำคัญมาก็มาก่อน และรักกันด้วยใจจริง แถมยังท้องอ่อนๆ ตอนที่เข้ามาอยู่ที่จวน

พอเจ้าคุณจะแต่งกับหญิงที่คุณหญิงเนตรหามาให้ เจ้าคุณจัดแจงให้แม่ตะวันไปอยู่กับแม่สมร ที่บ้านบางกะปิ
แล้วบอกว่าพอเสร็จงานแต่งแล้วจะพาแม่ตะวันหนีไปอยู่ด้วยกัน แบบเดียวกับพ่อปริศนาที่พาแม่สมรหนีมาอยู่ที่บางกะปิ
เจ้าคุณยังหมั่นไปเยี่ยม พอใกล้วันแต่งเจ้าคุณ ญาติของแม่ตะวันจากกรุงกัวลาลัมเปอร์มาเยี่ยม
แม่ตะวันจึงตัดสินใจ หนีตามญาติคนจีนไปอยู่ที่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซียด้วย

เจ้าคุณออกตามหาอย่างบ้าคลั่ง อาละวาดกับทุกคน ว่าคุณหญิงแม่เป็นต้นเหตุ ให้แม่ตะวันหนีไป แต่เจริญกลับใส่ร้ายว่า
แม่ตะวันคบชู้แอบหนีตามกัน ทำให้ชีวิตคู่ของเจ้าคุณกับคุณหญิงตามผัวอย่างเจริญ มีแต่ความเฉยชา
ถึงกระนั้นก็ยังมีลูกด้วยกันสามคนคือ

สวนิต ลูกสาวคนโต ไม่เอาไหนดีแค่สวยไปวันๆ หนีตามนายเทิด หลานอนุเจ้าคุณปู่  ที่มาอาศัยเตรียมสอบเป็นแพทย์
เด็กดีกตัญญู แต่มาเสียคนเพราะยายนิตเป็นเหตุ เพราะชอบให้ผู้ชายมารุมแย่งตัว และอ่อยไปทั่วกลัวไม่มีผัว

จนกุเรื่องว่าพ่อบังคับให้แต่งกับอานนท์(อานนท์ไม่ได้สนใจ) เทิดหลงเชื่อจึงพานิตหนีไปอาศัยกับเพื่อนอยู่เรือนเล็ก
ในเขตจวนคุณพระ เพื่อนสนิทกับเจ้าคุณพ่อของนิต จนมีเรื่องแย่งผู้หญิงกัน เทิดจึงกลับมาสารภาพผิด
คุณพระก็จับนิตได้ เจ้าคุณจึงส่งนิตให้ไปอยู่เรือนย่า และเจ้าคุณประกาศแยกทางกับคุณหญิงเจริญ
โดยให้ตามไปอยู่กับนิตและคุณหญิงย่าด้วย

ไม่นานนิตก็แพ้ท้องกับหนึ่งในบรรดาเพื่อนของเทิด ซึ่งน่าจะเป็นมนตรี เจ้าคุณจึงส่งไปบ้านนอกให้เรื่องเงียบสักสี่ห้าปี
ส่วนเทิดเต็มใจรับเป็นพ่อเด็กเพราะมีส่วนผิดที่พานิตหนี เจ้าคุณให้อภัยเทิด และส่งเสียเทิดจนจบแพทย์
โดยระหว่างนั้นไปฝากเทิดกับคุณหลวงที่เป็นเพื่อนสนิท

ไพจิตร ลูกชายคนรอง ไม่หล่อ ขาดความมั่นใจ แต่มีความรู้ดีและเรียนเก่ง เวลาตื่นเต้นจะพูดติดอ่าง
(คล้ายชายเล็กในบ้านทรายทอง)

นิศา ลูกสาวตุ้ยนุ้ยคนเล็ก ไม่สวยเท่าพี่สาวแต่ร่าเริงและขยัน นิศาเป็นเพื่อนกับรจนา น้องสาวคนสุดท้องของอานนท์

ผู้นิพนธ์ เริ่มเขียนอายุราว 20 ปี พ.ศ.2480 โดยมี พระบิดาและเพื่อนข้างบ้าน ให้คำแนะนำในด้านต่างๆ
จากนั้นนำมาเรียบเรียง โดยแทบไม่ได้แก้ไขระหว่างบรรทัด เนื้อหาจึงสมบูรณ์นับแต่พิมพ์ครั้งแรก

เรื่องปริศนานี้ ข้าพเจ้าเขียนขึ้นเมื่ออายุไม่เกิน ๒๐ ปี คือ
เมื่อออกจากโรงเรียนมาอยู่บ้านใหม่ๆ ใช้เวลาถึง ๓ ปีถึงเขียนเรื่องปริศนาจบ
ท่านเจ้าของโรงพิมพ์ประมวญมารค(กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์) รับไว้เพื่อลงในหนังสือพิมพ์รายอาทิตย์ ประมวญสาร

อีก ๒ อาทิตย์เรื่อง "ปริศนา" จะลงพิมพ์ โรงพิมพ์ประมวญมารคก็ถูกระเบิด เพลิงไหม้หมด
ข้าพเจ้าได้เสี่ยงชีวิตวิ่งฝ่าไฟเข้าไปในออฟฟิศ ของโรงพิมพ์ซึ่งกำลังไฟลุก ไปเอาต้นฉบับเรื่อง ปริศนา ซึ่งอยู่ในนั้น
มิฉะนั้น ปริศนาก็คงตายเสียในไฟ ไม่มีโอกาสให้ใครได้รู้จักเกิน ๔ คน


ปริศนา ออกสู่สายตาคนอ่านในนิตยสารเดลิเมล์วันจันทร์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2497 หลังสิ้นสุดสงครามโลกแล้วเกือบ 10 ปี ทรงเล่าว่า  

มีคนติดมาก ไปที่ไหนก็พูดถึง หนังสือพิมพ์ต้องเพิ่มจำนวนพิมพ์ จากพันเป็นหมื่นทุกสัปดาห์ที่หนังสือออก
นักอ่านตามหัวเมืองเป็นจำนวนมากมายจะไปคอยดักรับหนังสือที่สถานี เต็มทุกสถานี ตั้งแต่อยุธยาไปจนถึงเชียงใหม่ทีเดียว
ทางใต้ทางอีสานก็เช่นกัน และเมื่อพิมพ์จำหน่ายเป็นเล่มก็ทำสถิติในการขายดี


เมื่อมีการประกวดปริศนา ให้หญิงสาวส่งภาพมาที่นิตยสารเพื่อดูว่าใครจะเข้าเค้าที่สุด ก็มีรูปถ่ายหลั่งไหลมาหลายหมื่นใบ
แต่ หญิงสาวที่พระองค์เจ้าวิภาวดีฯ ทรงเห็นว่าเหมือนปริศนาที่สุด กลับไม่ใช่หนึ่งในคนที่ส่งรูปถ่ายมา

ภาพของ วาสนา กระแสสินธุ์ นางแบบคนแรกที่แทรกในนวนิยายเรื่อง "ปริศนา" คนแรก ถ่ายภาพโดย ลมูล อติพยัค
หน้าปกนิยาย ธาตรี / ดวงดาว โดย ม.จ.สวาสดิ์วัฒโนดม ประวิตร์


แต่เป็นลูกสาวอดีตเอกอัครราชทูตไทย ชื่อคุณวาสนา กระแสสินธุ์ เป็นหญิงสาวอายุราว 19-20
หน้าตาจิ้มลิ้ม ตากลมโต ผมหยิก ร่างระหงบาง ภาพเธอลงเป็นภาพประกอบในปริศนา รวมเล่มครั้งแรก
เมื่อพระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีทอดพระเนตรเห็นครั้งแรก  รับสั่งว่า นี่ปริศนาของฉันนี่นา

(วาสนา เป็นน้องสาวของ มารยาท กระแสสินทร์ หรือ มารยาท โรเลต์-แอนเดรียน ผู้แต่งเรื่อง เอมมานูแอล)

และพระสวามีผู้ประพันธ์ อนุญาตให้ถ่ายทำวังวิทยุที่ประทับเป็นวังศิลาขาวได้ ทำให้สมจริงตามนิยาย เช่น

วังปารุสกวัน ตำหนักจิตรลดา

ที่ประตูใหญ่ทางเข้าตำหนัก มีมุขเด็จ ยื่นออกคร่อมถนน ทำให้ขึ้นลงรถโดยไม่โดนแดด ฝน
สวนรอบตำหนัก จัดได้ร่มรื่น น่าอยู่ เพราะท่านชายพจน์ฯรักต้นไม้ จนถึงขนาดที่รับสั่งให้ประวิชนำเจ้ามอม
ไปคืนปริศนาเพราะไปแอบบถอดต้นไม้ในสวน ถ้าเป็นตะโก ข่อยดัด กล้วยไม้ บอนไซ คงจะทรงกริ้วกว่านี้

อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่