เมื่อถึงวันออกพรรษา ผมก็อดคิดถึง "ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11" ไม่ได้ นี่คือหนังที่อธิบายคติชน จิตวิญญาณพื้นบ้านอีสานลุ่มแม่น้ำโขงได้ดีที่สุดเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว
15 คำ เดือน 11 นอกจากจะสนุกแล้วยังสอดแทรกคติ ความเชื่อ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาอีสานไว้ได้อย่างไม่ขัดเขิน
แสงไฟกลมสีส้มลูกแล้ว ลูกเล่าพุ่งทยานจากท้องน้ำขึ้นส่ท้องฟ้าแล้วหายวับดับไป ไร้เสียง ไร้กลิ่น เป็นการจุดบั่งไฟบูชาต่อพระพุทธเจ้าของพญานาคที่สถิตย์ในลุ่มแม่โขง
ปรากฎการ์บั่งไฟพญานาค ไม่อาจอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ได้ชัดเจน ไม่มีใครรู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม สิ่งเหนื่อยธรรมชาตินี้เกิดขึ้นมานานแล้ว นานเกินกว่าคนกรุงจะรับรู้เสียอีก แต่ชาวบ้านสามารถอธิบายด้วยนิทานปรัมปรา ที่สอดคล้องกับพุทธศาสนาแบบฉบับวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง ที่มีนาคเป็นตัวละครสำคัญ
นาคในความเชื่อของวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงมีความสำคัญต่อวิถีความคิดและการดำรงชีวิตของผู้คนมากมายเช่น นาคคือตัวแทนของความศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนาจนถึงขนาดปลอมตัวเป็นมนุษย์มาขอบวช นาคคือผู้พิทักษ์พุทธศาสนา นาคคือผู้ให้น้ำฝน นาคคือสะพานเชื่อมโยงจากโลกมนุษย์สู่สวรรค์ นาคคือผู้ขุดแผ่นดินจนกลายเป็นสายน้ำใหญ่ทำให้เกิดเมือง นาคคือบรรพบุรุษตามคติของฟูนัน ฯลฯ นาคแทนอำนาจ วาสนา บารมี นาคแทนวิญญาณบรรพบุรุษ ฯลฯ
ในหนัง เก้ง จิระ มะลิกุล อธิบายคติความเชื่อนี้ผ่าน 15 ค่ำ เดือน 11 ว่าบั่งไฟพญานาคเกิดขึ้นโดยแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาของมนุษย์ โดยได้รับถ่ายทอดจากพญานาคในรูปของ "ไข่พญานาค" เพื่อเป็นพุทธบูชาในคืนวันออกพรรษา และถ่ายทอดวิธีการไปสู่ศิษย์รักอีดต่อหนึ่ง "เริ่มแรกเกิดจากศรัทธา จากศรัทธานำไปสู่ปาฏิหารย์"
เมื่อเกิดบังไฟพญานาคขึ้นในแม่โขง ผู้คนก็ค่อย ๆ ไปชมบั่งไฟพญานาคจากน้อยสู่มากขึ้น จากจากความบริสุทธิใจกลายเป็นวัฒนธรรมการท่องเที่ยว
และแล้วคติความเชื่อชาวบ้านก็ถูกแทรกแซงด้วยวิทยาศาสตร์ พญานาคถูกพิสูจน์การมีตัวตน
ความชาญฉลาดของผู้กำกับและคนเขียนบทได้สร้างสัญลักษณ์มากมายในภาพยนตร์ เช่นไข่พญานาค คือความหมายขององความรู้ทั้งปวงของวัฒนธรรมอีสานลุ่มแม่น้ำโขงที่ไม่สามารถสืบค้นผู้คิดค้นได้ จึงยกให้เป็นการให้ของพญานาคที่ออกมาในรูปไข่ ที่จะฟูมฟักเป็นความรู้ของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาไข้ การกินอยู่ไปจนถึงการห้ามหมาขี้ องค์ความรู้นี้แสดงให้เห็นในภาพยายสอน (สั่ง) ให้หลานทำ แต่ในขณะเดียวกัน องค์ความรู้ด้านศาสนาจะถูกถ่ายทอดจากสงฆ์สู่ฆารวาส
แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปตามระบบการศึกษาที่เจริญก็ตาม องค์ความรู้จาก "พญานาค" ก็ยังสอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างไม่อาจแยกได้
"คาน" คือตัวแทนวัยรุ่นของยุคเปลี่ยนผ่าน ที่สองเท้าเหยือบเท้าละวัฒนธรรม (เก่าและใหม่ หรือ บ้านและเมือง) เขาเกิดในดินแดนอีสานได้รับความรู้แบบชาวบ้าน แต่พอไปเรียนที่กรุงเทพฯ ก็ได้รับความรู้แบบคนเมือง เขายังทำตามคติชาวบ้านที่ย้ายสั่งสอน เขายังเคารพในพระศาสนา แต่เขาเริ่มตั้งคำถามกับคำว่าศรัทธา เขาเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งที่ทำทั้งหมดว่า งมงายหรือศรัทธา ทำไมบางคนยอมตายไปพร้อมกับศรัทธานั้น? แต่ในขณะเดียวกันเขาก็ยังปกป้องมันจากการท้าทายของผู้อื่น
การย้อนแย้งเช่นนี้คือหัวใจของหนัง ที่ทำให้ 15 ค่ำ เดือน 11 น่าติดตาม โดยไม่ได้ชี้นำให้เชื่อ แต่ให้ชี้นำให้คิด
"เชื่อในสิ่งที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ"
แสงไฟกลมสีส้มลูกแล้ว ลูกเล่าพุ่งทยานจากท้องขึ้นสู่ฟากฟ้าแล้วหายวับดับไป ไร้เสียง ไร้กลิ่น ประกอบกับเสียงไชโยโห่ร้องรับลูกไฟแต่ละลูก เสียงอึ่งอลของผู้คนนับแสนที่หลังไหลมานั่งชมมีเสียงมโหรสพเป็นฉากหลัง กลิ่นอาหารสุรายาเมาคละคลุ้งไปทั่วอาณาฝั่งลำน้ำแห่งศรัทธา
เพื่อนคิดอย่างไรกับหนังเรื่องนี้ หรือมีหนังเรื่องไหนแนะนำเพื่อเป็นความรู้ช่วยชี้แนะด้วยครับ
วาทิน ศานติ์ สันติ
27 ตุลาคม 2558
แนะนำ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 หนังดีวันออกพรรษา : ภาพสะท้อนวัฒนธรรมภูมิปัญญาอีสาน
เมื่อถึงวันออกพรรษา ผมก็อดคิดถึง "ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11" ไม่ได้ นี่คือหนังที่อธิบายคติชน จิตวิญญาณพื้นบ้านอีสานลุ่มแม่น้ำโขงได้ดีที่สุดเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว
15 คำ เดือน 11 นอกจากจะสนุกแล้วยังสอดแทรกคติ ความเชื่อ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาอีสานไว้ได้อย่างไม่ขัดเขิน
แสงไฟกลมสีส้มลูกแล้ว ลูกเล่าพุ่งทยานจากท้องน้ำขึ้นส่ท้องฟ้าแล้วหายวับดับไป ไร้เสียง ไร้กลิ่น เป็นการจุดบั่งไฟบูชาต่อพระพุทธเจ้าของพญานาคที่สถิตย์ในลุ่มแม่โขง
ปรากฎการ์บั่งไฟพญานาค ไม่อาจอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ได้ชัดเจน ไม่มีใครรู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม สิ่งเหนื่อยธรรมชาตินี้เกิดขึ้นมานานแล้ว นานเกินกว่าคนกรุงจะรับรู้เสียอีก แต่ชาวบ้านสามารถอธิบายด้วยนิทานปรัมปรา ที่สอดคล้องกับพุทธศาสนาแบบฉบับวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง ที่มีนาคเป็นตัวละครสำคัญ
นาคในความเชื่อของวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงมีความสำคัญต่อวิถีความคิดและการดำรงชีวิตของผู้คนมากมายเช่น นาคคือตัวแทนของความศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนาจนถึงขนาดปลอมตัวเป็นมนุษย์มาขอบวช นาคคือผู้พิทักษ์พุทธศาสนา นาคคือผู้ให้น้ำฝน นาคคือสะพานเชื่อมโยงจากโลกมนุษย์สู่สวรรค์ นาคคือผู้ขุดแผ่นดินจนกลายเป็นสายน้ำใหญ่ทำให้เกิดเมือง นาคคือบรรพบุรุษตามคติของฟูนัน ฯลฯ นาคแทนอำนาจ วาสนา บารมี นาคแทนวิญญาณบรรพบุรุษ ฯลฯ
ในหนัง เก้ง จิระ มะลิกุล อธิบายคติความเชื่อนี้ผ่าน 15 ค่ำ เดือน 11 ว่าบั่งไฟพญานาคเกิดขึ้นโดยแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาของมนุษย์ โดยได้รับถ่ายทอดจากพญานาคในรูปของ "ไข่พญานาค" เพื่อเป็นพุทธบูชาในคืนวันออกพรรษา และถ่ายทอดวิธีการไปสู่ศิษย์รักอีดต่อหนึ่ง "เริ่มแรกเกิดจากศรัทธา จากศรัทธานำไปสู่ปาฏิหารย์"
เมื่อเกิดบังไฟพญานาคขึ้นในแม่โขง ผู้คนก็ค่อย ๆ ไปชมบั่งไฟพญานาคจากน้อยสู่มากขึ้น จากจากความบริสุทธิใจกลายเป็นวัฒนธรรมการท่องเที่ยว
และแล้วคติความเชื่อชาวบ้านก็ถูกแทรกแซงด้วยวิทยาศาสตร์ พญานาคถูกพิสูจน์การมีตัวตน
ความชาญฉลาดของผู้กำกับและคนเขียนบทได้สร้างสัญลักษณ์มากมายในภาพยนตร์ เช่นไข่พญานาค คือความหมายขององความรู้ทั้งปวงของวัฒนธรรมอีสานลุ่มแม่น้ำโขงที่ไม่สามารถสืบค้นผู้คิดค้นได้ จึงยกให้เป็นการให้ของพญานาคที่ออกมาในรูปไข่ ที่จะฟูมฟักเป็นความรู้ของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาไข้ การกินอยู่ไปจนถึงการห้ามหมาขี้ องค์ความรู้นี้แสดงให้เห็นในภาพยายสอน (สั่ง) ให้หลานทำ แต่ในขณะเดียวกัน องค์ความรู้ด้านศาสนาจะถูกถ่ายทอดจากสงฆ์สู่ฆารวาส
แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปตามระบบการศึกษาที่เจริญก็ตาม องค์ความรู้จาก "พญานาค" ก็ยังสอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างไม่อาจแยกได้
"คาน" คือตัวแทนวัยรุ่นของยุคเปลี่ยนผ่าน ที่สองเท้าเหยือบเท้าละวัฒนธรรม (เก่าและใหม่ หรือ บ้านและเมือง) เขาเกิดในดินแดนอีสานได้รับความรู้แบบชาวบ้าน แต่พอไปเรียนที่กรุงเทพฯ ก็ได้รับความรู้แบบคนเมือง เขายังทำตามคติชาวบ้านที่ย้ายสั่งสอน เขายังเคารพในพระศาสนา แต่เขาเริ่มตั้งคำถามกับคำว่าศรัทธา เขาเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งที่ทำทั้งหมดว่า งมงายหรือศรัทธา ทำไมบางคนยอมตายไปพร้อมกับศรัทธานั้น? แต่ในขณะเดียวกันเขาก็ยังปกป้องมันจากการท้าทายของผู้อื่น
การย้อนแย้งเช่นนี้คือหัวใจของหนัง ที่ทำให้ 15 ค่ำ เดือน 11 น่าติดตาม โดยไม่ได้ชี้นำให้เชื่อ แต่ให้ชี้นำให้คิด
"เชื่อในสิ่งที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ"
แสงไฟกลมสีส้มลูกแล้ว ลูกเล่าพุ่งทยานจากท้องขึ้นสู่ฟากฟ้าแล้วหายวับดับไป ไร้เสียง ไร้กลิ่น ประกอบกับเสียงไชโยโห่ร้องรับลูกไฟแต่ละลูก เสียงอึ่งอลของผู้คนนับแสนที่หลังไหลมานั่งชมมีเสียงมโหรสพเป็นฉากหลัง กลิ่นอาหารสุรายาเมาคละคลุ้งไปทั่วอาณาฝั่งลำน้ำแห่งศรัทธา
เพื่อนคิดอย่างไรกับหนังเรื่องนี้ หรือมีหนังเรื่องไหนแนะนำเพื่อเป็นความรู้ช่วยชี้แนะด้วยครับ
วาทิน ศานติ์ สันติ
27 ตุลาคม 2558