จากเพจศาสนวิทยา dr.Sinchai Chaojaroenrat
(
https://www.facebook.com/dr.sinchai.chaojaroenrat?fref=ts)
ได้มีการตั้งแคมเปญในเว็บChange.org โดยมีผม ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์และชาวไทยอีกหลายท่าน
ชื่อว่า"รณรงค์ให้มีการแยกศาสนาออกจากรัฐและทำให้เป็นรัฐโลกวิสัย"
โดยแคมเปญนั้นมีเนื้อหาดังนี้
เหตุผลที่ต้องการรณรงค์ให้ประเทศไทยนั้นมีการแยกศาสนาออกจากรัฐและทำให้เป็นรัฐโลกวิสัยก็เพราะประสงค์ให้ประเทศไทยนั้นมีเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนาโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องการให้รัฐนั้นใช้ศาสนามาบังหน้าแล้วทำการทุจริต คดโกงชาติบ้านเมือง ไม่ต้องการให้มีการบังคับหรือกึ่งบังคับยัดเยียดศาสนาให้แก่เด็กและเยาวชนทั้งโดยนโยบาย ระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนของรัฐและหลักสูตรการศึกษา ไม่ต้องการให้ศาสนาใดศาสนาหนึ่งมีอภิสิทธิ์มากกว่าสาสนาอื่น โดยประเทศไทยนั้นถือได้ว่ามีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย จึงเป็นเหตุผลอันสมควรที่จะมีการรณรงค์เรื่องนี้นั้นเกิดขึ้น
ทั้งนี้ผมและชาวไทยหลายท่านมิได้มีเจตนาจะต่อต้านศาสนาแต่ประการใด แต่เป็นกระทำเพื่อชาติไทยของเรา
การแยกศาสนาออกจากรัฐ
หลายคนอาจไม่ทราบหรือไม่เข้าใจว่าการแยกศาสนาออกจากรัฐนั้น มันคืออะไร? จะอธิบายดังนี้
หลักการเรื่องเสรีภาพทางศาสนา มี 2 หลักการที่เกี่ยวข้อง หลักการแรกคือ เสรีภาพในการนับถือศาสนา (Freedom of Religion) หลักการที่สอง คือ การแยกศาสนาออกจากรัฐ (The Separation of Religion and State) ซึ่งเกี่ยวข้องกันแต่ไม่เหมือนกัน
การแยกศาสนาออกจากรัฐ ทำให้ประเทศมีความเป็นกลางทางศาสนา โดยไม่มีศาสนาประจำชาติ ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมทางศาสนา ในขณะที่ประเทศที่แยกศาสนาออกจากรัฐ ก็ย่อมจะมีศาสนาประจำชาติและมีแนวโน้มที่จะไม่เป็นกลางทางศาสนากัน โดยประเทศไทยให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแต่ไม่แยกศาสนาอออกจากรัฐ
ซึ่งที่จริงแล้วเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ต้องตั้งอยู่บนหลักพื้นฐานเรื่องความเสมอภาคด้วย รัฐจึงควรปฏิบัติต่อทุกศาสนาอย่างเสมอภาคกันและหลีกเลี่ยงการให้ความสำคัญกับศาสนาใดศาสนาหนึ่งเกินความจำเป็น
การแยกศาสนาออกจากรัฐนั้นโดยภาพรวมถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ในโลกนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันชาติกับศาสนาอยู่ 3 ประเภท คือรัฐศาสนา รัฐกึ่งศาสนาและรัฐโลกวิสัย โดยรัฐโลกวิสัยนั้นที่เกี่ยวข้องกันกับการแยกศาสนาออกจากรัฐ จึงขออธิบายดังนี้
รัฐศาสนา
รัฐศาสนา(Religious State) มีความหมาย 2 ระดับ
1.รัฐหรือประเทศที่ระบุชัดในรัฐธรรมนูญและการปฏิบัติว่ามีการยกย่องให้ศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นศาสนาประจำชาติและให้ศาสนานั้นมีอิทธิพลต่อรัฐ
2.ประเทศที่เคร่งในศาสนาใดศาสนาหนึ่งอย่างเต็มที่ จนเอาหลักคำสอนมาปกครองประเทศ
ลักษณะทั่วไปของรัฐศาสนา มีลักษณะดังนี้คือ
1.ระบุในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนว่า มีศาสนาใดหรือแม้กระทั่งนิกายใดเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งแม้จะบอกว่าให้เสรีภาพทางศาสนาแก่ศาสนาอื่น แต่ก็ต้องเป็นรอง และห้ามขัดแย้งกับศาสนาหลัก
2.ผู้นำประเทศต้องนับถือศาสนาหลักหรืออาจต้องเป็นผู้นำศาสนาหลักด้วย
3.มีการให้ศาสนาหลักเป็นศาสนาเดียวหรือศาสนาหลักในรัฐพิธี
4.รัฐอุดหนุนบำรุงศาสนาหลักอย่างเต็มที่
5.ใช้หลักคำสอนศาสนาหลักมากำหนดเป็นกฎหมายและประเพณีของรัฐอย่างมาก
6.ใช้วันสำคัญทางศาสนาหลักมาเป็นวันหยุดราชการและวันสำคัญของชาติ
7.รัฐศาสนาโดยส่วนใหญ่ก็ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาอื่น แต่มักหมายถึงให้เป็นศาสนาของชนกลุ่มน้อยเท่านั้นและกีดกันไม่ให้คนในศาสนาหลักเปลี่ยนศาสนา
8.ตราสัญลักษณ์ของชาติ ธงชาติ และของหน่วยงานราชการจะมีมาจากเนื้อหาของศาสนาหลักปนอยู่
9.มีโทษสำหรับการกระทำที่หมิ่นศาสนาหรือบั่นทอนศาสนาหลัก
10.มีการกำหนดให้นักเรียนต้องเรียนศาสนาหลักในโรงเรียนและมีพิธีกรรมของศาสนาหลักในโรงเรียน
11.มีสัญลักษณ์ของศาสนาหลักปรากฏอยู่ทั่วไปตามสถานที่ราชการ
จะเห็นได้ว่ายังไม่มีบางข้อที่เกิดในไทย ฉะนั้นเราจะดูที่"รัฐกึ่งศาสนา"
รัฐกึ่งศาสนา
รัฐกึ่งศาสนา(Semi-religious state) หมายถึงรัฐศาสนาบางประเภทที่หลีกเลี่ยงการทำให้ตนเป็นรัฐศาสนาที่ชัดเจน จึงไม่ระบุในรัฐธรรมนูญว่าประเทศตนมีศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ก็มีเขียนอ้อมไว้ เช่น ระบุว่าประมุขต้องนับถือศาสนาใดหรือเขียนเชิงพรรณนาว่ามีศาสนาใดเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมอันยาวนาน กรณีแบบนี้ก็ถือว่าเป็นรัฐกึ่งศาสนา
รัฐกึ่งศาสนา แม้จะไม่ระบุศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญก็ได้ แต่ก็มีการยกย่องเชิดชูศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษในลักษณะเป็นศาสนาแห่งจารีตประเพณีของชาติ และจะมีการสนับสนุนศาสนานั้นเป็นพิเศษอย่างเห็นได้ชัด มีการอุดหนุนศาสนาหลัก ใช้พิธีกรรมของศาสนาหลักในการทำรัฐพิธี มีสัญลักษณ์ของศาสนาอยู่ทั่วไป มีการกำหนดให้นักเรียนเรียนศาสนาหลักและการทำศาสนพิธีของศาสนาหลักในโรงเรียน ฯลฯ
ดูแล้ว ประเทศไทยนั้นเข้าข่ายรัฐกึ่งศาสนาแน่นอนเลยทีเดียว เป็นรัฐศาสนาที่ไม่ชัดเจน
รัฐโลกวิสัย
รัฐโลกวิสัย (Secular State) คือรัฐหรือประเทศที่ให้เสรีภาพและความเสมอภาคและเป็นกลางทางด้านศาสนา ไม่สนับสนุนหรือต่อต้านความเชื่อหรือการปฏิบัติทางศาสนาใดๆ รัฐโลกวิสัยจะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่จะไม่มีศาสนาประจำชาติหรือหากมีศาสนาประจำชาติ ศาสนานั้นก็จะมีความหมายเชิงสัญลักษณ์และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชน
ประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจสูงจะเลือกเป็นรัฐโลกวิสัย ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน สวีเดน เยอรมัน สิงคโปร์ ฯลฯ สิ่งที่น่าสนใจคือต้นกำเนิดของศาสนาใหญ่ๆหรือนิกายใหญ่ๆก็ล้วนระบุว่าประเทศตนเป็นรัฐโลกวิสัย หรือ Secular State ด้วยทั้งสิ้น เช่น เยอรมัน(คริสต์ นิกายลูเธอร์แรน) อินเดีย(ฮินดู อิสลาม พุทธ) จีน(เต๋า พุทธ) รัสเซีย (คริสต์ นิกายรัสเซียนออร์โธดอกซ์)
โดยบางประเทศนั้นเชื่อว่าศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร จึงเกิดคำถามว่า ความเป็นรัฐศาสนาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือไม่? อย่างไร? ทุกวันนี้ข้อมูลจากทั่วโลกกลับพบว่าประเทศที่เป็นรัฐโลกวิสัยหรือรัฐฆราวาสก็มีระดับคุณภาพประชากรที่สูง เช่น โลกตะวันตก ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น ในขณะที่รัฐศาสนาส่วนใหญ่กลับมีระดับคุณภาพต่ำกว่าเสียด้วยซ้ำ ฉะนั้นจึงไม่อาจพูดได้ว่า การเป็นรัฐศาสนาจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต
เอาล่ะ ที่นี้บางคนอาจคิดว่ารัฐโลกวิสัยนี่มันคงทำให้คนเป็นคนชั่วกว่าการเป็นรัฐศาสนา(พุทธ) ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริงเลย รัฐโลกวิสัยที่ไหนในโลกก็ตระหนักและห่วงใยถึงผลเสียของเสรีภาพที่เกินเหตุและไร้ขอบเขตกันทั้งนั้น เพราะเหตุว่าการเหลื่อมล้ำในสังคมมากเกินไป ก็จะเกิดปัญหาความยากจน ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ ความไม่เป็นธรรม อาชญากรรม ปัญหาชนชั้น ปัญหาสังคม ฯลฯ
แล้วสิ่งนี้จะทำให้ประชาชนไม่รักชาติ แตกแยก เล่นพรรคเล่นพวก จนรัฐไม่มีความมั่นคง จนสามารถกลายเป็นรัฐล่มสลายได้ในที่สุด
ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่รัฐโลกวิสัยจะต้องมีมาตรการป้องกันและแก้ไขสิ่งเหล่านี้ด้วยหลายๆวิธี ทั้งการอบรมบ่มเพาะ การรณรงค์ส่งเสริมให้รางวัล กระจายอำนาจ กระจายรายได้ทำให้เกิดความเป็นธรรมลดการเหลื่อมล้ำ จนถึงออกกฎหมายบังคับและลงโทษให้เด็ดขาด
จะเห็นได้ว่า รัฐโลกวิสัยก็คิดสิ่งแหล่านี้ได้ มีมาตรการป้องกันและแก้ปัญหา เพียงไม่ใช้ศาสนาเป็นแนวทาง อีกทั้งยังเหนือกว่ารัฐศาสนาใน 4 สิ่งนี้อีก คือ
1.ในรัฐโลกวิสัย สังคมมีโอกาสจะมีกฎหมายและนโยบายที่มีเหตุผลพิสูจน์ได้ล้วนๆ อันจะทำให้ผู้คนส่วนใหญ่สามารถยอมรับได้อย่างเต็มใจ ถ้าเป็นรัฐศาสนา กฎหมายจะถูกกำหนดโดยคัมภีร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งต้องเชื่อฟัง ทำตามโดยไม่มีคำอธิบาย
2.ในรัฐโลกวิสัย สังคมมีโอกาสเรียนรู้ แก้ไข รัฐโลกวิสัยอาจผิดพลาดได้แต่มันสามารถแก้ไขได้ แต่รัฐศาสนาผิดอย่างไรก็แก้ไขไม่ได้ เพราะผิดต่อคัมภีร์และจารีต ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แปลว่าไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้
3.ในรัฐโลกวิสัย สังคมยังมีโอกาสยุติธรรมกับคนทุกศาสนา ทุกนิกายและคนไม่นับถือศาสนาได้มากกว่า แต่ถ้าในรัฐศาสนา ต้องยึดคัมภีร์บางศาสนาเป็นหลัก แม้จะผ่อนปรนศาสนิกอื่น แต่ก็มีแนวโน้มจะเกิดความอยุติธรรมอยู่ดี ซึ่งเกิดปัญหาอื่นตามมาแน่นอน
4.ในรัฐโลกวิสัยจะไม่มีคนในศาสนาใดมีอภิสิทธิ์หรือได้เปรียบเหนือศาสนิกอื่นด้วยเหตุผลทางศาสนาและไม่มีใครถูกริดรอนสิทธิและการเอารัดเอาเปรียบด้วยเหตุทางศาสนา
จากตรงนี้เราจะเห็นได้ว่ารัฐโลกวิสัยนั้นย่อมดีกว่ารัฐศาสนาอย่างแน่นอน แม้ไม่มีศาสนาประจำชาติหรือการสอนศาสนาในโรงเรียนของรัฐ ก็ยังสามารถสอนคนให้เป็นคนดีได้ด้วย จริยธรรมแบบโลกวิสัย
"จริยธรรมแบบโลกวิสัย" (Secular Ethics) มีหลายหลักการ คือ
1.เสรีภาพ มีเต็มที่ ห้ามเฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น ไม่เอากฎศีลธรรมเชิงศาสนามาควบคุม
มีเสรีภาพเต็มที่ในการนับถือศาสนา เปลี่ยนศาสนา ไม่นับถือศาสนา รวมไปถึงวิจารณ์ศาสนา
2.ความเสมอภาค เพราะถ้ามีแค่เสรีภาพแต่ไม่มีความเสมอภาค สังคมก็เกิดความอยุติธรรม
ในทางศาสนา คือ ไม่เอาแนวทางของศาสนาใดศาสนาหนึ่งมามีอภิสิทธิ์เหนือศาสนาอื่น
3.ประโยชน์นิยม สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนจำนวนมากที่สุดคือสิ่งที่ดีที่สุด
4.ยึดเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย การจะออกกฎหมายห้ามใดๆต้องพิสูจน์ได้เชิงวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ห้ามเพราะศาสนาบอกไว้อย่างนั้น
5.ยึดเสียงส่วนใหญ่ของพลเมือง ยอมรับมติจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ในกรณีที่ยึดหลักสามประการแรกแล้ไม่อาจหาความจริงเชิงวิทยาศาสตร์สนับสนุนได้ อาจแสดงออกด้วยการทำประชาพิจารณ์ ประชามติ
จากข้อมูลทั้งหมด จะเห็นได้ว่า รัฐโลกวิสัยนั้นโดยภาพรวมนั้นดีกว่ารัฐศาสนามากจริงๆ ซ้ำร้าย รัฐศาสนาได้ให้ข้อเสียหลายประการเลยทีเดียว ทีนี้ถึงเวลาหรือยัง? ที่ประชาชนทุกท่านจะร่วมกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในโลกยุคปัจจุบัน ทำให้เป็นประเทศที่มีเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนาโดยสมบูรณ์เสียที ผมและชาวไทยหลายท่านกำลังรอการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้อยู่ เพื่ออนาคตของชาติและลูกหลานของเรา
https://www.change.org/p/%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A2?recruiter=62854644&utm_source=share_petition&utm_medium=copylink
ใครต้องการจะดีเบท แสดงความคิดเห็นหรืออยากร่วมลงชื่อสนับสนุน เชิญเลยครับ (โปรดแสดงความคิดเห็นด้วยเหตุผล ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม)
การแยกศาสนาออกจากรัฐและทำให้เป็นรัฐโลกวิสัย
(https://www.facebook.com/dr.sinchai.chaojaroenrat?fref=ts)
ได้มีการตั้งแคมเปญในเว็บChange.org โดยมีผม ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์และชาวไทยอีกหลายท่าน
ชื่อว่า"รณรงค์ให้มีการแยกศาสนาออกจากรัฐและทำให้เป็นรัฐโลกวิสัย"
โดยแคมเปญนั้นมีเนื้อหาดังนี้
เหตุผลที่ต้องการรณรงค์ให้ประเทศไทยนั้นมีการแยกศาสนาออกจากรัฐและทำให้เป็นรัฐโลกวิสัยก็เพราะประสงค์ให้ประเทศไทยนั้นมีเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนาโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องการให้รัฐนั้นใช้ศาสนามาบังหน้าแล้วทำการทุจริต คดโกงชาติบ้านเมือง ไม่ต้องการให้มีการบังคับหรือกึ่งบังคับยัดเยียดศาสนาให้แก่เด็กและเยาวชนทั้งโดยนโยบาย ระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนของรัฐและหลักสูตรการศึกษา ไม่ต้องการให้ศาสนาใดศาสนาหนึ่งมีอภิสิทธิ์มากกว่าสาสนาอื่น โดยประเทศไทยนั้นถือได้ว่ามีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย จึงเป็นเหตุผลอันสมควรที่จะมีการรณรงค์เรื่องนี้นั้นเกิดขึ้น
ทั้งนี้ผมและชาวไทยหลายท่านมิได้มีเจตนาจะต่อต้านศาสนาแต่ประการใด แต่เป็นกระทำเพื่อชาติไทยของเรา
การแยกศาสนาออกจากรัฐ
หลายคนอาจไม่ทราบหรือไม่เข้าใจว่าการแยกศาสนาออกจากรัฐนั้น มันคืออะไร? จะอธิบายดังนี้
หลักการเรื่องเสรีภาพทางศาสนา มี 2 หลักการที่เกี่ยวข้อง หลักการแรกคือ เสรีภาพในการนับถือศาสนา (Freedom of Religion) หลักการที่สอง คือ การแยกศาสนาออกจากรัฐ (The Separation of Religion and State) ซึ่งเกี่ยวข้องกันแต่ไม่เหมือนกัน
การแยกศาสนาออกจากรัฐ ทำให้ประเทศมีความเป็นกลางทางศาสนา โดยไม่มีศาสนาประจำชาติ ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมทางศาสนา ในขณะที่ประเทศที่แยกศาสนาออกจากรัฐ ก็ย่อมจะมีศาสนาประจำชาติและมีแนวโน้มที่จะไม่เป็นกลางทางศาสนากัน โดยประเทศไทยให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแต่ไม่แยกศาสนาอออกจากรัฐ
ซึ่งที่จริงแล้วเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ต้องตั้งอยู่บนหลักพื้นฐานเรื่องความเสมอภาคด้วย รัฐจึงควรปฏิบัติต่อทุกศาสนาอย่างเสมอภาคกันและหลีกเลี่ยงการให้ความสำคัญกับศาสนาใดศาสนาหนึ่งเกินความจำเป็น
การแยกศาสนาออกจากรัฐนั้นโดยภาพรวมถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ในโลกนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันชาติกับศาสนาอยู่ 3 ประเภท คือรัฐศาสนา รัฐกึ่งศาสนาและรัฐโลกวิสัย โดยรัฐโลกวิสัยนั้นที่เกี่ยวข้องกันกับการแยกศาสนาออกจากรัฐ จึงขออธิบายดังนี้
รัฐศาสนา
รัฐศาสนา(Religious State) มีความหมาย 2 ระดับ
1.รัฐหรือประเทศที่ระบุชัดในรัฐธรรมนูญและการปฏิบัติว่ามีการยกย่องให้ศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นศาสนาประจำชาติและให้ศาสนานั้นมีอิทธิพลต่อรัฐ
2.ประเทศที่เคร่งในศาสนาใดศาสนาหนึ่งอย่างเต็มที่ จนเอาหลักคำสอนมาปกครองประเทศ
ลักษณะทั่วไปของรัฐศาสนา มีลักษณะดังนี้คือ
1.ระบุในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนว่า มีศาสนาใดหรือแม้กระทั่งนิกายใดเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งแม้จะบอกว่าให้เสรีภาพทางศาสนาแก่ศาสนาอื่น แต่ก็ต้องเป็นรอง และห้ามขัดแย้งกับศาสนาหลัก
2.ผู้นำประเทศต้องนับถือศาสนาหลักหรืออาจต้องเป็นผู้นำศาสนาหลักด้วย
3.มีการให้ศาสนาหลักเป็นศาสนาเดียวหรือศาสนาหลักในรัฐพิธี
4.รัฐอุดหนุนบำรุงศาสนาหลักอย่างเต็มที่
5.ใช้หลักคำสอนศาสนาหลักมากำหนดเป็นกฎหมายและประเพณีของรัฐอย่างมาก
6.ใช้วันสำคัญทางศาสนาหลักมาเป็นวันหยุดราชการและวันสำคัญของชาติ
7.รัฐศาสนาโดยส่วนใหญ่ก็ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาอื่น แต่มักหมายถึงให้เป็นศาสนาของชนกลุ่มน้อยเท่านั้นและกีดกันไม่ให้คนในศาสนาหลักเปลี่ยนศาสนา
8.ตราสัญลักษณ์ของชาติ ธงชาติ และของหน่วยงานราชการจะมีมาจากเนื้อหาของศาสนาหลักปนอยู่
9.มีโทษสำหรับการกระทำที่หมิ่นศาสนาหรือบั่นทอนศาสนาหลัก
10.มีการกำหนดให้นักเรียนต้องเรียนศาสนาหลักในโรงเรียนและมีพิธีกรรมของศาสนาหลักในโรงเรียน
11.มีสัญลักษณ์ของศาสนาหลักปรากฏอยู่ทั่วไปตามสถานที่ราชการ
จะเห็นได้ว่ายังไม่มีบางข้อที่เกิดในไทย ฉะนั้นเราจะดูที่"รัฐกึ่งศาสนา"
รัฐกึ่งศาสนา
รัฐกึ่งศาสนา(Semi-religious state) หมายถึงรัฐศาสนาบางประเภทที่หลีกเลี่ยงการทำให้ตนเป็นรัฐศาสนาที่ชัดเจน จึงไม่ระบุในรัฐธรรมนูญว่าประเทศตนมีศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ก็มีเขียนอ้อมไว้ เช่น ระบุว่าประมุขต้องนับถือศาสนาใดหรือเขียนเชิงพรรณนาว่ามีศาสนาใดเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมอันยาวนาน กรณีแบบนี้ก็ถือว่าเป็นรัฐกึ่งศาสนา
รัฐกึ่งศาสนา แม้จะไม่ระบุศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญก็ได้ แต่ก็มีการยกย่องเชิดชูศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษในลักษณะเป็นศาสนาแห่งจารีตประเพณีของชาติ และจะมีการสนับสนุนศาสนานั้นเป็นพิเศษอย่างเห็นได้ชัด มีการอุดหนุนศาสนาหลัก ใช้พิธีกรรมของศาสนาหลักในการทำรัฐพิธี มีสัญลักษณ์ของศาสนาอยู่ทั่วไป มีการกำหนดให้นักเรียนเรียนศาสนาหลักและการทำศาสนพิธีของศาสนาหลักในโรงเรียน ฯลฯ
ดูแล้ว ประเทศไทยนั้นเข้าข่ายรัฐกึ่งศาสนาแน่นอนเลยทีเดียว เป็นรัฐศาสนาที่ไม่ชัดเจน
รัฐโลกวิสัย
รัฐโลกวิสัย (Secular State) คือรัฐหรือประเทศที่ให้เสรีภาพและความเสมอภาคและเป็นกลางทางด้านศาสนา ไม่สนับสนุนหรือต่อต้านความเชื่อหรือการปฏิบัติทางศาสนาใดๆ รัฐโลกวิสัยจะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่จะไม่มีศาสนาประจำชาติหรือหากมีศาสนาประจำชาติ ศาสนานั้นก็จะมีความหมายเชิงสัญลักษณ์และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชน
ประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจสูงจะเลือกเป็นรัฐโลกวิสัย ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน สวีเดน เยอรมัน สิงคโปร์ ฯลฯ สิ่งที่น่าสนใจคือต้นกำเนิดของศาสนาใหญ่ๆหรือนิกายใหญ่ๆก็ล้วนระบุว่าประเทศตนเป็นรัฐโลกวิสัย หรือ Secular State ด้วยทั้งสิ้น เช่น เยอรมัน(คริสต์ นิกายลูเธอร์แรน) อินเดีย(ฮินดู อิสลาม พุทธ) จีน(เต๋า พุทธ) รัสเซีย (คริสต์ นิกายรัสเซียนออร์โธดอกซ์)
โดยบางประเทศนั้นเชื่อว่าศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร จึงเกิดคำถามว่า ความเป็นรัฐศาสนาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือไม่? อย่างไร? ทุกวันนี้ข้อมูลจากทั่วโลกกลับพบว่าประเทศที่เป็นรัฐโลกวิสัยหรือรัฐฆราวาสก็มีระดับคุณภาพประชากรที่สูง เช่น โลกตะวันตก ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น ในขณะที่รัฐศาสนาส่วนใหญ่กลับมีระดับคุณภาพต่ำกว่าเสียด้วยซ้ำ ฉะนั้นจึงไม่อาจพูดได้ว่า การเป็นรัฐศาสนาจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต
เอาล่ะ ที่นี้บางคนอาจคิดว่ารัฐโลกวิสัยนี่มันคงทำให้คนเป็นคนชั่วกว่าการเป็นรัฐศาสนา(พุทธ) ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริงเลย รัฐโลกวิสัยที่ไหนในโลกก็ตระหนักและห่วงใยถึงผลเสียของเสรีภาพที่เกินเหตุและไร้ขอบเขตกันทั้งนั้น เพราะเหตุว่าการเหลื่อมล้ำในสังคมมากเกินไป ก็จะเกิดปัญหาความยากจน ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ ความไม่เป็นธรรม อาชญากรรม ปัญหาชนชั้น ปัญหาสังคม ฯลฯ
แล้วสิ่งนี้จะทำให้ประชาชนไม่รักชาติ แตกแยก เล่นพรรคเล่นพวก จนรัฐไม่มีความมั่นคง จนสามารถกลายเป็นรัฐล่มสลายได้ในที่สุด
ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่รัฐโลกวิสัยจะต้องมีมาตรการป้องกันและแก้ไขสิ่งเหล่านี้ด้วยหลายๆวิธี ทั้งการอบรมบ่มเพาะ การรณรงค์ส่งเสริมให้รางวัล กระจายอำนาจ กระจายรายได้ทำให้เกิดความเป็นธรรมลดการเหลื่อมล้ำ จนถึงออกกฎหมายบังคับและลงโทษให้เด็ดขาด
จะเห็นได้ว่า รัฐโลกวิสัยก็คิดสิ่งแหล่านี้ได้ มีมาตรการป้องกันและแก้ปัญหา เพียงไม่ใช้ศาสนาเป็นแนวทาง อีกทั้งยังเหนือกว่ารัฐศาสนาใน 4 สิ่งนี้อีก คือ
1.ในรัฐโลกวิสัย สังคมมีโอกาสจะมีกฎหมายและนโยบายที่มีเหตุผลพิสูจน์ได้ล้วนๆ อันจะทำให้ผู้คนส่วนใหญ่สามารถยอมรับได้อย่างเต็มใจ ถ้าเป็นรัฐศาสนา กฎหมายจะถูกกำหนดโดยคัมภีร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งต้องเชื่อฟัง ทำตามโดยไม่มีคำอธิบาย
2.ในรัฐโลกวิสัย สังคมมีโอกาสเรียนรู้ แก้ไข รัฐโลกวิสัยอาจผิดพลาดได้แต่มันสามารถแก้ไขได้ แต่รัฐศาสนาผิดอย่างไรก็แก้ไขไม่ได้ เพราะผิดต่อคัมภีร์และจารีต ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แปลว่าไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้
3.ในรัฐโลกวิสัย สังคมยังมีโอกาสยุติธรรมกับคนทุกศาสนา ทุกนิกายและคนไม่นับถือศาสนาได้มากกว่า แต่ถ้าในรัฐศาสนา ต้องยึดคัมภีร์บางศาสนาเป็นหลัก แม้จะผ่อนปรนศาสนิกอื่น แต่ก็มีแนวโน้มจะเกิดความอยุติธรรมอยู่ดี ซึ่งเกิดปัญหาอื่นตามมาแน่นอน
4.ในรัฐโลกวิสัยจะไม่มีคนในศาสนาใดมีอภิสิทธิ์หรือได้เปรียบเหนือศาสนิกอื่นด้วยเหตุผลทางศาสนาและไม่มีใครถูกริดรอนสิทธิและการเอารัดเอาเปรียบด้วยเหตุทางศาสนา
จากตรงนี้เราจะเห็นได้ว่ารัฐโลกวิสัยนั้นย่อมดีกว่ารัฐศาสนาอย่างแน่นอน แม้ไม่มีศาสนาประจำชาติหรือการสอนศาสนาในโรงเรียนของรัฐ ก็ยังสามารถสอนคนให้เป็นคนดีได้ด้วย จริยธรรมแบบโลกวิสัย
"จริยธรรมแบบโลกวิสัย" (Secular Ethics) มีหลายหลักการ คือ
1.เสรีภาพ มีเต็มที่ ห้ามเฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น ไม่เอากฎศีลธรรมเชิงศาสนามาควบคุม
มีเสรีภาพเต็มที่ในการนับถือศาสนา เปลี่ยนศาสนา ไม่นับถือศาสนา รวมไปถึงวิจารณ์ศาสนา
2.ความเสมอภาค เพราะถ้ามีแค่เสรีภาพแต่ไม่มีความเสมอภาค สังคมก็เกิดความอยุติธรรม
ในทางศาสนา คือ ไม่เอาแนวทางของศาสนาใดศาสนาหนึ่งมามีอภิสิทธิ์เหนือศาสนาอื่น
3.ประโยชน์นิยม สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนจำนวนมากที่สุดคือสิ่งที่ดีที่สุด
4.ยึดเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย การจะออกกฎหมายห้ามใดๆต้องพิสูจน์ได้เชิงวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ห้ามเพราะศาสนาบอกไว้อย่างนั้น
5.ยึดเสียงส่วนใหญ่ของพลเมือง ยอมรับมติจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ในกรณีที่ยึดหลักสามประการแรกแล้ไม่อาจหาความจริงเชิงวิทยาศาสตร์สนับสนุนได้ อาจแสดงออกด้วยการทำประชาพิจารณ์ ประชามติ
จากข้อมูลทั้งหมด จะเห็นได้ว่า รัฐโลกวิสัยนั้นโดยภาพรวมนั้นดีกว่ารัฐศาสนามากจริงๆ ซ้ำร้าย รัฐศาสนาได้ให้ข้อเสียหลายประการเลยทีเดียว ทีนี้ถึงเวลาหรือยัง? ที่ประชาชนทุกท่านจะร่วมกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในโลกยุคปัจจุบัน ทำให้เป็นประเทศที่มีเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนาโดยสมบูรณ์เสียที ผมและชาวไทยหลายท่านกำลังรอการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้อยู่ เพื่ออนาคตของชาติและลูกหลานของเรา
https://www.change.org/p/%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A2?recruiter=62854644&utm_source=share_petition&utm_medium=copylink
ใครต้องการจะดีเบท แสดงความคิดเห็นหรืออยากร่วมลงชื่อสนับสนุน เชิญเลยครับ (โปรดแสดงความคิดเห็นด้วยเหตุผล ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม)