คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๑๐. สัพพลหุสสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาเมสุมิจฉาจารอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารอย่างเบาที่สุด ย่อมยังศัตรูและเวรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิด
เป็นมนุษย์ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๕๑๒๗ - ๕๑๖๗. หน้าที่ ๒๒๑ - ๒๒๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=5127&Z=5167&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=130
************************************************
http://ppantip.com/topic/34224830/comment1
หลักวินิจฉัยกาเมสุมิจฉาจาร
กาเมสุมิจฉาจาร มีองค์ ๔ คือ
๑. อคมนียวัตถุ วัตถุอันไม่ควรถึง (มรรคทั้ง ๓)
๒. ตัสมิง เสวนจิตตัง จิตคิดจะเสพในวัตถุอันไม่ควรถึงนั้น
๓. เสวนัปปโยโค ทำความพยายามในอันที่จะเสพ
๔. มัคเคน มัคคัปปฏิบัตติ มรรคต่อมรรคถึงกัน
+++++++++++++++++++++++++++
หญิงที่เป็นวัตถุต้องห้ามของชาย ในกาเมสุมิจฉาจาร โดยพิสดารมี ๒๐ จำพวก คือ
๑. มาตุรักขิตา หญิงที่มารดารักษา
๒. ปิตุรักขิตา หญิงที่บิดารักษา
๓. มาตาปิตุรักขิตา หญิงที่มารดาบิดารักษา
๔. หญิงที่พี่ชายน้องชายรักษา
๕. หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา
๖. หญิงที่ญาติรักษา
๗. หญิงที่โคตร หรือมีแซ่รักษา
๘. หญิงมีธรรมรักษา
๙. หญิงมีสามีรักษา
๑๐. หญิงมีสินไหม คือ พระราชารักษา
๑๑. หญิงที่ชายไถ่หรือซื้อมาด้วยทรัพย์เพื่อเป็นภรรยา
๑๒. หญิงที่อยู่กับชายด้วยความรักใคร่ชอบใจกันเอง
๑๓. หญิงที่อยู่เป็นภรรยาชายด้วยโภคทรัพย์
๑๔. หญิงที่เข็ญใจ ได้สักว่าผ้านุ่งผ้าห่มแล้วอยู่เป็นภรรยา
๑๕. หญิงที่ชายขอเป็นภรรยา มีผู้ใหญ่จัดการให้
๑๖. หญิงที่ชายช่วยปลงภาระอันหนักให้แล้ว ยอมเป็นภรรยา
๑๗. หญิงที่เป็นทาสีอยู่ก่อน แล้วชายเอามาเป็นภรรยา
๑๘. หญิงที่รับจ้างแล้ว ชายเอาเป็นภรรยา
๑๙. หญิงที่ชายรบข้าศึกได้เป็นเชลยแล้ว เอาเป็นภรรยา
๒๐. หญิงที่ชายอยู่ด้วยขณะหนึ่ง และหญิงนั้นก็เข้าใจว่าชายนั้นเป็นสามีของตน
--------------------------------------------------------------
อำนาจกรรม
http://ppantip.com/topic/32278286/comment5
ชีวิตคืออะไร ชีวิตเกิดจากอะไร ชีวิตจะสิ้นสุดลงอย่างไร?
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=7680
ชีวิตสั้นเหลือเกิน ประดุจความฝัน เราเกิดมามีอุปนิสัยต่างกัน และมีกิเลสสะสมมากมาย เราย้อนกลับไปดูในอดีตไม่ได้ว่า เราสะสมกิเลสมาอย่างไรบ้าง
บุคคลในอดีตก็มีกิเลสเหมือนกัน บางท่านก็ระลึกอดีตชาติได้ และรู้ว่าได้สะสมกิเลสมาต่างๆ กันอย่างไร?
..ในขุททกนิกาย จัตตาฬีสนิบาต อิสิทาสีเถรีคาถา.. มีข้อความเรื่องชีวิตของพระอิสิทาสีภิกษุณี ผู้ไม่เป็นที่รักของสามี ท่านมีสามีมาแล้วหลายครั้ง แต่ภายหลังท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีและได้บรรลุอรหัตต์ ท่านระลึกอดีตชาติได้ และรู้เหตุที่ทำให้ต้องได้รับความทุกข์อันใหญ่หลวงนั้นว่า ในอดีตชาติท่านประพฤติผิดในกาม อกุศลกรรมนั้นทำให้เกิดในนรกตลอดกาลนาน และเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานสามชาติ
หลังจากนั้นก็ได้เกิดเป็นมนุษย์สามชาติ และได้รับทุกข์อันใหญ่หลวงในชาติที่เป็นมนุษย์ด้วยจนกระทั่งได้บรรลุอรหัตต์
--------------------------------------------
ผลของการผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจารภายหลังการเกิด
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=42659&sid=3132d6a7ef4e2752d25d4d39d3e64ec6
----------------------------------------
วิบากกรรมของ อกุศลกรรมบถ และ บุญกิริยาวัตถุ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11191
๓. กาเมสุมิจฉาจาร หมายถึงการล่วงเกินผู้อื่น จะตัดสินว่าได้กระทำผิดในข้อนี้ โดยมีองค์ประกอบในการตัดสิน คือ
๑) บุคคลนั้นไม่ควรล่วงเกิน คือนอกเหนือจากตัวเราเองไม่ควรล่วงเกินทั้งสิ้น
๒) มีจิตคิดจะล่วงเกิน
๓) มีความพยายาม และดำเนินการ
๔) ได้ล่วงเกินสมปรารถนา นับตั้งแต่อวัยวะถึงอวัยวะ
เช่น การผิดประเวณีหรือทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
โดยส่วนใหญ่การกระทำผิดในข้อนี้ คนส่วนมากมักจะนึกถึง การประพฤติผิดในกาม หรือ การล่วงประเวณี อันเป็นการกระทำลามกซึ่งบัณฑิตทั้งหลายพึงติเตียน นั่นคือ การผิดลูกเมียเขาซึ่งเป็นความประพฤติที่สังคมทั่วไปไม่ยอมรับ ผู้ที่กระทำจึงต้องมีพฤติกรรมที่ปิดบัง และซ่อนเร้น การกระทำอกุศลเช่นนี้ ผลที่จะได้รับในปวัตติกาล คือ
(๑) มีผู้เกลียดชังมาก เพราะการกระทำที่ผิดลูกเมียเขาย่อมสร้างความโกรธแค้นให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียหาย ผลที่ได้รับคือมีศัตรู และมีคนเกลียดชังมาก ในข้อนี้ทุกคนก็ต้องเคยประสบมา แต่อาจเป็นเพียงเศษกรรม เช่น เวลาที่มีเรื่องขัดใจกับใคร และมีการโต้เถียง ทำให้มองหน้ากันไม่ได้ หรือบางคนอาจมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง มียศฐาบรรดาศักดิ์ แต่ไม่เป็นที่สบอารมณ์ของลูกน้อง เป็นต้น
๒) มีผู้คิดปองร้าย เพราะได้เคยสร้างศัตรู สร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับผู้อื่น ตัวอย่างเช่น นักเรียนบางคนเป็นคนเรียบร้อย ไม่เคยมีเรื่องราวอะไรกับใคร แต่ถูกนักเรียนโรงเรียนอื่นรุมทำร้ายจนบาดเจ็บ อันนี้ผลที่เขาถูกทำร้ายก็เพราะอดีตชาติเคยทำบาปข้อกาเมสุมิจฉาจาร และที่ต้องบาดเจ็บก็เพราะได้เคยทำปาณาติบาตมานั่นเอง แม้กระทั่งสามี ภรรยามีเรื่องระหองระแหง การใช้สายตาและคำพูดที่ทำร้ายจิตใจกันก็ถือว่าเป็นผลของการกระทำอกุศลในข้อนี้เช่นเดียวกัน
(๓) ขัดสนทรัพย์ ไม่ว่าจะทำอะไรก็มีแต่ความฝืดเคือง เงินเดือนชักหน้าไม่ถึงหลัง ดังที่เราเห็นบางคนต้องเข้าโรงจำนำเป็นประจำ เพราะอดีตได้สร้างความไม่รู้จักพอนั่นเอง
(๔) อดอยาก ยากจน เพราะการประพฤติผิดในกามหรือการล่วงเกินประเวณีนั้น เป็นการกระทำตนเองเป็นผู้ไม่รู้จักพอ ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ (สามี ภรรยาของตนเอง) แล้วไปเบียดเบียนผู้อื่น จึงเป็นการสร้างทางให้ตนเองต้องอดอยาก ยากจน
(๕) เกิดเป็นหญิง เพราะการกระทำอกุศลกรรมบถในข้อนี้จะเป็นไปแบบปิดบังซ่อนเร้น ไม่กล้าเปิดเผย การกระทำที่ต้องหลบเลี่ยงเช่นนี้จัดเป็นอำนาจอ่อนแบบที่เรียกว่า สสังขาริก อันจะนำเกิดเป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นเพศที่มีความลำบากกว่าผู้ชาย มีความอับอายในบางสิ่งบางอย่างมากกว่า มีเรื่องที่ต้องปกปิดมากกว่านั่นเอง
(๖) เกิดเป็นกะเทย ซึ่งเป็นเพศที่สังคมส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับ เพราะเหตุที่ได้เคยกระทำกาเมสุมิจฉาจารที่สังคมไม่ยอมรับนั่นเอง
_______________
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้เราทุกคนหนีไม่พ้นไปจากผลของกรรมที่เราได้กระทำมา ไม่ว่ากรรมนั้นจะเป็นบุญหรือบาป เมื่อได้กระทำเราต้องได้รับผลทั้งสิ้น บางครั้งเราอาจจะพบว่า มีเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลาย ๆ ท่าน เมื่อชราภาพมากต้องได้รับวิบากไม่ดี ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่ประวัติของท่านนั้นทำกรรมดีมาตลอด เราไม่อาจทราบได้เลยว่าอดีตชาตินั้นท่านได้ทำกรรมอะไรบ้าง ฉะนั้นสิ่งที่เราได้ประสบพบเห็นชีวิตมาทั้งชีวิตของเราเองและของบุคคลอื่น ๆ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่า บาปและบุญลบล้างกันไม่ได้
ถ้าเปรียบเกลือเป็นบาปและน้ำเป็นบุญ ชีวิตของเราก็เปรียบเสมือนภาชนะที่บรรจุน้ำเกลือคือมีทั้งบุญและบาป เมื่อใดที่เราเติมเกลือเข้าไปมาก ความเค็มย่อมมีอำนาจมาก แต่ถ้าเมื่อใดเราไม่ต้องการเค็ม เราก็ใส่น้ำลงไปให้มาก น้ำยิ่งมากเท่าไร ความเค็มก็จะยิ่งน้อยลงจนในที่สุดจะไม่รู้สึกเค็มเลย แต่ปริมาณของเกลือที่มีอยู่ก่อนนั้นไม่ได้หายไปไหน ยังคงมีปริมาณเท่าเดิมแต่ไม่สามารถแสดงออกได้ เพราะปริมาณของน้ำที่มีมากกว่า ฉันใดฉันนั้น ถ้าเราไม่ต้องการให้ผลของบาปทั้งหลายที่ได้กล่าวมาแล้วแสดงผลออกมาในชีวิตของเรา เราก็ต้องเติมบุญเข้าไปให้มาก ๆ ดังโอวาทธรรม ๓ ที่พระพุทธองค์ท่านทรงสั่งสอนคือ
๑. จงละจากความชั่ว (บาป) ทั้งปวง
๒. จงทำความดี (บุญ) ให้ถึงพร้อม
๓. จงทำจิตให้บริสุทธิ์
เมื่อนั้น....เราจะได้ไม่ต้องรับผลของกรรมที่เราได้กระทำมาเลย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พุทธวิธีหนีภัยใกล้ตัว
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10701
อาจารย์ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า...ในเมื่อเรารู้ว่า ศีล ๕ นี้มีที่ไปคือมนุษยภูมิ แต่หิริ-โอตตัปปะ มีที่ไปคือเทวภูมิ ประการสำคัญเราต้องการหนีภัยที่จะบังเกิดขึ้นในโลกมนุษย์ด้วยการตั้งเป้าหมายขอเกิดในเทวภูมิ เราก็ต้องสร้างหิริ-โอตตัปปะให้บังเกิดขึ้นในจิตใจให้มากๆ ฉะนั้นเราก็ควรถือโอกาสในขณะที่ขอสมาทานศีลทุกๆ เช้า (ที่พวกเรากระทำกันอยู่แล้ว ตามที่ตั้งเจตนาเข้าพรรษากับหลวงพ่อเสือ) เพิ่มคุณภาพของหิริ-โอตตัปปะเข้าไปด้วย ซึ่งคงใช้เวลาไม่เกิน ๕ – ๑๐ นาที นั่นก็คือ
(อาราธนาศีล) ......
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี สิกขา ปะทัง สมาทิยามิ – ข้าพเจ้าของดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และล่วงเกินบุคคลอื่น ด้วยรู้ว่าที่ไปของการกระทำนั้นคือ อบายภูมิ ๔ ซึ่งทำให้มืดบอดต่อรัศมีพระธรรม และแม้จะได้เกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์ก็ยังต้องรับผลถึง ๑๑ ประการ คือ ๑) มีผู้เกลียดชังมาก ๒) มีผู้ปองร้ายมาก ๓) ขัดสนทรัพย์ ๔) ยากจนอดอยาก ๕) เป็นหญิง ๖) เป็นกระเทย
๗) เป็นชายในตระกูลต่ำ ๘) ได้รับความอับอายอยู่เสมอๆ ๙) ร่างกายไม่สมประกอบ ๑๐) มากไปด้วยความวิตกกังวล ๑๑) พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก ซึ่งผลเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางสู่ความพ้นทุกข์ ทำให้ข้าพเจ้าไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของชีวิตได้ ขอหิริ-โอตตัปปะจงบังเกิดขึ้นในจิตใจทำให้ข้าพเจ้าเกรงความชั่วและกลัวผลของบาปที่จะต้องขึ้นกับชีวิต พร้อมมีชีวิตที่ประกอบด้วยการสำรวมอินทรีย์ให้มากขึ้น
!
!
๕. สุราเมระยะมัชชะปะมา ทัฏฐานา เวรมณี สิกขา ปะทัง สมาทิยามิ – ข้าพเจ้าของดเว้นจากการดื่มสุรายาเมา และสิ่งเสพติดต่างๆ ด้วยรู้ว่าผลของการกระทำในข้อนี้ทำให้ขาดสติกระทำผิดศีลในข้อต้นๆได้ง่าย ทำให้มีที่ไปคือ อบายภูมิ ๔ ซึ่งมืดบอดต่อรัศมีพระธรรม และแม้จะได้เกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์ก็ยังต้องเกิดเป็นคนบ้าไบ้ ปัญญาอ่อน เป็นอาภัพบุคคลไม่สามารถปฏิบัติสู่ความพ้นทุกข์ได้ และยังต้องรับผลของการกระทำบาปในข้อต่างๆด้วย ขอหิริ-โอตตัปปะจงบังเกิดขึ้นในจิตใจทำให้ข้าพเจ้าเกรงความชั่วและกลัวผลของบาปที่จะต้องขึ้นกับชีวิต พร้อมมีชีวิตที่ประกอบด้วยสติเพื่อป้องกันความประมาทที่จะเกิดขึ้น
ดังนั้น...การตอกย้ำในแต่ละข้อที่ว่า ขอหิริ-โอตตัปปะจงบังเกิดขึ้นในจิตใจ พร้อมยกผลร้ายที่จะต้องได้รับในแต่ละข้อขึ้นมานั้น ...จิตย่อมเสพความละอายต่อบาป และความเกรงกลัวต่อผลของบาปได้มากขึ้น ....เมื่อมากขึ้นๆ อำนาจก็ต้องเกิดมากขึ้นเป็นธรรมดา ซึ่งย่อมดีกว่าการอาราธนาศีลเพียงอย่างเดียว โดยไม่เพิ่มอำนาจของหิริ-โอตตัปปะเข้าไป เมื่อมีความสันทัดก่อนตายหากจิตจับอารมณ์ที่มีหิริ-โอตตัปปะเข้าไปด้วย... ที่ไปต้องเป็นเทวภูมิอย่างแน่นอน เพราะนี่คือ เทวธรรม ธรรมที่จะทำให้พวกเราได้มีโอกาสไปเกิดที่ ตักของพ่อ ตามที่อธิษฐานกันไว้ได้ในที่สุด…
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๑๐. สัพพลหุสสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาเมสุมิจฉาจารอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารอย่างเบาที่สุด ย่อมยังศัตรูและเวรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิด
เป็นมนุษย์ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๕๑๒๗ - ๕๑๖๗. หน้าที่ ๒๒๑ - ๒๒๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=5127&Z=5167&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=130
************************************************
http://ppantip.com/topic/34224830/comment1
หลักวินิจฉัยกาเมสุมิจฉาจาร
กาเมสุมิจฉาจาร มีองค์ ๔ คือ
๑. อคมนียวัตถุ วัตถุอันไม่ควรถึง (มรรคทั้ง ๓)
๒. ตัสมิง เสวนจิตตัง จิตคิดจะเสพในวัตถุอันไม่ควรถึงนั้น
๓. เสวนัปปโยโค ทำความพยายามในอันที่จะเสพ
๔. มัคเคน มัคคัปปฏิบัตติ มรรคต่อมรรคถึงกัน
+++++++++++++++++++++++++++
หญิงที่เป็นวัตถุต้องห้ามของชาย ในกาเมสุมิจฉาจาร โดยพิสดารมี ๒๐ จำพวก คือ
๑. มาตุรักขิตา หญิงที่มารดารักษา
๒. ปิตุรักขิตา หญิงที่บิดารักษา
๓. มาตาปิตุรักขิตา หญิงที่มารดาบิดารักษา
๔. หญิงที่พี่ชายน้องชายรักษา
๕. หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา
๖. หญิงที่ญาติรักษา
๗. หญิงที่โคตร หรือมีแซ่รักษา
๘. หญิงมีธรรมรักษา
๙. หญิงมีสามีรักษา
๑๐. หญิงมีสินไหม คือ พระราชารักษา
๑๑. หญิงที่ชายไถ่หรือซื้อมาด้วยทรัพย์เพื่อเป็นภรรยา
๑๒. หญิงที่อยู่กับชายด้วยความรักใคร่ชอบใจกันเอง
๑๓. หญิงที่อยู่เป็นภรรยาชายด้วยโภคทรัพย์
๑๔. หญิงที่เข็ญใจ ได้สักว่าผ้านุ่งผ้าห่มแล้วอยู่เป็นภรรยา
๑๕. หญิงที่ชายขอเป็นภรรยา มีผู้ใหญ่จัดการให้
๑๖. หญิงที่ชายช่วยปลงภาระอันหนักให้แล้ว ยอมเป็นภรรยา
๑๗. หญิงที่เป็นทาสีอยู่ก่อน แล้วชายเอามาเป็นภรรยา
๑๘. หญิงที่รับจ้างแล้ว ชายเอาเป็นภรรยา
๑๙. หญิงที่ชายรบข้าศึกได้เป็นเชลยแล้ว เอาเป็นภรรยา
๒๐. หญิงที่ชายอยู่ด้วยขณะหนึ่ง และหญิงนั้นก็เข้าใจว่าชายนั้นเป็นสามีของตน
--------------------------------------------------------------
อำนาจกรรม
http://ppantip.com/topic/32278286/comment5
ชีวิตคืออะไร ชีวิตเกิดจากอะไร ชีวิตจะสิ้นสุดลงอย่างไร?
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=7680
ชีวิตสั้นเหลือเกิน ประดุจความฝัน เราเกิดมามีอุปนิสัยต่างกัน และมีกิเลสสะสมมากมาย เราย้อนกลับไปดูในอดีตไม่ได้ว่า เราสะสมกิเลสมาอย่างไรบ้าง
บุคคลในอดีตก็มีกิเลสเหมือนกัน บางท่านก็ระลึกอดีตชาติได้ และรู้ว่าได้สะสมกิเลสมาต่างๆ กันอย่างไร?
..ในขุททกนิกาย จัตตาฬีสนิบาต อิสิทาสีเถรีคาถา.. มีข้อความเรื่องชีวิตของพระอิสิทาสีภิกษุณี ผู้ไม่เป็นที่รักของสามี ท่านมีสามีมาแล้วหลายครั้ง แต่ภายหลังท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีและได้บรรลุอรหัตต์ ท่านระลึกอดีตชาติได้ และรู้เหตุที่ทำให้ต้องได้รับความทุกข์อันใหญ่หลวงนั้นว่า ในอดีตชาติท่านประพฤติผิดในกาม อกุศลกรรมนั้นทำให้เกิดในนรกตลอดกาลนาน และเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานสามชาติ
หลังจากนั้นก็ได้เกิดเป็นมนุษย์สามชาติ และได้รับทุกข์อันใหญ่หลวงในชาติที่เป็นมนุษย์ด้วยจนกระทั่งได้บรรลุอรหัตต์
--------------------------------------------
ผลของการผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจารภายหลังการเกิด
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=42659&sid=3132d6a7ef4e2752d25d4d39d3e64ec6
----------------------------------------
วิบากกรรมของ อกุศลกรรมบถ และ บุญกิริยาวัตถุ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11191
๓. กาเมสุมิจฉาจาร หมายถึงการล่วงเกินผู้อื่น จะตัดสินว่าได้กระทำผิดในข้อนี้ โดยมีองค์ประกอบในการตัดสิน คือ
๑) บุคคลนั้นไม่ควรล่วงเกิน คือนอกเหนือจากตัวเราเองไม่ควรล่วงเกินทั้งสิ้น
๒) มีจิตคิดจะล่วงเกิน
๓) มีความพยายาม และดำเนินการ
๔) ได้ล่วงเกินสมปรารถนา นับตั้งแต่อวัยวะถึงอวัยวะ
เช่น การผิดประเวณีหรือทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
โดยส่วนใหญ่การกระทำผิดในข้อนี้ คนส่วนมากมักจะนึกถึง การประพฤติผิดในกาม หรือ การล่วงประเวณี อันเป็นการกระทำลามกซึ่งบัณฑิตทั้งหลายพึงติเตียน นั่นคือ การผิดลูกเมียเขาซึ่งเป็นความประพฤติที่สังคมทั่วไปไม่ยอมรับ ผู้ที่กระทำจึงต้องมีพฤติกรรมที่ปิดบัง และซ่อนเร้น การกระทำอกุศลเช่นนี้ ผลที่จะได้รับในปวัตติกาล คือ
(๑) มีผู้เกลียดชังมาก เพราะการกระทำที่ผิดลูกเมียเขาย่อมสร้างความโกรธแค้นให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียหาย ผลที่ได้รับคือมีศัตรู และมีคนเกลียดชังมาก ในข้อนี้ทุกคนก็ต้องเคยประสบมา แต่อาจเป็นเพียงเศษกรรม เช่น เวลาที่มีเรื่องขัดใจกับใคร และมีการโต้เถียง ทำให้มองหน้ากันไม่ได้ หรือบางคนอาจมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง มียศฐาบรรดาศักดิ์ แต่ไม่เป็นที่สบอารมณ์ของลูกน้อง เป็นต้น
๒) มีผู้คิดปองร้าย เพราะได้เคยสร้างศัตรู สร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับผู้อื่น ตัวอย่างเช่น นักเรียนบางคนเป็นคนเรียบร้อย ไม่เคยมีเรื่องราวอะไรกับใคร แต่ถูกนักเรียนโรงเรียนอื่นรุมทำร้ายจนบาดเจ็บ อันนี้ผลที่เขาถูกทำร้ายก็เพราะอดีตชาติเคยทำบาปข้อกาเมสุมิจฉาจาร และที่ต้องบาดเจ็บก็เพราะได้เคยทำปาณาติบาตมานั่นเอง แม้กระทั่งสามี ภรรยามีเรื่องระหองระแหง การใช้สายตาและคำพูดที่ทำร้ายจิตใจกันก็ถือว่าเป็นผลของการกระทำอกุศลในข้อนี้เช่นเดียวกัน
(๓) ขัดสนทรัพย์ ไม่ว่าจะทำอะไรก็มีแต่ความฝืดเคือง เงินเดือนชักหน้าไม่ถึงหลัง ดังที่เราเห็นบางคนต้องเข้าโรงจำนำเป็นประจำ เพราะอดีตได้สร้างความไม่รู้จักพอนั่นเอง
(๔) อดอยาก ยากจน เพราะการประพฤติผิดในกามหรือการล่วงเกินประเวณีนั้น เป็นการกระทำตนเองเป็นผู้ไม่รู้จักพอ ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ (สามี ภรรยาของตนเอง) แล้วไปเบียดเบียนผู้อื่น จึงเป็นการสร้างทางให้ตนเองต้องอดอยาก ยากจน
(๕) เกิดเป็นหญิง เพราะการกระทำอกุศลกรรมบถในข้อนี้จะเป็นไปแบบปิดบังซ่อนเร้น ไม่กล้าเปิดเผย การกระทำที่ต้องหลบเลี่ยงเช่นนี้จัดเป็นอำนาจอ่อนแบบที่เรียกว่า สสังขาริก อันจะนำเกิดเป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นเพศที่มีความลำบากกว่าผู้ชาย มีความอับอายในบางสิ่งบางอย่างมากกว่า มีเรื่องที่ต้องปกปิดมากกว่านั่นเอง
(๖) เกิดเป็นกะเทย ซึ่งเป็นเพศที่สังคมส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับ เพราะเหตุที่ได้เคยกระทำกาเมสุมิจฉาจารที่สังคมไม่ยอมรับนั่นเอง
_______________
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้เราทุกคนหนีไม่พ้นไปจากผลของกรรมที่เราได้กระทำมา ไม่ว่ากรรมนั้นจะเป็นบุญหรือบาป เมื่อได้กระทำเราต้องได้รับผลทั้งสิ้น บางครั้งเราอาจจะพบว่า มีเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลาย ๆ ท่าน เมื่อชราภาพมากต้องได้รับวิบากไม่ดี ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่ประวัติของท่านนั้นทำกรรมดีมาตลอด เราไม่อาจทราบได้เลยว่าอดีตชาตินั้นท่านได้ทำกรรมอะไรบ้าง ฉะนั้นสิ่งที่เราได้ประสบพบเห็นชีวิตมาทั้งชีวิตของเราเองและของบุคคลอื่น ๆ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่า บาปและบุญลบล้างกันไม่ได้
ถ้าเปรียบเกลือเป็นบาปและน้ำเป็นบุญ ชีวิตของเราก็เปรียบเสมือนภาชนะที่บรรจุน้ำเกลือคือมีทั้งบุญและบาป เมื่อใดที่เราเติมเกลือเข้าไปมาก ความเค็มย่อมมีอำนาจมาก แต่ถ้าเมื่อใดเราไม่ต้องการเค็ม เราก็ใส่น้ำลงไปให้มาก น้ำยิ่งมากเท่าไร ความเค็มก็จะยิ่งน้อยลงจนในที่สุดจะไม่รู้สึกเค็มเลย แต่ปริมาณของเกลือที่มีอยู่ก่อนนั้นไม่ได้หายไปไหน ยังคงมีปริมาณเท่าเดิมแต่ไม่สามารถแสดงออกได้ เพราะปริมาณของน้ำที่มีมากกว่า ฉันใดฉันนั้น ถ้าเราไม่ต้องการให้ผลของบาปทั้งหลายที่ได้กล่าวมาแล้วแสดงผลออกมาในชีวิตของเรา เราก็ต้องเติมบุญเข้าไปให้มาก ๆ ดังโอวาทธรรม ๓ ที่พระพุทธองค์ท่านทรงสั่งสอนคือ
๑. จงละจากความชั่ว (บาป) ทั้งปวง
๒. จงทำความดี (บุญ) ให้ถึงพร้อม
๓. จงทำจิตให้บริสุทธิ์
เมื่อนั้น....เราจะได้ไม่ต้องรับผลของกรรมที่เราได้กระทำมาเลย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พุทธวิธีหนีภัยใกล้ตัว
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10701
อาจารย์ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า...ในเมื่อเรารู้ว่า ศีล ๕ นี้มีที่ไปคือมนุษยภูมิ แต่หิริ-โอตตัปปะ มีที่ไปคือเทวภูมิ ประการสำคัญเราต้องการหนีภัยที่จะบังเกิดขึ้นในโลกมนุษย์ด้วยการตั้งเป้าหมายขอเกิดในเทวภูมิ เราก็ต้องสร้างหิริ-โอตตัปปะให้บังเกิดขึ้นในจิตใจให้มากๆ ฉะนั้นเราก็ควรถือโอกาสในขณะที่ขอสมาทานศีลทุกๆ เช้า (ที่พวกเรากระทำกันอยู่แล้ว ตามที่ตั้งเจตนาเข้าพรรษากับหลวงพ่อเสือ) เพิ่มคุณภาพของหิริ-โอตตัปปะเข้าไปด้วย ซึ่งคงใช้เวลาไม่เกิน ๕ – ๑๐ นาที นั่นก็คือ
(อาราธนาศีล) ......
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี สิกขา ปะทัง สมาทิยามิ – ข้าพเจ้าของดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และล่วงเกินบุคคลอื่น ด้วยรู้ว่าที่ไปของการกระทำนั้นคือ อบายภูมิ ๔ ซึ่งทำให้มืดบอดต่อรัศมีพระธรรม และแม้จะได้เกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์ก็ยังต้องรับผลถึง ๑๑ ประการ คือ ๑) มีผู้เกลียดชังมาก ๒) มีผู้ปองร้ายมาก ๓) ขัดสนทรัพย์ ๔) ยากจนอดอยาก ๕) เป็นหญิง ๖) เป็นกระเทย
๗) เป็นชายในตระกูลต่ำ ๘) ได้รับความอับอายอยู่เสมอๆ ๙) ร่างกายไม่สมประกอบ ๑๐) มากไปด้วยความวิตกกังวล ๑๑) พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก ซึ่งผลเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางสู่ความพ้นทุกข์ ทำให้ข้าพเจ้าไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของชีวิตได้ ขอหิริ-โอตตัปปะจงบังเกิดขึ้นในจิตใจทำให้ข้าพเจ้าเกรงความชั่วและกลัวผลของบาปที่จะต้องขึ้นกับชีวิต พร้อมมีชีวิตที่ประกอบด้วยการสำรวมอินทรีย์ให้มากขึ้น
!
!
๕. สุราเมระยะมัชชะปะมา ทัฏฐานา เวรมณี สิกขา ปะทัง สมาทิยามิ – ข้าพเจ้าของดเว้นจากการดื่มสุรายาเมา และสิ่งเสพติดต่างๆ ด้วยรู้ว่าผลของการกระทำในข้อนี้ทำให้ขาดสติกระทำผิดศีลในข้อต้นๆได้ง่าย ทำให้มีที่ไปคือ อบายภูมิ ๔ ซึ่งมืดบอดต่อรัศมีพระธรรม และแม้จะได้เกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์ก็ยังต้องเกิดเป็นคนบ้าไบ้ ปัญญาอ่อน เป็นอาภัพบุคคลไม่สามารถปฏิบัติสู่ความพ้นทุกข์ได้ และยังต้องรับผลของการกระทำบาปในข้อต่างๆด้วย ขอหิริ-โอตตัปปะจงบังเกิดขึ้นในจิตใจทำให้ข้าพเจ้าเกรงความชั่วและกลัวผลของบาปที่จะต้องขึ้นกับชีวิต พร้อมมีชีวิตที่ประกอบด้วยสติเพื่อป้องกันความประมาทที่จะเกิดขึ้น
ดังนั้น...การตอกย้ำในแต่ละข้อที่ว่า ขอหิริ-โอตตัปปะจงบังเกิดขึ้นในจิตใจ พร้อมยกผลร้ายที่จะต้องได้รับในแต่ละข้อขึ้นมานั้น ...จิตย่อมเสพความละอายต่อบาป และความเกรงกลัวต่อผลของบาปได้มากขึ้น ....เมื่อมากขึ้นๆ อำนาจก็ต้องเกิดมากขึ้นเป็นธรรมดา ซึ่งย่อมดีกว่าการอาราธนาศีลเพียงอย่างเดียว โดยไม่เพิ่มอำนาจของหิริ-โอตตัปปะเข้าไป เมื่อมีความสันทัดก่อนตายหากจิตจับอารมณ์ที่มีหิริ-โอตตัปปะเข้าไปด้วย... ที่ไปต้องเป็นเทวภูมิอย่างแน่นอน เพราะนี่คือ เทวธรรม ธรรมที่จะทำให้พวกเราได้มีโอกาสไปเกิดที่ ตักของพ่อ ตามที่อธิษฐานกันไว้ได้ในที่สุด…
แสดงความคิดเห็น
สงสัยในขอบเขตของศีลข้อ 3 การประพฤติผิดในกาม (ทุกวันนี้เราประพฤติศีลข้อนี้กันหรือไม่)
http://puredhamma.com/1502b0903th/
ผมเกิดความสงสัยในส่วนนี้ครับ คือ
" กิจกรรมของคนคู่ทั้งหมด คือ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องบนเตียง ยังรวมถึงเรื่องโทรกระหนุงกระหนิงกัน เดินไปจับมือกัน ไปกินข้าวเย็น ๒ ต่อ ๒ พวกนี้ เป็นกิจกรรมคนคู่หมดเลย อันนี้ถือว่าประพฤติผิด "
หากเราเป็นคนโสด แล้วไปจีบผู้หญิงที่ไม่มีคู่ครอง (แต่มีพ่อหรือแม่ หรือทั้งพ่อและแม่) คงจะต้องมีการ คุยกระหนุงกระหนิงกัน หรือ ไปกินข้าวเย็น ๒ ต่อ ๒ หากเป็นเช่นนั้นก็นับว่าเราได้ทำให้ศีลนี้ด่างพร้อย ใช่หรือไม่ครับ
เช่นนั้นแล้ว แนวทางปฏิบัติสำหรับวัยรุ่น หรือคนทั่วไป ควรจะทำเช่นไร เพื่อที่จะรักษาศีลไม่ให้ขาด ไม่ให้ด่างพร้อย คงจะไม่สามารถไปพูดจีบได้ หรือพาไปกินข้าวได้เลย หากไม่ได้ขออนุญาต พ่อแม่เขาก่อน
ขอท่านผู้รู้โปรดชี้แจง เพื่อประโยชน์ต่อไปครับผม