อาบัติ หรือ อาปัติ เป็นหนังไทยที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งในรอบหลายปี พูดถึง พระ ผี คน กิเลศ บาป บุญ ผลของการกระทำ วิธีการเล่าเรื่องชาญฉลาด ตัดสลับไปมา หลอกให้เชื่อว่าอีกแบบแล้วหักมุมจนหลังแอ่น โครงเรื่องสลับซับซ้อน ยอดเยี่ยม ตัวละครทุกตัวมีความสำคัญกับเรื่อง ทุกการกระทำของตัวละครมีความหมาย แบบว่าพลาดสายตาไม่ได้ นักแสดงเล่นดีทุกคน โดยเฉพาะสรพงษ์ ชาตรี อรรถพร ธีมากร ฉากผีน่ากลัว ไม่เยอะไม่น้อยเกินไป การใช้สัญลักษณ์ลงตัวเช่น คนบ้าไม่รับของจากพระกินแต่ของใต้รองเท้า เป็นต้น มุมกล้องเช่นฉากเปิดที่เป็นมุมเงย ทำให้สถาบันสงฆ์ดูสูงกว่า ผู้หญิงบนต้นไม้แสดงถึงอำนาจของตันหาที่มีเหนือพระ ต้นไม้ใหญ่ยืนตายต้นหมายถึงพระสงฆ์ที่ไม่เหลือความเป็นสงฆ์ เป็นต้น
นับเป็นความประสบความสำเร็จของสหมงคลฟิล์มที่สามารถทำหนังผีเนื้อเรื่องหนัก ๆ แบบนี้ออกมาให้คนสนใจได้ เนื้อเรื่องแม้จะพูดถึงอาบัติปราชิก (เสพเมถุน โขมยทรัพย์เกิน 5 มาสก ฆ่ามนุษย์ อวดอุตริมนุษสธรรม ทำพระพุทธเจ้าต้องเลือด) และอาบัติสังฆาทิเสส (สำเร็จความใคร่ จับกายหญิง เกี้ยวหญิง ล่อให้หญิงบำเรอด้วยกาม เป็นต้น) ของพระแต่เป็นการเตือนให้พระและฆารวาสเกรงกลัวต่อบาปโดยไม่ต้องใช้คำพูดที่ฟุ่มเฟือยจนน่ารำคาญ
ประโยคที่ชอบเช่น "แค่ปลงอาบัติความผิดก็หายแล้วหรอ"
"รู้หรือยังว่าบวชเพราะอะไร"
"ตั้งแต่เกิดมายังไม่รู้เลยว่าบาปหน้าตาเป็นยังไง"
"ไม่เชื่อเรื่องบาป เชื่อเรื่องความรัก"
"จะเป็นนักบุญที่ช่วยคนบาป หรือจะเป็นคนบาปที่รอคอยส่วนบุญ"
หากหนังเรื่องนี้ถูกตัดสิทธิ์การฉายจริง วงการถาพยนตร์ไทยคงจะล้าหลังไปอีกหลายปี
ปล.
คำว่า "อาบัติ" หรือ "อาปัติ" มีความหมายเหมือนกัน
ในระบบอักขรวิธีของอักษรไทยโบราณ มอญ ขอม ธรรมล้านนา ธรรมอีสาน ไทยน้อย ฝักขาม มักใช้ตัวอักษร "บ" และ "ป" ปะปนกันไป โดยเฉพาะภาษาบาลี สันสกฤต คนไทยสมัยก่อน หรือคนที่บวชเรียนรู้กันหมด (ยกเว้นพวกกองเซ็นต์เซอร์หนังนี่แหละ) เพราะฉะนั้นหนังจะเปลี่ยนชื่ออย่างไร เนื้อหาหรือความหมายก็ยังคงเหมือนเดิม
สุดท้ายนี้อยากจะบอกว่า อาบัติ ไม่มีอะไรที่จะทำให้สถาบันพุทธศาสนาเสื่อมลงไปแม้แต่น้อยอย่างที่ใครหลายคนวิตก มีแต่ทำให้สถาบันนี้สูงขึ้นหากดูแล้วคิดตาม โดนใช้หลักคำสอนที่ว่า "สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน"
SF แหลมทอง บางแสน 18-10-2558
อาบัติ หนังดีที่สังคมไทยควรดู (สปอยล์)
นับเป็นความประสบความสำเร็จของสหมงคลฟิล์มที่สามารถทำหนังผีเนื้อเรื่องหนัก ๆ แบบนี้ออกมาให้คนสนใจได้ เนื้อเรื่องแม้จะพูดถึงอาบัติปราชิก (เสพเมถุน โขมยทรัพย์เกิน 5 มาสก ฆ่ามนุษย์ อวดอุตริมนุษสธรรม ทำพระพุทธเจ้าต้องเลือด) และอาบัติสังฆาทิเสส (สำเร็จความใคร่ จับกายหญิง เกี้ยวหญิง ล่อให้หญิงบำเรอด้วยกาม เป็นต้น) ของพระแต่เป็นการเตือนให้พระและฆารวาสเกรงกลัวต่อบาปโดยไม่ต้องใช้คำพูดที่ฟุ่มเฟือยจนน่ารำคาญ
ประโยคที่ชอบเช่น "แค่ปลงอาบัติความผิดก็หายแล้วหรอ"
"รู้หรือยังว่าบวชเพราะอะไร"
"ตั้งแต่เกิดมายังไม่รู้เลยว่าบาปหน้าตาเป็นยังไง"
"ไม่เชื่อเรื่องบาป เชื่อเรื่องความรัก"
"จะเป็นนักบุญที่ช่วยคนบาป หรือจะเป็นคนบาปที่รอคอยส่วนบุญ"
หากหนังเรื่องนี้ถูกตัดสิทธิ์การฉายจริง วงการถาพยนตร์ไทยคงจะล้าหลังไปอีกหลายปี
ปล.
คำว่า "อาบัติ" หรือ "อาปัติ" มีความหมายเหมือนกัน
ในระบบอักขรวิธีของอักษรไทยโบราณ มอญ ขอม ธรรมล้านนา ธรรมอีสาน ไทยน้อย ฝักขาม มักใช้ตัวอักษร "บ" และ "ป" ปะปนกันไป โดยเฉพาะภาษาบาลี สันสกฤต คนไทยสมัยก่อน หรือคนที่บวชเรียนรู้กันหมด (ยกเว้นพวกกองเซ็นต์เซอร์หนังนี่แหละ) เพราะฉะนั้นหนังจะเปลี่ยนชื่ออย่างไร เนื้อหาหรือความหมายก็ยังคงเหมือนเดิม
สุดท้ายนี้อยากจะบอกว่า อาบัติ ไม่มีอะไรที่จะทำให้สถาบันพุทธศาสนาเสื่อมลงไปแม้แต่น้อยอย่างที่ใครหลายคนวิตก มีแต่ทำให้สถาบันนี้สูงขึ้นหากดูแล้วคิดตาม โดนใช้หลักคำสอนที่ว่า "สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน"
SF แหลมทอง บางแสน 18-10-2558