คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
คำว่า "ไกล่เกลี่ย" คือ ทั้งสองฝ่ายมีกรณีพิพาทต่อกัน จึงมีการเจรจาให้ทั้งสองฝ่าย ตกลงเลิกแล้วต่อกัน จะเป็นใครก็ได้ ขอให้เป็นคนกลางและทั้งสองฝ่ายเชื่อถือ รับฟัง เช่น คนในหมู่บ้านทะเลาะกัน แล้วมีการเชิญ คนแก่หรือผู้หลักผู้ใหญ๋ ในหมู่บ้านที่ ทุกคนเคารพนับถือ มาไกล่เกลี่ยให้จบกันไป
กรณีนี้ เป็นการไกล่เกลี่ย ในชั้นพนักงานสอบสวน ด้วยพนักงานสอบสวน พิจารณาแล้ว การดำเนินคดีในความผิดเช่นนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย หรืออาจจะเรียกคดีรกศาลก็ได้ น่าจะจบในชั้นพนักงานสอบสวนเสียและ จะได้ทำสำนวนสรุปส่งอัยการดำเนินการฟ้องและคงะจบด้วยดี
ผู้ไกล่เกลี่ย น่าจะเป็น เจ้าพนักงาน(ตำรวจ) เป็นหลัก คุณ ปนัดดา เป็นตัวเสริม
ส่วน คุณปนัดดา นั้น จะเรียกว่าอาศัย ความเป็นดารา คนของสังคมมา แสนดงตัวจะเป็นผู้ไกล่เกลี่ย โดยฝ่านหนึ่งเชิญมา เพื่อให้เป็นข่าว จะด้วยกลัวยศกลัวสีหรืออะไรก็ว่าไป คือ เอาคนดังมาให้นักข่าวติดตามข่าว จะได้ไม่มีใครกล้าไม่เป็นกลาง
การเป็นองค์กรอะไรนั้น จดทะเบียนตั้งเป็นทางการหรือยัง ถ้ายังเป็นเพียงองค์กรเถื่อน มูลนิธิก็ไม่ใช่
ส่วนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญนั้น มีความหมายดังนี้
การไกล่เกลี่ย คือ กระบวนการระงับข้อพิพาทที่มีบุคคลที่สามมาช่วยเหลือให้คู่ความต่อรองกันได้สำเร็จ
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล หมายถึง การที่ผู้ไกล่เกลี่ยทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งเป็นคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลตั้งแต่ศาลรับฟ้องจนถึงก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้กับคู่ความ เป็นการช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกัน แต่ผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีอำนาจในการกำหนดข้อตกลงให้แก่คู่ความแต่อย่างใด โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการประนีประนอมยอมความให้จากความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญ ดังนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอยกเลิกการไกล่เกลี่ยเสียเมื่อใดก็ย่อมได
ผู้ไกล่เกลี่ย คือ ผู้พิพากษาประจำศาลต่างๆ บุคคลหรือคณะบุคคลที่ผู้พิพากษาแต่งตั้งให้เป็นผู้ประนีประนอม โดยผู้พิพากษาหรือบุคคลดังกล่าวเป็นผู้มีความสนใจมีความพร้อมและสมัครใจที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยซึ่งมีความเป็นกลาง ไม่มีอคติสามารถให้ความเป็นธรรมกับคู่ความทุกฝ่ายได้ถูกต้องตรงตามความประสงค์ของคู่ความ ช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่คู่ความทุกฝ่ายและเป็นผู้ช่วยทำให้ข้อพิพาททั้งหลายยุติลงอย่างฉันมิตร ผู้ไกล่เกลี่ยมีหน้าที่ในการช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงประนีประนอมยอมความกัน ไม่มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทหรือคดีระหว่างความแต่อย่างใด
สิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะไกล่เกลี่ยให้ประสบความสำเร็จ หากคู่ความมีสิ่งเหล่านี้ คือ
1. ความต้องการที่จะให้ไกล่เกลี่ย
2. ความรับผิดชอบส่วนตัว
3. ความตั้งใจที่จะไม่ตกลงด้วย และ
4. ความตั้งใจที่จะตกลงด้วย การไกล่เกลี่ย
ส่งผลสองทางคือคู่กรณีทั้งสองฝ่ายพอใจทั้งคู่หรือเรียกว่า ชนะทั้งคู่ (win-win) จึงเป็นผลที่ตรงตามความมุ่งหมายของการไกล่เกลี่ย เช่นเจ้าหนี้ก็ได้รับชำระหนี้แม้อาจไม่เต็มจำนวน ลูกหนี้ก็ได้รับการลดหย่อน เช่น การผ่อนเวลาให้หรือการกำหนดเวลาปลอดดอกเบี้ยให้ เป็นต้น แต่การไกล่เกลี่ยคู่ความยังมีสิทธิในการดำเนินกระบวนพิจารณาตามปกติ
เมื่อกระบวนการพิจารณาคดีทางศาลยุติธรรมเปลี่ยนแปลงไปโดยมีการนัดพิจารณาคดีแบบต่อเนื่องติดต่อกันไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น
ดังนั้น จึงแบ่งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ดังนี้
1. สำหรับคดีฟ้องใหม่ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้อง เจ้าหน้าที่แผนกรับฟ้องจะนัดคู่ความมาไกล่เกลี่ยก่อนนัดสืบพยานประมาณ 2 เดือน โดยจะประทับตรายางวันนัดไกล่เกลี่ยไว้ที่หมายเรียก ฯ สำหรับจำเลยที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้วควรมาศาลเพื่อไกล่เกลี่ยตามวันนัด
2. สำหรับคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา แยกเป็น 3 กรณี ได้แก่
2.1 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเห็นว่าสำนวนใดสมควรใช้ระบบไกล่เกลี่ยก็ส่งให้นำคดีนั้นเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย
2.2 ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นว่าสมควรใช้ระบบการไกล่เกลี่ยก็ส่งเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย
2.3 คู่ความยื่นคำแถลง หรือ แถลงด้วยวาจาขอใช้วิธีการไกล่เกลี่ยและผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนส่งสำนวนเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย
3. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ผู้พิพากษาซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนที่พิจารณาตัดสินชี้ขาดคดีนั้น อาจดำเนินการไกล่เกลี่ยคดีได้เอง ทั้งก่อนหรือในระหว่างพิจารณาคดีเพื่อให้คู่ความตกลงกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผลที่คู่ความจะได้รับจากการไกล่เกลี่ย
1 คู่ความสามารถตกลงกันได้ด้วยการถอนฟ้อง
2 คู่ความ สามารถตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอม
3 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถอนตัวจากการไกล่เกลี่ยขอให้ดำเนินคดีด้วยวิธีการพิจารณาตามปกติได้เช่นเดิม
4 คู่ความตกลงกันไม่ได้ ศาลก็จะส่งสำนวนไปดำเนินกระบวนการพิจารณาตามปกติ
ประโยชน์ของการไกล่เกลี่ย
การไกล่เกลี่ยที่ประสบผลสำเร็จจนคู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกันได้เป็นประโยชน์ดังนี้
1. ทำให้คู่ความสามารถหันหน้าเข้าหากันได้อีกอย่างฉันมิตร
2. ในบางกรณีคู่ความสามารถดำเนินธุรกิจติดต่อกันได้อีก
3. ประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของคู่ความลดลง
4. คู่ความได้รับความพึงพอใจ
5. คู่ความไม่ต้องประสบกับการบังคับคดีที่ยุ่งยากในศาล
6. ช่วยลดปริมาณคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล ทำให้คดีที่ทำการไกล่เกลี่ยและคดีอื่นๆ สามารถย่นระยะเวลาพิจารณาได้เร็วขึ้น
7. ลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
8. ก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม
9. รัฐประหยัดงบประมาณที่จะต้องใช้ในการจัดให้มีการดำเนินการพิจารณาคดี หรือข้อพิจารณาของประชาชนโดยรวม
ขอขอบคุณ www.judiciary.go.th ที่เอื้อเฟื้อประโยชน์สาธารณะ
กรณีนี้ เป็นการไกล่เกลี่ย ในชั้นพนักงานสอบสวน ด้วยพนักงานสอบสวน พิจารณาแล้ว การดำเนินคดีในความผิดเช่นนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย หรืออาจจะเรียกคดีรกศาลก็ได้ น่าจะจบในชั้นพนักงานสอบสวนเสียและ จะได้ทำสำนวนสรุปส่งอัยการดำเนินการฟ้องและคงะจบด้วยดี
ผู้ไกล่เกลี่ย น่าจะเป็น เจ้าพนักงาน(ตำรวจ) เป็นหลัก คุณ ปนัดดา เป็นตัวเสริม
ส่วน คุณปนัดดา นั้น จะเรียกว่าอาศัย ความเป็นดารา คนของสังคมมา แสนดงตัวจะเป็นผู้ไกล่เกลี่ย โดยฝ่านหนึ่งเชิญมา เพื่อให้เป็นข่าว จะด้วยกลัวยศกลัวสีหรืออะไรก็ว่าไป คือ เอาคนดังมาให้นักข่าวติดตามข่าว จะได้ไม่มีใครกล้าไม่เป็นกลาง
การเป็นองค์กรอะไรนั้น จดทะเบียนตั้งเป็นทางการหรือยัง ถ้ายังเป็นเพียงองค์กรเถื่อน มูลนิธิก็ไม่ใช่
ส่วนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญนั้น มีความหมายดังนี้
การไกล่เกลี่ย คือ กระบวนการระงับข้อพิพาทที่มีบุคคลที่สามมาช่วยเหลือให้คู่ความต่อรองกันได้สำเร็จ
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล หมายถึง การที่ผู้ไกล่เกลี่ยทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งเป็นคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลตั้งแต่ศาลรับฟ้องจนถึงก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้กับคู่ความ เป็นการช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกัน แต่ผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีอำนาจในการกำหนดข้อตกลงให้แก่คู่ความแต่อย่างใด โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการประนีประนอมยอมความให้จากความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญ ดังนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอยกเลิกการไกล่เกลี่ยเสียเมื่อใดก็ย่อมได
ผู้ไกล่เกลี่ย คือ ผู้พิพากษาประจำศาลต่างๆ บุคคลหรือคณะบุคคลที่ผู้พิพากษาแต่งตั้งให้เป็นผู้ประนีประนอม โดยผู้พิพากษาหรือบุคคลดังกล่าวเป็นผู้มีความสนใจมีความพร้อมและสมัครใจที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยซึ่งมีความเป็นกลาง ไม่มีอคติสามารถให้ความเป็นธรรมกับคู่ความทุกฝ่ายได้ถูกต้องตรงตามความประสงค์ของคู่ความ ช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่คู่ความทุกฝ่ายและเป็นผู้ช่วยทำให้ข้อพิพาททั้งหลายยุติลงอย่างฉันมิตร ผู้ไกล่เกลี่ยมีหน้าที่ในการช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงประนีประนอมยอมความกัน ไม่มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทหรือคดีระหว่างความแต่อย่างใด
สิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะไกล่เกลี่ยให้ประสบความสำเร็จ หากคู่ความมีสิ่งเหล่านี้ คือ
1. ความต้องการที่จะให้ไกล่เกลี่ย
2. ความรับผิดชอบส่วนตัว
3. ความตั้งใจที่จะไม่ตกลงด้วย และ
4. ความตั้งใจที่จะตกลงด้วย การไกล่เกลี่ย
ส่งผลสองทางคือคู่กรณีทั้งสองฝ่ายพอใจทั้งคู่หรือเรียกว่า ชนะทั้งคู่ (win-win) จึงเป็นผลที่ตรงตามความมุ่งหมายของการไกล่เกลี่ย เช่นเจ้าหนี้ก็ได้รับชำระหนี้แม้อาจไม่เต็มจำนวน ลูกหนี้ก็ได้รับการลดหย่อน เช่น การผ่อนเวลาให้หรือการกำหนดเวลาปลอดดอกเบี้ยให้ เป็นต้น แต่การไกล่เกลี่ยคู่ความยังมีสิทธิในการดำเนินกระบวนพิจารณาตามปกติ
เมื่อกระบวนการพิจารณาคดีทางศาลยุติธรรมเปลี่ยนแปลงไปโดยมีการนัดพิจารณาคดีแบบต่อเนื่องติดต่อกันไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น
ดังนั้น จึงแบ่งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ดังนี้
1. สำหรับคดีฟ้องใหม่ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้อง เจ้าหน้าที่แผนกรับฟ้องจะนัดคู่ความมาไกล่เกลี่ยก่อนนัดสืบพยานประมาณ 2 เดือน โดยจะประทับตรายางวันนัดไกล่เกลี่ยไว้ที่หมายเรียก ฯ สำหรับจำเลยที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้วควรมาศาลเพื่อไกล่เกลี่ยตามวันนัด
2. สำหรับคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา แยกเป็น 3 กรณี ได้แก่
2.1 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเห็นว่าสำนวนใดสมควรใช้ระบบไกล่เกลี่ยก็ส่งให้นำคดีนั้นเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย
2.2 ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นว่าสมควรใช้ระบบการไกล่เกลี่ยก็ส่งเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย
2.3 คู่ความยื่นคำแถลง หรือ แถลงด้วยวาจาขอใช้วิธีการไกล่เกลี่ยและผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนส่งสำนวนเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย
3. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ผู้พิพากษาซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนที่พิจารณาตัดสินชี้ขาดคดีนั้น อาจดำเนินการไกล่เกลี่ยคดีได้เอง ทั้งก่อนหรือในระหว่างพิจารณาคดีเพื่อให้คู่ความตกลงกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผลที่คู่ความจะได้รับจากการไกล่เกลี่ย
1 คู่ความสามารถตกลงกันได้ด้วยการถอนฟ้อง
2 คู่ความ สามารถตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอม
3 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถอนตัวจากการไกล่เกลี่ยขอให้ดำเนินคดีด้วยวิธีการพิจารณาตามปกติได้เช่นเดิม
4 คู่ความตกลงกันไม่ได้ ศาลก็จะส่งสำนวนไปดำเนินกระบวนการพิจารณาตามปกติ
ประโยชน์ของการไกล่เกลี่ย
การไกล่เกลี่ยที่ประสบผลสำเร็จจนคู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกันได้เป็นประโยชน์ดังนี้
1. ทำให้คู่ความสามารถหันหน้าเข้าหากันได้อีกอย่างฉันมิตร
2. ในบางกรณีคู่ความสามารถดำเนินธุรกิจติดต่อกันได้อีก
3. ประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของคู่ความลดลง
4. คู่ความได้รับความพึงพอใจ
5. คู่ความไม่ต้องประสบกับการบังคับคดีที่ยุ่งยากในศาล
6. ช่วยลดปริมาณคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล ทำให้คดีที่ทำการไกล่เกลี่ยและคดีอื่นๆ สามารถย่นระยะเวลาพิจารณาได้เร็วขึ้น
7. ลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
8. ก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม
9. รัฐประหยัดงบประมาณที่จะต้องใช้ในการจัดให้มีการดำเนินการพิจารณาคดี หรือข้อพิจารณาของประชาชนโดยรวม
ขอขอบคุณ www.judiciary.go.th ที่เอื้อเฟื้อประโยชน์สาธารณะ
แสดงความคิดเห็น
บุ๋ม ปนัดดา กับการไกล่เกลี่ย สงสัยนิดหน่อยค่ะว่าคนกลางในการไกล่เกลี่ยเป็นใครก็ได้หร่อคะ
มีข้อสงสัยอยากถามผู้รู้เรื่องกฏหมาย ว่าคนกลางที่จะมาไกล่เกลี่ย จะเป็นใครก็ได้หร่อคะ? ไม่ใช่ทนายหร่อ?
หรือเพราะบุ๋ม มีองค์กรทำความดีถึงไกล่เกลี่ยได้? แต่ดูแล้วปัญหานี่ไม่ได้เกี่ยวกับองค์กรของบุ๋มเลย
ถ้าเกี่ยว ตัวบุ๋มควรปกป้องคนท้องที่ถูกทำร้ายร่างกายนะคะ จริงๆแล้วยิ่งมีคนกลางแบบนี้ อาจทำให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบ
เรื่องแบบนี้ควรมีทนายไม่ใช่หร่อค่ะ ไม่เข้าใจเรื่องกฏหมายเท่าไหร่จึงอยากถามผู้รู้ค่ะ เพราะถ้าเป็นใครก็ได้ ดารา คนดังที่ไหนก็ได้มาไกลเกลี่ยเรื่องแบบนี้ให้ ส่วนตัวคิดว่านี้เป็นช่องโหว่ทางกฏหมายเลยล่ะ...