19 ตุลาคม 2558
พอดีว่าผมได้มีโอกาสไปร่วมงานมอบรางวัลสุภาว์ เทวกุลฯ ประจำปี 2558 และการเปิดตัวหนังสือ “เงื่อน ทะเล และผ้าเปื้อนเลือด” ที่สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2558 ผมเลยอยากจะเก็บรายละเอียดบางส่วนของงานมาให้แก่ผู้ที่สนใจในเรื่องการเขียน โดยหวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่อยากจะเขียนบ้าง ลองอ่านกันดูนะครับ
โดยในงานเริ่มต้นจากการมอบรางวัลสุภาว์ เทวกุลฯ ให้แก่ผู้ที่ส่งเรื่องสั้นขนาดสั้น (เรื่องสั้น 3 หน้า) เข้าประกวด มีผู้ผ่านเข้ารอบได้รางวัลทั้งหมดจำนวน 25 ท่าน โดยรางวัลชนะเลิศ ได้แก่เรื่อง “เงื่อน” โดยคุณจรัญ ยั่งยืน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่เรื่อง “ทะเล” โดยคุณอนันต์ เกษตรสินสมบัติ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่เรื่อง “ผ้าเปื้อนเลือด” โดยฉมังฉาย
ภาพหมู่ผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด
หลังจากนั้นมีการแนะนำหนังสือ “เงื่อน ทะเล และผ้าเปื้อนเลือด” นี้เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องสั้นทั้ง 25 เรื่อง และมีเรื่องสั้นจากกรรมการผู้ตัดสินอีก 2 ท่าน คือ อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง และอ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย และมีการเชิญนักเขียนผู้ได้รางวัลชนะเลิศทั้ง 3 ท่านขึ้นมาพูดคุยเปิดใจเกี่ยวกับการเขียนเรื่องส่งเข้าประกวด โดยมี อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัยเป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งรายละเอียดของการพูดคุยเสวนานี้ผมจะขอสรุปให้ท่านได้ทราบดังนี้
(รายละเอียดที่ผมเขียนสรุปมาทั้งหมดนี้อาจจะไม่ตรงตามคำพูดทุกประการ แต่ผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะพยายามเขียนสรุปออกมาให้ตรงตามประเด็นที่นำเสนอทั้งหมด ดังนั้นถ้ามีการผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนไปประการใด ผมก็ต้องขอกราบขอโทษมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ)
จากซ้ายไปขวา คุณฉมังฉาย , คุณอนันต์ เกษตรสินสมบัติ , คุณจรัญ ยั่งยืน และอ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย
-อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย บอกว่านักเขียนที่ได้รับรางวัลทั้ง 3 ท่านนี้เป็นนักเขียนมือรางวัลกันทุกคน โดย อ.จรูญพรได้ถามเรื่องการเขียนของแต่ละคนว่ามีเทคนิคหรือวิธีการเขียนอย่างไรบ้าง?
-คุณจรัญ ยั่งยืน ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ บอกว่า เรื่องสั้นขนาดสั้นนี้มีเสน่ห์อยู่ที่การวางพล็อตเรื่องที่ดี ต้องขมวดปมจบให้ได้ รวมทั้งต้องเลือกเฟ้นคำให้แก่ตัวละครเพื่อให้ใช้คำที่จำกัดมากที่สุด ดังนั้นการเขียนจึงยากพอสมควร
-คุณอนันต์ เกษตรสินสมบัติ ผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 บอกว่า การเขียนเรื่องสั้นขนาดสั้นนี้ต้องใช้จินตนาการในการเขียนมาก เพราะต้องเขียนให้เรื่องออกมาเป็นเรื่องสั้น ๆ เหมือนกับที่เราดูหนังสั้น
-คุณฉมังฉาย ผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 บอกว่า การเขียนเรื่องสั้นขนาดสั้นก็เหมือนกับการวิ่ง 100 เมตร ออกสตาร์ทแล้วต้องใส่เลย ต้องกระฉับ ใส่ให้เต็มที่แวะหยุดพักที่ไหนไม่ได้ โดยปกติแล้วตัวผมเขียนเรื่องสั้นยาวประมาณ 18-19 หน้า พอมาเขียนเรื่องสั้นขนาดสั้นเลยต้องให้สั้น ให้รู้ว่าตัวละครมีที่มาที่ไปอย่างไร ยอมรับว่าแต่ละคน (ผู้ส่งเรื่องเข้าประกวด) เก่งทุกท่านเลย
-อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย เห็นด้วยกับคุณฉมังฉายที่ว่าแต่ละคนเก่งทุกท่าน โดยเขียนกันหลากหลายแนวมาก อยากจะให้ทั้ง 3 ท่านพูดถึงเรื่องที่ตัวเองเขียน
-คุณจรัญ ยั่งยืน บอกว่า ผมเขียนเรื่องสั้นขนาดสั้นผมเลยตั้งชื่อเรื่องให้สั้นและกระชับ เรื่องที่ผมเขียนพูดถึงเรื่อง “เงื่อน” ที่ใช้ผูกควาย ซึ่งในความเป็นจริงแต่ละชีวิตต่างก็มีเงื่อนที่ผูกมัดตัวเองไว้ตลอดเช่นกัน เรื่องนี้เป็นการนำเสนอปัญหาเดิมที่เกิดขึ้นในสังคมแต่มันก็ยังไม่เปลี่ยนไป ยังคงมีการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อยู่เสมอ
-คุณอนันต์ เกษตรสินสมบัติ บอกว่า เรื่อง “ทะเล” ที่ผมเขียนอาจจะมีวิธีการเขียนที่แตกต่างจากคนอื่น โดยจินตนาการให้ตัวละครต้องประสบชะตากรรมบางอย่าง เดิมเรื่องนี้เคยเขียนเป็นเรื่องสั้นหน้าเดียวมาก่อน ส่วนตัวละครในเรื่อง (คนบ้า) ก็มีอยู่แถวบ้านผมเยอะ
-คุณฉมังฉาย บอกว่า ผมเขียนเรื่องการขายตัว โดยจำมาได้จากข่าวที่เคยเห็นว่าแม่นำลูกไปเร่ขายตัว ดูข่าวแล้วเอามาเขียนเป็นเรื่อง “ผ้าเปื้อนเลือด” จริง ๆ เขียนทิ้งไว้ 7-8 ปีแล้วรอให้เรื่องมันตกผลึกก่อน พอเอามาเขียนเป็นเรื่องสั้นขนาดสั้นก็ต้องสร้างตัวละครขึ้นมาใหม่ นำเสนอรูปแบบของปัญหาระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก (เรื่องละเมิดทางเพศ) ที่เกิดขึ้นที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลย
- อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย ถามถึงการเขียนของแต่ละท่านว่าเป็นมาอย่างไรบ้าง?
-คุณจรัญ ยั่งยืน บอกว่า ที่ผ่านมาเคยเขียนเรื่องส่งประกวดมาแล้ว แต่ในครั้งนี้สนใจการเขียนเรื่องสั้น 3 หน้าเลยลองส่งมา ปกติเขียนเรื่องสั้นขนาดยาวที่ซับซ้อนมากกว่านี้มาก แต่พอมาเขียนเรื่องสั้นขนาดสั้นนั้นความกระชับทำให้เราต้องอดทนในการเขียน เพราะมันทำให้เขียนยาก ตัวละครทุกตัวถูกขีดวางไว้ไม่ให้เกินจึงต้องกระชับ ผมเกา (ตรวจทาน) ประมาณ 7-8 ครั้ง โดยตัดออกตลอดไม่มีการใส่เพิ่มเลย
-คุณอนันต์ เกษตรสินสมบัติ บอกว่า จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ใช้เวลาการเขียนนานเกือบ 2 ปี คือได้เขียนเป็นเรื่องอยู่แล้ว ก่อนที่จะนำมาขยายเป็นเรื่องสั้น 3 หน้า โดยต้องเขียนแก้ไขไปจนถึงวันสุดท้ายที่ส่งประกวด
-คุณฉมังฉาย บอกว่า ในการเขียนนั้นต้องเริ่มต้นจากตัวเองต้องสนุกก่อน อย่าไปหวังแต่ให้ผู้อ่านสนุกเท่านั้น เราต้องสนุกก่อนจึงจะเขียนเรื่องออกมาได้ดี ส่วนตัวแล้วไม่ได้ตั้งใจในการส่งประกวด เพราะในตอนนี้เขียนเรื่องอยู่ทุกวัน พอมีการประกวดรางวัลใดก็จะดูว่ามีเรื่องที่สอดคล้องกันไหม? ถึงได้ส่งเรื่องเข้าประกวด แต่ถ้าให้เขียนเรื่องเพื่อส่งเข้าประกวดอย่างเดียวในตอนนี้ไม่ได้ทำแล้ว
-อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย ถามถึงการเขียนของทุกคนในปัจจุบันนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง?
-คุณจรัญ ยั่งยืน บอกว่า การเขียนเรื่องสั้นขนาดสั้นค่อนข้างยากแต่ก็จะพยายามเขียน ในช่วงหลังนี้หันมาเขียนนวนิยายเยาวชนบ้างแล้ว ปัจจุบันตนเองทำงานเขียนสกู๊ปข่าวอยู่ในทีวี เขียนข่าวภูมิภาค ช่วงหลังนี้เลยเขียนเรื่องสั้นน้อยมาก ในความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าถ้ามีเวทีที่เปิดกว้างเยอะ ๆ ก็คงจะดี จะเป็นการเปิดโอกาสให้นักเขียนหน้าใหม่ด้วย
-คุณอนันต์ เกษตรสินสมบัติ บอกว่า ส่วนใหญ่ตัวเองจะเขียนเรื่องสั้นยาวประมาณ 7-8 หน้าอยู่แล้ว ใจจริงแล้วตัวเองอยากจะเขียนส่งประกวดทุกสนาม และพอดีว่าในคราวนี้ตรง (เป็นการประกวดเรื่องสั้น) ก็เลยส่งประกวดดู
-คุณฉมังฉาย บอกว่า ปัจจุบันตัวเองเริ่มเขียนแนวนวนิยายบ้างแล้ว โดยมีการเอาบางส่วนของนวนิยายที่เขียนนำมาส่งในเฟสบุ๊คส์ (เฟสบุ๊คส์ส่วนตัวของคุณฉมังฉาย) บ้างเพื่อทดสอบกระแส เพราะว่าในบางครั้งงานเขียนมันก็เหงาเกิน สำหรับเรื่องสั้นนั้นในปีนี้ตั้งเป้าเขียนเรื่องสั้นขนาดยาวให้ได้สัก 1 ชุดจำนวน 10 เรื่อง แต่ละเรื่องยาวประมาณ 20 หน้า โดยเขียนจบไปแล้ว 2 เรื่อง
หนังสือ “เงื่อน ทะเล และผ้าเปื้อนเลือด”
-ท้ายสุด อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย ได้กล่าวสรุปว่า ในปัจจุบันนี้นักเขียนเขียนเรื่องสั้นกันยาวมาก อย่างเช่นเรื่องสั้นที่เขียนลงในนิตยสารราหูอมจันทร์ เป็นเรื่องสั้นที่ยาวมาก ๆ บางครั้งอ่านแล้วก็รู้สึกว่ายาวเกินไป ดังนั้นเพื่อให้เข้ากับกระแสสังคมในปัจจุบันที่เป็นยุคสังคมโซเซียล ที่คนอ่านอะไรที่สั้น ๆ เลยคิดว่าเวทีนี้ (การประกวดรางวัลสุภาว์ เทวกุลฯ ครั้งนี้) เป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเขียนทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าที่เคยมีผลงานมาแล้ว
สำหรับท่านใดที่สนใจอยากจะหาหนังสือรวมเรื่องสั้นขนาดสั้น “เงื่อน ทะเล และผ้าเปื้อนเลือด” นี้มาอ่าน ก็สามารถไปหาดูตามร้านขายหนังสือได้แล้ว หนังสือเล่มนี้พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ นานมีบุ๊คส์ ครับ
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่านและเขียนหนังสือนะครับ
เปิดใจนักเขียนรางวัลสุภาว์ เทวกุลฯ ประจำปี 2558 และเปิดตัวหนังสือ “เงื่อน ทะเล และผ้าเปื้อนเลือด”
พอดีว่าผมได้มีโอกาสไปร่วมงานมอบรางวัลสุภาว์ เทวกุลฯ ประจำปี 2558 และการเปิดตัวหนังสือ “เงื่อน ทะเล และผ้าเปื้อนเลือด” ที่สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2558 ผมเลยอยากจะเก็บรายละเอียดบางส่วนของงานมาให้แก่ผู้ที่สนใจในเรื่องการเขียน โดยหวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่อยากจะเขียนบ้าง ลองอ่านกันดูนะครับ
โดยในงานเริ่มต้นจากการมอบรางวัลสุภาว์ เทวกุลฯ ให้แก่ผู้ที่ส่งเรื่องสั้นขนาดสั้น (เรื่องสั้น 3 หน้า) เข้าประกวด มีผู้ผ่านเข้ารอบได้รางวัลทั้งหมดจำนวน 25 ท่าน โดยรางวัลชนะเลิศ ได้แก่เรื่อง “เงื่อน” โดยคุณจรัญ ยั่งยืน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่เรื่อง “ทะเล” โดยคุณอนันต์ เกษตรสินสมบัติ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่เรื่อง “ผ้าเปื้อนเลือด” โดยฉมังฉาย
หลังจากนั้นมีการแนะนำหนังสือ “เงื่อน ทะเล และผ้าเปื้อนเลือด” นี้เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องสั้นทั้ง 25 เรื่อง และมีเรื่องสั้นจากกรรมการผู้ตัดสินอีก 2 ท่าน คือ อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง และอ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย และมีการเชิญนักเขียนผู้ได้รางวัลชนะเลิศทั้ง 3 ท่านขึ้นมาพูดคุยเปิดใจเกี่ยวกับการเขียนเรื่องส่งเข้าประกวด โดยมี อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัยเป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งรายละเอียดของการพูดคุยเสวนานี้ผมจะขอสรุปให้ท่านได้ทราบดังนี้
(รายละเอียดที่ผมเขียนสรุปมาทั้งหมดนี้อาจจะไม่ตรงตามคำพูดทุกประการ แต่ผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะพยายามเขียนสรุปออกมาให้ตรงตามประเด็นที่นำเสนอทั้งหมด ดังนั้นถ้ามีการผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนไปประการใด ผมก็ต้องขอกราบขอโทษมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ)
-อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย บอกว่านักเขียนที่ได้รับรางวัลทั้ง 3 ท่านนี้เป็นนักเขียนมือรางวัลกันทุกคน โดย อ.จรูญพรได้ถามเรื่องการเขียนของแต่ละคนว่ามีเทคนิคหรือวิธีการเขียนอย่างไรบ้าง?
-คุณจรัญ ยั่งยืน ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ บอกว่า เรื่องสั้นขนาดสั้นนี้มีเสน่ห์อยู่ที่การวางพล็อตเรื่องที่ดี ต้องขมวดปมจบให้ได้ รวมทั้งต้องเลือกเฟ้นคำให้แก่ตัวละครเพื่อให้ใช้คำที่จำกัดมากที่สุด ดังนั้นการเขียนจึงยากพอสมควร
-คุณอนันต์ เกษตรสินสมบัติ ผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 บอกว่า การเขียนเรื่องสั้นขนาดสั้นนี้ต้องใช้จินตนาการในการเขียนมาก เพราะต้องเขียนให้เรื่องออกมาเป็นเรื่องสั้น ๆ เหมือนกับที่เราดูหนังสั้น
-คุณฉมังฉาย ผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 บอกว่า การเขียนเรื่องสั้นขนาดสั้นก็เหมือนกับการวิ่ง 100 เมตร ออกสตาร์ทแล้วต้องใส่เลย ต้องกระฉับ ใส่ให้เต็มที่แวะหยุดพักที่ไหนไม่ได้ โดยปกติแล้วตัวผมเขียนเรื่องสั้นยาวประมาณ 18-19 หน้า พอมาเขียนเรื่องสั้นขนาดสั้นเลยต้องให้สั้น ให้รู้ว่าตัวละครมีที่มาที่ไปอย่างไร ยอมรับว่าแต่ละคน (ผู้ส่งเรื่องเข้าประกวด) เก่งทุกท่านเลย
-อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย เห็นด้วยกับคุณฉมังฉายที่ว่าแต่ละคนเก่งทุกท่าน โดยเขียนกันหลากหลายแนวมาก อยากจะให้ทั้ง 3 ท่านพูดถึงเรื่องที่ตัวเองเขียน
-คุณจรัญ ยั่งยืน บอกว่า ผมเขียนเรื่องสั้นขนาดสั้นผมเลยตั้งชื่อเรื่องให้สั้นและกระชับ เรื่องที่ผมเขียนพูดถึงเรื่อง “เงื่อน” ที่ใช้ผูกควาย ซึ่งในความเป็นจริงแต่ละชีวิตต่างก็มีเงื่อนที่ผูกมัดตัวเองไว้ตลอดเช่นกัน เรื่องนี้เป็นการนำเสนอปัญหาเดิมที่เกิดขึ้นในสังคมแต่มันก็ยังไม่เปลี่ยนไป ยังคงมีการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อยู่เสมอ
-คุณอนันต์ เกษตรสินสมบัติ บอกว่า เรื่อง “ทะเล” ที่ผมเขียนอาจจะมีวิธีการเขียนที่แตกต่างจากคนอื่น โดยจินตนาการให้ตัวละครต้องประสบชะตากรรมบางอย่าง เดิมเรื่องนี้เคยเขียนเป็นเรื่องสั้นหน้าเดียวมาก่อน ส่วนตัวละครในเรื่อง (คนบ้า) ก็มีอยู่แถวบ้านผมเยอะ
-คุณฉมังฉาย บอกว่า ผมเขียนเรื่องการขายตัว โดยจำมาได้จากข่าวที่เคยเห็นว่าแม่นำลูกไปเร่ขายตัว ดูข่าวแล้วเอามาเขียนเป็นเรื่อง “ผ้าเปื้อนเลือด” จริง ๆ เขียนทิ้งไว้ 7-8 ปีแล้วรอให้เรื่องมันตกผลึกก่อน พอเอามาเขียนเป็นเรื่องสั้นขนาดสั้นก็ต้องสร้างตัวละครขึ้นมาใหม่ นำเสนอรูปแบบของปัญหาระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก (เรื่องละเมิดทางเพศ) ที่เกิดขึ้นที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลย
- อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย ถามถึงการเขียนของแต่ละท่านว่าเป็นมาอย่างไรบ้าง?
-คุณจรัญ ยั่งยืน บอกว่า ที่ผ่านมาเคยเขียนเรื่องส่งประกวดมาแล้ว แต่ในครั้งนี้สนใจการเขียนเรื่องสั้น 3 หน้าเลยลองส่งมา ปกติเขียนเรื่องสั้นขนาดยาวที่ซับซ้อนมากกว่านี้มาก แต่พอมาเขียนเรื่องสั้นขนาดสั้นนั้นความกระชับทำให้เราต้องอดทนในการเขียน เพราะมันทำให้เขียนยาก ตัวละครทุกตัวถูกขีดวางไว้ไม่ให้เกินจึงต้องกระชับ ผมเกา (ตรวจทาน) ประมาณ 7-8 ครั้ง โดยตัดออกตลอดไม่มีการใส่เพิ่มเลย
-คุณอนันต์ เกษตรสินสมบัติ บอกว่า จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ใช้เวลาการเขียนนานเกือบ 2 ปี คือได้เขียนเป็นเรื่องอยู่แล้ว ก่อนที่จะนำมาขยายเป็นเรื่องสั้น 3 หน้า โดยต้องเขียนแก้ไขไปจนถึงวันสุดท้ายที่ส่งประกวด
-คุณฉมังฉาย บอกว่า ในการเขียนนั้นต้องเริ่มต้นจากตัวเองต้องสนุกก่อน อย่าไปหวังแต่ให้ผู้อ่านสนุกเท่านั้น เราต้องสนุกก่อนจึงจะเขียนเรื่องออกมาได้ดี ส่วนตัวแล้วไม่ได้ตั้งใจในการส่งประกวด เพราะในตอนนี้เขียนเรื่องอยู่ทุกวัน พอมีการประกวดรางวัลใดก็จะดูว่ามีเรื่องที่สอดคล้องกันไหม? ถึงได้ส่งเรื่องเข้าประกวด แต่ถ้าให้เขียนเรื่องเพื่อส่งเข้าประกวดอย่างเดียวในตอนนี้ไม่ได้ทำแล้ว
-อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย ถามถึงการเขียนของทุกคนในปัจจุบันนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง?
-คุณจรัญ ยั่งยืน บอกว่า การเขียนเรื่องสั้นขนาดสั้นค่อนข้างยากแต่ก็จะพยายามเขียน ในช่วงหลังนี้หันมาเขียนนวนิยายเยาวชนบ้างแล้ว ปัจจุบันตนเองทำงานเขียนสกู๊ปข่าวอยู่ในทีวี เขียนข่าวภูมิภาค ช่วงหลังนี้เลยเขียนเรื่องสั้นน้อยมาก ในความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าถ้ามีเวทีที่เปิดกว้างเยอะ ๆ ก็คงจะดี จะเป็นการเปิดโอกาสให้นักเขียนหน้าใหม่ด้วย
-คุณอนันต์ เกษตรสินสมบัติ บอกว่า ส่วนใหญ่ตัวเองจะเขียนเรื่องสั้นยาวประมาณ 7-8 หน้าอยู่แล้ว ใจจริงแล้วตัวเองอยากจะเขียนส่งประกวดทุกสนาม และพอดีว่าในคราวนี้ตรง (เป็นการประกวดเรื่องสั้น) ก็เลยส่งประกวดดู
-คุณฉมังฉาย บอกว่า ปัจจุบันตัวเองเริ่มเขียนแนวนวนิยายบ้างแล้ว โดยมีการเอาบางส่วนของนวนิยายที่เขียนนำมาส่งในเฟสบุ๊คส์ (เฟสบุ๊คส์ส่วนตัวของคุณฉมังฉาย) บ้างเพื่อทดสอบกระแส เพราะว่าในบางครั้งงานเขียนมันก็เหงาเกิน สำหรับเรื่องสั้นนั้นในปีนี้ตั้งเป้าเขียนเรื่องสั้นขนาดยาวให้ได้สัก 1 ชุดจำนวน 10 เรื่อง แต่ละเรื่องยาวประมาณ 20 หน้า โดยเขียนจบไปแล้ว 2 เรื่อง
-ท้ายสุด อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย ได้กล่าวสรุปว่า ในปัจจุบันนี้นักเขียนเขียนเรื่องสั้นกันยาวมาก อย่างเช่นเรื่องสั้นที่เขียนลงในนิตยสารราหูอมจันทร์ เป็นเรื่องสั้นที่ยาวมาก ๆ บางครั้งอ่านแล้วก็รู้สึกว่ายาวเกินไป ดังนั้นเพื่อให้เข้ากับกระแสสังคมในปัจจุบันที่เป็นยุคสังคมโซเซียล ที่คนอ่านอะไรที่สั้น ๆ เลยคิดว่าเวทีนี้ (การประกวดรางวัลสุภาว์ เทวกุลฯ ครั้งนี้) เป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเขียนทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าที่เคยมีผลงานมาแล้ว
สำหรับท่านใดที่สนใจอยากจะหาหนังสือรวมเรื่องสั้นขนาดสั้น “เงื่อน ทะเล และผ้าเปื้อนเลือด” นี้มาอ่าน ก็สามารถไปหาดูตามร้านขายหนังสือได้แล้ว หนังสือเล่มนี้พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ นานมีบุ๊คส์ ครับ
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่านและเขียนหนังสือนะครับ