สืบเนื่องมาจากว่า ได้เห็นรูปภาพที่ถูกแชร์ในเฟสบุ๊คที่มีข้อความประกอบเหมือนกับว่าจะสั่งสอนวัยรุ่นวัยเรียนเรื่องการมีเซ็กส์(ขออนุญาตไม่กล่าวถึงเนื้อความในที่นี้เพื่อหลีกเลี่ยงการพาดพิง) จึงอยากจะแสดงความเห็นในเชิงวิเคราะห์เหตุผลเพื่อแย้งในบางส่วน (ไม่ใช่แค่แย้งข้อความที่เห็นนี้ แต่เพื่อชี้แจงและแลกเปลี่ยนความคิดกับสมาชิกท่านอื่นๆด้วย)
ข้อความดังกล่าว.. สรุปใจความได้ประมาณว่า
98%ของการมีคู่นอนในวัยเรียน มันไม่ยืนยาว ส่วนใหญ่ใครๆก็ไปเจอตัวจริงกันตอนทำงานทั้งนั้น เดี๋ยวผู้ชายไปเจอผู้หญิงใหม่ๆก็พร้อมจะทิ้งไปเสมอ พร้อมกับด่าทอผู้มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ว่าเป็นพวกไม่มีความคิด ไม่นึกถึงพระคุณของพ่อแม่ที่ส่งเสียให้มาเรียน
ถ้ามองในแง่ของนักอนุรักษ์นิยมหรือลูกที่กตัญญู ข้อความนี้ก็อาจมีส่วนสมเหตุสมผล เพราะ'พ่อแม่'ก็มีจารีตที่ยึดถือในฐานะส่วนหนึ่งในสังคม การที่ต้องรับรู้ว่าลูกไปมีอะไรกับใครทั้งๆที่ยังเรียนอยู่ ก็ต้องทุกข์ใจ
การที่ลูกทำให้พ่อแม่ทุกข์ใจ เป็นความผิดอย่างไม่ต้องสงสัย
แต่ข้อความส่วนที่เหลือนั้น..
ตัวเลขอ้างอิง 98% - เป็นตัวเลขที่ไม่ต้องสงสัยว่าไม่มีมูลอย่างสิ้นเชิง เหมือนสส.หาเสียงที่แค่พยายามใส่ตัวเลขไปในวาทกรรมให้ดูมีน้ำหนัก ผู้เขียนก็อาจแค่ประเมินจากประสบการณ์ที่ตัวเองประสบมา
ความสัมพันธ์ที่ไม่ยืนยาว, ไม่มีความคิด - การจะพบคู่ครองที่ดีสักคนในชีวิต มันไม่ได้มีตัวแปรอะไรมาจำกัดหรอกว่า จะเข้ามาที่ช่วงอายุไหน
คู่รักที่คบกันตั้งแต่สมัยเรียนจนแต่งงานเป็นครอบครัวที่อบอุ่น สร้างสมาชิกที่มีคุณภาพให้กับสังคม ก็พบเห็นได้ทั่วไป
และการเป็นคนมีความคิดหรือไม่มีความคิด มันไม่ควรจะถูกตัดสินอย่างผิวเผินด้วยเพียงการตัดสินใจปล่อยหรือไม่ปล่อยร่างกายของตัวเองไปตามกระบวนการธรรมชาติ มันควรจะแตกต่างกันไปตามสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมต่างๆของแต่ละบุคคล
การมีเซ็กส์ในวัยเรียน ไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นฐานในการตัดสินคุณภาพ ชีวิต หรือความคิดผู้อื่น
ถ้าลองวิเคราะห์ดูว่า ถ้าตัดเรื่องจารีต ประเพณี พิธีการออกไป ... อะไรคือตัวชี้วัด ว่าจุดไหนคือจุดที่คนสองคนที่มีความรัก ความรู้สึกดีต่อกันจะมีความพร้อมที่จะปล่อยร่างกายไปตามกลไกธรรมชาติได้แล้ว?
ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความพร้อมในด้านนี้ คงเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ตามที่บุคคลทั้งสองมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะจัดการกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง โดยที่ความสัมพันธ์ทางเพศไม่ได้มามีผลบั่นทอน (ie. ไม่เสียการเรียน ยังคงรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองอย่างเสมอต้นเสมอปลาย)
ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศ คือมีความรู้ว่าการตัดสินใจของตนจะนำไปสู่ผลกระทบอะไรได้บ้าง จะมีหนทางป้องกันหรือแก้ปัญหาอย่างไร
และ
ความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งข้อนี้เองอาจเป็น criteria ให้เราสามารถเชื่อมโยงว่าวัยเรียนไม่ใช่วัยที่เหมาะสมต่อการมีเซ็กส์ เพราะปกติแล้ว (ในสังคมไทย) นักเรียนนักศึกษาน้อยคนที่จะดำรงชีวิตอยู่ด้วยลำแข้งของตัวเอง หาเงินเลี้ยงตัวเอง หน้าที่รับผิดชอบเดียวที่ถูกคาดหวังให้แบกรับ คือหน้าที่ทางการเรียน
เสริมว่าการที่เรามองว่าชาติตะวันตกมีความเปิดกว้างในเรื่องเพศมากกว่า สาเหตุหลักๆก็น่าจะมาจากปัจจัยข้อนี้ ไม่ใช่แค่เพราะวัฒนธรรม แต่เพราะวุฒิภาวะและความรับผิดชอบของเยาวชนที่สูงกว่า และการเรียน ไม่ได้เป็นหน้าที่รับผิดชอบอันยิ่งใหญ่หน้าที่เดียวที่ถูกคาดหวังให้แบกรับ เยาวชนชาติตะวันตกอาจไม่ได้เรียนรู้วิชาการหนักหนาเท่าเยาวชนไทย แต่เรียนรู้ชีวิตมามากกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย
แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยท้ายสุดนี้ อาจสามารถถูกหักล้างได้ด้วยความรู้ความเข้าใจในข้อที่สอง หรือ ยกเว้นว่าตัวบุคคลนั้นดำรงชีวิตและรับผิดชอบชีวิตตัวเองได้อยู่แล้ว (eg. มีเงินเก็บ มีแผนการรองรับผลกระทบโดย
ไม่ต้องเดือดร้อนผู้ปกครอง)
อนึ่ง การตีค่าว่าการมีเซ็กส์ = การเป็น
เป็นตรรกะที่ป่วยอย่างสิ้นเชิง
การมีเซ็กส์ (โดยเฉพาะเมื่อมีความพร้อมในด้านต่างๆที่กล่าวมา)เป็น
กระบวนการธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพราะความรู้สึกของคนสองคน ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการขายบริการทางเพศที่ไม่ได้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความรู้สึกและไม่ได้เลือกตัวบุคคล
มองที่การให้ความสำคัญกับการรักษาความบริสุทธิ์จนถึงคืนแต่งงานอย่างสมัยก่อนอย่างตรงไปตรงมา มันก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตคู๋ของคนสองคนมีความสุขหรือทำให้ได้ครอบครัวที่มีคุณภาพมากไปกว่ากัน
อาจมองได้อีกแง่ด้วยซ้ำว่า บุคลากรรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ให้ค่ากับเรื่องนี้ ก็เป็นผลผลิตมาจากเจเนอเรชันก่อนๆนั่นเอง
ยุคสมัยเปลี่ยนไป ยึดถือจารีตคนละชุด และประสบการณ์ของคนแตกต่างกัน
การจะทำอะไรกับใคร เป็นสิทธิส่วนบุคคล
.... หรืออาจเกี่ยวโยงถึงญาติ,พ่อแม่
แต่ไม่ใช่เรื่องสาธารณะที่ใครๆจะเอาไปใช้ตัดสินคุณค่าในตัวใครได้
//เชิญสมาชิกทุกท่านแสดงความเห็นและข้อแย้งค่ะ
อะไร..... อยู่ภายใต้จารีตการตีความของสังคมไทยว่าเซ็กส์ในวัยเรียน/ก่อนแต่งงานเป็นความผิดบาป
ข้อความดังกล่าว.. สรุปใจความได้ประมาณว่า 98%ของการมีคู่นอนในวัยเรียน มันไม่ยืนยาว ส่วนใหญ่ใครๆก็ไปเจอตัวจริงกันตอนทำงานทั้งนั้น เดี๋ยวผู้ชายไปเจอผู้หญิงใหม่ๆก็พร้อมจะทิ้งไปเสมอ พร้อมกับด่าทอผู้มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ว่าเป็นพวกไม่มีความคิด ไม่นึกถึงพระคุณของพ่อแม่ที่ส่งเสียให้มาเรียน
ถ้ามองในแง่ของนักอนุรักษ์นิยมหรือลูกที่กตัญญู ข้อความนี้ก็อาจมีส่วนสมเหตุสมผล เพราะ'พ่อแม่'ก็มีจารีตที่ยึดถือในฐานะส่วนหนึ่งในสังคม การที่ต้องรับรู้ว่าลูกไปมีอะไรกับใครทั้งๆที่ยังเรียนอยู่ ก็ต้องทุกข์ใจ
การที่ลูกทำให้พ่อแม่ทุกข์ใจ เป็นความผิดอย่างไม่ต้องสงสัย
แต่ข้อความส่วนที่เหลือนั้น..
ตัวเลขอ้างอิง 98% - เป็นตัวเลขที่ไม่ต้องสงสัยว่าไม่มีมูลอย่างสิ้นเชิง เหมือนสส.หาเสียงที่แค่พยายามใส่ตัวเลขไปในวาทกรรมให้ดูมีน้ำหนัก ผู้เขียนก็อาจแค่ประเมินจากประสบการณ์ที่ตัวเองประสบมา
ความสัมพันธ์ที่ไม่ยืนยาว, ไม่มีความคิด - การจะพบคู่ครองที่ดีสักคนในชีวิต มันไม่ได้มีตัวแปรอะไรมาจำกัดหรอกว่า จะเข้ามาที่ช่วงอายุไหน
คู่รักที่คบกันตั้งแต่สมัยเรียนจนแต่งงานเป็นครอบครัวที่อบอุ่น สร้างสมาชิกที่มีคุณภาพให้กับสังคม ก็พบเห็นได้ทั่วไป
และการเป็นคนมีความคิดหรือไม่มีความคิด มันไม่ควรจะถูกตัดสินอย่างผิวเผินด้วยเพียงการตัดสินใจปล่อยหรือไม่ปล่อยร่างกายของตัวเองไปตามกระบวนการธรรมชาติ มันควรจะแตกต่างกันไปตามสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมต่างๆของแต่ละบุคคล
การมีเซ็กส์ในวัยเรียน ไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นฐานในการตัดสินคุณภาพ ชีวิต หรือความคิดผู้อื่น
ถ้าลองวิเคราะห์ดูว่า ถ้าตัดเรื่องจารีต ประเพณี พิธีการออกไป ... อะไรคือตัวชี้วัด ว่าจุดไหนคือจุดที่คนสองคนที่มีความรัก ความรู้สึกดีต่อกันจะมีความพร้อมที่จะปล่อยร่างกายไปตามกลไกธรรมชาติได้แล้ว?
ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความพร้อมในด้านนี้ คงเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ตามที่บุคคลทั้งสองมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะจัดการกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง โดยที่ความสัมพันธ์ทางเพศไม่ได้มามีผลบั่นทอน (ie. ไม่เสียการเรียน ยังคงรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองอย่างเสมอต้นเสมอปลาย)
ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศ คือมีความรู้ว่าการตัดสินใจของตนจะนำไปสู่ผลกระทบอะไรได้บ้าง จะมีหนทางป้องกันหรือแก้ปัญหาอย่างไร
และ
ความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งข้อนี้เองอาจเป็น criteria ให้เราสามารถเชื่อมโยงว่าวัยเรียนไม่ใช่วัยที่เหมาะสมต่อการมีเซ็กส์ เพราะปกติแล้ว (ในสังคมไทย) นักเรียนนักศึกษาน้อยคนที่จะดำรงชีวิตอยู่ด้วยลำแข้งของตัวเอง หาเงินเลี้ยงตัวเอง หน้าที่รับผิดชอบเดียวที่ถูกคาดหวังให้แบกรับ คือหน้าที่ทางการเรียน
เสริมว่าการที่เรามองว่าชาติตะวันตกมีความเปิดกว้างในเรื่องเพศมากกว่า สาเหตุหลักๆก็น่าจะมาจากปัจจัยข้อนี้ ไม่ใช่แค่เพราะวัฒนธรรม แต่เพราะวุฒิภาวะและความรับผิดชอบของเยาวชนที่สูงกว่า และการเรียน ไม่ได้เป็นหน้าที่รับผิดชอบอันยิ่งใหญ่หน้าที่เดียวที่ถูกคาดหวังให้แบกรับ เยาวชนชาติตะวันตกอาจไม่ได้เรียนรู้วิชาการหนักหนาเท่าเยาวชนไทย แต่เรียนรู้ชีวิตมามากกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย
แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยท้ายสุดนี้ อาจสามารถถูกหักล้างได้ด้วยความรู้ความเข้าใจในข้อที่สอง หรือ ยกเว้นว่าตัวบุคคลนั้นดำรงชีวิตและรับผิดชอบชีวิตตัวเองได้อยู่แล้ว (eg. มีเงินเก็บ มีแผนการรองรับผลกระทบโดยไม่ต้องเดือดร้อนผู้ปกครอง)
อนึ่ง การตีค่าว่าการมีเซ็กส์ = การเป็น เป็นตรรกะที่ป่วยอย่างสิ้นเชิง
การมีเซ็กส์ (โดยเฉพาะเมื่อมีความพร้อมในด้านต่างๆที่กล่าวมา)เป็นกระบวนการธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพราะความรู้สึกของคนสองคน ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการขายบริการทางเพศที่ไม่ได้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความรู้สึกและไม่ได้เลือกตัวบุคคล
มองที่การให้ความสำคัญกับการรักษาความบริสุทธิ์จนถึงคืนแต่งงานอย่างสมัยก่อนอย่างตรงไปตรงมา มันก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตคู๋ของคนสองคนมีความสุขหรือทำให้ได้ครอบครัวที่มีคุณภาพมากไปกว่ากัน
อาจมองได้อีกแง่ด้วยซ้ำว่า บุคลากรรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ให้ค่ากับเรื่องนี้ ก็เป็นผลผลิตมาจากเจเนอเรชันก่อนๆนั่นเอง
ยุคสมัยเปลี่ยนไป ยึดถือจารีตคนละชุด และประสบการณ์ของคนแตกต่างกัน
การจะทำอะไรกับใคร เป็นสิทธิส่วนบุคคล
.... หรืออาจเกี่ยวโยงถึงญาติ,พ่อแม่ แต่ไม่ใช่เรื่องสาธารณะที่ใครๆจะเอาไปใช้ตัดสินคุณค่าในตัวใครได้
//เชิญสมาชิกทุกท่านแสดงความเห็นและข้อแย้งค่ะ