ตอนแรกเห็นโปสเตอร์หนัง "อาบัติ" ก็ไม่คิดจะดูเพราะว่าไม่ชอบดูหนังผี แต่พอได้ข่าวว่าหนังเรื่องนี้ถูกแบนก็เลยสงสัยว่าหนังนำเสนออะไรผิดทำไมถึงถูกแบน
จากข่าวนี้
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000114505
มติของทางคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ซึ่งประกาศออกมาเมื่อช่วงเย็นวันที่ 12 ต.ค. ระบุเอาไว้ชัดเจนว่ามีเหตุผลสนับสนุนถึง 4 ประการ จึงสั่งระงับการฉายคือ
1.ปรากฏภาพสามเณรเสพของมึนเมา
2.มีภาพสามเณรใช้ความรุนแรง
3.พูดความสัมพันธ์และใช้คำพูดเชิงชู้สาวที่ไม่เหมาะสม
4.มีการแสดงความไม่เคารพต่อพระพุทธรูป
มันใช่เหรอ? มีแต่เหตุผลฉาบฉวยทั้งนั้น แล้วหนังที่มีคนฆ่ากัน มีเพศสัมพันธ์กัน ข่มขืน ทำไมถึงฉายได้
เนื่องจากยังไม่ได้ดูหนังเต็มเรื่องจริง ๆ จึงไม่รู้ว่าหนังเรื่องนี้ให้คุณค่ากับสังคมมากน้อยแค่ไหนและควรแบนหรือไม่ แต่เหตุผล 4 ข้อให้มาว่าเป็นภาพที่ไม่เหมาะสมก็มีจริงในสังคม ประชาชนทั่วไปเห็นมันอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว ถึงจะไม่เอามาให้เห็นเป็นเรื่องสมมุติในภาพยนต์ พวกเราก็เห็นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงข้าง ๆ ตัวเราอยู่ เพราะฉะนั้นการแก้ไขก็ควรแก้ไม่ให้มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในชีวิตจริงมากกว่าปิดบังไม่ให้ประชาชนเห็นเรื่องสมมุติ
การนำเสนอเรื่องราวเพื่อสอนคนในสังคมเราสามารถสอนได้ทั้งในแง่ที่ดีและแง่ร้ายแต่ไม่ว่าจะสอนอย่างไรก็ควรจะต้องได้ผลลัพธ์ออกมาในทางที่ดีเสมอ ซึ่งมันขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของความสะเทือนใจที่ผู้ชมได้รับ สะเทือนใจมากก็สอนได้มากความเกรงกลัวต่อบาปก็มีมากโอกาสที่จะสอนให้ผู้ชมทำแต่ความดีก็มีมากขึ้น หากสะเทือนใจน้อยก็สอนได้น้อยความเกรงกลัวต่อบาปก็น้อย ดีไม่ดีอาจจะเป็นการสอนให้คนทำบาปโดยไม่รู้ตัวเพราะผลจากการทำบาปมันจิ๊บ ๆ เหลือเกิน เช่นในละครที่ตบกันแล้วเสียค่าปรับแค่ 500 ราคาค่าตบมันถูกมากเอามันสักฉาดสิเพื่อความสะใจคันไม้คันมือไม่ไหวแล้ว ดีไม่ดีการสื่อเนื้อหาแบบนี้อาจจะเป็นการสอนให้ผู้ชมคิดว่าเสีย 500 บาทเองแค่นี้ฉันเสียได้ถือสะว่าเป็นค่าตบแล้วกัน
ทีนี้จึงอยากจะให้คณะกรรมการพิจารณาจากสิ่งที่ผู้ชมได้รับจากการชมภาพยนต์มากกว่า ศาสนาพุทธสอนให้เราพิจารณาเหตุและผล การให้ตัดฉากเหล่านั้นและนำเสนอแต่ผลของมันตามเหตุผลทั้ง 4 ข้อทำให้เสียอรรถรส ผู้ชมบางคนก็อาจจะไม่เข้าใจหรือบางคนเข้าใจก็อาจจะเกิดแรงสะเทือนใจไม่เต็มที่ อรรถรสของภาพยนต์ก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงสะเทือนใจเช่นกัน
ลองเปรียบเทียบถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่ขับมอเตอร์ไซด์ วันนึงเห็นข่าวศพคนขับมอเตอร์ไซด์ซิ่งเกิดอุบัติเหตุล้มลงถูกรถเหยียบสมองไหลบนหน้าหนังสือพิมพ์ที่เป็นภาพนิ่งถูกเซนเซอร์เรียบร้อยแล้ว เปรียบกับเห็นที่เป็นภาพข่าวทีวีเป็นภาพเคลื่อนไหวถูกเซนเซอร์เรียบร้อยแล้ว และเปรียบกับเราเป็นชาวบ้านแถวนั้นไปเห็นภาพสด ๆ ไม่มีการเซนเซอร์ใด ๆ อะไรจะเกิดแรงสะเทือนใจมากกว่ากัน อะไรจะเป็นสิ่งย้ำเตือนให้เราขับขี่มอเตอร์ไซด์ด้วยความระมัดระวังได้มากกว่ากัน (อันนี้ไม่ได้สนับสนุนให้เลิกเซนเซอร์ภาพนะ)
กลับไปที่เรื่องของภาพยนต์ ถ้าหากภาพยนต์ปรากฎภาพการกระทำต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสมนี้ออกมาและได้นำเสนอผลจากการกระทำเหล่านี้ในสัดส่วนที่เหมาะสมแล้วก็น่าจะพอสอนใจผู้ชมและควรปล่อยให้ผ่านได้นะครับ
ด้วยความที่ไม่มีโอกาสได้ดูภาพยนต์ตัวเต็มเลยไม่รู้ว่าตอนจบเป็นอย่างไร แต่ถ้าต้องการให้ภาพยนต์เรื่องนี้สอนคนดูอยากจะให้นำเสนอภาคตอนเป็นเปรตที่สะเทือนใจมากหน่อย เช่น ในความคิดผม
เริ่มต้นทำบาป + ต้องเป็นเปรต = สะเทือนใจน้อย ไม่ได้เกรงกลัวที่จะทำบาป เพราะแค่รู้ว่าเป็นบาป
เริ่มต้นทำบาป + ต้องเป็นเปรต + ความทุกข์ทรมานแสนสาหัสจากการเป็นเปรต = สะเทือนใจมากกว่า
ปล.
ความหมายของคำว่าสะเทือนใจ ตอนสมัยเรียน ปวช วิชาศิลปะ อาจารย์พูดถึงแรงสะเทือนใจหลังจากได้ชมผลงานของนักศึกษา ผมตีความว่าน่าจะประมาณว่ามีความรู้สึกต่อผลงานนั้นมากน้อยแค่ไหน เป็นได้ทั้งในความรู้สึกที่ดีและไม่ดี เช่น ชอบมาก ชอบ เฉย ๆ ไม่ชอบ
อาบัติ
จากข่าวนี้
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000114505
มติของทางคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ซึ่งประกาศออกมาเมื่อช่วงเย็นวันที่ 12 ต.ค. ระบุเอาไว้ชัดเจนว่ามีเหตุผลสนับสนุนถึง 4 ประการ จึงสั่งระงับการฉายคือ
1.ปรากฏภาพสามเณรเสพของมึนเมา
2.มีภาพสามเณรใช้ความรุนแรง
3.พูดความสัมพันธ์และใช้คำพูดเชิงชู้สาวที่ไม่เหมาะสม
4.มีการแสดงความไม่เคารพต่อพระพุทธรูป
มันใช่เหรอ? มีแต่เหตุผลฉาบฉวยทั้งนั้น แล้วหนังที่มีคนฆ่ากัน มีเพศสัมพันธ์กัน ข่มขืน ทำไมถึงฉายได้
เนื่องจากยังไม่ได้ดูหนังเต็มเรื่องจริง ๆ จึงไม่รู้ว่าหนังเรื่องนี้ให้คุณค่ากับสังคมมากน้อยแค่ไหนและควรแบนหรือไม่ แต่เหตุผล 4 ข้อให้มาว่าเป็นภาพที่ไม่เหมาะสมก็มีจริงในสังคม ประชาชนทั่วไปเห็นมันอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว ถึงจะไม่เอามาให้เห็นเป็นเรื่องสมมุติในภาพยนต์ พวกเราก็เห็นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงข้าง ๆ ตัวเราอยู่ เพราะฉะนั้นการแก้ไขก็ควรแก้ไม่ให้มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในชีวิตจริงมากกว่าปิดบังไม่ให้ประชาชนเห็นเรื่องสมมุติ
การนำเสนอเรื่องราวเพื่อสอนคนในสังคมเราสามารถสอนได้ทั้งในแง่ที่ดีและแง่ร้ายแต่ไม่ว่าจะสอนอย่างไรก็ควรจะต้องได้ผลลัพธ์ออกมาในทางที่ดีเสมอ ซึ่งมันขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของความสะเทือนใจที่ผู้ชมได้รับ สะเทือนใจมากก็สอนได้มากความเกรงกลัวต่อบาปก็มีมากโอกาสที่จะสอนให้ผู้ชมทำแต่ความดีก็มีมากขึ้น หากสะเทือนใจน้อยก็สอนได้น้อยความเกรงกลัวต่อบาปก็น้อย ดีไม่ดีอาจจะเป็นการสอนให้คนทำบาปโดยไม่รู้ตัวเพราะผลจากการทำบาปมันจิ๊บ ๆ เหลือเกิน เช่นในละครที่ตบกันแล้วเสียค่าปรับแค่ 500 ราคาค่าตบมันถูกมากเอามันสักฉาดสิเพื่อความสะใจคันไม้คันมือไม่ไหวแล้ว ดีไม่ดีการสื่อเนื้อหาแบบนี้อาจจะเป็นการสอนให้ผู้ชมคิดว่าเสีย 500 บาทเองแค่นี้ฉันเสียได้ถือสะว่าเป็นค่าตบแล้วกัน
ทีนี้จึงอยากจะให้คณะกรรมการพิจารณาจากสิ่งที่ผู้ชมได้รับจากการชมภาพยนต์มากกว่า ศาสนาพุทธสอนให้เราพิจารณาเหตุและผล การให้ตัดฉากเหล่านั้นและนำเสนอแต่ผลของมันตามเหตุผลทั้ง 4 ข้อทำให้เสียอรรถรส ผู้ชมบางคนก็อาจจะไม่เข้าใจหรือบางคนเข้าใจก็อาจจะเกิดแรงสะเทือนใจไม่เต็มที่ อรรถรสของภาพยนต์ก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงสะเทือนใจเช่นกัน
ลองเปรียบเทียบถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่ขับมอเตอร์ไซด์ วันนึงเห็นข่าวศพคนขับมอเตอร์ไซด์ซิ่งเกิดอุบัติเหตุล้มลงถูกรถเหยียบสมองไหลบนหน้าหนังสือพิมพ์ที่เป็นภาพนิ่งถูกเซนเซอร์เรียบร้อยแล้ว เปรียบกับเห็นที่เป็นภาพข่าวทีวีเป็นภาพเคลื่อนไหวถูกเซนเซอร์เรียบร้อยแล้ว และเปรียบกับเราเป็นชาวบ้านแถวนั้นไปเห็นภาพสด ๆ ไม่มีการเซนเซอร์ใด ๆ อะไรจะเกิดแรงสะเทือนใจมากกว่ากัน อะไรจะเป็นสิ่งย้ำเตือนให้เราขับขี่มอเตอร์ไซด์ด้วยความระมัดระวังได้มากกว่ากัน (อันนี้ไม่ได้สนับสนุนให้เลิกเซนเซอร์ภาพนะ)
กลับไปที่เรื่องของภาพยนต์ ถ้าหากภาพยนต์ปรากฎภาพการกระทำต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสมนี้ออกมาและได้นำเสนอผลจากการกระทำเหล่านี้ในสัดส่วนที่เหมาะสมแล้วก็น่าจะพอสอนใจผู้ชมและควรปล่อยให้ผ่านได้นะครับ
ด้วยความที่ไม่มีโอกาสได้ดูภาพยนต์ตัวเต็มเลยไม่รู้ว่าตอนจบเป็นอย่างไร แต่ถ้าต้องการให้ภาพยนต์เรื่องนี้สอนคนดูอยากจะให้นำเสนอภาคตอนเป็นเปรตที่สะเทือนใจมากหน่อย เช่น ในความคิดผม
เริ่มต้นทำบาป + ต้องเป็นเปรต = สะเทือนใจน้อย ไม่ได้เกรงกลัวที่จะทำบาป เพราะแค่รู้ว่าเป็นบาป
เริ่มต้นทำบาป + ต้องเป็นเปรต + ความทุกข์ทรมานแสนสาหัสจากการเป็นเปรต = สะเทือนใจมากกว่า
ปล.
ความหมายของคำว่าสะเทือนใจ ตอนสมัยเรียน ปวช วิชาศิลปะ อาจารย์พูดถึงแรงสะเทือนใจหลังจากได้ชมผลงานของนักศึกษา ผมตีความว่าน่าจะประมาณว่ามีความรู้สึกต่อผลงานนั้นมากน้อยแค่ไหน เป็นได้ทั้งในความรู้สึกที่ดีและไม่ดี เช่น ชอบมาก ชอบ เฉย ๆ ไม่ชอบ