ทบ.แจงเปลี่ยนรูปแบบเครื่องแบบชุดพราง
กรุงเทพฯ 11ต.ค.
รองโฆษกทบ.แจงเหตุเปลี่ยนเครื่องแบบชุดพราง หลังพบแบบใหม่ที่อนุมัติในปีนี้มีข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งความไม่สะดวกในการสวมใส่และราคา ติงสื่อเสนอข่าวเชื่อมโยงเรื่องต่างๆ ทำสังคมเข้าใจผิด ขอให้ตระหนักตามข้อเท็จจริง
พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า หลังจากที่พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของหน่วยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้บัญชาการทหารบกได้ประชุมหน่วยขึ้นตรงระดับกองทัพภาคลงไป เพื่อหารือเกี่ยวกับเครื่องแบบสนามเพื่อพราง(ชุดพราง)แบบใหม่ที่กองทัพบกอนุมัติให้ใช้เมื่อประมาณกลางปี 2558 เนื่องจากกองทัพบกได้รับข้อมูลและเสียงสะท้อนจากหน่วยและกำลังพลหลังจากใช้งานเครื่องแบบสนามเพื่อพรางระยะหนึ่งแล้ว พบว่ามีข้อจำกัดและเสนอว่าควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานยิ่งขึ้น เช่น วัสดุบางอย่างที่ใช้ประกอบเสื่อมสภาพได้ง่าย ข้อจำกัดของแขนเสื้อ กำลังพลที่มีรูปร่างอ้วนจะรู้สึกไม่สบายในการสวมใส่ รวมทั้งด้านราคา
“ระหว่างประชุมมีผู้บังคับหน่วยหลายท่านแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และมีความเห็นร่วมกันว่า เครื่องแบบสนามที่กองทัพบกอนุมัติใช้เพื่อพลางไปก่อนหน้านี้นั้น มีข้อจำกัดหลายประการจริง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและไม่เป็นภาระกำลังพลมากนัก จึงได้พิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบบางประการของเครื่องแบบสนามใหม่ โดยให้นำเครื่องแบบสนามที่คณะทำงานของกองทัพบกออกแบบไว้เมื่อปี 2557 แต่ยังไม่ได้ประกาศใช้ เนื่องจากเป็นช่วงสถานการณ์บ้านเมืองไม่ปกตินำมาพิจารณาร่วมกับแบบใหม่ที่มีข้อจำกัดดังกล่าว และได้ข้อสรุปให้ใช้เครื่องแบบสนามที่คณะทำงานของกองทัพบกเคยออกแบบไว้เมื่อปี 2557 โดยให้แก้ไขกระเป๋าเสื้อด้านล่างเป็นแบบเฉียงซ่อนใน ไม่มีซิป ส่วนเครื่องหมายเป็นแบบเย็บติดทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เครื่องแบบสนามของปี 58 ยังสามารถนำมาใช้งานได้ กองทัพบกไม่ได้ยกเลิก แต่เครื่องแบบสนามที่พิจารณาในการประชุมเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม เป็นเครื่องแบบสนามอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ให้กำลังพลสามารถนำไปสวมใส่ได้ตามความเหมาะสมของภารกิจ เช่น เดินทางไปต่างประเทศ ราชการสนาม ภารกิจกองกำลังใช้แดน การปฏิบัติงานในหน่วยที่ตั้งปกติ” รองโฆษกกองทัพบก กล่าว
พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมากองทัพบกได้ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องแบบสนามมาเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในห้วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจากชุดลายพรางปกติ พัฒนามาเป็นชุดลายพรางดิจิตอล ซึ่งมีความกลมกลืนกับภูมิประเทศและเป็นเครื่องแบบสนามที่มีอนุมัติใช้อยู่ในปัจจุบัน ต่อมาในปี 2557 ได้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาเครื่องแบบสนาม เพื่อพิจารณากำหนดรูปแบบเครื่องแบบสนามให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นจนได้รูปแบบที่ชัดเจนแล้ว แต่ยังไม่ทันได้ขออนุมัติใช้ เนื่องจากสถานะการบ้านเมืองไม่ปกติ และในปี 2558 ได้พิจารณากำหนดรูปแบบขึ้นมาใหม่อีกแบบหนึ่งและอนุมัติให้ใช้ แต่ยังไม่ได้อนุมัติเพื่อใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นชุดที่กำลังพลส่วนมากท้วงติง ดังนั้นเพื่อให้ชุดเครื่องแบบสนามของกองทัพบกมีความเหมาะสมสำหรับใช้งานมากที่สุด และไม่เป็นภาระแก่กำลังพล จึงได้เชิญหน่วยขึ้นตรงซึ่งมีกำลังพลที่ต้องสวมใส่ชุดเครื่องแบบสนามมากที่สุดมาร่วมประชุมพิจารณา จนสามารถกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมดังกล่าว
“ผู้บังคับบัญชาระดับสูงได้ใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบทุกด้าน ภายใต้การรับฟังความคิดเห็น และคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกำลังพล ในทุกนโยบายและทุกการเปลี่ยนแปลงของกองทัพบก จึงขอให้สื่อมวลชนเข้าใจการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น และขออย่าได้นำไปเชื่อมโยงกับเรื่องใดๆ จนอาจทำให้สังคมเข้าใจผิด นอกจากนี้ในบางข่าวที่นำเสนอ เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคลที่อาจยังไม่มีข้อมูลข้อเท็จจริงเพียงพอและคาดการณ์ไปเอง ซึ่งสร้างความเข้าใจผิดต่อสาธารณะได้ จึงขอให้สื่อตระหนักการนำเสนอข่าวที่เป็นข้อเท็จจริงด้วย” รองโฆษกกองทัพบก กล่าว.
สำนักข่าวไทย
http://www.tnamcot.com/content/304223
"บิ๊กหมู"นั่งหัวโต๊ะ ทบ.มีมติใช้ชุดพรางเก่า ก่อนเครื่องแบบกระเป๋าเฉียงยุค"บิ๊กโด่ง"
updated: 09 ต.ค. 2558 เวลา 21:28:12 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 9 ตุลาคม ณ ห้องประชุม ศปกทบ. มีการประชุมเพื่อพิจารณาชุดฝึกพรางของกองทัพบก โดยมี พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. เป็นประธานในที่ประชุม
โดยที่ประชุมมีมติในประเด็นดังกล่าว ดังนี้
1. ใช้ชุดฝึกพรางแบบเก่า (ก่อนแบบกระเป๋าเฉียง) โดยแก้ไขเฉพาะ กระเป๋าเสื้อด้านล่าง เป็นแบบเฉียง ไม่มีซิป
2. เครื่องหมายเป็นแบบเย็บติดทั้งหมด (รูปแบบเดิม) ไม่ใช้แปรงไนลอน โดยป้ายชื่อ ใช้พื้นหลังลายพราง
3. ชุดฝึกใหม่ที่ กพ. ตัดไปแล้ว อนุโลมให้ใช้ต่อไปได้
4. สำหรับหน่วยที่ปฏิบัติภารกิจต่างประเทศ ให้ใช้ชุดฝึกพรางกระเป๋าเฉียง ได้
ทั้งนี้ ให้รอหนังสือสรุป/สั่งการ จากกรมยุทธการทหารบก (ยก.ทบ.) อีกครั้ง
สำหรับชุดฝึกพรางแบบกระเป๋าเฉียง ถูกออกแบบและประกาศใช้ ในยุคที่ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เป็น ผบ.ทบ.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1444400965
เครื่องแบบสนามแบบกระเป๋าเฉียง พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เป็น ผบ.ทบ.
เครื่องแบบสนามแบบใหม่ พล.อ.ธีรชัย นาควานิช เป็น ผบ.ทบ.
เครื่องแบบสนาม ทบ. แบบใหม่ 9 ต.ค. 2558
กรุงเทพฯ 11ต.ค.
รองโฆษกทบ.แจงเหตุเปลี่ยนเครื่องแบบชุดพราง หลังพบแบบใหม่ที่อนุมัติในปีนี้มีข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งความไม่สะดวกในการสวมใส่และราคา ติงสื่อเสนอข่าวเชื่อมโยงเรื่องต่างๆ ทำสังคมเข้าใจผิด ขอให้ตระหนักตามข้อเท็จจริง
พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า หลังจากที่พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของหน่วยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้บัญชาการทหารบกได้ประชุมหน่วยขึ้นตรงระดับกองทัพภาคลงไป เพื่อหารือเกี่ยวกับเครื่องแบบสนามเพื่อพราง(ชุดพราง)แบบใหม่ที่กองทัพบกอนุมัติให้ใช้เมื่อประมาณกลางปี 2558 เนื่องจากกองทัพบกได้รับข้อมูลและเสียงสะท้อนจากหน่วยและกำลังพลหลังจากใช้งานเครื่องแบบสนามเพื่อพรางระยะหนึ่งแล้ว พบว่ามีข้อจำกัดและเสนอว่าควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานยิ่งขึ้น เช่น วัสดุบางอย่างที่ใช้ประกอบเสื่อมสภาพได้ง่าย ข้อจำกัดของแขนเสื้อ กำลังพลที่มีรูปร่างอ้วนจะรู้สึกไม่สบายในการสวมใส่ รวมทั้งด้านราคา
“ระหว่างประชุมมีผู้บังคับหน่วยหลายท่านแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และมีความเห็นร่วมกันว่า เครื่องแบบสนามที่กองทัพบกอนุมัติใช้เพื่อพลางไปก่อนหน้านี้นั้น มีข้อจำกัดหลายประการจริง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและไม่เป็นภาระกำลังพลมากนัก จึงได้พิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบบางประการของเครื่องแบบสนามใหม่ โดยให้นำเครื่องแบบสนามที่คณะทำงานของกองทัพบกออกแบบไว้เมื่อปี 2557 แต่ยังไม่ได้ประกาศใช้ เนื่องจากเป็นช่วงสถานการณ์บ้านเมืองไม่ปกตินำมาพิจารณาร่วมกับแบบใหม่ที่มีข้อจำกัดดังกล่าว และได้ข้อสรุปให้ใช้เครื่องแบบสนามที่คณะทำงานของกองทัพบกเคยออกแบบไว้เมื่อปี 2557 โดยให้แก้ไขกระเป๋าเสื้อด้านล่างเป็นแบบเฉียงซ่อนใน ไม่มีซิป ส่วนเครื่องหมายเป็นแบบเย็บติดทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เครื่องแบบสนามของปี 58 ยังสามารถนำมาใช้งานได้ กองทัพบกไม่ได้ยกเลิก แต่เครื่องแบบสนามที่พิจารณาในการประชุมเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม เป็นเครื่องแบบสนามอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ให้กำลังพลสามารถนำไปสวมใส่ได้ตามความเหมาะสมของภารกิจ เช่น เดินทางไปต่างประเทศ ราชการสนาม ภารกิจกองกำลังใช้แดน การปฏิบัติงานในหน่วยที่ตั้งปกติ” รองโฆษกกองทัพบก กล่าว
พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมากองทัพบกได้ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องแบบสนามมาเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในห้วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจากชุดลายพรางปกติ พัฒนามาเป็นชุดลายพรางดิจิตอล ซึ่งมีความกลมกลืนกับภูมิประเทศและเป็นเครื่องแบบสนามที่มีอนุมัติใช้อยู่ในปัจจุบัน ต่อมาในปี 2557 ได้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาเครื่องแบบสนาม เพื่อพิจารณากำหนดรูปแบบเครื่องแบบสนามให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นจนได้รูปแบบที่ชัดเจนแล้ว แต่ยังไม่ทันได้ขออนุมัติใช้ เนื่องจากสถานะการบ้านเมืองไม่ปกติ และในปี 2558 ได้พิจารณากำหนดรูปแบบขึ้นมาใหม่อีกแบบหนึ่งและอนุมัติให้ใช้ แต่ยังไม่ได้อนุมัติเพื่อใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นชุดที่กำลังพลส่วนมากท้วงติง ดังนั้นเพื่อให้ชุดเครื่องแบบสนามของกองทัพบกมีความเหมาะสมสำหรับใช้งานมากที่สุด และไม่เป็นภาระแก่กำลังพล จึงได้เชิญหน่วยขึ้นตรงซึ่งมีกำลังพลที่ต้องสวมใส่ชุดเครื่องแบบสนามมากที่สุดมาร่วมประชุมพิจารณา จนสามารถกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมดังกล่าว
“ผู้บังคับบัญชาระดับสูงได้ใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบทุกด้าน ภายใต้การรับฟังความคิดเห็น และคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกำลังพล ในทุกนโยบายและทุกการเปลี่ยนแปลงของกองทัพบก จึงขอให้สื่อมวลชนเข้าใจการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น และขออย่าได้นำไปเชื่อมโยงกับเรื่องใดๆ จนอาจทำให้สังคมเข้าใจผิด นอกจากนี้ในบางข่าวที่นำเสนอ เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคลที่อาจยังไม่มีข้อมูลข้อเท็จจริงเพียงพอและคาดการณ์ไปเอง ซึ่งสร้างความเข้าใจผิดต่อสาธารณะได้ จึงขอให้สื่อตระหนักการนำเสนอข่าวที่เป็นข้อเท็จจริงด้วย” รองโฆษกกองทัพบก กล่าว.
สำนักข่าวไทย
http://www.tnamcot.com/content/304223
"บิ๊กหมู"นั่งหัวโต๊ะ ทบ.มีมติใช้ชุดพรางเก่า ก่อนเครื่องแบบกระเป๋าเฉียงยุค"บิ๊กโด่ง"
updated: 09 ต.ค. 2558 เวลา 21:28:12 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 9 ตุลาคม ณ ห้องประชุม ศปกทบ. มีการประชุมเพื่อพิจารณาชุดฝึกพรางของกองทัพบก โดยมี พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. เป็นประธานในที่ประชุม
โดยที่ประชุมมีมติในประเด็นดังกล่าว ดังนี้
1. ใช้ชุดฝึกพรางแบบเก่า (ก่อนแบบกระเป๋าเฉียง) โดยแก้ไขเฉพาะ กระเป๋าเสื้อด้านล่าง เป็นแบบเฉียง ไม่มีซิป
2. เครื่องหมายเป็นแบบเย็บติดทั้งหมด (รูปแบบเดิม) ไม่ใช้แปรงไนลอน โดยป้ายชื่อ ใช้พื้นหลังลายพราง
3. ชุดฝึกใหม่ที่ กพ. ตัดไปแล้ว อนุโลมให้ใช้ต่อไปได้
4. สำหรับหน่วยที่ปฏิบัติภารกิจต่างประเทศ ให้ใช้ชุดฝึกพรางกระเป๋าเฉียง ได้
ทั้งนี้ ให้รอหนังสือสรุป/สั่งการ จากกรมยุทธการทหารบก (ยก.ทบ.) อีกครั้ง
สำหรับชุดฝึกพรางแบบกระเป๋าเฉียง ถูกออกแบบและประกาศใช้ ในยุคที่ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เป็น ผบ.ทบ.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1444400965
เครื่องแบบสนามแบบกระเป๋าเฉียง พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เป็น ผบ.ทบ.
เครื่องแบบสนามแบบใหม่ พล.อ.ธีรชัย นาควานิช เป็น ผบ.ทบ.