โจร 5 คนใช้เงินลงทุน 5 ล้านบาท และใช้เวลากว่า 2 ปี ร่วมกันสมคบคิดวางแผนจับตัวมหาเศรษฐีเจ้าของเบียร์ไฮเนเก้น พวกเขาคว้าเงินค่าไถ่กว่า 1,000 ล้านบาท ก่อนหน้าที่ตำรวจจะบุกทลายรังโจรช่วยตัวประกันได้สำเร็จ
วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 1983 มหาเศรษฐีชาวเนเธอร์แลนด์ อัลเฟรด ไฮเนเก้น เจ้าของโรงงานผลิตเบียร์ไฮเนเก้น เดินออกจากสำนักงานเพื่อไปขึ้นรถกันกระสุน Cadillac Fleetwood ที่จอดอยู่ห่างจากตัวอาคารไปเพียงแค่ 40 ฟุต ทันใดนั้นก็มีชาย 4 คน พร้อมอาวุธครบมือ บุกเข้าประชิดตัว บังคับให้อัลเฟรดไปกับพวกเขา
พนักงานสาวที่เห็นเหตุการณ์พยายามจะเข้าไปช่วย แต่ถูกคนร้ายพ่นสเปรย์พริกไทยใส่ ทำให้พวกเธอต้องถอยร่นออกมา เอบ ดูเดอร์เรอร์ คนขับรถของอัลเฟรด ลงจากรถเพื่อช่วยเจ้านาย จึงถูกลากตัวขึ้นหลังรถแวนพร้อมกับอัลเฟรด จากนั้นพวกโจรก็รีบขับรถหนีจากที่เกิดเหตุโดยที่ประตูหลังยังไม่ได้ปิด
วางแผน 2 ปี
2 ปีก่อนหน้านี้ เพื่อนรัก 4 คน ประกอบด้วย คอร์ ฟอน ฮาวต์, วิลเลม โฮลลีเดอร์, ฟรอนส์เมเยอร์ และยัม บูลลาร์ด สมคบคิดกันวางแผนรวยทางลัดด้วยการจับตัวมหาเศรษฐีไปเรียกค่าไถ่ ผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในข่ายประกอบไปด้วย เวสส์ เดกเกอร์ ซีอีโอบริษัทฟิลลิปส์, อัลเบิร์ต เฮจ์นซีอีโอบริษัท AHOLD, อันตอน เดรสแมนน์ ผู้บริหารระดับสูงบริษัท Vroom Dreesmann และคนสุดท้ายคือ อัลเฟรด ไฮเนเก้น เจ้าของโรงงานผลิตเบียร์ไฮเนเก้น
การจับตัวคนใหญ่โตไปเรียกค่าไถ่จำเป็นต้องวางแผนอย่างรัดกุมและใช้เงินทุนจำนวนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายซื้อเครื่องไม้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินการ 4 สหายลงขันกันได้เงิน 100,000 กิลเดอร์ หรือประมาณ 60,000 ดอลลาร์ และถ้าหากเปรียบเทียบค่าเงินในเวลานั้นกับค่าเงินปัจจุบันก็ตกประมาณ 5 ล้านบาทไทย
พวกเขานำเงินจำนวนนี้มาสร้างห้องขังลับ 2 ห้องภายในโกดังเก็บของนอกเมือง ซึ่งมีคนเข้าออกโกดังแห่งนี้ทั้งวันแต่ไม่มีใครล่วงรู้หรือสังเกตเห็นว่ามีการสร้างห้องลับอยู่ภายในโกดังแห่งนี้
ก่อนที่พวกโจรจะลงมือตามแผน พวกเขาตัดสินใจดึงตัวมาร์ติน เออร์แคมส์ มาร่วมขบวนการด้วยอีกคน แต่มาร์ตินมีบทบาทในปฏิบัติการครั้งนี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เขามีหน้าที่ขโมยรถที่จะนำมาใช้ก่ออาชญากรรมลักพาตัวอัลเฟรด ไฮเนเก้น
เงินเยอะเกินไป
ขั้นตอนที่ยากที่สุดของแผนการไม่ใช่การลักพาตัวมหาเศรษฐี แต่เป็นเก็บเงินค่าไถ่ เพราะพวกเขาวางแผนที่จะเรียกค่าไถ่สูงถึง 35 ล้านกิลเดอร์ หรือประมาณ 20 ล้านดอลลาร์ และถ้าหากเปรียบเทียบค่าเงินสมัยนั้นกับค่าเงินปัจจุบันก็มากกว่า 1,000 ล้านบาท นับว่าเป็นเงินค่าไถ่ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์
ตอนแรกพวกโจรวางแผนให้ส่งเงินค่าไถ่ผ่านท่อลม Pneumatic Tube ซึ่งเป็นบริการส่งสินค้าแบบหนึ่งที่ใช้กันในยุโรปขณะนั้น หากแต่หลังจากที่คิดอย่างถ้วนถี่แล้ว วิธีส่งมอบเงินค่าไถ่เป็นวิธีค่อนข้างเสี่ยงเกินไป
อีกวิธีหนึ่งคือให้โยนถุงใส่เงินค่าไถ่ลงแม่น้ำในจุดที่กำหนดไว้ โดยมีมนุษย์กบรอเก็บถุงเงินอยู่ใต้น้ำ แต่ปัญหาคือเงินค่าไถ่มีจำนวน 35 ล้านกิลเดอร์ และล้วนเป็นแบงก์ย่อยทั้งหมดมันจะมีน้ำหนักมากถึง 400 กิโลกรัมเลยทีเดียว มนุษย์กบไม่สามารถลากถุงเงินหนักขนาดนี้ใต้น้ำได้แน่ๆ
โจรไม่สามารถรับเงินค่าไถ่เป็นแบงก์ใหญ่ได้เพราะแบงก์ใหญ่ง่ายต่อการตรวจสอบเสี่ยงให้พวกเขาถูกจับ ด้วยเหตุนี้เองเงินค่าไถ่จึงต้องจ่ายเป็นแบงก์ย่อยเท่านั้น พวกโจรตัดสินใจเอาสินค้าเข้าโกดังก่อน ค่อยคิดหาว่ารับเงินค่าไถ่ทีหลัง
ไม่เป็นตามแผน
โจรวางแผนให้ตำรวจไขว้เขวโดยคิดว่าคนร้ายเป็นคนเยอรมัน พวกเขาจัดหาอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการลักพาตัวเป็นสินค้าที่ผลิตในเยอรมันทั้งหมดตั้งแค่พิมพ์ดีด กระดาษที่ใช้พิมพ์จดหมายเรียกค่าไถ่ ตลอดไปจนถึงของใช้ต่างๆที่ใช้ในกรงขังที่พวกเขาสร้างไว้กักขังเหยื่อ
ต้นเดือนพฤศจิกายน 1983 พวกโจรดักรออัลเฟรดบนเส้นทางที่เขาใช้เดินทางกลับบ้าน แต่ดูเหมือนว่าอัลเฟรดจะมีเส้นทางกลับบ้านหลายทางและช่วงเวลานั้นเขาเปลี่ยนไปใช้เส้นทางอื่น พวกโจรจึงคลาดกับอัลเฟรด ในที่สุดพวกโจรก็เปลี่ยนแผน ตัดสินใจลงมือหน้าออฟฟิศไฮเนเก้น กลางกรุงอัมสเตอร์ดัม
วันที่ 9 พฤศจิกายน 1983 พวกโจรดักรออัลเฟรดที่หน้าออฟฟิศ ทันทีที่เห็นอัลเฟรด วิลเลมและคอร์ก็ตรงเข้าหาเอบลงจากรถเพื่อช่วยเจ้านายก็ถูกฟรอนส์ตามไปประกบ อัลเฟรดและเอบถูกลากตัวขึ้นรถแวนที่มียัมติดเครื่องรออยู่ จากนั้นพวกเขาก็หลบหนีออกไปอย่างรวดเร็ว
อัลเฟรดและเอบถูกปิดตาและถูกใส่กุญแจมือขณะอยู่หลังรถแวน ไม่รู้ว่าโจรจะพาพวกเขาไปที่ไหน อัลเฟรดรู้ว่าพวกโจรต้องการอะไร เขายื่นข้อเสนอเขียนเช็คให้ตามมูลค่าที่พวกโจรต้องการแลกกับการปล่อยตัว แต่พวกโจรไม่รับข้อเสนอนี้
ยากกว่าที่คิด
อัลเบิร์ตและเอบถูกแยกขังในห้องกรงที่พวกโจรเตรียมเอาไว้ หลังจากถูกลักพาตัวมา 4 วัน พวกโจรก็อนุญาตให้เปิดกรงขังให้อัลเบิร์ตและเอบได้พบและสนทนากันวันละ 2-3 นาที
ช่วงเวลานี้พวกโจรติดต่อเรียกค่าไถ่ทางจดหมายและลงโฆษณาข้อความในหน้าหนังสือพิมพ์โดยเขียนเป็นโค้ดที่อ่านเข้าใจกันระหว่างโจรและตำรวจ พวกโจรเรียกเงินค่าไถ่ 35 ล้านกิลเดอร์ โดยให้นำเงินมากับรถแวนสีขาวติดเครื่องหมายกาชาดที่ข้างรถไปส่งยังตำแหน่งที่กำหนด
หากแต่ว่ามีนักข่าวจำนวนมากจับตาดูรถส่งเงินค่าไถ่ ทำให้ไม่สามารถนำรถส่งเงินค่าไถ่ให้พวกโจรได้โดยไม่มีนักข่าวติดตาม พวกโจรจึงทำการนัดหมายใหม่อีกครั้งในวันที่ 28 พฤศจิกายน 1983 สั่งให้คนส่งเงินขับรถไปคนเดียวไปตามเส้นทางที่กำหนด จากนั้นให้ขนถุงเงินขึ้นรถคันใหม่ที่โจรเตรียมไว้ให้
เมื่อขับไปถึงถนนลอยฟ้าที่กำหนดไว้ ให้จอดรถและโยนถุงเงินลงมาข้างล่างซึ่งพวกโจรดักรออยู่ หลังจากได้ถุงเงินแล้วพวกโจรก็แยกเงินออกมา 15 ล้านกิลเดอร์ แจกจ่ายกัน 5 ส่วน ได้ส่วนแบ่งคนละ 3 ล้านกิลเดอร์ ส่วนเงินที่เหลือนำไปใส่ถังฝังใต้ดินในป่า
ช่วยตัวประกัน
วันที่ 30 พฤศจิกายน 1983 ตำรวจส่งหน่วยจู่โจมบุกค้นโกดังตามที่มีสายแจ้งเข้ามา ตอนแรกพวกเขาคิดว่าคว้าน้ำเหลว แต่หลังจากตรวจค้นโกดังพักใหญ่ก็พบประตูลับนำไปสู่ห้องขังและพบตัวอัลเบิร์ตและเอบ
อีกไม่กี่วันให้หลังยัมและมาร์ตินถูกรวบตัว ส่วนฟรอนส์ยอมมอบตัวกับตำรวจวันที่ 28 ธันวาคม ขณะที่วิลเลมและคอร์หลบหนีไปยังฝรั่งเศส แต่ก็ถูกตำรวจฝรั่งเศสจับตัวได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 1984 พวกเขาถูกส่งตัวไปยังคุกที่เข้มงวดที่สุด
ทางการเนเธอร์แลนด์ทำเรื่องขอให้ฝรั่งเศสส่งตัวแต่ในเวลานั้นยังไม่มีสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ฝรั่งเศสจึงบอกปฏิเสธ ในช่วงเวลานั้นตำรวจเนเธอร์แลนด์สามารถยึดเงินค่าไถ่กลับมาได้ 27 ล้านกิลเดอร์ ส่วนอีก 8 ล้านกิลเดอร์ อันตรธานหายไปอย่างไร้ร่องรอย
พวกโจรให้การว่าฟรอนส์เผาเงิน 8 ล้านกิลเดอร์ที่ชายหาดเพื่อทำลายหลักฐาน แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันคำให้การนี้ และจนถึงปัจจุบันก็ยังสืบหาไม่ได้ว่าเงินจำนวนนี้สูญหายไปไหน
ตุลาคม 1986 ฝรั่งเศสตัดสินใจส่งตัววิลเลมและคอร์ให้กับรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ พวกเขาถูกตัดสินจำคุก 12 ปี แต่เนื่องจากพวกเขาถูกจำคุกในฝรั่งเศสมาแล้ว 1 ปี จึงหักออกไปเหลือโทษจำคุก 11 ปี ยัม บูลลาร์ด และฟรอนส์ต้องโทษจำคุก 12 ปี มาร์ตินต้องโทษจำคุก 8 ปี ฟรอนส์หลบหนีไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1985 ขณะที่เขาถูกส่งตัวไปบำบัดที่โรงพยาบาลโรคจิต ก่อนจะถูกตามจับตัวได้อีกครั้งในปี 1998 และได้รับการอภัยโทษในปี 2005
ตำรวจเนเธอร์แลนด์ปฏิเสธที่ให้รายละเอียดข้อมูลของแหล่งข่าวจนสามารถนำไปสู่การช่วยเหลือตัวประกันได้สำเร็จ ขณะที่คดีลักพาตัวอัลเฟรด ไฮเนเก้น ได้รับการจารึกว่าเป็นเป็นคดีเรียกค่าไถ่ที่มีการเรียกเงินค่าไถ่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์
นสพ.โลกวันนี้วันสุข คอลัมน์: ร้ายสาระ
เรียกค่าไถ่ 'ไฮเนเก้น'
วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 1983 มหาเศรษฐีชาวเนเธอร์แลนด์ อัลเฟรด ไฮเนเก้น เจ้าของโรงงานผลิตเบียร์ไฮเนเก้น เดินออกจากสำนักงานเพื่อไปขึ้นรถกันกระสุน Cadillac Fleetwood ที่จอดอยู่ห่างจากตัวอาคารไปเพียงแค่ 40 ฟุต ทันใดนั้นก็มีชาย 4 คน พร้อมอาวุธครบมือ บุกเข้าประชิดตัว บังคับให้อัลเฟรดไปกับพวกเขา
พนักงานสาวที่เห็นเหตุการณ์พยายามจะเข้าไปช่วย แต่ถูกคนร้ายพ่นสเปรย์พริกไทยใส่ ทำให้พวกเธอต้องถอยร่นออกมา เอบ ดูเดอร์เรอร์ คนขับรถของอัลเฟรด ลงจากรถเพื่อช่วยเจ้านาย จึงถูกลากตัวขึ้นหลังรถแวนพร้อมกับอัลเฟรด จากนั้นพวกโจรก็รีบขับรถหนีจากที่เกิดเหตุโดยที่ประตูหลังยังไม่ได้ปิด
วางแผน 2 ปี
2 ปีก่อนหน้านี้ เพื่อนรัก 4 คน ประกอบด้วย คอร์ ฟอน ฮาวต์, วิลเลม โฮลลีเดอร์, ฟรอนส์เมเยอร์ และยัม บูลลาร์ด สมคบคิดกันวางแผนรวยทางลัดด้วยการจับตัวมหาเศรษฐีไปเรียกค่าไถ่ ผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในข่ายประกอบไปด้วย เวสส์ เดกเกอร์ ซีอีโอบริษัทฟิลลิปส์, อัลเบิร์ต เฮจ์นซีอีโอบริษัท AHOLD, อันตอน เดรสแมนน์ ผู้บริหารระดับสูงบริษัท Vroom Dreesmann และคนสุดท้ายคือ อัลเฟรด ไฮเนเก้น เจ้าของโรงงานผลิตเบียร์ไฮเนเก้น
การจับตัวคนใหญ่โตไปเรียกค่าไถ่จำเป็นต้องวางแผนอย่างรัดกุมและใช้เงินทุนจำนวนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายซื้อเครื่องไม้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินการ 4 สหายลงขันกันได้เงิน 100,000 กิลเดอร์ หรือประมาณ 60,000 ดอลลาร์ และถ้าหากเปรียบเทียบค่าเงินในเวลานั้นกับค่าเงินปัจจุบันก็ตกประมาณ 5 ล้านบาทไทย
พวกเขานำเงินจำนวนนี้มาสร้างห้องขังลับ 2 ห้องภายในโกดังเก็บของนอกเมือง ซึ่งมีคนเข้าออกโกดังแห่งนี้ทั้งวันแต่ไม่มีใครล่วงรู้หรือสังเกตเห็นว่ามีการสร้างห้องลับอยู่ภายในโกดังแห่งนี้
ก่อนที่พวกโจรจะลงมือตามแผน พวกเขาตัดสินใจดึงตัวมาร์ติน เออร์แคมส์ มาร่วมขบวนการด้วยอีกคน แต่มาร์ตินมีบทบาทในปฏิบัติการครั้งนี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เขามีหน้าที่ขโมยรถที่จะนำมาใช้ก่ออาชญากรรมลักพาตัวอัลเฟรด ไฮเนเก้น
เงินเยอะเกินไป
ขั้นตอนที่ยากที่สุดของแผนการไม่ใช่การลักพาตัวมหาเศรษฐี แต่เป็นเก็บเงินค่าไถ่ เพราะพวกเขาวางแผนที่จะเรียกค่าไถ่สูงถึง 35 ล้านกิลเดอร์ หรือประมาณ 20 ล้านดอลลาร์ และถ้าหากเปรียบเทียบค่าเงินสมัยนั้นกับค่าเงินปัจจุบันก็มากกว่า 1,000 ล้านบาท นับว่าเป็นเงินค่าไถ่ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์
ตอนแรกพวกโจรวางแผนให้ส่งเงินค่าไถ่ผ่านท่อลม Pneumatic Tube ซึ่งเป็นบริการส่งสินค้าแบบหนึ่งที่ใช้กันในยุโรปขณะนั้น หากแต่หลังจากที่คิดอย่างถ้วนถี่แล้ว วิธีส่งมอบเงินค่าไถ่เป็นวิธีค่อนข้างเสี่ยงเกินไป
อีกวิธีหนึ่งคือให้โยนถุงใส่เงินค่าไถ่ลงแม่น้ำในจุดที่กำหนดไว้ โดยมีมนุษย์กบรอเก็บถุงเงินอยู่ใต้น้ำ แต่ปัญหาคือเงินค่าไถ่มีจำนวน 35 ล้านกิลเดอร์ และล้วนเป็นแบงก์ย่อยทั้งหมดมันจะมีน้ำหนักมากถึง 400 กิโลกรัมเลยทีเดียว มนุษย์กบไม่สามารถลากถุงเงินหนักขนาดนี้ใต้น้ำได้แน่ๆ
โจรไม่สามารถรับเงินค่าไถ่เป็นแบงก์ใหญ่ได้เพราะแบงก์ใหญ่ง่ายต่อการตรวจสอบเสี่ยงให้พวกเขาถูกจับ ด้วยเหตุนี้เองเงินค่าไถ่จึงต้องจ่ายเป็นแบงก์ย่อยเท่านั้น พวกโจรตัดสินใจเอาสินค้าเข้าโกดังก่อน ค่อยคิดหาว่ารับเงินค่าไถ่ทีหลัง
ไม่เป็นตามแผน
โจรวางแผนให้ตำรวจไขว้เขวโดยคิดว่าคนร้ายเป็นคนเยอรมัน พวกเขาจัดหาอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการลักพาตัวเป็นสินค้าที่ผลิตในเยอรมันทั้งหมดตั้งแค่พิมพ์ดีด กระดาษที่ใช้พิมพ์จดหมายเรียกค่าไถ่ ตลอดไปจนถึงของใช้ต่างๆที่ใช้ในกรงขังที่พวกเขาสร้างไว้กักขังเหยื่อ
ต้นเดือนพฤศจิกายน 1983 พวกโจรดักรออัลเฟรดบนเส้นทางที่เขาใช้เดินทางกลับบ้าน แต่ดูเหมือนว่าอัลเฟรดจะมีเส้นทางกลับบ้านหลายทางและช่วงเวลานั้นเขาเปลี่ยนไปใช้เส้นทางอื่น พวกโจรจึงคลาดกับอัลเฟรด ในที่สุดพวกโจรก็เปลี่ยนแผน ตัดสินใจลงมือหน้าออฟฟิศไฮเนเก้น กลางกรุงอัมสเตอร์ดัม
วันที่ 9 พฤศจิกายน 1983 พวกโจรดักรออัลเฟรดที่หน้าออฟฟิศ ทันทีที่เห็นอัลเฟรด วิลเลมและคอร์ก็ตรงเข้าหาเอบลงจากรถเพื่อช่วยเจ้านายก็ถูกฟรอนส์ตามไปประกบ อัลเฟรดและเอบถูกลากตัวขึ้นรถแวนที่มียัมติดเครื่องรออยู่ จากนั้นพวกเขาก็หลบหนีออกไปอย่างรวดเร็ว
อัลเฟรดและเอบถูกปิดตาและถูกใส่กุญแจมือขณะอยู่หลังรถแวน ไม่รู้ว่าโจรจะพาพวกเขาไปที่ไหน อัลเฟรดรู้ว่าพวกโจรต้องการอะไร เขายื่นข้อเสนอเขียนเช็คให้ตามมูลค่าที่พวกโจรต้องการแลกกับการปล่อยตัว แต่พวกโจรไม่รับข้อเสนอนี้
ยากกว่าที่คิด
อัลเบิร์ตและเอบถูกแยกขังในห้องกรงที่พวกโจรเตรียมเอาไว้ หลังจากถูกลักพาตัวมา 4 วัน พวกโจรก็อนุญาตให้เปิดกรงขังให้อัลเบิร์ตและเอบได้พบและสนทนากันวันละ 2-3 นาที
ช่วงเวลานี้พวกโจรติดต่อเรียกค่าไถ่ทางจดหมายและลงโฆษณาข้อความในหน้าหนังสือพิมพ์โดยเขียนเป็นโค้ดที่อ่านเข้าใจกันระหว่างโจรและตำรวจ พวกโจรเรียกเงินค่าไถ่ 35 ล้านกิลเดอร์ โดยให้นำเงินมากับรถแวนสีขาวติดเครื่องหมายกาชาดที่ข้างรถไปส่งยังตำแหน่งที่กำหนด
หากแต่ว่ามีนักข่าวจำนวนมากจับตาดูรถส่งเงินค่าไถ่ ทำให้ไม่สามารถนำรถส่งเงินค่าไถ่ให้พวกโจรได้โดยไม่มีนักข่าวติดตาม พวกโจรจึงทำการนัดหมายใหม่อีกครั้งในวันที่ 28 พฤศจิกายน 1983 สั่งให้คนส่งเงินขับรถไปคนเดียวไปตามเส้นทางที่กำหนด จากนั้นให้ขนถุงเงินขึ้นรถคันใหม่ที่โจรเตรียมไว้ให้
เมื่อขับไปถึงถนนลอยฟ้าที่กำหนดไว้ ให้จอดรถและโยนถุงเงินลงมาข้างล่างซึ่งพวกโจรดักรออยู่ หลังจากได้ถุงเงินแล้วพวกโจรก็แยกเงินออกมา 15 ล้านกิลเดอร์ แจกจ่ายกัน 5 ส่วน ได้ส่วนแบ่งคนละ 3 ล้านกิลเดอร์ ส่วนเงินที่เหลือนำไปใส่ถังฝังใต้ดินในป่า
ช่วยตัวประกัน
วันที่ 30 พฤศจิกายน 1983 ตำรวจส่งหน่วยจู่โจมบุกค้นโกดังตามที่มีสายแจ้งเข้ามา ตอนแรกพวกเขาคิดว่าคว้าน้ำเหลว แต่หลังจากตรวจค้นโกดังพักใหญ่ก็พบประตูลับนำไปสู่ห้องขังและพบตัวอัลเบิร์ตและเอบ
อีกไม่กี่วันให้หลังยัมและมาร์ตินถูกรวบตัว ส่วนฟรอนส์ยอมมอบตัวกับตำรวจวันที่ 28 ธันวาคม ขณะที่วิลเลมและคอร์หลบหนีไปยังฝรั่งเศส แต่ก็ถูกตำรวจฝรั่งเศสจับตัวได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 1984 พวกเขาถูกส่งตัวไปยังคุกที่เข้มงวดที่สุด
ทางการเนเธอร์แลนด์ทำเรื่องขอให้ฝรั่งเศสส่งตัวแต่ในเวลานั้นยังไม่มีสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ฝรั่งเศสจึงบอกปฏิเสธ ในช่วงเวลานั้นตำรวจเนเธอร์แลนด์สามารถยึดเงินค่าไถ่กลับมาได้ 27 ล้านกิลเดอร์ ส่วนอีก 8 ล้านกิลเดอร์ อันตรธานหายไปอย่างไร้ร่องรอย
พวกโจรให้การว่าฟรอนส์เผาเงิน 8 ล้านกิลเดอร์ที่ชายหาดเพื่อทำลายหลักฐาน แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันคำให้การนี้ และจนถึงปัจจุบันก็ยังสืบหาไม่ได้ว่าเงินจำนวนนี้สูญหายไปไหน
ตุลาคม 1986 ฝรั่งเศสตัดสินใจส่งตัววิลเลมและคอร์ให้กับรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ พวกเขาถูกตัดสินจำคุก 12 ปี แต่เนื่องจากพวกเขาถูกจำคุกในฝรั่งเศสมาแล้ว 1 ปี จึงหักออกไปเหลือโทษจำคุก 11 ปี ยัม บูลลาร์ด และฟรอนส์ต้องโทษจำคุก 12 ปี มาร์ตินต้องโทษจำคุก 8 ปี ฟรอนส์หลบหนีไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1985 ขณะที่เขาถูกส่งตัวไปบำบัดที่โรงพยาบาลโรคจิต ก่อนจะถูกตามจับตัวได้อีกครั้งในปี 1998 และได้รับการอภัยโทษในปี 2005
ตำรวจเนเธอร์แลนด์ปฏิเสธที่ให้รายละเอียดข้อมูลของแหล่งข่าวจนสามารถนำไปสู่การช่วยเหลือตัวประกันได้สำเร็จ ขณะที่คดีลักพาตัวอัลเฟรด ไฮเนเก้น ได้รับการจารึกว่าเป็นเป็นคดีเรียกค่าไถ่ที่มีการเรียกเงินค่าไถ่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์
นสพ.โลกวันนี้วันสุข คอลัมน์: ร้ายสาระ