'จับคนสูงมาตีสั้น เอาเตี้ยตันดันขึ้นโค้ง' นี่คือสูตรของไทย?
ตลอดระยะเวลาที่ได้เข้ามาทำงานติดตามข่าวสารวอลเลย์บอลระดับเยาวชนภายในประเทศ มีสิ่งหนึ่งที่เก็บเป็น คำถามมาตลอดคือเรื่องความสูงกับตำแหน่งของนักกีฬาในประเทศไทย จนวันนี้คิดว่าถ้าลองมาถามความเห็นของพี่ๆน้องๆในวงการที่ได้ติดตามจะมีมุมที่มองเหมือนกันหรือไม่
แน่นอนการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาติของทีมชาติไทย สิ่งที่เป็นรองคู่ต่อสู้คือเรื่อง "ความสูง" ที่เฉลี่ยแล้วห่างกันถึง 10-20 เซนติเมตร แต่ก็ต้องชมเชยว่านักกีฬาไทยมีความสามารถพอที่จะต่อกรได้อย่างสนุก จนบางครั้งคู่ต่อสู้ถึงกับหัวเสียกับการเล่นที่หลายหลากของทีมไทย
เอาเข้าจริงๆยังไงก็ตามนักกีฬาวอลเลย์บอลควรมีความสูงเป็นองค์ประกอบเสริมเพื่อเพิ่มศักยภาพของความสามารถ ยิ่งในตำแหน่งบอลหัวเสาแล้วควรที่จะมีรูปร่างที่สูงใหญ่บ้าง
แต่ที่ประเทศไทยกลับไม่มี
คำว่าไม่มีในที่นี้...เป็นความรู้สึกที่สังเกตุมาจากการแข่งขันรายการภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นยุวชน เอสโคล่า,แอร์เอเชีย หรือ รายการเยาวชนระดับประเทศอย่าง PEA ทุกครั้งที่ได้ชมการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศระดับภาคจนถึงระดับประเทศแล้ว ไม่มีทีมไหนมีผู้เล่นตัวตบที่มีความสูงเลย
เท่าที่เห็นคือจะเป็นนักกีฬารูปร่างเล็ก ตัน ป้อม แต่เด็ดคือโดดตีหนัก(บ้าง) เท่านั้น และ จะเจอแบบนี้ทุกภาคเลย จนเป็นที่มาของความสงสัยเคลือบแคลงใจที่มีมาตลอดระยะเวลาหลายปีที่เข้ามาทำข่าวสารวอลเลย์บอลว่าทำไมไม่เอานักกีฬาสูงๆมาเล่นหัวเสาบ้าง???
ถ้าจะบอกว่ามันไม่ค่อยมีคนสูงๆ ผมว่าก็คงจะไม่ถูกเท่าไร เพราะนักกีฬาในทีมของแต่ละโรงเรียนส่วนใหญ่คนที่สูง 175 เซนติเมตรขึ้นไป มักจะโผล่อยู่ในตำแหน่งบอลเร็วทั้งนั้น
ผมไม่เถียงว่าผู้เล่นบอลสั้นควรมีความสูง แต่ในระดับยุวชน-เยาวชน ผมแทบไม่เห็นตัวเซตจ่ายบอลเร็วเท่าไร เซตๆหนึ่งบอลสั้นจะได้หวดบอลก็ไม่เกิน 2-3 ที จะได้โดนมากกว่านั้นก็ตอนเสิร์ฟกับบล็อคเท่านั้นเอง ซึ่งถามว่าบล็อคได้ไหม? ก็ตอบตรงๆว่าน้อยเหลือหลาย
ถ้ากางรายชื่อนักกีฬาบอลสั้นในไทยที่เด่นๆขึ้นมาจากเยาวชนแล้ว "ต้องบอกว่าน้ำตาจะไหล" นั้นเป็นเพราะว่าโอกาสได้แสดงความสามารถแบบเต็มๆน้อยมาก ถ้าตัวเซตไม่ให้บอลก็แทบจะได้โชว์ฟอร์มเลย เมื่อไม่ได้ตีผลงานก็ไม่ออก ......ความรู้สึกเหมือนกับว่าผู้เล่นบอลสั้นลงไปยืนให้ครบจำนวนมากกว่าที่จะได้เป็นตัวแปรในการแข่งขัน
ซึ่งเอาเข้าจริง....ตรงกันข้ามผู้เล่นร่างเล็กในตำแหน่งหัวเสากลับได้โชว์แบบนันสต๊อป จะตีติดตาข่ายบ้าง โดนบล็อคหน่อย แต่ก็ได้เล่น ขณะเดียวกันถ้าเกิดว่าเอาพวก 175 ในทีมที่มีมาเล่นบอลหลักบ้าง เราอาจจะได้เห็นอะไรที่มันน่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อยเลย ส่วนตัวแล้วก็ได้แต่หวังว่าในอนาคตวอลเลย์บอลภายในประเทศ จะมีภาพนักกีฬาตัวโค้งสูงๆขึ้นตีเหนือบล็อคให้ได้ชม
แต่ถ้า 'จับคนสูงมาตีสั้น เอาเตี้ยตันดันขึ้นโค้ง' วิธีนี้มันคือสูตรสำเร็จของวงการวอลเลย์บอลภายในประเทศก็คงต้องเริ่มทำตัวให้เข้าใจ....ยังไงก็ตามสุดท้ายนี้ไม่ได้จะมาอวดตัวว่าเก่งอะไรนะครับ และ ไม่ได้ว่าน้องๆบอลสั้นที่เล่นกันอยู่ตอนนี้ เพียงแต่มันเป็นคำถามที่ค้างคาในหัวทุกครั้งที่นั่งดูวอลเลย์บอลภายในประเทศลงแข่งเท่านั้นเอง
จาก:
http://www.smmsport.com/reader.php?article=5897
'จับคนสูงมาตีสั้น เอาเตี้ยตันดันขึ้นโค้ง' นี่คือสูตรของไทย? (เอกประวิตร)
ตลอดระยะเวลาที่ได้เข้ามาทำงานติดตามข่าวสารวอลเลย์บอลระดับเยาวชนภายในประเทศ มีสิ่งหนึ่งที่เก็บเป็น คำถามมาตลอดคือเรื่องความสูงกับตำแหน่งของนักกีฬาในประเทศไทย จนวันนี้คิดว่าถ้าลองมาถามความเห็นของพี่ๆน้องๆในวงการที่ได้ติดตามจะมีมุมที่มองเหมือนกันหรือไม่
แน่นอนการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาติของทีมชาติไทย สิ่งที่เป็นรองคู่ต่อสู้คือเรื่อง "ความสูง" ที่เฉลี่ยแล้วห่างกันถึง 10-20 เซนติเมตร แต่ก็ต้องชมเชยว่านักกีฬาไทยมีความสามารถพอที่จะต่อกรได้อย่างสนุก จนบางครั้งคู่ต่อสู้ถึงกับหัวเสียกับการเล่นที่หลายหลากของทีมไทย
เอาเข้าจริงๆยังไงก็ตามนักกีฬาวอลเลย์บอลควรมีความสูงเป็นองค์ประกอบเสริมเพื่อเพิ่มศักยภาพของความสามารถ ยิ่งในตำแหน่งบอลหัวเสาแล้วควรที่จะมีรูปร่างที่สูงใหญ่บ้าง
แต่ที่ประเทศไทยกลับไม่มี
คำว่าไม่มีในที่นี้...เป็นความรู้สึกที่สังเกตุมาจากการแข่งขันรายการภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นยุวชน เอสโคล่า,แอร์เอเชีย หรือ รายการเยาวชนระดับประเทศอย่าง PEA ทุกครั้งที่ได้ชมการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศระดับภาคจนถึงระดับประเทศแล้ว ไม่มีทีมไหนมีผู้เล่นตัวตบที่มีความสูงเลย
เท่าที่เห็นคือจะเป็นนักกีฬารูปร่างเล็ก ตัน ป้อม แต่เด็ดคือโดดตีหนัก(บ้าง) เท่านั้น และ จะเจอแบบนี้ทุกภาคเลย จนเป็นที่มาของความสงสัยเคลือบแคลงใจที่มีมาตลอดระยะเวลาหลายปีที่เข้ามาทำข่าวสารวอลเลย์บอลว่าทำไมไม่เอานักกีฬาสูงๆมาเล่นหัวเสาบ้าง???
ถ้าจะบอกว่ามันไม่ค่อยมีคนสูงๆ ผมว่าก็คงจะไม่ถูกเท่าไร เพราะนักกีฬาในทีมของแต่ละโรงเรียนส่วนใหญ่คนที่สูง 175 เซนติเมตรขึ้นไป มักจะโผล่อยู่ในตำแหน่งบอลเร็วทั้งนั้น
ผมไม่เถียงว่าผู้เล่นบอลสั้นควรมีความสูง แต่ในระดับยุวชน-เยาวชน ผมแทบไม่เห็นตัวเซตจ่ายบอลเร็วเท่าไร เซตๆหนึ่งบอลสั้นจะได้หวดบอลก็ไม่เกิน 2-3 ที จะได้โดนมากกว่านั้นก็ตอนเสิร์ฟกับบล็อคเท่านั้นเอง ซึ่งถามว่าบล็อคได้ไหม? ก็ตอบตรงๆว่าน้อยเหลือหลาย
ถ้ากางรายชื่อนักกีฬาบอลสั้นในไทยที่เด่นๆขึ้นมาจากเยาวชนแล้ว "ต้องบอกว่าน้ำตาจะไหล" นั้นเป็นเพราะว่าโอกาสได้แสดงความสามารถแบบเต็มๆน้อยมาก ถ้าตัวเซตไม่ให้บอลก็แทบจะได้โชว์ฟอร์มเลย เมื่อไม่ได้ตีผลงานก็ไม่ออก ......ความรู้สึกเหมือนกับว่าผู้เล่นบอลสั้นลงไปยืนให้ครบจำนวนมากกว่าที่จะได้เป็นตัวแปรในการแข่งขัน
ซึ่งเอาเข้าจริง....ตรงกันข้ามผู้เล่นร่างเล็กในตำแหน่งหัวเสากลับได้โชว์แบบนันสต๊อป จะตีติดตาข่ายบ้าง โดนบล็อคหน่อย แต่ก็ได้เล่น ขณะเดียวกันถ้าเกิดว่าเอาพวก 175 ในทีมที่มีมาเล่นบอลหลักบ้าง เราอาจจะได้เห็นอะไรที่มันน่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อยเลย ส่วนตัวแล้วก็ได้แต่หวังว่าในอนาคตวอลเลย์บอลภายในประเทศ จะมีภาพนักกีฬาตัวโค้งสูงๆขึ้นตีเหนือบล็อคให้ได้ชม
แต่ถ้า 'จับคนสูงมาตีสั้น เอาเตี้ยตันดันขึ้นโค้ง' วิธีนี้มันคือสูตรสำเร็จของวงการวอลเลย์บอลภายในประเทศก็คงต้องเริ่มทำตัวให้เข้าใจ....ยังไงก็ตามสุดท้ายนี้ไม่ได้จะมาอวดตัวว่าเก่งอะไรนะครับ และ ไม่ได้ว่าน้องๆบอลสั้นที่เล่นกันอยู่ตอนนี้ เพียงแต่มันเป็นคำถามที่ค้างคาในหัวทุกครั้งที่นั่งดูวอลเลย์บอลภายในประเทศลงแข่งเท่านั้นเอง
จาก:
http://www.smmsport.com/reader.php?article=5897