จากมติชนออนไลน์
วงการนักเขียนต้องพบกับความสูญเสียอีกครั้ง เมื่อ วาทิน ปิ่นเฉลียว หรือที่รู้จักในวงการน้ำหมึกว่า "ลุงต่วย" การ์ตูนิสต์ ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการบริหารพ็อคเก็ตแมกกาซีนต่วย′ตูน ได้เสียชีวิตอย่างสงบ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา ด้วยวัย 85 ปี ปิดตำนานการ์ตูนิสต์เมืองไทย
วาทิน เป็นบุตรคนกลางของนายวิวัธน์และนางพวง ปิ่นเฉลียว เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2473 เริ่มเขียนการ์ตูนตั้งแต่ยังเป็นนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วาดการ์ตูนในหนังสือฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เคยควบคุมงานก่อสร้างเขื่อนภูมิพล วาดการ์ตูนแนวแก๊กขำขันไปลงหนังสือต่างๆ ในสมัยนั้น เช่น ชาวกรุง ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และเขียนภาพประกอบให้หนังสือยุคนั้นหลายเล่ม เป็นที่รู้จักในหมู่นักอ่านจากการใช้ปากกาเขียน ซึ่งต่างจากคนอื่นที่ใช้พู่กันเขียน
นอกจากนี้ ยังวาดภาพประกอบให้นิตยสารสยามสมัย กระทั่ง พ.ศ.2509 จึงชวนเพื่อนนักเขียนจากนิตยสารชาวกรุง ประเสริฐ พิจารณ์โสภณ ร่วมกันก่อตั้งสำนักพิมพ์ประเสริฐ-วาทิน รวบรวมการ์ตูนที่วาทินวาดในชาวกรุง รวมเป็นพ็อคเก็ตบุ๊กในชื่อ "รวมการ์ตูนต่วย"
เมื่อเป็นที่รู้จัก จึงชวนพี่น้องในวงการนักเขียน เช่น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, รัตนะ ยาวะประภาษ, นพพร บุญยฤทธิ์, วสิษฐ เดชกุญชร มาทำหนังสือการ์ตูนรวมเล่มในชื่อ "รวมการ์ตูนของต่วย" ซึ่งได้รับผลตอบรับดี ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "รวมการ์ตูนต่วยและเรื่องสั้น" เพราะการ์ตูนที่เขียนนั้นไม่เพียงพอ จึงได้ขอเรื่องสั้นจากนักเขียนชื่อดังในยุคนั้นมารวมเล่ม
ผู้จัดจำหน่ายขณะนั้นติงว่าชื่อหนังสือยาวเกินไปจำยาก จึงเปลี่ยนเป็น "ต่วย′ตูน" และเริ่มต้นนับฉบับที่ 1 ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2514 และพิมพ์เป็นรายเดือนฉบับแรกในเดือนกันยายนปีเดียวกัน เนื้อหามีความหลากหลายสูง ซึ่งต้องผ่านเกณฑ์ "สาระ+หรรษา" ให้ความรู้สึกเหมือนมีเพื่อนมาเล่าให้ฟัง ใช้ภาษาง่าย หยอกล้อผ่านตัวหนังสือระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน ปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือ "ต่วย′ตูน พ็อคเก็ตแมกกาซีน" แบบดั้งเดิม เน้นเรื่องสั้นและเรื่องเล่าทั่วไปจากผู้เขียน และ "ต่วย′ตูน พิเศษ" ฉบับแรกเมื่อมีนาคม พ.ศ.2517 ที่เน้นสาระความรู้ สารคดี ประวัติศาสตร์ เรื่องแปลกและเรื่องลึกลับ
นอกจากวาดการ์ตูนแล้ว ลุงต่วยยังมีงานเขียนอีกหลายชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้นามปากกา ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ มักเป็นงานเขียนสารคดีที่ใช้ภาษาอ่านง่าย อ่านสนุก
ความสำเร็จของ "ต่วย′ตูน" ซึ่งครองใจแฟนานุแฟนมายาวนานกว่า 45 ปี สะท้อนว่าการจากไปของ "ลุงต่วย" เป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่
นายอรุณ วัชรสวัสดิ์ การ์ตูนิสต์การเมือง กล่าวว่า อันที่จริงก็ไม่ได้คุ้นกับพี่ต่วยมากนัก เพราะท่านเป็นผู้ใหญ่มาก แต่ก็เคยมีโอกาสได้ร่วมงานกันบ้าง
"ในแง่ของผลงาน การ์ตูนของพี่ต่วยคืองานที่เป็นสากลมาก เปรียบไปเหมือนเกาเหลาคือ เส้นน้อย ไม่มีสี ไม่มีคำพูด ไม่มีการเมือง เป็นการ์ตูนที่บริสุทธิ์ ดูแล้วไม่ได้ถึงกับหัวเราะก๊าก แต่หัวเราะแบบลึกๆ สงบๆ เป็นการ์ตูนที่เขียนยากมาก
พี่ต่วยเป็นคนที่หาได้ยาก เพราะเขียนการ์ตูนแล้วก็ยังอารมณ์ดีเหมือนการ์ตูนของแก การ์ตูนแกเป็นอย่างไรตัวแกก็เป็นอย่างนั้น โอบอ้อมอารี ต่างจากนักเขียนการ์ตูนส่วนใหญ่ที่มักเครียด เพราะต้องคิด ต้องเขียนออกมาอยู่เสมอ"
"คุณูปการสำคัญที่สุดของพี่ต่วยคือ การได้สร้างสำนักพิมพ์ นิตยสาร ให้เป็นแหล่งชุมนุมนักเขียน การทำตัวให้นักเขียนรุ่นหลังได้รู้ว่านักเขียนเป็นอย่างไร เป็นบรรณาธิการที่โอบอ้อมอารี จะเห็นว่าปกนิตยสารต่วยตูนส่วนใหญ่
แกก็ให้คนที่เขียนรูปเป็นแทบจะทุกคนในวงการได้มาโชว์ผลงาน ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่เคยเขียนให้ นี่คือความเอื้อเฟื้อ โอบอ้อมอารีย์ของผู้ใหญ่ที่ชื่อต่วย" อรุณกล่าวย้ำ
ทองธัช เทพารักษ์ การ์ตูนิสต์ เจ้าของฉายาเพชฌฆาต 100 ปก บอกว่า ถ้าพูดถึงหนังสือ "ต่วย′ตูน" แล้วไม่ใช่หนังสือการ์ตูนตลกแบบขายหัวเราะ แต่เป็นหนังสือเชิงวรรณกรรมที่เห็นมาตั้งแต่เด็ก เป็นหนังสือระดับตำนานที่อยู่มาหลายสิบปี และเป็นหนังสือที่กว้างขวางมาก บางครั้งกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดก็มีเพื่อนทักว่าเขียนลงใน "ต่วย′ตูน" นี่ หรือเวลาไปร่วมกิจกรรมต่างๆ ก็เจอนักเขียนที่เขียนลงต่วย′ตูนเหมือนกัน
"พี่ต่วยเป็นนักวาดการ์ตูนที่มีลายเส้นเป็นเอกลักษณ์ เป็นสากลคล้ายงานฝรั่ง แก๊กที่ใช้ก็คล้ายตลกฝรั่ง สบายๆ รู้เรื่องง่าย เป็นตลกที่อ่านได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ค่อยเป็นเรื่องการเมือง"
"รุ่นพี่ต่วย ถือเป็นรุ่นคลาสสิกที่ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มโอเลี้ยง 5 แก้ว ตัวพี่ต่วยเองก็เป็นนักวาดการ์ตูนคลาสสิก ที่เรียกว่าคลาสสิเคิลไทย ซึ่งผมรู้จักผลงานตั้งแต่สมัยที่เขียนชาวกรุง รุ่น ′รงค์ วงษ์สวรรค์ รุ่น
อาจินต์ ปัญจพรรค์ พี่ต่วยจึงถือว่าเป็นนักวาดการ์ตูนรุ่นเดอะ เป็นหนึ่งในไอดอลเรื่องการวาดการ์ตูนคนหนึ่ง"
ในความทรงจำ พี่ต่วยเป็นคนใจดีเสมอต้นเสมอปลายและดื่มหนัก
"สมัยก่อนกลุ่มนักเขียนค่อนข้างแคบ รู้จักกันหมด นัดดื่มนัดสังสรรค์กัน แต่ผมไม่มีโอกาสได้ร่วมสังสรรค์ด้วยเพราะผมยังถือว่าเป็นเด็กอยู่"
อีกความทรงจำหนึ่งที่น่าทึ่ง เป็นเรื่องของครอบครัววาทินที่เต็มเปี่ยมด้วยสายเลือดของนักเขียน
ทองธัชเล่าว่า "ตระกูลพี่ต่วยถือว่าเป็นตระกูลนักเขียน ที่มีพี่น้องเป็นนักเขียนแล้วเขียนหนังสือคนละสไตล์กันถึง 3 คน ตั้งแต่ ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว เป็นพี่ชายคนโต รับข้าราชการตำรวจแต่มีผลงานเรื่องสั้น และได้รับรางวัลช่อการะเกดเกียรติยศ เมื่อ พ.ศ.2539 รุ่นเดียวกับ มนัส สัตยารักษ์, วสิษฐ เดชกุญชร ซึ่งผมได้อ่านผลงานที่เขียนลงในนิตยสารตำรวจ แล้วก็พี่ต่วย-วาทิน ปิ่นเฉลียว เขียนการ์ตูน และน้องสาวคือ จินตนา ปิ่นเฉลียว หรือจินตนา ภักดีชายแดน นักเขียนนวนิยายแนวระทึกขวัญ เจ้าของนามปากกา จินตวีร์ วิวัธน์ ซึ่งมีผลงานขึ้นชื่อหลายเรื่อง เช่น อมฤตาลัย มณีสวาท ศีรษะมาร สางสยอง สาบนรสิงห์ เป็นต้น
แต่ส่วนตัวแล้ว ทองธัชไม่ได้สนิทกับวาทินเป็นการส่วนตัว แต่ก็เคยมีโอกาสได้ร่วมงานกันอยู่ช่วงหนึ่ง
"สมัยที่ผมยังเขียนการ์ตูนในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ พี่ต่วยโทรมาบอกว่า ′ผมต่วยครับ′ ตอนแรกนึกว่าเพื่อนอำเล่น แต่ปรากฏว่าเป็นพี่ต่วยจริงๆ โทรมาชวนผมเขียนการ์ตูนลงในต่วย′ตูน เขียนเป็นเรื่องอำสังคมผมก็รับปากไป เขียนอยู่ร่วมปีจากนั้นผมติดภาระเยอะเลยขาดส่งไป อีกอย่างคือผมถนัดการ์ตูนการเมืองมากกว่าการ์ตูนตลก เลยหยุดเขียนไป"
"มารู้ทีหลังว่าพี่ต่วยสุขภาพไม่ค่อยดีต้องเข้า-ออก โรงพยาบาลบ่อยๆ วันที่โทรมาหาผม ยังนอนอยู่ในโรงพยาบาลอยู่เลย แต่ผมยังไม่ได้ไปเจอเป็นการส่วนตัวสักที เจอกันในงานนักเขียนก็ไม่ค่อยได้ทักทายนัก ก็อยากไปเจอมาก วันนี้พี่ต่วยจากไปแล้วผมก็มีโอกาสได้เขียนไว้อาลัยในหนังสือพิมพ์ข่าวสดด้วย" ทองธัชกล่าวด้วยความอาลัย
ทั้งนี้ พิธีศพ "ลุงต่วย" วาทิน ปิ่นเฉลียว จัดขึ้น ณ วัดเทพศิรินทร์ ศาลากวีนฤมิตร (ศาลากลางน้ำ) สวดพระอภิธรรม เวลา 19.00 น. จนถึงวันที่ 11 ตุลาคม
อาลัย′ลุงต่วย′ ตำนานต่วย′ตูน
วงการนักเขียนต้องพบกับความสูญเสียอีกครั้ง เมื่อ วาทิน ปิ่นเฉลียว หรือที่รู้จักในวงการน้ำหมึกว่า "ลุงต่วย" การ์ตูนิสต์ ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการบริหารพ็อคเก็ตแมกกาซีนต่วย′ตูน ได้เสียชีวิตอย่างสงบ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา ด้วยวัย 85 ปี ปิดตำนานการ์ตูนิสต์เมืองไทย
วาทิน เป็นบุตรคนกลางของนายวิวัธน์และนางพวง ปิ่นเฉลียว เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2473 เริ่มเขียนการ์ตูนตั้งแต่ยังเป็นนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วาดการ์ตูนในหนังสือฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เคยควบคุมงานก่อสร้างเขื่อนภูมิพล วาดการ์ตูนแนวแก๊กขำขันไปลงหนังสือต่างๆ ในสมัยนั้น เช่น ชาวกรุง ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และเขียนภาพประกอบให้หนังสือยุคนั้นหลายเล่ม เป็นที่รู้จักในหมู่นักอ่านจากการใช้ปากกาเขียน ซึ่งต่างจากคนอื่นที่ใช้พู่กันเขียน
นอกจากนี้ ยังวาดภาพประกอบให้นิตยสารสยามสมัย กระทั่ง พ.ศ.2509 จึงชวนเพื่อนนักเขียนจากนิตยสารชาวกรุง ประเสริฐ พิจารณ์โสภณ ร่วมกันก่อตั้งสำนักพิมพ์ประเสริฐ-วาทิน รวบรวมการ์ตูนที่วาทินวาดในชาวกรุง รวมเป็นพ็อคเก็ตบุ๊กในชื่อ "รวมการ์ตูนต่วย"
เมื่อเป็นที่รู้จัก จึงชวนพี่น้องในวงการนักเขียน เช่น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, รัตนะ ยาวะประภาษ, นพพร บุญยฤทธิ์, วสิษฐ เดชกุญชร มาทำหนังสือการ์ตูนรวมเล่มในชื่อ "รวมการ์ตูนของต่วย" ซึ่งได้รับผลตอบรับดี ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "รวมการ์ตูนต่วยและเรื่องสั้น" เพราะการ์ตูนที่เขียนนั้นไม่เพียงพอ จึงได้ขอเรื่องสั้นจากนักเขียนชื่อดังในยุคนั้นมารวมเล่ม
ผู้จัดจำหน่ายขณะนั้นติงว่าชื่อหนังสือยาวเกินไปจำยาก จึงเปลี่ยนเป็น "ต่วย′ตูน" และเริ่มต้นนับฉบับที่ 1 ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2514 และพิมพ์เป็นรายเดือนฉบับแรกในเดือนกันยายนปีเดียวกัน เนื้อหามีความหลากหลายสูง ซึ่งต้องผ่านเกณฑ์ "สาระ+หรรษา" ให้ความรู้สึกเหมือนมีเพื่อนมาเล่าให้ฟัง ใช้ภาษาง่าย หยอกล้อผ่านตัวหนังสือระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน ปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือ "ต่วย′ตูน พ็อคเก็ตแมกกาซีน" แบบดั้งเดิม เน้นเรื่องสั้นและเรื่องเล่าทั่วไปจากผู้เขียน และ "ต่วย′ตูน พิเศษ" ฉบับแรกเมื่อมีนาคม พ.ศ.2517 ที่เน้นสาระความรู้ สารคดี ประวัติศาสตร์ เรื่องแปลกและเรื่องลึกลับ
นอกจากวาดการ์ตูนแล้ว ลุงต่วยยังมีงานเขียนอีกหลายชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้นามปากกา ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ มักเป็นงานเขียนสารคดีที่ใช้ภาษาอ่านง่าย อ่านสนุก
ความสำเร็จของ "ต่วย′ตูน" ซึ่งครองใจแฟนานุแฟนมายาวนานกว่า 45 ปี สะท้อนว่าการจากไปของ "ลุงต่วย" เป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่
นายอรุณ วัชรสวัสดิ์ การ์ตูนิสต์การเมือง กล่าวว่า อันที่จริงก็ไม่ได้คุ้นกับพี่ต่วยมากนัก เพราะท่านเป็นผู้ใหญ่มาก แต่ก็เคยมีโอกาสได้ร่วมงานกันบ้าง
"ในแง่ของผลงาน การ์ตูนของพี่ต่วยคืองานที่เป็นสากลมาก เปรียบไปเหมือนเกาเหลาคือ เส้นน้อย ไม่มีสี ไม่มีคำพูด ไม่มีการเมือง เป็นการ์ตูนที่บริสุทธิ์ ดูแล้วไม่ได้ถึงกับหัวเราะก๊าก แต่หัวเราะแบบลึกๆ สงบๆ เป็นการ์ตูนที่เขียนยากมาก
พี่ต่วยเป็นคนที่หาได้ยาก เพราะเขียนการ์ตูนแล้วก็ยังอารมณ์ดีเหมือนการ์ตูนของแก การ์ตูนแกเป็นอย่างไรตัวแกก็เป็นอย่างนั้น โอบอ้อมอารี ต่างจากนักเขียนการ์ตูนส่วนใหญ่ที่มักเครียด เพราะต้องคิด ต้องเขียนออกมาอยู่เสมอ"
"คุณูปการสำคัญที่สุดของพี่ต่วยคือ การได้สร้างสำนักพิมพ์ นิตยสาร ให้เป็นแหล่งชุมนุมนักเขียน การทำตัวให้นักเขียนรุ่นหลังได้รู้ว่านักเขียนเป็นอย่างไร เป็นบรรณาธิการที่โอบอ้อมอารี จะเห็นว่าปกนิตยสารต่วยตูนส่วนใหญ่
แกก็ให้คนที่เขียนรูปเป็นแทบจะทุกคนในวงการได้มาโชว์ผลงาน ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่เคยเขียนให้ นี่คือความเอื้อเฟื้อ โอบอ้อมอารีย์ของผู้ใหญ่ที่ชื่อต่วย" อรุณกล่าวย้ำ
ทองธัช เทพารักษ์ การ์ตูนิสต์ เจ้าของฉายาเพชฌฆาต 100 ปก บอกว่า ถ้าพูดถึงหนังสือ "ต่วย′ตูน" แล้วไม่ใช่หนังสือการ์ตูนตลกแบบขายหัวเราะ แต่เป็นหนังสือเชิงวรรณกรรมที่เห็นมาตั้งแต่เด็ก เป็นหนังสือระดับตำนานที่อยู่มาหลายสิบปี และเป็นหนังสือที่กว้างขวางมาก บางครั้งกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดก็มีเพื่อนทักว่าเขียนลงใน "ต่วย′ตูน" นี่ หรือเวลาไปร่วมกิจกรรมต่างๆ ก็เจอนักเขียนที่เขียนลงต่วย′ตูนเหมือนกัน
"พี่ต่วยเป็นนักวาดการ์ตูนที่มีลายเส้นเป็นเอกลักษณ์ เป็นสากลคล้ายงานฝรั่ง แก๊กที่ใช้ก็คล้ายตลกฝรั่ง สบายๆ รู้เรื่องง่าย เป็นตลกที่อ่านได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ค่อยเป็นเรื่องการเมือง"
"รุ่นพี่ต่วย ถือเป็นรุ่นคลาสสิกที่ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มโอเลี้ยง 5 แก้ว ตัวพี่ต่วยเองก็เป็นนักวาดการ์ตูนคลาสสิก ที่เรียกว่าคลาสสิเคิลไทย ซึ่งผมรู้จักผลงานตั้งแต่สมัยที่เขียนชาวกรุง รุ่น ′รงค์ วงษ์สวรรค์ รุ่น
อาจินต์ ปัญจพรรค์ พี่ต่วยจึงถือว่าเป็นนักวาดการ์ตูนรุ่นเดอะ เป็นหนึ่งในไอดอลเรื่องการวาดการ์ตูนคนหนึ่ง"
ในความทรงจำ พี่ต่วยเป็นคนใจดีเสมอต้นเสมอปลายและดื่มหนัก
"สมัยก่อนกลุ่มนักเขียนค่อนข้างแคบ รู้จักกันหมด นัดดื่มนัดสังสรรค์กัน แต่ผมไม่มีโอกาสได้ร่วมสังสรรค์ด้วยเพราะผมยังถือว่าเป็นเด็กอยู่"
อีกความทรงจำหนึ่งที่น่าทึ่ง เป็นเรื่องของครอบครัววาทินที่เต็มเปี่ยมด้วยสายเลือดของนักเขียน
ทองธัชเล่าว่า "ตระกูลพี่ต่วยถือว่าเป็นตระกูลนักเขียน ที่มีพี่น้องเป็นนักเขียนแล้วเขียนหนังสือคนละสไตล์กันถึง 3 คน ตั้งแต่ ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว เป็นพี่ชายคนโต รับข้าราชการตำรวจแต่มีผลงานเรื่องสั้น และได้รับรางวัลช่อการะเกดเกียรติยศ เมื่อ พ.ศ.2539 รุ่นเดียวกับ มนัส สัตยารักษ์, วสิษฐ เดชกุญชร ซึ่งผมได้อ่านผลงานที่เขียนลงในนิตยสารตำรวจ แล้วก็พี่ต่วย-วาทิน ปิ่นเฉลียว เขียนการ์ตูน และน้องสาวคือ จินตนา ปิ่นเฉลียว หรือจินตนา ภักดีชายแดน นักเขียนนวนิยายแนวระทึกขวัญ เจ้าของนามปากกา จินตวีร์ วิวัธน์ ซึ่งมีผลงานขึ้นชื่อหลายเรื่อง เช่น อมฤตาลัย มณีสวาท ศีรษะมาร สางสยอง สาบนรสิงห์ เป็นต้น
แต่ส่วนตัวแล้ว ทองธัชไม่ได้สนิทกับวาทินเป็นการส่วนตัว แต่ก็เคยมีโอกาสได้ร่วมงานกันอยู่ช่วงหนึ่ง
"สมัยที่ผมยังเขียนการ์ตูนในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ พี่ต่วยโทรมาบอกว่า ′ผมต่วยครับ′ ตอนแรกนึกว่าเพื่อนอำเล่น แต่ปรากฏว่าเป็นพี่ต่วยจริงๆ โทรมาชวนผมเขียนการ์ตูนลงในต่วย′ตูน เขียนเป็นเรื่องอำสังคมผมก็รับปากไป เขียนอยู่ร่วมปีจากนั้นผมติดภาระเยอะเลยขาดส่งไป อีกอย่างคือผมถนัดการ์ตูนการเมืองมากกว่าการ์ตูนตลก เลยหยุดเขียนไป"
"มารู้ทีหลังว่าพี่ต่วยสุขภาพไม่ค่อยดีต้องเข้า-ออก โรงพยาบาลบ่อยๆ วันที่โทรมาหาผม ยังนอนอยู่ในโรงพยาบาลอยู่เลย แต่ผมยังไม่ได้ไปเจอเป็นการส่วนตัวสักที เจอกันในงานนักเขียนก็ไม่ค่อยได้ทักทายนัก ก็อยากไปเจอมาก วันนี้พี่ต่วยจากไปแล้วผมก็มีโอกาสได้เขียนไว้อาลัยในหนังสือพิมพ์ข่าวสดด้วย" ทองธัชกล่าวด้วยความอาลัย
ทั้งนี้ พิธีศพ "ลุงต่วย" วาทิน ปิ่นเฉลียว จัดขึ้น ณ วัดเทพศิรินทร์ ศาลากวีนฤมิตร (ศาลากลางน้ำ) สวดพระอภิธรรม เวลา 19.00 น. จนถึงวันที่ 11 ตุลาคม