คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 35
ผมเคยทำโครงการช่วยเหลือผู้ป่วย Hiv นะครับ (ผมปกตินะ)
...มีเพื่อนผมติดเชื้อ hiv 2 คนแต่ผมพาเขาไปตรวเลือดที่คลินิกนิรนามของสภากาชาดไทย เมื่อตรวจเจอ ก็ให้เขารับยาต้าน และสืบtime lineกันหาเวลาได้รับเชื้อ >> คนแรก : 5เดือนตรวจเจอรับยา ,คนที่2 : 8 เดือนรับยา (ไม่นานมานี้) ผมก็คอยให้กำลังใจและแนะนำแนวทางการรักษานะครับ
...ตอนนี้คนแรกทานยาต้านมา 1 ปี เพิ่งเจอกันเมื่อเดือนก่อน ....วิ้งมาเลย หน้าอย่างใส หุ่นก็แป๊ะเพราะว่าเขารักษาสุขภาพ ออกกำลังกาย กินยาตรงเวลาไม่เคยขาด สุขภาพจิตดีจากคนรอบข้าง จนดูเหมือนคนปกติทั่วไป (ดีกว่าแต่ก่อนด้วยซ้ำผมว่านะ)
... เมื้อกี้ Line กัน
เพื่อน : กูจะตายแบบนี้หรอ กูกลัว
ผม : ส่องกระจกดูซะ มาถึงจุดนี้ได้ สติๆ ละครมันเว่อร์วังเอาความสะใจไปงั้น กูนึกว่าแผลรถคว่ำ
เพื่อน : อื้ม ...
ไม่รู้นะครับ เพื่อนผมกว่ามันมาถึงจุดนี้มันเกือบฆ่าตัวตายมาหลายรอบจนตอนนี้ดีขึ้น // แต่วันนี้แค่ละครฉากเดียว 1 ปีที่เข้มแข็งของมันอ่อนล้าไปขนาดนี้ .... คิดเอานะครับ
...มีเพื่อนผมติดเชื้อ hiv 2 คนแต่ผมพาเขาไปตรวเลือดที่คลินิกนิรนามของสภากาชาดไทย เมื่อตรวจเจอ ก็ให้เขารับยาต้าน และสืบtime lineกันหาเวลาได้รับเชื้อ >> คนแรก : 5เดือนตรวจเจอรับยา ,คนที่2 : 8 เดือนรับยา (ไม่นานมานี้) ผมก็คอยให้กำลังใจและแนะนำแนวทางการรักษานะครับ
...ตอนนี้คนแรกทานยาต้านมา 1 ปี เพิ่งเจอกันเมื่อเดือนก่อน ....วิ้งมาเลย หน้าอย่างใส หุ่นก็แป๊ะเพราะว่าเขารักษาสุขภาพ ออกกำลังกาย กินยาตรงเวลาไม่เคยขาด สุขภาพจิตดีจากคนรอบข้าง จนดูเหมือนคนปกติทั่วไป (ดีกว่าแต่ก่อนด้วยซ้ำผมว่านะ)
... เมื้อกี้ Line กัน
เพื่อน : กูจะตายแบบนี้หรอ กูกลัว
ผม : ส่องกระจกดูซะ มาถึงจุดนี้ได้ สติๆ ละครมันเว่อร์วังเอาความสะใจไปงั้น กูนึกว่าแผลรถคว่ำ
เพื่อน : อื้ม ...
ไม่รู้นะครับ เพื่อนผมกว่ามันมาถึงจุดนี้มันเกือบฆ่าตัวตายมาหลายรอบจนตอนนี้ดีขึ้น // แต่วันนี้แค่ละครฉากเดียว 1 ปีที่เข้มแข็งของมันอ่อนล้าไปขนาดนี้ .... คิดเอานะครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 29
ตั้งแต่ทุนกยศ. มาจนถึงจุดจบเรื่องโรคเอดส์
แนะนำว่าถ้าคนเขียนบทไม่รู้จะให้อะไรกับสังคม
ขอแนะนำให้ให้ความรู้และเปิดโลกทัศน์ของตัวเองก่อนจะดีกว่า
เริ่มสงสัยว่าเมื่อช่องอนุมัติละครแล้ว ไม่เคยคิดจะตรวจสอบคุณภาพเนื้อหาอีกเลยเหรอ
ความรุนแรงในการจัดเรตไม่ใช่มีแค่การตบตี ด่าทอกันนะคะ
การสร้างทัศนคติเชิงลบหรือสร้าง 'ความแปลกแยก' ให้กับอะไรก็ตามไม่ว่าจะเพศ
อาชีพ ฐานะ ชาติพันธุ์ ความพิการ ฯลฯถือเป็นการกดขี่และความรุนแรงรูปแบบหนึ่งนะคะ
พอมันแฝงในละครบ่อยๆ คนจะคุ้นชินและเชื่อว่าเป็นความจริง ของแบบนี้มันละเอียดอ่อน
ถ้าอยากสร้างจิตสำนึกผ่านละครต้องคิดให้ลุ่มลึกกว่านี้
ถ้าจะสอนแค่ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วคงไม่ต้องดูกันยาวเป็นเดือนขนาดนี้ก็ได้
แนะนำว่าถ้าคนเขียนบทไม่รู้จะให้อะไรกับสังคม
ขอแนะนำให้ให้ความรู้และเปิดโลกทัศน์ของตัวเองก่อนจะดีกว่า
เริ่มสงสัยว่าเมื่อช่องอนุมัติละครแล้ว ไม่เคยคิดจะตรวจสอบคุณภาพเนื้อหาอีกเลยเหรอ
ความรุนแรงในการจัดเรตไม่ใช่มีแค่การตบตี ด่าทอกันนะคะ
การสร้างทัศนคติเชิงลบหรือสร้าง 'ความแปลกแยก' ให้กับอะไรก็ตามไม่ว่าจะเพศ
อาชีพ ฐานะ ชาติพันธุ์ ความพิการ ฯลฯถือเป็นการกดขี่และความรุนแรงรูปแบบหนึ่งนะคะ
พอมันแฝงในละครบ่อยๆ คนจะคุ้นชินและเชื่อว่าเป็นความจริง ของแบบนี้มันละเอียดอ่อน
ถ้าอยากสร้างจิตสำนึกผ่านละครต้องคิดให้ลุ่มลึกกว่านี้
ถ้าจะสอนแค่ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วคงไม่ต้องดูกันยาวเป็นเดือนขนาดนี้ก็ได้
ความคิดเห็นที่ 38
คุณ จขกท เหมือนเป็นนางฟ้ามาโปรดจริงๆค่ะ เพราะวันนี้เราก็มีความคิดจะตั้งกระทู้หาจุดยืนของผู้ติดเชื้อ HIV อยู่เหมือนกัน
สดๆร้อนๆก็ตอนนั่งทำงานวันนี้น่ะค่ะ พวกเพื่อนข้างๆเราเค้าดูละครนี้กันแล้วล้อเลียนกันสนุกสนานเชียว เรานั่งฟังไปก็น้ำตาซึมไป
ประเด็นนี้สำหรับคนธรรมดาที่ไม่ได้เป็นโรค มันคงดูเป็นโรคที่น่ารังเกียจ น่าเอามาล้อเล่นกันมากๆ แต่สำหรับคนเป็นโรคนี้ ได้ยินแล้วหัวเราะไม่ออกเลย
แต่จะทำไงได้ บอกใครเค้าก็ไม่ได้อีก เก็บไว้แบบนี้แหล่ะ อึดอัดใจแต่น่าจะปลอดภัยกับตัวเองที่สุดแล้ว ทนๆต่อไปค่ะ T T
ประเทศไทยยังต้องให้ความรู้และทิ้งความคิดผิดๆเกี่ยวกับโรคนี้ไปซักทีค่ะ มันไม่ได้ติดกันง่ายๆซะหน่อย แถมหลายๆคนที่รู้ตัวว่าเป็นก็ดูแลตัวเองกันดีด้วย
สดๆร้อนๆก็ตอนนั่งทำงานวันนี้น่ะค่ะ พวกเพื่อนข้างๆเราเค้าดูละครนี้กันแล้วล้อเลียนกันสนุกสนานเชียว เรานั่งฟังไปก็น้ำตาซึมไป
ประเด็นนี้สำหรับคนธรรมดาที่ไม่ได้เป็นโรค มันคงดูเป็นโรคที่น่ารังเกียจ น่าเอามาล้อเล่นกันมากๆ แต่สำหรับคนเป็นโรคนี้ ได้ยินแล้วหัวเราะไม่ออกเลย
แต่จะทำไงได้ บอกใครเค้าก็ไม่ได้อีก เก็บไว้แบบนี้แหล่ะ อึดอัดใจแต่น่าจะปลอดภัยกับตัวเองที่สุดแล้ว ทนๆต่อไปค่ะ T T
ประเทศไทยยังต้องให้ความรู้และทิ้งความคิดผิดๆเกี่ยวกับโรคนี้ไปซักทีค่ะ มันไม่ได้ติดกันง่ายๆซะหน่อย แถมหลายๆคนที่รู้ตัวว่าเป็นก็ดูแลตัวเองกันดีด้วย
ความคิดเห็นที่ 96
อันนี้ขออนุญาตก๊อบบทความจากเว็บของเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีแห่งประเทศไทยมานะคะ
http://thaiplus.net/node/201
ขอเรียกร้องให้ผู้จัดละคร “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” และสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องเอชไอวี/เอดส์
ที่ คอท. ๐๒๗/๒๕๕๘
วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๘
เรื่อง ขอเรียกร้องให้ผู้จัดละคร “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” และสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องเอชไอวี/เอดส์
เรียน ผู้บริหารบริษัท บ้านละคอน จำกัด
สำเนา ผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓
ตามที่ละครเรื่อง “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” ของบริษัท บ้านละคอน จำกัด ที่ออกอากาศในวันที่ ๖ ตุลาคม ที่มีฉากหนึ่งของเรื่องเป็นฉากที่หนึ่งในตัวแสดงหลักติดเชื้อเอชไอวี เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิตจากเอดส์นั้น ทางเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เห็นว่า ฉากดังกล่าวเป็นการสร้างความเข้าใจผิดในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ อย่างร้ายแรง ดังนี้
๑.การสื่อสารว่าโรคเอดส์มีระยะสุดท้าย และระยะวิกฤติ รวมทั้งการให้ภาพผู้ป่วยที่มีแผลเหวอะหวะและมีเลือดออกทั้งร่างกาย จะทำให้สังคมเข้าใจผิด เกิดความกลัว รังเกียจ ไม่อยากเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และ
๒.การสื่อสารว่าเมื่อติดเชื้อเอชไอวีแล้วจะต้องเสียชีวิต
ทั้งนี้ การสื่อสารดังกล่าวเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ที่ว่า โรคเอดส์ไม่ได้แบ่งเป็นระยะดังกล่าว แต่แบ่งเป็น “ผู้ติดเชื้อเอชไอวี” กับ “ผู้ป่วยเอดส์” ซึ่งแตกต่างกันที่ ผู้ติดเชื้อฯ คือ ผู้ที่ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายแล้วและยังไม่มีอาการป่วยใดๆ ในขณะที่ ผู้ป่วยเอดส์ คือ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคฉวยโอกาส อันเกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งโรคฉวยโอกาสทุกโรคสามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยด้วยโรคฉวยโอกาส เมื่อได้รับการรักษาและหายป่วยแล้วก็จะกลับมาเป็น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ตามเดิม ซึ่งไม่มีโรคฉวยโอกาสที่ทำให้มีลักษณะเหมือนที่ละครได้สื่อสารออกไป
อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อรู้ตัวว่ามีเชื้อฯ ไม่จำเป็นจะต้องป่วยเอดส์ เพราะปัจจุบันมีการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งครอบคลุมอยู่ในสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพ ที่ทำให้ผู้ติดเชื้อฯ ทุกคน ได้รับยาไวรัสฯ ทันที และเริ่มยาเร็วเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ภูมิคุ้มกันไม่ถูกทำลาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง เรียนได้ ทำงานได้ ไม่แตกต่างจากคนทั่วไป และดูไม่ออกจากรูปลักษณ์ภายนอก โดยเมื่อผู้ติดเชื้อฯ เข้าสู่การรักษาดังเช่นตัวละครในเรื่องเพื่อนรักเพื่อนริษยาแล้ว ผู้ติดเชื้อฯ คนดังกล่าวก็จะไม่ได้มีสภาพป่วยโทรม และต้องเสียชีวิตในที่สุด
อนึ่ง การสื่อสารที่บิดเบือนข้อเท็จจริง และผลิตซ้ำความเข้าใจผิดในเรื่องเอชไอวี/เอดส์นั้นจะส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในสังคมได้อย่างยากลำบาก เกิดการรังเกียจ ไม่รับเข้าเรียน ไม่รับเข้าทำงาน กีดกันไม่ให้อยู่ร่วมกันในสังคมเพราะเชื่อว่าติดเชื้อฯ แล้ว สุดท้ายจะเป็นดังภาพที่ละครได้เสนอออกมา ทั้งที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็ไม่แตกต่างจากคนทั่วๆ ไป รวมทั้งยังส่งผลให้คนที่มีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อฯ ซึ่งหมายถึงทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน ไม่กล้าเข้ามารับการตรวจรักษา เพราะเชื่อว่า รักษาไม่หาย เมื่อติดเชื้อเอชไอวีแล้วก็ต้องเสียชีวิตอย่างทรมาน
ยิ่งไปกว่านั้น ก็จะส่งผลให้คนที่มีเพศสัมพันธ์ มองความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีของตนเองพลาด และไม่ได้ป้องกัน เพราะคิดว่าคนที่ตัวเองมีเพศสัมพันธ์ด้วย ไม่มีเชื้อเอชไอวีแน่นอน เพราะถ้ามีเชื้อฯ ต้องแสดงอาการป่วยให้เห็นเหมือนในละคร
อย่างไรก็ดี ผลกระทบทั้งหมดนี้จะเป็นการสร้างปัญหาในการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านเอดส์ให้กับสังคมและประเทศในระยะยาว
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่ทำงานในเรื่องเอชไอวี/เอดส์มากว่า ๒๐ ปี ขอเรียกร้องให้ผู้จัดละคร “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” และผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ รับผิดชอบด้วยการแก้ไขข้อมูล และให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและรอบด้านแก่สังคม ผ่านช่องทางต่างๆ ที่ทางสถานีมีโดยด่วน ไม่ว่าจะผ่านรายการ ข่าว สกู๊ป หรือเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ให้แก่สังคม โดยทางเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ยินดีส่งตัวแทน “ผู้ติดเชื้อเอชไอวี” ที่พร้อมเปิดเผยตนเอง เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีและให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่ผู้จัดละคร/ผู้บริหารสถานีฯ หรือเผยแพร่ให้ผู้ชม รับทราบจากกรณีดังกล่าว
หากทางผู้จัดละครหรือผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ สามารถดูได้ที่ www.thaiplus.net หรือติดต่อ คุณอภิวัฒน์ กวางแก้ว โทร ๐๘๖ – ๘๘๑ – ๔๖๗๙
http://thaiplus.net/node/201
ขอเรียกร้องให้ผู้จัดละคร “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” และสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องเอชไอวี/เอดส์
ที่ คอท. ๐๒๗/๒๕๕๘
วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๘
เรื่อง ขอเรียกร้องให้ผู้จัดละคร “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” และสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องเอชไอวี/เอดส์
เรียน ผู้บริหารบริษัท บ้านละคอน จำกัด
สำเนา ผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓
ตามที่ละครเรื่อง “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” ของบริษัท บ้านละคอน จำกัด ที่ออกอากาศในวันที่ ๖ ตุลาคม ที่มีฉากหนึ่งของเรื่องเป็นฉากที่หนึ่งในตัวแสดงหลักติดเชื้อเอชไอวี เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิตจากเอดส์นั้น ทางเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เห็นว่า ฉากดังกล่าวเป็นการสร้างความเข้าใจผิดในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ อย่างร้ายแรง ดังนี้
๑.การสื่อสารว่าโรคเอดส์มีระยะสุดท้าย และระยะวิกฤติ รวมทั้งการให้ภาพผู้ป่วยที่มีแผลเหวอะหวะและมีเลือดออกทั้งร่างกาย จะทำให้สังคมเข้าใจผิด เกิดความกลัว รังเกียจ ไม่อยากเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และ
๒.การสื่อสารว่าเมื่อติดเชื้อเอชไอวีแล้วจะต้องเสียชีวิต
ทั้งนี้ การสื่อสารดังกล่าวเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ที่ว่า โรคเอดส์ไม่ได้แบ่งเป็นระยะดังกล่าว แต่แบ่งเป็น “ผู้ติดเชื้อเอชไอวี” กับ “ผู้ป่วยเอดส์” ซึ่งแตกต่างกันที่ ผู้ติดเชื้อฯ คือ ผู้ที่ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายแล้วและยังไม่มีอาการป่วยใดๆ ในขณะที่ ผู้ป่วยเอดส์ คือ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคฉวยโอกาส อันเกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งโรคฉวยโอกาสทุกโรคสามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยด้วยโรคฉวยโอกาส เมื่อได้รับการรักษาและหายป่วยแล้วก็จะกลับมาเป็น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ตามเดิม ซึ่งไม่มีโรคฉวยโอกาสที่ทำให้มีลักษณะเหมือนที่ละครได้สื่อสารออกไป
อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อรู้ตัวว่ามีเชื้อฯ ไม่จำเป็นจะต้องป่วยเอดส์ เพราะปัจจุบันมีการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งครอบคลุมอยู่ในสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพ ที่ทำให้ผู้ติดเชื้อฯ ทุกคน ได้รับยาไวรัสฯ ทันที และเริ่มยาเร็วเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ภูมิคุ้มกันไม่ถูกทำลาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง เรียนได้ ทำงานได้ ไม่แตกต่างจากคนทั่วไป และดูไม่ออกจากรูปลักษณ์ภายนอก โดยเมื่อผู้ติดเชื้อฯ เข้าสู่การรักษาดังเช่นตัวละครในเรื่องเพื่อนรักเพื่อนริษยาแล้ว ผู้ติดเชื้อฯ คนดังกล่าวก็จะไม่ได้มีสภาพป่วยโทรม และต้องเสียชีวิตในที่สุด
อนึ่ง การสื่อสารที่บิดเบือนข้อเท็จจริง และผลิตซ้ำความเข้าใจผิดในเรื่องเอชไอวี/เอดส์นั้นจะส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในสังคมได้อย่างยากลำบาก เกิดการรังเกียจ ไม่รับเข้าเรียน ไม่รับเข้าทำงาน กีดกันไม่ให้อยู่ร่วมกันในสังคมเพราะเชื่อว่าติดเชื้อฯ แล้ว สุดท้ายจะเป็นดังภาพที่ละครได้เสนอออกมา ทั้งที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็ไม่แตกต่างจากคนทั่วๆ ไป รวมทั้งยังส่งผลให้คนที่มีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อฯ ซึ่งหมายถึงทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน ไม่กล้าเข้ามารับการตรวจรักษา เพราะเชื่อว่า รักษาไม่หาย เมื่อติดเชื้อเอชไอวีแล้วก็ต้องเสียชีวิตอย่างทรมาน
ยิ่งไปกว่านั้น ก็จะส่งผลให้คนที่มีเพศสัมพันธ์ มองความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีของตนเองพลาด และไม่ได้ป้องกัน เพราะคิดว่าคนที่ตัวเองมีเพศสัมพันธ์ด้วย ไม่มีเชื้อเอชไอวีแน่นอน เพราะถ้ามีเชื้อฯ ต้องแสดงอาการป่วยให้เห็นเหมือนในละคร
อย่างไรก็ดี ผลกระทบทั้งหมดนี้จะเป็นการสร้างปัญหาในการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านเอดส์ให้กับสังคมและประเทศในระยะยาว
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่ทำงานในเรื่องเอชไอวี/เอดส์มากว่า ๒๐ ปี ขอเรียกร้องให้ผู้จัดละคร “เพื่อนรักเพื่อนริษยา” และผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ รับผิดชอบด้วยการแก้ไขข้อมูล และให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและรอบด้านแก่สังคม ผ่านช่องทางต่างๆ ที่ทางสถานีมีโดยด่วน ไม่ว่าจะผ่านรายการ ข่าว สกู๊ป หรือเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ให้แก่สังคม โดยทางเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ยินดีส่งตัวแทน “ผู้ติดเชื้อเอชไอวี” ที่พร้อมเปิดเผยตนเอง เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีและให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่ผู้จัดละคร/ผู้บริหารสถานีฯ หรือเผยแพร่ให้ผู้ชม รับทราบจากกรณีดังกล่าว
หากทางผู้จัดละครหรือผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องเอชไอวี/เอดส์ สามารถดูได้ที่ www.thaiplus.net หรือติดต่อ คุณอภิวัฒน์ กวางแก้ว โทร ๐๘๖ – ๘๘๑ – ๔๖๗๙
ความคิดเห็นที่ 70
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คุยกันบ่อยมากเลยค่ะ เวลาไปประชุมกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ร่วมกับบ้านพักใจ เรื่องการป้องกัน การรักษาตัว การอยู่ร่วมกับผู้ป่วย และ การให้ผู้ป่วยอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในสังคม เราไปในฐานะ ตัวแทนแรงงานค่ะ
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นในอีกมุมนึงค่ะ แต่ต้องขอบอกก่อนนะคะว่าเราเข้าใจประเด็นที่เจ้าของกระทู้กล่าวและเห็นด้วยค่ะ ซึ่งเราเอง เมื่อคืนนี้ก็คิดไม่ถึงเลย
ส่วนตัวแล้ว มองว่า ณ ปัจจุบันนี้ การรณรงค์ เน้นไปในเรื่องของ การให้กำลังใจผู้ป่วย การช่วยให้ผู้อื่นมองผู้ป่วยอย่างเข้าใจ และให้ผู้ป่วยอยู่ได้ในสังคมอย่างปกติทั่วไป ซึ่งเรื่องนี้ถูกต้องอยู่แล้วค่ะ แต่การรณรงค์ ไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมไหน ก็เป็นดาบสองคมเช่นกัน
ใช้ภาพรุนแรง เพื่อการป้องกัน ทำให้คนระมัดระวังการมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น อาจได้ผลเหมือนช่วงแรกๆที่มีข่าว HIV ในประเทศไทย ประชาชนเกิดการตื่นตัวกันมากขึ้น เป็นกระแสฮือฮาผู้คนก็ระมัดระวังกันมากด้วย เพราะกลัวจะเป็นอย่างภาพที่นำเสนอออกไป ช่วงนั้น ถุงยางขายดีขึ้น จากการสอบถามและพูดคุย คนจะไม่ค่อยกล้ามีเพศสัมพันธ์ชั่วครั้งชั่วคราวมากขึ้นด้วย
จนช่วงหลัง เค้าเปลี่ยนมารณรงค์เพื่อผู้ป่วยที่ติดเชื้อไปแล้วให้มีชีวิตที่ดีและได้รับการยอมรับมากขึ้น อย่างเช่น เป็นเอดส์เหมือนเป็นเบาหวานอะไรทำนองนี้นี่แหล่ะค่ะ ทำให้คนรุ่นใหม่ๆ เริ่มไม่กลัวการเป็นเอดส์ อายุเฉลี่ยผู้ได้รับเชื้อต่ำลงเรื่อยๆ (ได้ฟังจากการประชุมนะคะ) คือ เวลาเจ้าหน้าที่ไปทำการอบรมในสถานศึกษา ก็จะมีการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้รู้ว่า การแพร่กระจายของเชื้อเนี่ยมันกระจายไปได้ง่ายขนาดไหน ถ้ามีพฤติกรรมเสี่ยง
แต่ ........ เราก็บอกเค้าว่า เอดส์ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด กินยา รักษาสุขภาพก็อยู่ได้
แต่จริงๆแล้ว คนป่วยด้วยโรคเรื้อรังก็คือคนป่วยอ่ะค่ะ จะเบาหวาน หัวใจ ความดัน หรือ ไต เมื่อได้เป็นแล้ว การใช้ชีวิตก็จะต้องยุ่งยากขึ้นระดับนึงอยู่ดี ทั้งยังอาจมีโรคแทรกซ้อน ที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวเองได้ด้วย บริจาคเลือดเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ได้ และยังยุ่งยากถ้าคิดจะมีบุตรในอนาคต
สำหรับละครเรื่องนี้ เราดู 2 ครั้งค่ะ ครั้งแรกช่วงต้นเรื่อง ดูแล้วเราไม่ค่อยชอบ เลยไม่ได้ดูอีก กับครั้งที่สองคือ เมื่อคืน เห็นว่าเป็นตอนจบก็เลยเปิดดูไปเรื่อยๆตอนเล่นเกม
ตอนที่เห็นภาพไลลาก็คิดอยู่ค่ะ ว่าอืมมมมมมม ไม่ได้เห็นการนำเสนอโรคเอดส์ในมุมนี้นานแล้ว ดูน่ากลัวแฮะ แต่ก็โอ.นะ คนที่ยังไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง จะได้กลัว ไม่ต้องทำ คนที่เป็นจะได้รักษาตัว จะได้ไม่ไปถึงตรงนี้ เพราะจากการประชุม และจากคนรู้จักที่เป็น เมื่อรักษาไปสักระยะหนึ่ง แล้วร่างกายแข็งแรงดี ส่วนหนึ่งจะเริ่มประมาท เริ่มกลับไปใช้ชีวิตเดิมๆ แล้วก็จะทรุดลง
เราเลยมองฉากเมื่อคืนว่าเป็นการสอนแต่อาจเป็นมุมโบราณ เหมือนกับที่สมัยก่อนรณรงค์เรื่องยาเสพติด แล้วใช้ภาพคนผอมๆๆๆๆๆๆ จนตอนหลังเค้าเลยเลิกใช้ภาพนั้น เพราะเหตุผลเรื่องดูรุนแรงเหมือนกัน
ทองเนื้อเก้า ก็ให้ลำยองจบแบบน่ากลัวค่ะ แต่พอบอกเป็นซิฟิลิส คนเลยไม่ค่อยอะไรมาก เพราะนึกว่าเป็นโรคโบราณที่ไม่มีแล้ว แต่จริงๆยังมีนะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พอมีกระทู้นี้ เราเข้ามาอ่านแล้วก็เห็นด้วยค่ะ การใช้ภาพรุนแรง มันเป็นดาบสองคมจริงๆ อาจส่งผลดีสำหรับวัตถุประสงค์หนึ่ง แต่ก็อาจส่งผลร้ายสำหรับผู้ได้พบเห็นอีกกลุ่มหนึ่งได้เหมือนกัน
เพิ่มเติมค่ะ ....
การรณรงค์เพื่อให้คน " กลัวที่จะเป็นโรคนี้ " ถูกต้องแล้วค่ะ
ต่างกันนะคะ กับการรณรงค์ให้ " ไม่กลัวคนที่เป็นโรคนี้ "
ป้องกันตัวเองได้ ก็ป้องกันค่ะ การกินยาตลอดชีวิตไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าจะเบาหวาน หัวใจ ไขมัน ความดัน หรือ ไต ก็ไม่น่าเป็นทั้งนั้นค่ะ
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นในอีกมุมนึงค่ะ แต่ต้องขอบอกก่อนนะคะว่าเราเข้าใจประเด็นที่เจ้าของกระทู้กล่าวและเห็นด้วยค่ะ ซึ่งเราเอง เมื่อคืนนี้ก็คิดไม่ถึงเลย
ส่วนตัวแล้ว มองว่า ณ ปัจจุบันนี้ การรณรงค์ เน้นไปในเรื่องของ การให้กำลังใจผู้ป่วย การช่วยให้ผู้อื่นมองผู้ป่วยอย่างเข้าใจ และให้ผู้ป่วยอยู่ได้ในสังคมอย่างปกติทั่วไป ซึ่งเรื่องนี้ถูกต้องอยู่แล้วค่ะ แต่การรณรงค์ ไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมไหน ก็เป็นดาบสองคมเช่นกัน
ใช้ภาพรุนแรง เพื่อการป้องกัน ทำให้คนระมัดระวังการมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น อาจได้ผลเหมือนช่วงแรกๆที่มีข่าว HIV ในประเทศไทย ประชาชนเกิดการตื่นตัวกันมากขึ้น เป็นกระแสฮือฮาผู้คนก็ระมัดระวังกันมากด้วย เพราะกลัวจะเป็นอย่างภาพที่นำเสนอออกไป ช่วงนั้น ถุงยางขายดีขึ้น จากการสอบถามและพูดคุย คนจะไม่ค่อยกล้ามีเพศสัมพันธ์ชั่วครั้งชั่วคราวมากขึ้นด้วย
จนช่วงหลัง เค้าเปลี่ยนมารณรงค์เพื่อผู้ป่วยที่ติดเชื้อไปแล้วให้มีชีวิตที่ดีและได้รับการยอมรับมากขึ้น อย่างเช่น เป็นเอดส์เหมือนเป็นเบาหวานอะไรทำนองนี้นี่แหล่ะค่ะ ทำให้คนรุ่นใหม่ๆ เริ่มไม่กลัวการเป็นเอดส์ อายุเฉลี่ยผู้ได้รับเชื้อต่ำลงเรื่อยๆ (ได้ฟังจากการประชุมนะคะ) คือ เวลาเจ้าหน้าที่ไปทำการอบรมในสถานศึกษา ก็จะมีการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้รู้ว่า การแพร่กระจายของเชื้อเนี่ยมันกระจายไปได้ง่ายขนาดไหน ถ้ามีพฤติกรรมเสี่ยง
แต่ ........ เราก็บอกเค้าว่า เอดส์ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด กินยา รักษาสุขภาพก็อยู่ได้
แต่จริงๆแล้ว คนป่วยด้วยโรคเรื้อรังก็คือคนป่วยอ่ะค่ะ จะเบาหวาน หัวใจ ความดัน หรือ ไต เมื่อได้เป็นแล้ว การใช้ชีวิตก็จะต้องยุ่งยากขึ้นระดับนึงอยู่ดี ทั้งยังอาจมีโรคแทรกซ้อน ที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวเองได้ด้วย บริจาคเลือดเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ได้ และยังยุ่งยากถ้าคิดจะมีบุตรในอนาคต
สำหรับละครเรื่องนี้ เราดู 2 ครั้งค่ะ ครั้งแรกช่วงต้นเรื่อง ดูแล้วเราไม่ค่อยชอบ เลยไม่ได้ดูอีก กับครั้งที่สองคือ เมื่อคืน เห็นว่าเป็นตอนจบก็เลยเปิดดูไปเรื่อยๆตอนเล่นเกม
ตอนที่เห็นภาพไลลาก็คิดอยู่ค่ะ ว่าอืมมมมมมม ไม่ได้เห็นการนำเสนอโรคเอดส์ในมุมนี้นานแล้ว ดูน่ากลัวแฮะ แต่ก็โอ.นะ คนที่ยังไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง จะได้กลัว ไม่ต้องทำ คนที่เป็นจะได้รักษาตัว จะได้ไม่ไปถึงตรงนี้ เพราะจากการประชุม และจากคนรู้จักที่เป็น เมื่อรักษาไปสักระยะหนึ่ง แล้วร่างกายแข็งแรงดี ส่วนหนึ่งจะเริ่มประมาท เริ่มกลับไปใช้ชีวิตเดิมๆ แล้วก็จะทรุดลง
เราเลยมองฉากเมื่อคืนว่าเป็นการสอนแต่อาจเป็นมุมโบราณ เหมือนกับที่สมัยก่อนรณรงค์เรื่องยาเสพติด แล้วใช้ภาพคนผอมๆๆๆๆๆๆ จนตอนหลังเค้าเลยเลิกใช้ภาพนั้น เพราะเหตุผลเรื่องดูรุนแรงเหมือนกัน
ทองเนื้อเก้า ก็ให้ลำยองจบแบบน่ากลัวค่ะ แต่พอบอกเป็นซิฟิลิส คนเลยไม่ค่อยอะไรมาก เพราะนึกว่าเป็นโรคโบราณที่ไม่มีแล้ว แต่จริงๆยังมีนะคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พอมีกระทู้นี้ เราเข้ามาอ่านแล้วก็เห็นด้วยค่ะ การใช้ภาพรุนแรง มันเป็นดาบสองคมจริงๆ อาจส่งผลดีสำหรับวัตถุประสงค์หนึ่ง แต่ก็อาจส่งผลร้ายสำหรับผู้ได้พบเห็นอีกกลุ่มหนึ่งได้เหมือนกัน
เพิ่มเติมค่ะ ....
การรณรงค์เพื่อให้คน " กลัวที่จะเป็นโรคนี้ " ถูกต้องแล้วค่ะ
ต่างกันนะคะ กับการรณรงค์ให้ " ไม่กลัวคนที่เป็นโรคนี้ "
ป้องกันตัวเองได้ ก็ป้องกันค่ะ การกินยาตลอดชีวิตไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าจะเบาหวาน หัวใจ ไขมัน ความดัน หรือ ไต ก็ไม่น่าเป็นทั้งนั้นค่ะ
แสดงความคิดเห็น
ละครเพื่อนรักเพื่อนริษยา โรคเอดส์มันไม่ได้ร้ายแรงขนาดนั้นนะคะ เลิกยัดเยียดความร้ายแรงและความรุนแรงผิดๆซะที
ผู้ป่วยจากการติดเชื้อ HIV เป็นผู้ที่น่าสงสาร นอกจากจะเป็นผู้ป่วยแล้วยังถูกผลักออกจากสังคม
จนปัจจุบันนี้ สังคมเปลี่ยนไปแล้ว คนติดเชื้อ HIV ยอมรับตัวเอง ยอมรับการรักษา
และปรับทัศนคติว่า สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ ซึ่งกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ต้องใช้เวลายาวนาน
แต่ในละคร ติดเอดส์ไม่กี่วัน ระยะสุดท้าย แผลเน่าเหวอะหวะ
จะทำละคร เอามันส์ รู้จักรับผิดชอบสังคมด้วยนะคะ