** ที่มาของชื่อผาสองฤดู เพราะถ้าไปในช่วงที่เป็นใจ จะเห็นซีกด้านหนึ่ง(ด้านซ้าย) มีแต่หมอก อีกซีกด้านหนึ่ง(ด้านขาว) สดใส ทำให้ดูเหมือนมีสองบรรยากาศอยู่ในที่เดียวกัน
ทริปนี้เป็นทริปเก่ามาเล่าใหม่ ไปมาช่วง 8-10 ธค 2550 เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศ การเดินทาง
*** สามารถดูข้อมูลการเดินทางล่าสุด ซึ่งผมไปมาเมื่อต้นปี 2558 ได้ที่
เดินป่าผาสองฤดู (ยอดขุนวาง) ทะลุยอดดอยเสียดฟ้า อินทนนท์
http://ppantip.com/topic/34263715/comment1
---------------------------------------------------------------------------------
ทริปนี้ก็ไปเริ่มต้นที่ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ซึ่งการเดินทางมาที่นี่คือ
- วิ่งเข้ามาทาง อช.อินทนนท์
- ก่อนถึงที่ทำการอุทยาน ให้เลี้ยวขาว ผ่านน้ำตกสิริภูมิ
- ไปตามทาง 2 เลน ผ่านศูนย์กล้วยไม้อินทนนท์
- จนถึงศูนย์ฯ ขุนวาง
โดยสามารถติดต่อศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ขุนวาง มีที่กางเต็นท์ ค่ากางเต็นท์หลังละ 100 บาท มีห้องน้ำ มีน้ำอุ่นให้อาบ เบอร์ติดต่อ 0819602033 053432275 เบอร์นี้สามารถติดต่อลูกหาบ หรือคนนำทางไปยอดผาสองฤดู (ผาแง่ม) ได้
อาหารก็มีครับ สามารถสั่งได้ แต่เดินขึ้นผาสองฤดู(ยอดขุนวาง ผาแง่มใหญ่) ไปค้างแรมต้องเตรียมอุปกรณ์กันไปเองนะครับ หรือถ้ามีงบ อาจสั่งอาหารจากด้านล่าง แล้วจ้างลูกหาบแบบขึ้นได้ เพราะใช้เวลาเดินประมาณ 2-3 ชั่วโมง ไม่ไกลมาก
*** ช่วงหน้าหนาว เป็นอีกที่ที่คนมาดูดอกพญาเสือโคร่งกัน
-----------------------------------------------------------------------------------
https://youtu.be/AKEBTGplxaU
กว่าจะมาถึงศูนย์เกษตร ก็10 โมงกว่าแล้วแวะกินข้าวระหว่างทาง หรือถ่ายรูปมาเรื่อยๆ ได้ แต่ควรเดินขึ้นประมาณเที่ยวก็จะดี
มาถึงก็จัดการของที่ต้องเดินขึ้นดอย จากนั้นก็เดินออกจาก ศูนย์ฯ ขุนวาง เลี้ยวขวา เดินมาถึงป้าย บ้านเจ็ดหลัง เดินเลยไปหน่อย จะมีซอยเข้าทางด้านซ้ายมือ ก็เดินเข้าซอยไป จนถึง 3 แยก ให้เลี้ยวขวาอีกที่ผ่านแปลงเกษตรชาวบ้าน
ช่วงก่อนเข้าป่า ก็จะเห็นยอดขุนวางอยู่ไม่ไกล นั้นคือจุดหมายของเราที่ไปจะค้ามแรมบนนั้น
มีบริการลูกหาบด้วยนะครับ ถ้าแบกของไม่ไหว หรือพวกของกองกลาง
ผ่านแปลงเกษตรก็จะเริ่มเดินเข้าป่า
ช่วงแรกก็จะเดินตามแนวท่อประปาภูเขา จนถึงฝาย เดินข้ามฝายไปอีกฝั่ง
จากนั้นก็เดินขึ้นอย่างเดียวเลย
ใช้เวลาเดินจากศูนย์เกษตรฯ ขุนวาง ขึ้นเขามาประมาณ 2 ชั่วโมงกว่า ก็จะมาถึงสันเขา เป็นสามแยก
ซ้ายไปยอดขุนวาง จุดหมายของเรา
ขาว เดินลงตามทางแนวกันไฟ ลงไปตัดกับถนนที่จะไป ศูนย์เกษตรฯ แม่จอนหลวง ซึ่งอีกวันเราจะลงมาทางนี้กัน
ความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยประมาณ 2050 เมตร (อาจผิดพลาดได้ +- 50 โดยประมาณ)
พักเหนือย เดินถ่ายรูปกันก่อน
พักเหนื่อย ถ่ายรูปเสร็จ ก็เดินไปจุดหมายที่ตั้งแค้มของเรากัน
เส้นทางด้านหลังที่เขาเดินผ่านมา ที่เราพักเหนื่อยเมื่อกี้
ยอดโล้นมีแนวทางเดิน เป็นแนวกันไฟ ซึ่งพรุ่งนี้เราจะเดินลงตามเส้นนี้ไป
จากสามแยกที่เราพัก เดินขึ้นเขาตามสันเขามาอีกประมาณ 20 นาที ก็มาถึงแค้มป์ เป็นลานกว้างเล็กๆ พื้นที่ไม่มากนัก ลักษณะเหมือนพื้นที่กางเต็นของเขาช้างเผือกแต่ที่นี้ดูจะเล็กกว่าหน่อยครับ
ไม่มีต้นใม้ให้ผูกเป้ นอนเต็นท์หรือนอนปลาทูก็จะดี แต่ข้างบน ลมแรงมาก เตรียมกันลม กันหนาวให้ดี
ช่วงที่เรามาโชคดีได้เห็น ความเป็นสองฤดู ตามชื่อผาสองฤดู
กางเต็นท์กันเสร็จ ก็ช่วยกันทำกับข้าว เดี๋ยวจะมืดซะก่อน
ช่วงพระอาทิตย์กำลังตก แถวๆที่พัก ถ้ามีหมอก ก็จะเห็นเป็นรุ่งกลมๆ เล็กๆ
ยืนถ่ายรูปเล่นก็สวยดี
ทุกทริป พี่ๆ ลูกหาบก็จะช่วยก่อไฟ หุงข้าว ให้
แสงอาทิตย์เริ่มคล้อยต่ำลงทางฝั่งขาวมือ (มองไปยังยอดเขา)
แล้วตะวันของวันนี้ก็ลับขอบฟ้าไป เพื่อเริ่มต้นใหม่ในอีกทิศทาง
บางช่วงอากาศเปิด ทำให้เห็นยอดขุนวางได้ทั้งยอดเลย
พี่ๆลูกหาบก็ช่วยกันทำกับข้าวรอพวกเราถ่ายรูป กว่าจะได้กินข้าวเย็นก็ทุ่มกว่า ทั้งหนาว ทั้งหิว
อีกหนึ่งวันที่หมดไป กินข้าวเสร็จ นั่งคุยกันซะหน่อย จากนั้นก็แยกย้ายพักผ่อน................
[CR] เดินป่าผาสองฤดู ลงไปแม่จอนหลวง (ทริปเก่ามาเล่าใหม่)
** ที่มาของชื่อผาสองฤดู เพราะถ้าไปในช่วงที่เป็นใจ จะเห็นซีกด้านหนึ่ง(ด้านซ้าย) มีแต่หมอก อีกซีกด้านหนึ่ง(ด้านขาว) สดใส ทำให้ดูเหมือนมีสองบรรยากาศอยู่ในที่เดียวกัน
ทริปนี้เป็นทริปเก่ามาเล่าใหม่ ไปมาช่วง 8-10 ธค 2550 เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศ การเดินทาง
*** สามารถดูข้อมูลการเดินทางล่าสุด ซึ่งผมไปมาเมื่อต้นปี 2558 ได้ที่
เดินป่าผาสองฤดู (ยอดขุนวาง) ทะลุยอดดอยเสียดฟ้า อินทนนท์
http://ppantip.com/topic/34263715/comment1
---------------------------------------------------------------------------------
ทริปนี้ก็ไปเริ่มต้นที่ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ซึ่งการเดินทางมาที่นี่คือ
- วิ่งเข้ามาทาง อช.อินทนนท์
- ก่อนถึงที่ทำการอุทยาน ให้เลี้ยวขาว ผ่านน้ำตกสิริภูมิ
- ไปตามทาง 2 เลน ผ่านศูนย์กล้วยไม้อินทนนท์
- จนถึงศูนย์ฯ ขุนวาง
โดยสามารถติดต่อศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ขุนวาง มีที่กางเต็นท์ ค่ากางเต็นท์หลังละ 100 บาท มีห้องน้ำ มีน้ำอุ่นให้อาบ เบอร์ติดต่อ 0819602033 053432275 เบอร์นี้สามารถติดต่อลูกหาบ หรือคนนำทางไปยอดผาสองฤดู (ผาแง่ม) ได้
อาหารก็มีครับ สามารถสั่งได้ แต่เดินขึ้นผาสองฤดู(ยอดขุนวาง ผาแง่มใหญ่) ไปค้างแรมต้องเตรียมอุปกรณ์กันไปเองนะครับ หรือถ้ามีงบ อาจสั่งอาหารจากด้านล่าง แล้วจ้างลูกหาบแบบขึ้นได้ เพราะใช้เวลาเดินประมาณ 2-3 ชั่วโมง ไม่ไกลมาก
*** ช่วงหน้าหนาว เป็นอีกที่ที่คนมาดูดอกพญาเสือโคร่งกัน
-----------------------------------------------------------------------------------
https://youtu.be/AKEBTGplxaU
กว่าจะมาถึงศูนย์เกษตร ก็10 โมงกว่าแล้วแวะกินข้าวระหว่างทาง หรือถ่ายรูปมาเรื่อยๆ ได้ แต่ควรเดินขึ้นประมาณเที่ยวก็จะดี
มาถึงก็จัดการของที่ต้องเดินขึ้นดอย จากนั้นก็เดินออกจาก ศูนย์ฯ ขุนวาง เลี้ยวขวา เดินมาถึงป้าย บ้านเจ็ดหลัง เดินเลยไปหน่อย จะมีซอยเข้าทางด้านซ้ายมือ ก็เดินเข้าซอยไป จนถึง 3 แยก ให้เลี้ยวขวาอีกที่ผ่านแปลงเกษตรชาวบ้าน
ช่วงก่อนเข้าป่า ก็จะเห็นยอดขุนวางอยู่ไม่ไกล นั้นคือจุดหมายของเราที่ไปจะค้ามแรมบนนั้น
มีบริการลูกหาบด้วยนะครับ ถ้าแบกของไม่ไหว หรือพวกของกองกลาง
ผ่านแปลงเกษตรก็จะเริ่มเดินเข้าป่า
ช่วงแรกก็จะเดินตามแนวท่อประปาภูเขา จนถึงฝาย เดินข้ามฝายไปอีกฝั่ง
จากนั้นก็เดินขึ้นอย่างเดียวเลย
ใช้เวลาเดินจากศูนย์เกษตรฯ ขุนวาง ขึ้นเขามาประมาณ 2 ชั่วโมงกว่า ก็จะมาถึงสันเขา เป็นสามแยก
ซ้ายไปยอดขุนวาง จุดหมายของเรา
ขาว เดินลงตามทางแนวกันไฟ ลงไปตัดกับถนนที่จะไป ศูนย์เกษตรฯ แม่จอนหลวง ซึ่งอีกวันเราจะลงมาทางนี้กัน
ความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยประมาณ 2050 เมตร (อาจผิดพลาดได้ +- 50 โดยประมาณ)
พักเหนือย เดินถ่ายรูปกันก่อน
พักเหนื่อย ถ่ายรูปเสร็จ ก็เดินไปจุดหมายที่ตั้งแค้มของเรากัน
เส้นทางด้านหลังที่เขาเดินผ่านมา ที่เราพักเหนื่อยเมื่อกี้
ยอดโล้นมีแนวทางเดิน เป็นแนวกันไฟ ซึ่งพรุ่งนี้เราจะเดินลงตามเส้นนี้ไป
จากสามแยกที่เราพัก เดินขึ้นเขาตามสันเขามาอีกประมาณ 20 นาที ก็มาถึงแค้มป์ เป็นลานกว้างเล็กๆ พื้นที่ไม่มากนัก ลักษณะเหมือนพื้นที่กางเต็นของเขาช้างเผือกแต่ที่นี้ดูจะเล็กกว่าหน่อยครับ
ไม่มีต้นใม้ให้ผูกเป้ นอนเต็นท์หรือนอนปลาทูก็จะดี แต่ข้างบน ลมแรงมาก เตรียมกันลม กันหนาวให้ดี
ช่วงที่เรามาโชคดีได้เห็น ความเป็นสองฤดู ตามชื่อผาสองฤดู
กางเต็นท์กันเสร็จ ก็ช่วยกันทำกับข้าว เดี๋ยวจะมืดซะก่อน
ช่วงพระอาทิตย์กำลังตก แถวๆที่พัก ถ้ามีหมอก ก็จะเห็นเป็นรุ่งกลมๆ เล็กๆ
ยืนถ่ายรูปเล่นก็สวยดี
ทุกทริป พี่ๆ ลูกหาบก็จะช่วยก่อไฟ หุงข้าว ให้
แสงอาทิตย์เริ่มคล้อยต่ำลงทางฝั่งขาวมือ (มองไปยังยอดเขา)
แล้วตะวันของวันนี้ก็ลับขอบฟ้าไป เพื่อเริ่มต้นใหม่ในอีกทิศทาง
บางช่วงอากาศเปิด ทำให้เห็นยอดขุนวางได้ทั้งยอดเลย
พี่ๆลูกหาบก็ช่วยกันทำกับข้าวรอพวกเราถ่ายรูป กว่าจะได้กินข้าวเย็นก็ทุ่มกว่า ทั้งหนาว ทั้งหิว
อีกหนึ่งวันที่หมดไป กินข้าวเสร็จ นั่งคุยกันซะหน่อย จากนั้นก็แยกย้ายพักผ่อน................