มีคำถามหลายข้อเลยอ่ะค่ะ ที่อยากได้คำตอบ
พอดีลองหาข้อมูลในเว็บต่างๆ หรือแม้แต่ในเว็บตรงของมหาวิทยาลัย แล้วยังไม่ได้ข้อมูลที่ชัดเจนอ่ะค่ะ
ตอนนี้ที่มองๆอยู่มี 2 ที่ คือ จุฬา กับ มศว อยากทราบว่า
1. อยากทราบว่า ที่จุฬา และ มศว มีสาขาไหนเปิดสำหรับ ป.โทบ้างคะ?
รวมถึงเกณฑ์ต่างๆที่ใช้ในการรับเข้าศึกษามีอะไรบ้าง ต้องสอบอะไร ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตรและระยะเวลาในการเรียนเท่าไหร่กันบ้างคะ?
2. สำหรับ 2 สถาบันข้างต้น ถ้าไม่ได้จบป.ตรี จิตวิทยามา สถาบันไหนที่มีโอกาสเข้าศึกษาต่อง่ายกว่ากันคะ?
3. ถ้าสนใจสาขาจิตวิทยาการปรึกษา เมื่อเรียนจบแล้วโอกาสที่จะได้ทำงานเกี่ยวกับเป็นที่ปรึกษาปัญหาชีวิต ให้คำแนะนำมีมากน้อยแค่ไหนคะ?
(คือ ไม่ค่อยชอบงานพวก HR หรือเกี่ยวกับพัฒนาองค์กรอะไรเท่าไหร่อ่ะค่ะเลยกลัวว่าจะมีงานไม่มากอ่ะค่ะ
เพราะส่วนใหญ่การจ้างงานมักจะเห็นเป็นคนที่จบจิตวิทยาคลินิกซะมากกว่าอ่ะค่ะ)
4. เท่าที่หาข้อมูลมาเห็นว่าถ้าเป็นสาขาจิตวิทยาคลินิกในระดับ ป.โท มีแค่ มหิดล กับ ราม หรอคะ? หรือว่ามีที่อื่นๆอีก
5. อยากทราบว่าป.โท จิตวิทยาเรียนหนักมากน้อยแค่ไหน หรือมีส่วนไหนที่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษในการเรียนบ้างคะ?
6. ในความรู้สึกส่วนตัวที่หาข้อมูลมานะคะ คือ
สาขาจิตวิทยาคลินิก ดูเรียนยากและค่อนข้างหนักอารมณ์คล้ายแพทย์เลย แถมยังต้องสอบใบประกอบโรคอีกด้วย
ในขณะที่จิตวิทยาการปรึกษา ดูเนื้อหาเบาหน่อยจนรู้สึกว่า ถ้าจบไปอาจจะทำงานได้น้อยกว่าจิตวิทยาคลินิก
เลยอยากทราบความเห็นของคนที่เรียนอยู่ หรือจบโท แล้วได้ทำงานแล้วว่า มีมุมมองยังไงบ้างคะ?
7. ถ้าเกิดระหว่างเรียนป.โท จิตวิทยา แล้วอยากหางานที่เกี่ยวข้องกับสาขานี้เป็นรายได้เสริมที่ไม่ใช่งานประจำอ่ะค่ะ
พอจะมีงานแนวๆที่ว่านี้บ้างมั้ยคะ? (คือแอบคิดว่า ถ้าเรียนไม่หนักมาก พอมีเวลาก็ไม่อยากอยู่เฉยๆอ่ะค่ะ แต่ถ้าทำงานประจำไม่น่าไหวแน่ๆค่ะ)
จขกท รู้สึกว่าวันนี้มาแบบมีสาระอีกแล้ว ยาวมากด้วย 55555
ยังไงก็ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่าน รวมถึงให้คำตอบและคำแนะนำนะคะ
อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับป.โท จิตวิทยาหน่อยค่ะ
พอดีลองหาข้อมูลในเว็บต่างๆ หรือแม้แต่ในเว็บตรงของมหาวิทยาลัย แล้วยังไม่ได้ข้อมูลที่ชัดเจนอ่ะค่ะ
ตอนนี้ที่มองๆอยู่มี 2 ที่ คือ จุฬา กับ มศว อยากทราบว่า
1. อยากทราบว่า ที่จุฬา และ มศว มีสาขาไหนเปิดสำหรับ ป.โทบ้างคะ?
รวมถึงเกณฑ์ต่างๆที่ใช้ในการรับเข้าศึกษามีอะไรบ้าง ต้องสอบอะไร ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตรและระยะเวลาในการเรียนเท่าไหร่กันบ้างคะ?
2. สำหรับ 2 สถาบันข้างต้น ถ้าไม่ได้จบป.ตรี จิตวิทยามา สถาบันไหนที่มีโอกาสเข้าศึกษาต่อง่ายกว่ากันคะ?
3. ถ้าสนใจสาขาจิตวิทยาการปรึกษา เมื่อเรียนจบแล้วโอกาสที่จะได้ทำงานเกี่ยวกับเป็นที่ปรึกษาปัญหาชีวิต ให้คำแนะนำมีมากน้อยแค่ไหนคะ?
(คือ ไม่ค่อยชอบงานพวก HR หรือเกี่ยวกับพัฒนาองค์กรอะไรเท่าไหร่อ่ะค่ะเลยกลัวว่าจะมีงานไม่มากอ่ะค่ะ
เพราะส่วนใหญ่การจ้างงานมักจะเห็นเป็นคนที่จบจิตวิทยาคลินิกซะมากกว่าอ่ะค่ะ)
4. เท่าที่หาข้อมูลมาเห็นว่าถ้าเป็นสาขาจิตวิทยาคลินิกในระดับ ป.โท มีแค่ มหิดล กับ ราม หรอคะ? หรือว่ามีที่อื่นๆอีก
5. อยากทราบว่าป.โท จิตวิทยาเรียนหนักมากน้อยแค่ไหน หรือมีส่วนไหนที่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษในการเรียนบ้างคะ?
6. ในความรู้สึกส่วนตัวที่หาข้อมูลมานะคะ คือ
สาขาจิตวิทยาคลินิก ดูเรียนยากและค่อนข้างหนักอารมณ์คล้ายแพทย์เลย แถมยังต้องสอบใบประกอบโรคอีกด้วย
ในขณะที่จิตวิทยาการปรึกษา ดูเนื้อหาเบาหน่อยจนรู้สึกว่า ถ้าจบไปอาจจะทำงานได้น้อยกว่าจิตวิทยาคลินิก
เลยอยากทราบความเห็นของคนที่เรียนอยู่ หรือจบโท แล้วได้ทำงานแล้วว่า มีมุมมองยังไงบ้างคะ?
7. ถ้าเกิดระหว่างเรียนป.โท จิตวิทยา แล้วอยากหางานที่เกี่ยวข้องกับสาขานี้เป็นรายได้เสริมที่ไม่ใช่งานประจำอ่ะค่ะ
พอจะมีงานแนวๆที่ว่านี้บ้างมั้ยคะ? (คือแอบคิดว่า ถ้าเรียนไม่หนักมาก พอมีเวลาก็ไม่อยากอยู่เฉยๆอ่ะค่ะ แต่ถ้าทำงานประจำไม่น่าไหวแน่ๆค่ะ)
จขกท รู้สึกว่าวันนี้มาแบบมีสาระอีกแล้ว ยาวมากด้วย 55555
ยังไงก็ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่าน รวมถึงให้คำตอบและคำแนะนำนะคะ