จากมติชนออนไลน์
สุขุมพันธ์ ฐิติธนพันธ์ หรือ "บิทเติ้ล" นักร้องหน้าใหม่แห่งค่ายอาร์เอส วัย 24 ปี จบปริญญาตรี ศิลปกรรมศาสตาร์ สาขาการแสดงและกำกับการแสดง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งก่อนหน้าที่จะมาทำเพลงนี้ เขาได้ออกซิงเกิ้ลแรกมาแล้วกับอาร์เอสด้วยเพลง "คุกกี้รันคั่นเวลา" และก่อนหน้าที่จะเข้ามาในวงการเพลงเขาเคยทำละครเวทีมาด้วย เช่น รับบทเป็น ระพิน ใน มังกรสลัดเกล็ด เดอะมิวสิคคัล ฯลฯ
ล่าสุด มติชนออนไลน์ สัมภาษณ์ "บิทเติ้ล" กับเพลงซิงเกิ้ลล่าสุด "ห้านาทีบรรลุธรรม" ซึ่งนอกจากเนื้อหาที่แปลกใหม่ มีการผสมผสานคำสอนทางพุทธศาสนากับความรักเข้ากันแล้ว เพลงนี้เขายังแต่งเอง ร้องเอง และนั่งแท่นเป็นโปรดิวเซอร์เองด้วย
แนวคิดของเพลง "ห้านาทีบรรลุธรรม" เริ่มต้นจากไหน?
จริงๆ ผมชอบในแนวคิดของพุทธศาสนา สนใจมาตั้งแต่เด็ก อีกอย่างคุณพ่อผมเขาบวชเรียนมา แล้วเขาค่อนข้างจะผูกพันกับศาสนา เขาเลยชอบสอนด้วยคำสอนธรรมะมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วผมก็เคยไปบวชเรียนเป็นสามเณรภาคฤดูร้อนด้วย และครั้งหนึ่ง ผมเคยตั้งคำถามในใจว่า เราสามารถนำเอาพุทธศาสนามาแต่งเป็นเพลงได้ไหม ก็ตั้งใจไว้ว่าอยากทำ สักวันหนึ่งฉันจะต้องทำให้ได้
มีอยู่วันหนึ่ง ไปนั่งกินข้าวกับเพื่อน แล้วเพื่อนถามว่าจะบวชไหม เมื่อไหร่จะบวช อายุ 20 กว่าแล้ว ก็ตอบไปว่า เดี๋ยวจะบวช แล้วเพื่อนถามอีกว่า แล้วถ้าบวชจะทำอะไร ทีนี้เริ่มคิดแล้ว เราเรียนละครเวทีมา เราน่าจะหาวิธีปฏิสัมพันธ์กับคนดูให้น่าสนใจ เลยบอกเพื่อนไปว่า เอางี้ จะเทศน์ให้ดู ก็เลยให้เพื่อนนั่งล้อมรอบ แล้วพูดว่า "โยม โยมทั้งหมด ไหนโยมลองลืมตานานๆ สักห้านาที ... เห็นไหม ไม่มีใครทนได้ อ่ะ โยมหลับตาพักผ่อน เห็นไหมว่า มีเกิดขึ้น ก็มีดับลง มีลืมตา ก็ต้องหลับตา"
เราชอบสิ่งที่ตัวเองพูดออกไปตอนนั้น หลังจากนั้น เราเลยเก็บแนวคิดนี้ไว้ในใจ แล้วมาคิดต่อว่า จะทำอย่างไรให้มันเป็นเพลงโดยที่เข้าถึงคน ก็ต้องยอมรับว่า เพลงไทยในสมัยนี้เป็นเพลงรักเสียเป็นส่วนมาก เลยตัดสินใจว่า เราต้องเอาความรักมาเชื่อมโยงเพื่อนำพาคนให้เข้าไปสู่เรื่องนี้ได้ง่าย ซึ่งมันก็ต้องเป็นเรื่องของผู้ชายอกหักอะไรประมาณนี้ ประกอบกับตอนนั้นกำลังเขียนบทละครเวที เพลงนี้จึงออกมาในแนวที่เป็นละครเวที
ช่วยขยายความที่บอกว่า เพลงมีความเป็นละครเวที?
ต้องบอกก่อนว่า ผมไม่ได้เชี่ยวชาญในการทำเพลงนัก แต่เรียนทางด้านละครเวทีมา วิธีคิดในเพลงนี้ของผมคือ การทำละครเรื่องหนึ่ง เช่น เนื้อหาของเพลงมีความเป็นบทละครที่นำไปสู่แก่นสารของเรื่อง พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงของตัวละคร อย่างในเพลง ขึ้นต้นด้วยผู้ชายที่อกหักมา แล้วถามด้วยการอ้อนวอนว่า อยากให้เธอกลับมา แต่พอสุดท้ายเขาเข้าใจว่า นี่คือความจริงที่เกิดขึ้น แท้จริงแล้วพุทธศาสนาไม่ได้ขอให้คุณวอนไหว้ แต่คุณต้องเข้าใจมันมากกว่า
แล้วจะเรียกแนวเพลงตัวเองเป็นแบบไหนดี?
จริงๆ ผมไม่สามารถจัดมันได้หรอกครับว่าเพลงมันเป็นแบบไหน แต่ผมแค่รู้สึกว่า ผมโชคดีมากที่ได้ทำมันออกมา
จากคนทำละครเวทีแล้วมาทำเพลง มองวงการเพลงอย่างไร?
ผมว่าเพลงเป็นศิลปะอีกอย่างหนึ่งที่สะท้อนความรู้สึก และความเป็นมนุษย์ของคน ซึ่งความเป็นมนุษย์ของคนมันมีหลายๆด้าน มันมีทั้งด้านที่เป็นธรรมะและเป็นอธรรม ซึ่งเพลงมันช่วยสำรวจความเป็นมนุษย์
มองพุทธศาสนาในสังคมไทยอย่างไร?
ผมคิดว่าคำสอน หรือพุทธศานาก็ต้องเปลี่ยนแปลง วิวัฒน์ พัฒนาไปตามยุคสมัย ณ ขณะนั้น ถ้าเราชื่นชอบ ถ้าเรารักอะไร เราต้องหาวิธีการที่ทำให้มันร่วมสมัยให้ได้ นั่นคือสิ่งที่ผมพยายามทำสิ่งนั้นออกมา พูดง่ายๆคือ ต้องทำพุทธศาสนาให้เข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตของคนให้ได้
อยากให้คนมองพุทธศาสนาในโลกสมัยใหม่อย่างไร?
ผมอยากเห็นพุทธศาสนาที่พระสงฆ์สามารถสื่อสารกับชาวบ้านได้อย่างเข้าถึงและเข้าใจได้ง่ายๆคือพอมีปัญหาเรื่องความทุกข์ก็เข้าไปปรึกษาได้ไม่ได้มีเพียงแต่พิธีกรรมแต่ว่าต้องมีเนื้อหาที่เข้าใจได้ง่ายๆนี่คือพุทธศาสนาที่ผมฝันถึง ซึ่งมันก็ปรากฏอยู่ในเพลงนี้ด้วย
5นาทีบรรลุธรรม! "บิทเติ้ล"นักร้องหนุ่มค่ายอาร์เอส กับ"เพลงรัก"แนวธรรมะช่วยดึงสติ!
สุขุมพันธ์ ฐิติธนพันธ์ หรือ "บิทเติ้ล" นักร้องหน้าใหม่แห่งค่ายอาร์เอส วัย 24 ปี จบปริญญาตรี ศิลปกรรมศาสตาร์ สาขาการแสดงและกำกับการแสดง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งก่อนหน้าที่จะมาทำเพลงนี้ เขาได้ออกซิงเกิ้ลแรกมาแล้วกับอาร์เอสด้วยเพลง "คุกกี้รันคั่นเวลา" และก่อนหน้าที่จะเข้ามาในวงการเพลงเขาเคยทำละครเวทีมาด้วย เช่น รับบทเป็น ระพิน ใน มังกรสลัดเกล็ด เดอะมิวสิคคัล ฯลฯ
ล่าสุด มติชนออนไลน์ สัมภาษณ์ "บิทเติ้ล" กับเพลงซิงเกิ้ลล่าสุด "ห้านาทีบรรลุธรรม" ซึ่งนอกจากเนื้อหาที่แปลกใหม่ มีการผสมผสานคำสอนทางพุทธศาสนากับความรักเข้ากันแล้ว เพลงนี้เขายังแต่งเอง ร้องเอง และนั่งแท่นเป็นโปรดิวเซอร์เองด้วย
แนวคิดของเพลง "ห้านาทีบรรลุธรรม" เริ่มต้นจากไหน?
จริงๆ ผมชอบในแนวคิดของพุทธศาสนา สนใจมาตั้งแต่เด็ก อีกอย่างคุณพ่อผมเขาบวชเรียนมา แล้วเขาค่อนข้างจะผูกพันกับศาสนา เขาเลยชอบสอนด้วยคำสอนธรรมะมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วผมก็เคยไปบวชเรียนเป็นสามเณรภาคฤดูร้อนด้วย และครั้งหนึ่ง ผมเคยตั้งคำถามในใจว่า เราสามารถนำเอาพุทธศาสนามาแต่งเป็นเพลงได้ไหม ก็ตั้งใจไว้ว่าอยากทำ สักวันหนึ่งฉันจะต้องทำให้ได้
มีอยู่วันหนึ่ง ไปนั่งกินข้าวกับเพื่อน แล้วเพื่อนถามว่าจะบวชไหม เมื่อไหร่จะบวช อายุ 20 กว่าแล้ว ก็ตอบไปว่า เดี๋ยวจะบวช แล้วเพื่อนถามอีกว่า แล้วถ้าบวชจะทำอะไร ทีนี้เริ่มคิดแล้ว เราเรียนละครเวทีมา เราน่าจะหาวิธีปฏิสัมพันธ์กับคนดูให้น่าสนใจ เลยบอกเพื่อนไปว่า เอางี้ จะเทศน์ให้ดู ก็เลยให้เพื่อนนั่งล้อมรอบ แล้วพูดว่า "โยม โยมทั้งหมด ไหนโยมลองลืมตานานๆ สักห้านาที ... เห็นไหม ไม่มีใครทนได้ อ่ะ โยมหลับตาพักผ่อน เห็นไหมว่า มีเกิดขึ้น ก็มีดับลง มีลืมตา ก็ต้องหลับตา"
เราชอบสิ่งที่ตัวเองพูดออกไปตอนนั้น หลังจากนั้น เราเลยเก็บแนวคิดนี้ไว้ในใจ แล้วมาคิดต่อว่า จะทำอย่างไรให้มันเป็นเพลงโดยที่เข้าถึงคน ก็ต้องยอมรับว่า เพลงไทยในสมัยนี้เป็นเพลงรักเสียเป็นส่วนมาก เลยตัดสินใจว่า เราต้องเอาความรักมาเชื่อมโยงเพื่อนำพาคนให้เข้าไปสู่เรื่องนี้ได้ง่าย ซึ่งมันก็ต้องเป็นเรื่องของผู้ชายอกหักอะไรประมาณนี้ ประกอบกับตอนนั้นกำลังเขียนบทละครเวที เพลงนี้จึงออกมาในแนวที่เป็นละครเวที
ช่วยขยายความที่บอกว่า เพลงมีความเป็นละครเวที?
ต้องบอกก่อนว่า ผมไม่ได้เชี่ยวชาญในการทำเพลงนัก แต่เรียนทางด้านละครเวทีมา วิธีคิดในเพลงนี้ของผมคือ การทำละครเรื่องหนึ่ง เช่น เนื้อหาของเพลงมีความเป็นบทละครที่นำไปสู่แก่นสารของเรื่อง พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงของตัวละคร อย่างในเพลง ขึ้นต้นด้วยผู้ชายที่อกหักมา แล้วถามด้วยการอ้อนวอนว่า อยากให้เธอกลับมา แต่พอสุดท้ายเขาเข้าใจว่า นี่คือความจริงที่เกิดขึ้น แท้จริงแล้วพุทธศาสนาไม่ได้ขอให้คุณวอนไหว้ แต่คุณต้องเข้าใจมันมากกว่า
แล้วจะเรียกแนวเพลงตัวเองเป็นแบบไหนดี?
จริงๆ ผมไม่สามารถจัดมันได้หรอกครับว่าเพลงมันเป็นแบบไหน แต่ผมแค่รู้สึกว่า ผมโชคดีมากที่ได้ทำมันออกมา
จากคนทำละครเวทีแล้วมาทำเพลง มองวงการเพลงอย่างไร?
ผมว่าเพลงเป็นศิลปะอีกอย่างหนึ่งที่สะท้อนความรู้สึก และความเป็นมนุษย์ของคน ซึ่งความเป็นมนุษย์ของคนมันมีหลายๆด้าน มันมีทั้งด้านที่เป็นธรรมะและเป็นอธรรม ซึ่งเพลงมันช่วยสำรวจความเป็นมนุษย์
มองพุทธศาสนาในสังคมไทยอย่างไร?
ผมคิดว่าคำสอน หรือพุทธศานาก็ต้องเปลี่ยนแปลง วิวัฒน์ พัฒนาไปตามยุคสมัย ณ ขณะนั้น ถ้าเราชื่นชอบ ถ้าเรารักอะไร เราต้องหาวิธีการที่ทำให้มันร่วมสมัยให้ได้ นั่นคือสิ่งที่ผมพยายามทำสิ่งนั้นออกมา พูดง่ายๆคือ ต้องทำพุทธศาสนาให้เข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตของคนให้ได้
อยากให้คนมองพุทธศาสนาในโลกสมัยใหม่อย่างไร?
ผมอยากเห็นพุทธศาสนาที่พระสงฆ์สามารถสื่อสารกับชาวบ้านได้อย่างเข้าถึงและเข้าใจได้ง่ายๆคือพอมีปัญหาเรื่องความทุกข์ก็เข้าไปปรึกษาได้ไม่ได้มีเพียงแต่พิธีกรรมแต่ว่าต้องมีเนื้อหาที่เข้าใจได้ง่ายๆนี่คือพุทธศาสนาที่ผมฝันถึง ซึ่งมันก็ปรากฏอยู่ในเพลงนี้ด้วย