ข่าวประชาสัมพันธ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานคณะกรรมการนโนยายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) จัดเวทีปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ“สร้างอนาคตประเทศไทยด้วยนวัตกรรม”
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ จากประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยประสิทธิภาพการผลิต ไปสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม จากรายงานดัชนีนวัตกรรมโลก ที่จัดทำโดยองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้จัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังเรียนรู้ และมีศักยภาพที่จะยกระดับประเทศสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและสังคมแห่งความรู้ การวางเป้าหมายอนาคตของประเทศที่ชัดเจน ที่จะมุ่งพัฒนาประเทศไปในทิศทางดังกล่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ดร.พิเชฐ กล่าวว่า จากประสบการณ์ของประเทศที่สามารถหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ต่างใช้การลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ประเทศรายได้สูงและยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรให้ดีทั้งสิ้น สำหรับประเทศไทย รัฐบาลมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนประเทศ โดยภายในปี 2559 นี้ รัฐบาลคาดหวังให้ประเทศไทยมีการลงทุนวิจัยและพัฒนาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1 ของ GDP และเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของ GDP ภายในปี 2564 โดยมุ่งหวังให้สัดส่วนการลงทุนวิจัยและพัฒนาในปี 2564 ร้อยละ 70 เป็นการลงทุนโดยภาคเอกชน ดังนั้น ภาครัฐจึงต้องปรับเปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้อำนวยความสะดวก และสร้างสภาพแวดล้อมในการทำนวัตกรรม ให้ภาคเอกชนสามารถใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อยอดสู่การทำนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ตั้งเป้าหมายให้ภายในปี 2564 ประเทศไทยจะมีบุคลากรวิจัยและพัฒนาไม่ต่ำกว่า 25 คนต่อประชากร 10,000 คน เพื่อรองรับการขยายการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศที่มีภาคเอกชนเป็นผู้นำ
นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายอีกหลายประการโดยเฉพาะ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ในปี 2568 และจากสถานะที่ประเทศไทยมีบทบาทเป็นผู้นำในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอยู่ในปัจจุบัน หากสามารถสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุ จะเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะเป็นผู้นำในตลาดการบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุของโลก ขณะเดียวกัน การรวมตัวของประชาคมอาเซียน ซึ่งจะเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของประเทศไทย จากตลาดภายในที่มีประชากร 67 ล้านคน กลุ่มประเทศอาเซียนจะมีประชากรรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน สินค้าและบริการจากประเทศไทยจึงจะมีโอกาสเข้าถึงกลุ่มตลาดที่ใหญ่ขึ้นหลายเท่าตัว เช่นเดียวกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สังคมโลกที่เปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ วทน.จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคงสถานะประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการส่งออกไว้ได้
รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำและการมีส่วนร่วมของชุมชน การนำ วทน.ไปใช้เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น จะส่งผลให้ชุมชนต่าง ๆ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดการยกระดับรายได้ของประชาชนในท้องถิ่นและมีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประเทศจำเป็นต้องยกระดับการสนับสนุนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม ทั้งต่อยอดให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
“จากความท้าทายหลาย ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจนว่าประเทศไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะใช้ วทน. เป็นตัวขับเคลื่อนอนาคต ประเทศไทยได้ก้าวสู่ยุคที่ต้องแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ บนฐานความรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตของประเทศด้วยนวัตกรรมถือเป็นหัวใจที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถยกระดับจากประเทศรายได้ปานกลาง แต่การจะก้าวไปสู่จุดที่ประเทศจะสามารถขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม บทบาทภาครัฐที่สำคัญคือการลงทุนพัฒนาสภาพแวดล้อมทางนวัตกรรมที่เหมาะสม ดังนั้นจึงถึงเวลาที่ประเทศจำเป็นต้องมีการปฏิรูป วทน. เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม” ดร.พิเชฐ กล่าว
“ดร.พิเชฐ” ชูธง ปฏิรูป วทน. หวังเปลี่ยนโครงสร้างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานคณะกรรมการนโนยายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) จัดเวทีปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ“สร้างอนาคตประเทศไทยด้วยนวัตกรรม”
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ จากประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยประสิทธิภาพการผลิต ไปสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม จากรายงานดัชนีนวัตกรรมโลก ที่จัดทำโดยองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้จัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังเรียนรู้ และมีศักยภาพที่จะยกระดับประเทศสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและสังคมแห่งความรู้ การวางเป้าหมายอนาคตของประเทศที่ชัดเจน ที่จะมุ่งพัฒนาประเทศไปในทิศทางดังกล่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ดร.พิเชฐ กล่าวว่า จากประสบการณ์ของประเทศที่สามารถหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ต่างใช้การลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ประเทศรายได้สูงและยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรให้ดีทั้งสิ้น สำหรับประเทศไทย รัฐบาลมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนประเทศ โดยภายในปี 2559 นี้ รัฐบาลคาดหวังให้ประเทศไทยมีการลงทุนวิจัยและพัฒนาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1 ของ GDP และเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของ GDP ภายในปี 2564 โดยมุ่งหวังให้สัดส่วนการลงทุนวิจัยและพัฒนาในปี 2564 ร้อยละ 70 เป็นการลงทุนโดยภาคเอกชน ดังนั้น ภาครัฐจึงต้องปรับเปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้อำนวยความสะดวก และสร้างสภาพแวดล้อมในการทำนวัตกรรม ให้ภาคเอกชนสามารถใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อยอดสู่การทำนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ตั้งเป้าหมายให้ภายในปี 2564 ประเทศไทยจะมีบุคลากรวิจัยและพัฒนาไม่ต่ำกว่า 25 คนต่อประชากร 10,000 คน เพื่อรองรับการขยายการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศที่มีภาคเอกชนเป็นผู้นำ
นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายอีกหลายประการโดยเฉพาะ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ในปี 2568 และจากสถานะที่ประเทศไทยมีบทบาทเป็นผู้นำในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอยู่ในปัจจุบัน หากสามารถสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุ จะเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะเป็นผู้นำในตลาดการบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุของโลก ขณะเดียวกัน การรวมตัวของประชาคมอาเซียน ซึ่งจะเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของประเทศไทย จากตลาดภายในที่มีประชากร 67 ล้านคน กลุ่มประเทศอาเซียนจะมีประชากรรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน สินค้าและบริการจากประเทศไทยจึงจะมีโอกาสเข้าถึงกลุ่มตลาดที่ใหญ่ขึ้นหลายเท่าตัว เช่นเดียวกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สังคมโลกที่เปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ วทน.จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคงสถานะประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการส่งออกไว้ได้
รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำและการมีส่วนร่วมของชุมชน การนำ วทน.ไปใช้เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น จะส่งผลให้ชุมชนต่าง ๆ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดการยกระดับรายได้ของประชาชนในท้องถิ่นและมีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประเทศจำเป็นต้องยกระดับการสนับสนุนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม ทั้งต่อยอดให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
“จากความท้าทายหลาย ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจนว่าประเทศไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะใช้ วทน. เป็นตัวขับเคลื่อนอนาคต ประเทศไทยได้ก้าวสู่ยุคที่ต้องแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ บนฐานความรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตของประเทศด้วยนวัตกรรมถือเป็นหัวใจที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถยกระดับจากประเทศรายได้ปานกลาง แต่การจะก้าวไปสู่จุดที่ประเทศจะสามารถขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม บทบาทภาครัฐที่สำคัญคือการลงทุนพัฒนาสภาพแวดล้อมทางนวัตกรรมที่เหมาะสม ดังนั้นจึงถึงเวลาที่ประเทศจำเป็นต้องมีการปฏิรูป วทน. เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม” ดร.พิเชฐ กล่าว