การเทียบโอนปริญญาใบแรกไปใบที่สอง

ขออนุญาติสอบถามผู้รู้ทุกท่านครับ
  ผมจบปริญญาตรีสาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง
  แต่อยากได้ปริญญาตรีอีกใบในคณะและสาขาที่ต่างออกไปของราม เช่นคณะรัฐศาสตร์    สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
  ไม่ทราบว่าจะสามารถเทียบโอนหน่อยกิจได้ไหมครับ แล้วจะได้ประมาณกี่หน่วยกิจครับ สุดท้ายค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ครับ
  ขอความกรุณาผู้รู้หรือบุคลากรของรามช่วยตอบข้อสงสัยผมหน่อยนะครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าด้วยครับ

** ใครมีแผนการลงเรียนดีๆที่ใช้เวลาเรียนแค่ปีสองปีช่วยบอกหน่อยนะครับ**

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ป.ตรี นิติศาสตรบัณฑิต ม.ราม จะไม่ดูเกรด ป.ตรี ใบแรกแล้วครับ
วิชาที่เทียบโอนได้เป็นหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
ซึ่งได้รับการยกเว้นการลงทะเบียนเรียนไปเลยครับ ไม่พิจารณาเกรดแล้ว

สรุปง่ายๆ คือ จบปริญญาตรีใบที่ 1 มาสมัคร ป.ตรี นิติศาสตรบัณฑิต ม.ราม
หมวดวิชาศึกษาทั่วไปจำนวน 37 หน่วยกิต ก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเรียนเลย
และไม่เอาเกรดมาพิจารณาครับ สามารถเทียบโอนได้ทั้งหมด
โดยไม่ต้องพิจารณาเกรดว่าต้องได้ C ขึ้นไป ถึงจะเทียบโอนได้

แต่ถ้ากำลังเรียน ป.ตรี อยู่ ยังไม่จบการศึกษา แล้วมาสมัคร ป.ตรี อีกใบที่ ม.ราม
หากจะเทียบโอนรายวิชาจาก ป.ตรี ใบที่ยังเรียนไม่จบ
นั่นแหละครับ รายวิชาที่เทียบโอนได้ จะต้องได้ C ขึ้นไป

เรียน ป.ตรี นิติศาสตร์ (เทียบโอน) ที่ ม.ราม โดยเทียบโอนรายวิชาจาก ป.ตรี ใบแรก (ต้องจบ ป.ตรี มาก่อนแล้ว)
สามารถเรียนจบได้ใน 2 ปี ครับ เพราะหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ม.ราม มี 140 หน่วยกิต
ป.ตรี เทียบโอน สามารถโอนได้ 37 หน่วยกิต เหลือเรียนอีก 103 หน่วยกิต (ซึ่งเป็นวิชากฎหมาย)
เรียนอัดเทอมละ 24 หน่วยกิต + ซัมเมอร์ 12 หน่วยกิต แล้วสอบให้ผ่านให้หมด
1 ปีการศึกษา (2 เทอม + ซัมเมอร์ 1 เทอม จะได้ 60 หน่วยกิต)
2 ปีการศึกษา เก็บได้ 120 หน่วยกิต ก็เกิน 103 หน่วยกิตแล้ว ครับ
ถ้าทำได้จริง 2 ปี ก็เรียนจบได้ครับ

ค่าใช้จ่าย หนักๆก็จะเป็นค่าเทียบโอนครับ หน่วยกิตละ 100
เทียบโอน 37 หน่วยกิต ก็ 3,700 บาท (จริงๆก็ไม่หนักมากนะ)
ค่าแรกเข้า + ค่าเทอมเทอมแรก ประมาณ 3,000 กว่าบาท
เทอมต่อๆไปลงเต็ม 24 หน่วย ก็จ่ายเพียงเทอมละ 1,200 บาท (หน่วยกิตละ 25 บาท)
ลองคำนวนดูครับ คร่าวๆ หมื่นนิดๆ (ไม่รวมค่าหนังสือ)

ลำดับการลงวิชาเรียน
ลองดูแผนการเรียนของหลักสูตรครับ ตามลิงค์นี้
http://www.ru.ac.th/th/center_study_plan/9/1390792376_Law_1_57.pdf
จะเห็นว่ามีแผนการลงวิชาเรียนไว้แล้ว ในหน้าที่ 2 - 3 ของไฟล์ ก็ลงไปตามนั้นก็ได้เลยครับ
แต่ถ้าอยากจบเร็วหน่อย ก็เอาวิชาของเทอมถัดๆไป
มาลงในเทอมที่เรียน ให้เต็ม 24 หน่วยกิตสำหรับเทอมปกติ (เทอม 1, เทอม 2)
และลงได้ 12 หน่วยกิต สำหรับซัมเมอร์
หรือเฉพาะเทอมสุดท้ายที่ขอจบจะลงได้เต็มที่ 30 หน่วยกิตครับ
(เทอมปกติ คือ เทอมต้น กับ เทอมปลาย จะลงได้มากสุด 24 หน่วยกิต
เทอมซัมเมอร์ปกติจะลงได้มากสุด 12 หน่วยกิตครับ

สำหรับวิชาพื้นฐาน (ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทย์ ฯลฯ) ก็ลงไล่ไปตามแผนการเรียนก็ได้
สำหรับวิชากฎหมาย (LAW ต่างๆ) แนะนำว่าควรลงตามรหัสวิชาไปครับ จากน้อยไปมาก
เช่น LAW1001 > LAW1002 > LAW1003 .... ไปจนครบหน่วยกิตในแต่ละเทอมครับ
เพราะมหาวิทยาลัย จะเรียงลำดับรหัสตามเนื้อหามาอยู่แล้ว จะได้เรียนต่อเนื่องกันไปครับ

แต่เคล็ดลับคือ เวลาเลือกรายวิชาลงทะเบียน
ต้องดูวันสอบเป็นหลักครับ อย่าให้วันสอบติดกันมาก
ม.ราม จะประกาศวันสอบออกมาก่อนวันลงทะเบียนครับ
วิธีคือ เราเอารายวิชาที่ควรจะลงในเทอมนั้นๆ มาลงรายการไว้
แล้วมาลงรายละเอียดของวันสอบในรายวิชาที่ควรจะลงนั้น
จากนั้นเอามาจัดตารางที่จะลงทะเบียน โดยอิงวันสอบเป็นหลัก
(วันเรียนไม่ต้องไปดูเลยครับ เพราะเราจะเข้าเรียนหรือไม่เรียนก็ได้)
เช่น วิชา  LAW1001 สอบวันที่ 1/6/58
             LAW1002 สอบวันที่ 2/6/58
             LAW1003 สอบวันที่ 3/6/58
             LAW1004 สอบวันที่ 4/6/58
             LAW1005 สอบวันที่ 5/6/58
อาจจะเลือกลงแค่ LAW1001, LAW1002, LAW1004, LAW1005 ก็ได้
ข้ามวิชา LAW1003 เก็บไว้ไปลงเทอมถัดๆไปก็ได้ เพราะเทอมนี้สอบติดกันเกิน จะทบทวนไม่ทัน เป็นต้น

เคล็ดอีกอย่างนึงคือ ลงไปให้เต็ม 24 หน่วยกิตเลยครับ ไม่ต้องกลัวจะหนักเกินไป
เพราะ ม.ราม มีสอบซ่อมได้ คือถ้าเราสอบตก หรือขาดสอบ
สามารถลงทะเบียนวิชาที่สอบตกหรือขาดสอบนั้นได้อีกทีในรอบสอบซ่อมของเทอมนั้นๆ
ถ้าสอบผ่านก็ได้เกรดตามที่เราผ่าน เกรดไปรวมกับเทอมปกติเลย
ถ้าสอบไม่ผ่านก็ไม่ติด F จะถือว่าเราไม่ได้ลงทะเบียนเรียนวิชานั้นเลยครับ เกรดรวมไม่เสีย
สมมุติว่าลง 10 วิชา เราก็แบ่งเลยว่า สอบแบบปกติ 5 วิชา ไปสอบซ่อม 5 วิชา
ถ้าแบบนี้ก็จะสอบไม่หนักมากครับ มีเวลาทบทวนเยอะ
แต่อย่าลืมว่าถ้าเราไปพลาดวิชาที่เราสอบซ่อม จะไม่มีโอกาสแก้ตัวแล้ว ต้องลงใหม่นะ
เพราะฉะนั้นควรสอบในช่วงปกติไปก่อน หากไม่ไหวจริงๆค่อยลงสอบซ่อมครับ
เพราะว่าถ้าเกิดวันสอบซ่อมติดธุระอะไรทำให้สอบไม่ได้ หรือไม่ได้ทบทวนอ่านหนังสือ
แล้วเราจะเสียโอกาสเก็บรายวิชานั้นไปเลย ต้องไปลงเทอมถัดๆไป
จึงควรพยายามสอบแบบปกติให้ได้ก่อน ถ้าจำเป็นถึงต้องขาดสอบแล้วค่อยไปสอบซ่อมเอา

ที่สำคัญจริงๆนอกจากวิธีการลงทะเบียนเรียนแล้ว
คือการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบครับ
เพราะแม้จะลงตามแผนที่ว่าจริงๆ คืออัดเต็มที่เลย
แต่ถ้าสอบไม่ผ่าน การลงทะเบียนก็ไม่มีความหมายครับ

---------------------

สำหรับคณะรัฐศาสตร์
ลองดูแผนการเรียนของหลักสูตรครับ ตามลิงค์นี้
http://www.ru.ac.th/th/center_study_plan/8/1382583476_06_BAS.pdf
จะเห็นว่ามีแผนการลงวิชาเรียนไว้แล้ว แล้วแต่ว่าลงแผนไหน (A, B, C) จขกท. ก็ลงไปตามนั้นก็ได้ครับ
แต่ถ้าอยากจบเร็วหน่อย ก็เอาวิชาของเทอมถัดๆไป
มาลงในเทอมที่เรียน ให้เต็ม 24 หน่วยกิต เหมือนข้อแนะนำของคณะนิติศาสตร์ครับ
หลักสูตรของคณะรัฐศาสตร์ที่สามารถเทียบโอนได้มากที่สุด คือ หลักสูตรบริหารรัฐกิจ
จากเดิมอนุปริญญาเทียบโอนได้ประมาณ 40 หน่วยกิต เพิ่มเป็น 61 หน่วยกิต
และวุฒิปริญญาตรี เดิมเทียบโอนได้ 60 หน่วยกิตเพิ่มเป็น 82 หน่วยกิต
http://www.dailynews.co.th/education/322338
สาขาอื่นๆก็เทียบโอนได้พอๆกันอาจน้อยกว่านี้นิดนึง
หลักสูตรบริหารรัฐกิจมีทั้งหมด 145 หน่วยกิต
เทียบโอนได้แล้วจะเหลือเรียนกี่หน่วยก็ลองคำนวนดูครับ

ถ้าเทียบโอนได้สูงสุด 82 หน่วยกิต เหลือเรียนอีก 63 หน่วยกิต
ลงเทอมธรรมดา ลงเรียนเทอมละ 24 หน่วยกิต 2 เทอม เก็บได้ 48
ซัมเมอร์ลงได้ 12 รวมเก็บได้ 60 หน่วยกิต
ปี 2 เทอม 1 ลงไปอีก 3 หน่วยกิต ก็จบแล้วครับ เรียน 1 ปีครึ่งเอง

ค่าใช้จ่าย หนักๆก็จะเป็นค่าเทียบโอนครับ หน่วยกิตละ 100
เทียบโอน 82 หน่วยกิต ก็ 8,200 บาท
ค่าแรกเข้า + ค่าเทอมเทอมแรก ประมาณ 3,000 กว่าบาท
เทอมต่อไปลงเต็ม 24 หน่วย ก็ 1,200 บาท (หน่วยกิตละ 25 บาท)
ลองคำนวนดูครับ คร่าวๆ หมื่นนิดๆ (ไม่รวมค่าหนังสือ) เช่นเดียวกันคณะนิติศาสตร์ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่