คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนนั้น จะมีราชภัฏเกือบทุกที่ที่เปิดสอน แล้วก็จะมีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬา มศว และส่วนใหญ่จะสังกัดคณะมนุษยศาสตร์ หรือไม่ก็คณะศิลปศาสตร์ ส่วนสังกัดคณะอักษรศาสตร์เห็นอยู่ที่เดียวคือจุฬาครับ
เอาเรื่องของผมไปอ่านแล้วกันนะครับ
การเรียนสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ของแต่ละปีมีเรื่องอะไรที่สนใจบ้างพร้อมทั้งรายละเอียดแต่ละวิชาเท่าที่จำได้ ระหว่างปี 2553 - 2557 และเข้าปี4พวกผมเป็นรุ้นสุดท้ายที่ได้เปิดปิดเทอมแบบเก่าคือเปิด 3 มิถุนายน ปิดเทอมย่อยประมาณ 1 ตุลาคม เปิดเทอม 2 ประมาณ 20 ตุลาคม ปิดเทอมใหญ่ประมาณ 1 มีนาคม ในการเรียนสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ต่อไปนี้จะเรียกย่อๆว่า"สาขาบรรณารักษ์" จากที่เข้ามาในตอนแรกๆนั้นมีประมาณ 60 คน ชาย 6คน หญิง 54 คน เหลือจบ ชาย 2คน หญิงประมาณ 28 คน วิชาที่เรียนก็ไม่ง่ายไม่ยากจนเกินไป ถึงจะมาวิชาภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ในสาขาวิชา 45% แต่มันก็ไม่ได้ยากอะไร เพราะจำเป็นคำๆเป็นคีย์เวิร์คหรือศัพท์ตามทรรศนะของผู้เขียนเรียกว่าซับเจคหรือหัวเรื่อง เรามาดูกันดีกว่าว่าแต่ละปีมีอะไรน่าสนใจบ้าง
ปีที่1 เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานของการเป็นบรรณารักษ์ ห้องสมุด และงานเทคนิคต่างๆ มีวิชาเช่น สารสนเทศกับสังคม งานเทคนิคในห้องสมุด เป็นต้น และก็มีวิชาที่มหาวิทยาลัยทั่วไปเรียกว่าวิชาเลือกแต่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเรียกว่าวิชา "GE" ชื่อเต็มเรียกว่า "General Education"
สรุป
เทอมแรก ได้เกรดรวมๆได้ 3.00 ดีใจมากราวกับถูกหวยรางวัลที่1 ติดต่อกัน 10 งวด เพราะผมไม่เคยได้เกรดที่ดีมากมาขนาดนี้มาก่อนเลยในชีวิต(ถึงแม้ว่าเกรดในภายหลังมันจะเตี้ยลงสาละวันเตี้ยลงก็ตาม)
เทอมสอง ไม่มีอะไรมากแต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเรียนเลยเกิดอาการว่างเกิดขึ้นแต่ในปี2ปี3จะโดนวิชาอัดกันแบบจัดหนักจัดเต็ม ปล.สาขานี้ไม่มีเรียนซัมเมอร์หรือภาคฤดูร้อนถ้าไม่ใช่วิชาGEหรือวิชาเลือก
ปีที่2
คราวนี้จะเจอวิชาที่โหดขี้นชื่อว่าหินที่สุด โหดที่สุด สถิติตกเยอะมาก บางปีตกยกห้องเลยก็มี มีอยู่2วิชา คือ
1.การจัดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ(มีวิชาร่วมคือการทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ) คือการเรียนรู้การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ ที่คิดค้นโดยเมลวิล ดิวอี้ บรรณารักษ์ชาวอเมริกัน ขณะเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส สหรัฐอเมริกา เพื่อเรียนรู้จนนำไปสู่การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ทุกคนที่เรียนบรรณารักษ์จะต้องได้เรียนวิชานี้อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นวิชาเบื้องต้นของบรรณารักษ์สามารถเอาไปใช้ในอาชีพบรรณารักษ์ได้ โดยเขียนว่ารายละเอียดว่าชื่อหนังสือคืออะไร ควรจะอยู่หมู่ไหน ชื่อผู้แต่งคือใคร ปีที่พิมพ์ตอนไหน เล่มที่และฉบับที่เท่าไหร่ สถานที่พิมพ์ โรงพิมพ์ ราคา ขนาด กว้างXยาวXสูง มีกี่หน้า ISBN (เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ) และที่ขาดไม่ได้คือ "หัวเรื่อง" ซึ่งเป็นคำสำคัญว่าหนังสือเล่มนี้เนื้อหาเป็นอย่างไร เกี่ยวกับอะไร ส่วนเลขหมู่ก็สำคัญในหนังสือถ้ามีเรื่องเดียวก็สบายไป ถ้าเนื้อหามี2เรื่องขึ้นไป ให้ตัดสินว่าเนื้อหาเรื่องไหนมีมากกว่าก็เอาเรื่องนั้นเป็นเลขหมู่ ซึ่งทุกคนที่เรียนมีความพยายามเป็นอย่างมาก อย่างผมเนี่ย อาจารย์สั่งให้ทำมาเยอะๆ10เล่มขึ้นไป ผมทำซะ30เล่ม เพื่อน 20 เล่มบ้าง 15เล่มบ้าง 10เล่มบ้างพอดีผลออกมาทุกคนได้เกรด A เกือบทั้งห้องได้เกรดเอ ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ไว้ว่าสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ตั้งแต่ก่อตั้งมาปี 2518 หรือ ปี1975ซึ่งเป็นปีเดียวกับไซ่งอนแตก ที่ได้เกรด A เกือบทุกคน เป็นทุกภาคภูมิใจของอาจารย์ผู้สอนเป็นอย่างมากประมาณว่าน้ำตาจะแชร์ขอไหลเอ๊ยน้ำตาจะไหลขอแชร์
2.การจัดหมู่ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน เทอมสองได้เรียนวิชานี้ ปราฏว่าใช้ภาษาอังกฤษล้วน ใช่ภาษาอังกฤษล้วนแต่เฉพาะการจัดหมู่อย่างอื่นไม่เกี่ยว วิชา L.C. ( Library of Congress Classification) หรือ การจีดหมู่ห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งถูกริเริ่มคิดขึ้นโดย ดร.เฮอร์เบิร์ต พัทนัม ชาวอเมริกัน ชาร์ลส์ มาร์เตล ชาวสวิตเซอร์แลนด์ หัวหน้าแผนกจัดหมวดหมู่หนังสือ และวิลเลียม ปาร์เกอร์ คัตเตอร์ วิชานี้ไม่ยากแต่ไม่ง่าย ผมทำได้แค่ 20 เล่มเอง แต่คราวนี้เพื่อนส่วนใหญ่ในห้องกลับตกหมด ผมยังได้เกรด D+ เลย
(2วิชานี้มีเทคนิคสำคัญที่ผมจะบอกทุกๆคน ซึ่งเป็นเทตนิตที่ผมคิดค้นขึ้นมาเองโดยเฉพาะ คือ ไม่เข้าใจให้ถาม ถามใครก็ได้ไม่ว่าจะอาจารย์ เพื่อน บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด หรือผู้มีความรู้เกี่ยวกับด้านบรรณารักษศาสตร์ ทำหนังสือหรือลงรายการทรัพยากรสารสนเทศให้ทำให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เจอเล่มไหนทำไปเลยทำทุกอย่างที่ขวางหน้าที่เป็นหนังสือ ให้หาเวลาว่างเข้ามาในห้องปฏิบัติการสาขามานั่งทำ อย่างผมสมัยเรียนก็ใช้วันศุกร์นั่งทั้งวัน ทำมันทั้งวันเนี่ยแหละ)
ปีที่ 3 วิชาวิจัยหรือการวิจัยเบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการทำวิจัยหรือการทำโปรเจคก่อนที่จะไปเตรียมฝึกประสบการณ์ วิชานี้ผมต้องขอขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่ทำให้ผมมีวันนี้ได้ ที่มีวันนี้เพราะเพื่อนให้(เอ๊ย การเมืองอีกแล้ว) เป็นหัวข้อเริ่มต้นจากเริ่มแรกที่เข้ามาเรียนในสาขาวิชานี้ ชื่อหัวข้อจำได้คร่าวๆว่า"การตัดสินใจเลือกสาขาวิชาบรรณารักษ์" อะไรซักอย่างนี่แหละ
เทอมสองมีวิชาการเตรียมฝึก คือ ต้องไปเตรียมฝึกก่อนฝึกประสบการณ์จริง โดยได้ไปฝึกตามห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดคณะ สำนักวิทยบริการ ห้องสมุดบัณฑิตวิทยาลัย วิชานี้ได้เอ ปีนี้ได้ไปดูงานด้วยนะ
ปีที่ 4 ถึงเวลาฝึกประสบการณ์จริง ผมกับเพื่อนผู้หญิงคนหนึ่งได้เลือกสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นที่ฝึก 3เดือน เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม ในระหว่างฝึกถึงมีไม่กินเกาเหลาบ้าง ทะเลาะกันบ้าง แต่ก็ผ่านไปด้วยดี มาตกม้าตายเอาตอนรายงาน สรุปได้เกรดบี เทอมสุดท้ายไม่มีอะไรมากได้เรียนวิชาเลือกเสรี (ที่นี่ไม่มีวิชาโท ) ถึงจะเลือกเสรีแต่ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดมาแล้ว
สรุป
ถึงแม้ไม่ได้เกียรตินิยมแต่ได้เกรดนิยม เกรดที่ได้มาทั้งหมดได้ 2.81 ถามว่าเก่งมั้ย? ก็ไม่ ถามว่าแย่มั้ย ก็ไม่ สรุปว่าเกรดกลางๆไม่มากไม่น้อยก็แล้วกัน
เอาเรื่องของผมไปอ่านแล้วกันนะครับ
การเรียนสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ของแต่ละปีมีเรื่องอะไรที่สนใจบ้างพร้อมทั้งรายละเอียดแต่ละวิชาเท่าที่จำได้ ระหว่างปี 2553 - 2557 และเข้าปี4พวกผมเป็นรุ้นสุดท้ายที่ได้เปิดปิดเทอมแบบเก่าคือเปิด 3 มิถุนายน ปิดเทอมย่อยประมาณ 1 ตุลาคม เปิดเทอม 2 ประมาณ 20 ตุลาคม ปิดเทอมใหญ่ประมาณ 1 มีนาคม ในการเรียนสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ต่อไปนี้จะเรียกย่อๆว่า"สาขาบรรณารักษ์" จากที่เข้ามาในตอนแรกๆนั้นมีประมาณ 60 คน ชาย 6คน หญิง 54 คน เหลือจบ ชาย 2คน หญิงประมาณ 28 คน วิชาที่เรียนก็ไม่ง่ายไม่ยากจนเกินไป ถึงจะมาวิชาภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ในสาขาวิชา 45% แต่มันก็ไม่ได้ยากอะไร เพราะจำเป็นคำๆเป็นคีย์เวิร์คหรือศัพท์ตามทรรศนะของผู้เขียนเรียกว่าซับเจคหรือหัวเรื่อง เรามาดูกันดีกว่าว่าแต่ละปีมีอะไรน่าสนใจบ้าง
ปีที่1 เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานของการเป็นบรรณารักษ์ ห้องสมุด และงานเทคนิคต่างๆ มีวิชาเช่น สารสนเทศกับสังคม งานเทคนิคในห้องสมุด เป็นต้น และก็มีวิชาที่มหาวิทยาลัยทั่วไปเรียกว่าวิชาเลือกแต่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเรียกว่าวิชา "GE" ชื่อเต็มเรียกว่า "General Education"
สรุป
เทอมแรก ได้เกรดรวมๆได้ 3.00 ดีใจมากราวกับถูกหวยรางวัลที่1 ติดต่อกัน 10 งวด เพราะผมไม่เคยได้เกรดที่ดีมากมาขนาดนี้มาก่อนเลยในชีวิต(ถึงแม้ว่าเกรดในภายหลังมันจะเตี้ยลงสาละวันเตี้ยลงก็ตาม)
เทอมสอง ไม่มีอะไรมากแต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเรียนเลยเกิดอาการว่างเกิดขึ้นแต่ในปี2ปี3จะโดนวิชาอัดกันแบบจัดหนักจัดเต็ม ปล.สาขานี้ไม่มีเรียนซัมเมอร์หรือภาคฤดูร้อนถ้าไม่ใช่วิชาGEหรือวิชาเลือก
ปีที่2
คราวนี้จะเจอวิชาที่โหดขี้นชื่อว่าหินที่สุด โหดที่สุด สถิติตกเยอะมาก บางปีตกยกห้องเลยก็มี มีอยู่2วิชา คือ
1.การจัดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ(มีวิชาร่วมคือการทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ) คือการเรียนรู้การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ ที่คิดค้นโดยเมลวิล ดิวอี้ บรรณารักษ์ชาวอเมริกัน ขณะเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส สหรัฐอเมริกา เพื่อเรียนรู้จนนำไปสู่การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ทุกคนที่เรียนบรรณารักษ์จะต้องได้เรียนวิชานี้อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นวิชาเบื้องต้นของบรรณารักษ์สามารถเอาไปใช้ในอาชีพบรรณารักษ์ได้ โดยเขียนว่ารายละเอียดว่าชื่อหนังสือคืออะไร ควรจะอยู่หมู่ไหน ชื่อผู้แต่งคือใคร ปีที่พิมพ์ตอนไหน เล่มที่และฉบับที่เท่าไหร่ สถานที่พิมพ์ โรงพิมพ์ ราคา ขนาด กว้างXยาวXสูง มีกี่หน้า ISBN (เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ) และที่ขาดไม่ได้คือ "หัวเรื่อง" ซึ่งเป็นคำสำคัญว่าหนังสือเล่มนี้เนื้อหาเป็นอย่างไร เกี่ยวกับอะไร ส่วนเลขหมู่ก็สำคัญในหนังสือถ้ามีเรื่องเดียวก็สบายไป ถ้าเนื้อหามี2เรื่องขึ้นไป ให้ตัดสินว่าเนื้อหาเรื่องไหนมีมากกว่าก็เอาเรื่องนั้นเป็นเลขหมู่ ซึ่งทุกคนที่เรียนมีความพยายามเป็นอย่างมาก อย่างผมเนี่ย อาจารย์สั่งให้ทำมาเยอะๆ10เล่มขึ้นไป ผมทำซะ30เล่ม เพื่อน 20 เล่มบ้าง 15เล่มบ้าง 10เล่มบ้างพอดีผลออกมาทุกคนได้เกรด A เกือบทั้งห้องได้เกรดเอ ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ไว้ว่าสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ตั้งแต่ก่อตั้งมาปี 2518 หรือ ปี1975ซึ่งเป็นปีเดียวกับไซ่งอนแตก ที่ได้เกรด A เกือบทุกคน เป็นทุกภาคภูมิใจของอาจารย์ผู้สอนเป็นอย่างมากประมาณว่าน้ำตาจะแชร์ขอไหลเอ๊ยน้ำตาจะไหลขอแชร์
2.การจัดหมู่ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน เทอมสองได้เรียนวิชานี้ ปราฏว่าใช้ภาษาอังกฤษล้วน ใช่ภาษาอังกฤษล้วนแต่เฉพาะการจัดหมู่อย่างอื่นไม่เกี่ยว วิชา L.C. ( Library of Congress Classification) หรือ การจีดหมู่ห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งถูกริเริ่มคิดขึ้นโดย ดร.เฮอร์เบิร์ต พัทนัม ชาวอเมริกัน ชาร์ลส์ มาร์เตล ชาวสวิตเซอร์แลนด์ หัวหน้าแผนกจัดหมวดหมู่หนังสือ และวิลเลียม ปาร์เกอร์ คัตเตอร์ วิชานี้ไม่ยากแต่ไม่ง่าย ผมทำได้แค่ 20 เล่มเอง แต่คราวนี้เพื่อนส่วนใหญ่ในห้องกลับตกหมด ผมยังได้เกรด D+ เลย
(2วิชานี้มีเทคนิคสำคัญที่ผมจะบอกทุกๆคน ซึ่งเป็นเทตนิตที่ผมคิดค้นขึ้นมาเองโดยเฉพาะ คือ ไม่เข้าใจให้ถาม ถามใครก็ได้ไม่ว่าจะอาจารย์ เพื่อน บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด หรือผู้มีความรู้เกี่ยวกับด้านบรรณารักษศาสตร์ ทำหนังสือหรือลงรายการทรัพยากรสารสนเทศให้ทำให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เจอเล่มไหนทำไปเลยทำทุกอย่างที่ขวางหน้าที่เป็นหนังสือ ให้หาเวลาว่างเข้ามาในห้องปฏิบัติการสาขามานั่งทำ อย่างผมสมัยเรียนก็ใช้วันศุกร์นั่งทั้งวัน ทำมันทั้งวันเนี่ยแหละ)
ปีที่ 3 วิชาวิจัยหรือการวิจัยเบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการทำวิจัยหรือการทำโปรเจคก่อนที่จะไปเตรียมฝึกประสบการณ์ วิชานี้ผมต้องขอขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่ทำให้ผมมีวันนี้ได้ ที่มีวันนี้เพราะเพื่อนให้(เอ๊ย การเมืองอีกแล้ว) เป็นหัวข้อเริ่มต้นจากเริ่มแรกที่เข้ามาเรียนในสาขาวิชานี้ ชื่อหัวข้อจำได้คร่าวๆว่า"การตัดสินใจเลือกสาขาวิชาบรรณารักษ์" อะไรซักอย่างนี่แหละ
เทอมสองมีวิชาการเตรียมฝึก คือ ต้องไปเตรียมฝึกก่อนฝึกประสบการณ์จริง โดยได้ไปฝึกตามห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดคณะ สำนักวิทยบริการ ห้องสมุดบัณฑิตวิทยาลัย วิชานี้ได้เอ ปีนี้ได้ไปดูงานด้วยนะ
ปีที่ 4 ถึงเวลาฝึกประสบการณ์จริง ผมกับเพื่อนผู้หญิงคนหนึ่งได้เลือกสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นที่ฝึก 3เดือน เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม ในระหว่างฝึกถึงมีไม่กินเกาเหลาบ้าง ทะเลาะกันบ้าง แต่ก็ผ่านไปด้วยดี มาตกม้าตายเอาตอนรายงาน สรุปได้เกรดบี เทอมสุดท้ายไม่มีอะไรมากได้เรียนวิชาเลือกเสรี (ที่นี่ไม่มีวิชาโท ) ถึงจะเลือกเสรีแต่ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดมาแล้ว
สรุป
ถึงแม้ไม่ได้เกียรตินิยมแต่ได้เกรดนิยม เกรดที่ได้มาทั้งหมดได้ 2.81 ถามว่าเก่งมั้ย? ก็ไม่ ถามว่าแย่มั้ย ก็ไม่ สรุปว่าเกรดกลางๆไม่มากไม่น้อยก็แล้วกัน
แสดงความคิดเห็น
[ขอคำแนะนำค่ะ]อยากเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุด
จขทก.อยากทราบว่าการจะเป็นบรรณารักษ์ต้องเรียนคณะอะไร?
มีมหาลัยไหนที่เปิดสอน?แล้วในแต่ละปีต้องเรียนอะไรบ้าง?
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ