ยอมรับว่าเป็นคนนึงที่กำลังมองว่า ทีมชาติไทยชุดปัจจุบัน คือ ดรีมทีมเวอร์ชั่น 2015
ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ทัน หรือไม่เข้าใจว่า แล้วมันไม่ดียังไง เลยเป็นที่มาของกระทู้นี้ที่อยากชวนมาคุยกัน พร้อมรำลึกความหลังและย้อนดูความสำเร็จและบทเรียนที่เกิดขึ้นจากดรีมทีมในชุดแรก แล้วแลกเปลี่ยนมุมมองกันว่า ทำไมถึงมองว่า ทีมชาติชุดนี้กำลังเดินซ้ำรอยดรีมทีม
จำได้ลางๆว่า ดรีมทีมยุคแรกเมื่อ 20 กว่าปีก่อน เกิดจากโครงการ เด็กยักษ์ ของบิ๊กหอย ที่คัดเลือกนักฟุตบอลจากรูปร่างที่สูงใหญ่ก่อนแล้วนำมาเข้าแคมป์ฝึกฟุตบอล ถ้าจำไม่ผิด นักเตะจากแคมเปญเด็กยักษ์ที่ขึ้นมาติดทีมชาติได้ในยุคนั้น คือ พัฒนพงษ์ ศรีปราโมทย์ อดีตเซนเตอร์ฮาฟทีมชาติไทย
เรื่อยมาจนเริ่มมีการคัดตัวเยาวชนฝีเท้าดีจากต่างจังหวัดเข้ามาเก็บตัวเพิ่ม ชื่อที่ผมนึกออก ยุคแรกๆ น่าจะเป็นพวก โกวิทย์ ฝอยทอง สุชิน พันธุ์ประพาส รวมถึง ซิโก้ ด้วย ดรีมทีมยุคแรก ได้รับโอกาศเข้าแข่งถ้วยคิงส์คัพในนาม ทีมชาติไทยชุด B และสามารถทำผลงานได้ดี ด้วยทัศนคติการเล่นเป็นทีมเวิร์คที่ดี และที่สำคัญมีความฟิตที่ดีกว่าทีมชาติชุดใหญ่สมัยนั้น เพราะอาศัยความคุ้นเคยฝึกซ้อมร่วมกันมานาน และมีระเบียบวินัยที่ดีภายใต้การคุมทีมของโค้ชจอมฟิตอย่าง น้าชัช ชัชชัย พหลแพทย์
กอปรกับทีมชาติชุดใหญ่ยุคนั้นเริ่มเกิดวิกฤตศรัทธาจากผลงานที่ตกต่ำลง จึงมีกระแสเรียกร้องให้สมาคมยุคนั้นใช้ผู้เล่นจากดรีมทีมเป็นตัวแทนทีมชาติชุดใหญ่ในยุคนั้นกันเลยทีเดียว ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในระดับนึง ก่อนที่จะมาฟิวชั่นกับชุดใหญ่กันภายหลังและคว้าแชมป์ซีเกมส์ที่สิงคโปร์ จากลูกโหม่งของซิโก้นั่นล่ะครับ
แต่ดรีมทีมก็กลับปิดฉากอย่างไม่เป็นท่าแต่เป็นทางการในอีก 3 ปีต่อมา หลังจากแพ้ญี่ปุ่นแบบหมดทางสู้ 0 - 5 ในฟุตบอลปรีโอลิมปิคที่สุพรรณบุรี ปิดตำนาน ทฤษฎีการเก็บตัวทีมชาติที่ซ้อมและกินอยู่ร่วมกันเป็นเวลานานๆ ถึงแม้จะสร้างผลงานและความประทับใจได้อย่างวูบวาบในช่วงแรกกับคู่ต่อสู้ในละแวกเพื่อนบ้านด้วยกัน แต่พอต้องยกระดับไปแข่งขันกับทีมหัวแถวของเอเซียแล้ว กลับล้มเหลวไม่เป็นท่า
ที่เกริ่นมายาว เพราะอยากปูพื้นให้บางส่วนเพื่อให้เข้าใจว่าทำไม ทีมชาติยุคปัจจุบันจึงมีหลายคนมองว่า มีรูปแบบและวิธีคิดที่สะท้อนจากการบริหารจัดการตัวผู้เล่นหน้าเดิมๆและระยะเวลาฝึกซ้อมแบบดรีมทีมที่ต้องใช้เวลามากกว่าปกติที่เป็นสากล
ซึ่งถ้าสังเกตุจะเห็นได้ว่า ความสำเร็จของทีมชาติชุดนี้ เป็นชุดที่มีรากฐานมาจากชุดเยาวชน 19 ปี ยุคน้าฉ่วย เรื่อยมาจนถึง ชุดที่ออกไปชนะจีนถึงบ้านได้ 5-1 จนถึงเอเชี่ยนเกมส์ AFF และ ซีเกมส์และล่าสุดทีมชาติชุดใหญ่ ซึ่งจะสังเกตุเห็นความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันของตัวผู้เล่นบางตำแหน่งอย่างชัดเจน
ตรรกะวิธีคิดและการบริหารจัดการดรีมทีมยุคนี้จึงยังคงกลิ่นอายให้หวนคิดถึงคืนวันที่เคยประสบความสำเร็จอันหอมหวานเมื่อราว 20 ปีก่อนอยู่ไม่น้อยแต่มันก็แค่ระยะเวลาที่ไม่ยืนยาวนัก
ล่าสุด ทีมชาติชุดที่กำลังคัดเลือกไปฟุตบอลโลก ซึ่งถ้ามองกันที่ผล 3 นัด ที่ผ่านมา ก็ต้องบอกกันตรงๆว่า ถึงแม้ผลลัพท์ที่จะเป็นที่พอใจ แต่รูปเกมส์ยังมีปัญหาอยู่พอสมควร
ปัญหาที่ว่า คือ ความไม่คุ้นเคย ไม่เข้าขา ซ้อมกันน้อยไป หรือ เป็นเพราะแท้จริงแล้ว เรากำลังไม่ได้ใช้ผู้เล่นที่ดีที่สุดในรูปแบบการเล่นที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ เพราะความเป็นดรีมทีมจึงมีข้อจัดกัดในเรื่องของการจัดการทรัพยากรนักเตะและแผนการเล่นที่ต้องเน้นความคุ้นเคยกันเป็นหลักมากกว่าวิธีการเล่นที่หลากหลายหรือรูปแบบการเล่นเพื่อชนะโดยศึกษาจุดอ่อนของคู่ต่อสู้
จึงเป็นที่มาของคำว่า ผู้เล่นใหม่ต้องอาศัยเวลาในการปรับตัวให้เข้ากับระบบ ระบบที่ว่า คือ ระบบทีมที่ fix ตายตัว รูปแบบเดียว ใช่รึไม่ หรือมันคือ ระบบความคุ้นเคยรวมถึงความไว้เนื้อเชื่อใจกัน หรือหมายถึงระบบตอบแทนน้ำใจกันในช่วงที่ฝ่าฟันหรือเริ่มตั้งไข่มาพร้อมกัน คล้ายกับทฤษฎีดรีมทีมในยุคแรกๆ ที่ปิดกั้นผู้เล่นที่อยู่นอกเหนือแคมป์ฝึกซ้อมหรือเก็บตัวมาด้วยกัน
ดรีมทีมยุค 2015 จะแตกต่างจากดรีมทีมยุคก่อนอยู่บ้างก็แค่ ระยะเวลาเก็บตัวที่สั้นลง ที่มาของตัวผู้เล่นและที่สำคัญคือ ไม่มีต้นทุน ดรีมทีมชุดปัจจุบันเป็นชุดที่เก็บเกี่ยวผลผลิตจากยุคน้าฉ่วยและอะเคเดมี่ของสโมสรที่เป็นคนลงแรงและลงทุน และไม่ต้องคอยดูแลสภาพความเป็นนักกีฬา ( maintenance ) ซึ่งตรงนี้ต้องให้เครดิตบิ๊กหอยที่ทุ่มเทแรงกายใจและเงินทองจำนวนมากไปให้ฟุตบอลอย่างแท้จริง
แต่สุดท้ายแล้วเวลาและผลงานก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า รูปแบบดรีมทีมยุคอัพเดทแพทช์ใหม่แล้วจะไปได้ไกลแค่ไหนในฟุตบอลยุคปัจจุบัน คงได้แต่หวังว่าจะไม่ลงเอยเหมือนเหมือนครั้งต้องปิดฉากลงที่สุพรรณบุรี
ใครจะแย้ง จะเสริมตรงไหน เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย จริงหรือไม่จริงอย่างไร ลองคุยกันได้ครับ ยาวไปหน่อย ขอภัย ...
ดรีมทีมยุค2015 ...ใครทันยุคแรกเข้ามาคุยกัน...
ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ทัน หรือไม่เข้าใจว่า แล้วมันไม่ดียังไง เลยเป็นที่มาของกระทู้นี้ที่อยากชวนมาคุยกัน พร้อมรำลึกความหลังและย้อนดูความสำเร็จและบทเรียนที่เกิดขึ้นจากดรีมทีมในชุดแรก แล้วแลกเปลี่ยนมุมมองกันว่า ทำไมถึงมองว่า ทีมชาติชุดนี้กำลังเดินซ้ำรอยดรีมทีม
จำได้ลางๆว่า ดรีมทีมยุคแรกเมื่อ 20 กว่าปีก่อน เกิดจากโครงการ เด็กยักษ์ ของบิ๊กหอย ที่คัดเลือกนักฟุตบอลจากรูปร่างที่สูงใหญ่ก่อนแล้วนำมาเข้าแคมป์ฝึกฟุตบอล ถ้าจำไม่ผิด นักเตะจากแคมเปญเด็กยักษ์ที่ขึ้นมาติดทีมชาติได้ในยุคนั้น คือ พัฒนพงษ์ ศรีปราโมทย์ อดีตเซนเตอร์ฮาฟทีมชาติไทย
เรื่อยมาจนเริ่มมีการคัดตัวเยาวชนฝีเท้าดีจากต่างจังหวัดเข้ามาเก็บตัวเพิ่ม ชื่อที่ผมนึกออก ยุคแรกๆ น่าจะเป็นพวก โกวิทย์ ฝอยทอง สุชิน พันธุ์ประพาส รวมถึง ซิโก้ ด้วย ดรีมทีมยุคแรก ได้รับโอกาศเข้าแข่งถ้วยคิงส์คัพในนาม ทีมชาติไทยชุด B และสามารถทำผลงานได้ดี ด้วยทัศนคติการเล่นเป็นทีมเวิร์คที่ดี และที่สำคัญมีความฟิตที่ดีกว่าทีมชาติชุดใหญ่สมัยนั้น เพราะอาศัยความคุ้นเคยฝึกซ้อมร่วมกันมานาน และมีระเบียบวินัยที่ดีภายใต้การคุมทีมของโค้ชจอมฟิตอย่าง น้าชัช ชัชชัย พหลแพทย์
กอปรกับทีมชาติชุดใหญ่ยุคนั้นเริ่มเกิดวิกฤตศรัทธาจากผลงานที่ตกต่ำลง จึงมีกระแสเรียกร้องให้สมาคมยุคนั้นใช้ผู้เล่นจากดรีมทีมเป็นตัวแทนทีมชาติชุดใหญ่ในยุคนั้นกันเลยทีเดียว ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในระดับนึง ก่อนที่จะมาฟิวชั่นกับชุดใหญ่กันภายหลังและคว้าแชมป์ซีเกมส์ที่สิงคโปร์ จากลูกโหม่งของซิโก้นั่นล่ะครับ
แต่ดรีมทีมก็กลับปิดฉากอย่างไม่เป็นท่าแต่เป็นทางการในอีก 3 ปีต่อมา หลังจากแพ้ญี่ปุ่นแบบหมดทางสู้ 0 - 5 ในฟุตบอลปรีโอลิมปิคที่สุพรรณบุรี ปิดตำนาน ทฤษฎีการเก็บตัวทีมชาติที่ซ้อมและกินอยู่ร่วมกันเป็นเวลานานๆ ถึงแม้จะสร้างผลงานและความประทับใจได้อย่างวูบวาบในช่วงแรกกับคู่ต่อสู้ในละแวกเพื่อนบ้านด้วยกัน แต่พอต้องยกระดับไปแข่งขันกับทีมหัวแถวของเอเซียแล้ว กลับล้มเหลวไม่เป็นท่า
ที่เกริ่นมายาว เพราะอยากปูพื้นให้บางส่วนเพื่อให้เข้าใจว่าทำไม ทีมชาติยุคปัจจุบันจึงมีหลายคนมองว่า มีรูปแบบและวิธีคิดที่สะท้อนจากการบริหารจัดการตัวผู้เล่นหน้าเดิมๆและระยะเวลาฝึกซ้อมแบบดรีมทีมที่ต้องใช้เวลามากกว่าปกติที่เป็นสากล
ซึ่งถ้าสังเกตุจะเห็นได้ว่า ความสำเร็จของทีมชาติชุดนี้ เป็นชุดที่มีรากฐานมาจากชุดเยาวชน 19 ปี ยุคน้าฉ่วย เรื่อยมาจนถึง ชุดที่ออกไปชนะจีนถึงบ้านได้ 5-1 จนถึงเอเชี่ยนเกมส์ AFF และ ซีเกมส์และล่าสุดทีมชาติชุดใหญ่ ซึ่งจะสังเกตุเห็นความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันของตัวผู้เล่นบางตำแหน่งอย่างชัดเจน
ตรรกะวิธีคิดและการบริหารจัดการดรีมทีมยุคนี้จึงยังคงกลิ่นอายให้หวนคิดถึงคืนวันที่เคยประสบความสำเร็จอันหอมหวานเมื่อราว 20 ปีก่อนอยู่ไม่น้อยแต่มันก็แค่ระยะเวลาที่ไม่ยืนยาวนัก
ล่าสุด ทีมชาติชุดที่กำลังคัดเลือกไปฟุตบอลโลก ซึ่งถ้ามองกันที่ผล 3 นัด ที่ผ่านมา ก็ต้องบอกกันตรงๆว่า ถึงแม้ผลลัพท์ที่จะเป็นที่พอใจ แต่รูปเกมส์ยังมีปัญหาอยู่พอสมควร
ปัญหาที่ว่า คือ ความไม่คุ้นเคย ไม่เข้าขา ซ้อมกันน้อยไป หรือ เป็นเพราะแท้จริงแล้ว เรากำลังไม่ได้ใช้ผู้เล่นที่ดีที่สุดในรูปแบบการเล่นที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ เพราะความเป็นดรีมทีมจึงมีข้อจัดกัดในเรื่องของการจัดการทรัพยากรนักเตะและแผนการเล่นที่ต้องเน้นความคุ้นเคยกันเป็นหลักมากกว่าวิธีการเล่นที่หลากหลายหรือรูปแบบการเล่นเพื่อชนะโดยศึกษาจุดอ่อนของคู่ต่อสู้
จึงเป็นที่มาของคำว่า ผู้เล่นใหม่ต้องอาศัยเวลาในการปรับตัวให้เข้ากับระบบ ระบบที่ว่า คือ ระบบทีมที่ fix ตายตัว รูปแบบเดียว ใช่รึไม่ หรือมันคือ ระบบความคุ้นเคยรวมถึงความไว้เนื้อเชื่อใจกัน หรือหมายถึงระบบตอบแทนน้ำใจกันในช่วงที่ฝ่าฟันหรือเริ่มตั้งไข่มาพร้อมกัน คล้ายกับทฤษฎีดรีมทีมในยุคแรกๆ ที่ปิดกั้นผู้เล่นที่อยู่นอกเหนือแคมป์ฝึกซ้อมหรือเก็บตัวมาด้วยกัน
ดรีมทีมยุค 2015 จะแตกต่างจากดรีมทีมยุคก่อนอยู่บ้างก็แค่ ระยะเวลาเก็บตัวที่สั้นลง ที่มาของตัวผู้เล่นและที่สำคัญคือ ไม่มีต้นทุน ดรีมทีมชุดปัจจุบันเป็นชุดที่เก็บเกี่ยวผลผลิตจากยุคน้าฉ่วยและอะเคเดมี่ของสโมสรที่เป็นคนลงแรงและลงทุน และไม่ต้องคอยดูแลสภาพความเป็นนักกีฬา ( maintenance ) ซึ่งตรงนี้ต้องให้เครดิตบิ๊กหอยที่ทุ่มเทแรงกายใจและเงินทองจำนวนมากไปให้ฟุตบอลอย่างแท้จริง
แต่สุดท้ายแล้วเวลาและผลงานก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า รูปแบบดรีมทีมยุคอัพเดทแพทช์ใหม่แล้วจะไปได้ไกลแค่ไหนในฟุตบอลยุคปัจจุบัน คงได้แต่หวังว่าจะไม่ลงเอยเหมือนเหมือนครั้งต้องปิดฉากลงที่สุพรรณบุรี
ใครจะแย้ง จะเสริมตรงไหน เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย จริงหรือไม่จริงอย่างไร ลองคุยกันได้ครับ ยาวไปหน่อย ขอภัย ...