จับตาดูการแก้ไขปัญหาประมงของรัฐบาลไทย กับการประกาศผล IUU เดือนตุลาฯ

เมื่อผู้บริโภคทั่วโลกตื่นตัวในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนทางธรรมชาติมากขึ้น ปัญหาผลกระทบจากการทำธุรกิจของภาคเอกชนเริ่มถูกตรวจสอบ และถามถึงที่มาของวัตถุดิบต่างๆ ตั้งแต่การทำประมงผิดกฎหมาย ขาดรายงาน ไร้การควบคุม การใช้แรงงานทาส และการใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฏหมายจนส่งผลให้ประเทศสหรัฐอเมริกาจัดให้ไทยอยู่ในเทียร์ 3  (Tier 3) และได้รับใบเหลืองจากสหภาพยุโรป (EU)

ซึ่งอุตสาหกรรมประมงปลาทูน่า ยังเป็นอีกหนึ่งเหตุวิกฤตที่อาจจะทำให้ประเทศไทยถูกสหภาพยุโรปตรวจสอบเรื่องการทำประมงผิดกฏหมาย IUU : Illegal Unreported and Unregulated Fishing โดยทาง EU จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้ หากไม่มีความคืบหน้าในการแก้ไขการทำประมงที่ดีขึ้นของรัฐบาลไทย คาดว่าประเทศไทยจะได้ใบแดงจากทางอียูแน่นอน

ทางภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมงไม่ว่าจะเป็น เจ้าของเรือประมง โรงน้ำแข็ง ธุรกิจแพปลา ห้องเย็น และโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ เริ่มมีผลกระทบกันทั้งวงจรเพิ่มมากขึ้น จากนโยบายการแก้ไขปัญหาของทางศปมผ.


ทราบแล้วเปลี่ยน! ทูน่ากระป๋องในไทยยังห่างไกลต่อการตรวจสอบย้อนกลับและความเป็นธรรม


เมื่อกรีนพีซจัดอันดับทูน่ากระป๋องของแบรนด์ต่างๆ ในไทย สิ่งที่พบคือ ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องส่วนใหญ่ที่ขายยังขาดหลักการพื้นฐานว่าด้วยความยั่งยืนและเป็นธรรม แต่หากแบรนด์เหล่านี้เป็นผู้ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อยกระดับนโยบายในการตรวจสอบย้อนกลับ ตลอดห่วงโซ่อุปทานแล้ว ภาคอุตสาหกรรมปลาทูน่าของไทยที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกอันดับต้นของโลกนั้นจะต้องเติบโตไปในทิศทางที่ยั่งยืน ไม่ทำร้ายท้องทะเลหรือเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม

การตรวจสอบย้อนกลับ ความยั่งยืน และความเป็นธรรม คือประเด็นสำคัญที่ยังขาดหายไปในนโยบายการจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทานของแบรนด์ทูน่ากระป๋อง เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2558 กรีนพีซได้เปิดเผย รายงาน “จากทะเลสู่กระป๋อง: การจัดอันดับความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องในไทย” ซึ่งเป็นการประเมินแบรนด์ทูน่ากระป๋องที่ขายในประเทศและแบรนด์ที่ขายเฉพาะในซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งหมด 14 แบรนด์ โดยพบว่ามี 5 แบรนด์อยู่ในเกณฑ์ “ควรปรับปรุง” และ 9 แบรนด์อยู่ในเกณฑ์ “พอใช้”  แบรนด์ที่อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุงและอยู่ในอันดับรั้งท้าย ได้แก่ ท็อปส์ อะยัม บิ๊กซี โฮม เฟรช มาร์ท และโรซ่า จากการตรวจสอบทั้ง 14 แบรนด์ไม่มีแบรนด์ใดเลยที่ได้รับคะแนน “ดี” แสดงให้เห็นว่า แต่ละแบรนด์ต้องพยายามมากขึ้นในการดำเนินนโยบายด้านความยั่งยืน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : "ทราบแล้วเปลี่ยน! ทูน่ากระป๋องในไทยยังห่างไกลต่อการตรวจสอบย้อนกลับและความเป็นธรรม" : http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/54255/

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่ : http://www.greenpeace.org/seasia/th/PageFiles/705030/Thailand-Canned-Tuna-Ranking.pdf
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่