1. You Don’t Pay Attention to the Composition
ไม่ใส่ใจในองค์ประกอบภาพ
องค์ประกอบภาพที่ไม่ดี ทำให้ความสามารถในการดึงความสนใจของผู้ชมให้อยู่กับภาพของเราลดลง
สิ่งที่ดึงดูดสายตาผู้มชมภาพไปจากตัวแบบที่เราต้องการเน้น ( ฉากหลังที่มีสิ่งของสีสดไป / สว่างไป เป็นต้น)
และการรวมเอาวัตถุที่ไม่จำเป็นเข้ามาในเฟรมภาพคือหายนะอันดับแรกของการจัดองค์ประกอบภาพ
ก่อนจะตัดสินในถ่ายภาพใดๆ ควรถามตัวเองให้แน่ชัด ว่าสิ่งใดบ้างที่ควรอยู่ในเฟรมสี่เหลี่ยมของเรา
และอะไรไม่ควร อย่าลืมตรวจสอบบริเวณขอบภาพ ซึ่งอาจจะมีสิ่งไม่พึงประสงค์ยื่นเข้ามา (กิ่งไม้ และบางครั้งก็เป็นนิ้วมือเราเอง)
การเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบภาพ (และเรียนรู้ว่าเมื่อไหร่ควรแหกกฎ)
เป็นสิ่งที่จะให้ผลตอบแทนอย่างงามสำหรับการถ่ายภาพ ลองเริ่มต้นด้วยกฎสามส่วนแบบง่ายๆ นั่นคือการเริ่มต้นที่ดี
2. You Don’t Know the Basics of Exposure
คุณไม่รู้พื้นฐานการควบคุมแสงสว่างในภาพเอาซะเลย
The exposure Triangle สามเหลี่ยมแห่งแสง ปัจจัยเพียงสามอย่างคือ
ความเร็วชัตเตอร์(Shutter Speed) ขนาดของรูรับแสง (Aperture) และความไวแสงของเซ็นเซอร์ ( ISO )
สามสิ่งนี้สัมพันธ์กัน และช่วยให้เราทราบว่า ภาพหนึ่งภาพนั้นถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร?
การถ่ายภาพในโหมดออโต้จึงไม่ช่วยให้เราควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้เลย
นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงสมควรเริ่มต้นถ่ายภาพด้วยโหมดควบคุมเองทั้งหมด (Manual)
เพราะการเข้าใจสิ่งเหล่านี้ จะช่วยเปิดประตูสู่การถ่ายภาพด้วยเทคนิคต่างๆ ทั้งการถ่าย light painting , light trails
,ถ่ายชายฝั่งทะเลให้ดูน่าสนใจ หรือจะเป็นการถ่ายภาพทางช้างเผือก และอื่นๆอีกมากมาย
เมื่อเราเข้าใจโหมดแมนวลแล้ว เราจะเข้าใจและใช้โหมดกึ่งอัติโนมัติอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอัตโนมัติ
เพราะทุกโหมด ล้วนมีหลักการทำงานด้วยปัจจัยสามอย่างด้านบน แบบเดียวกันทั้งสิ้น
เมื่อภาพที่เราถ่ายมืดหรือสว่างเกินไป เราไม่ชอบ เราจะสารมารถใช้ความเข้าใจในปัจจัยที่มีผลต่อภาพเหล่านี้
ช่วยในการเพิ่มความสว่างหรือทำให้ภาพมืดลงอย่างที่เราต้องการ เราเรียกว่า "การชดเชยแสง"
โดยการใช้ค่าเบื้องต้นที่กล้องวัดได้และแนะนำให้ใช้(แต่ยังไม่ถูกใจเรา) นั่นเอง
3. You Don’t Experiment With the Perspective
ไม่ลองมองภาพด้วยทัศนมิติใหม่ๆ
การถ่ายภาพในสถานที่เดียวกัน ซีนเดียวกันด้วยการเปลี่ยนระนาบการมอง
จะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของคนที่ชมภาพเราได้เลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่นการถ่ายภาพแลนด์สเคปในซีนเดียวกัน
แต่เปลี่ยนระดับการมองให้ต่ำหรือสูงกว่าระดับสายตา มิติของภาพจะเปลี่ยนไปมากอย่างเห็นได้ชัด
(การใช้เลนส์ที่ความยาวโฟกัสต่างกันก็ให้ผลในด้านทัศนมิติที่เปลี่ยนไปเช่นกัน)
การถ่ายภาพบุคคลเรามักจะได้รับคำแนะนำให้ถ่ายภาพในระดับสายตาของตัวแบบ
ให้เลนส์ขนานกับระดับสายตาของตัวแบบ แต่เราอาจจะลองถ่ายด้วยมุมกดลงเพื่อเปลี่ยนทัศมิติของภาพได้ เราเรียกว่าการเปลี่ยน Point of View
4. You Don’t Understand How Lighting Affects a Photograph
ไม่เข้าใจว่าแสงมีผลอย่างไรกับภาพ
แสงที่ดี ให้ความแตกต่างอย่างมหาศาลต่อผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราถ่ายภาพ ช่างภาพที่ดีต้องเลือกแสงที่เหมาะสม
ทราบว่าแสงแบบไหน เวลาใด เหมาะสำหรับถ่ายภาพประเภทไหน? แสงในวันที่เมฆมาก
ให้แสงที่นุ่มเหมาะสำหรับถ่ายภาพดอกไม้ ต้นไม้ใบหญ้าจะได้สีที่อิ่มตัว เวลาสายๆในวันที่ไร้เมฆ
เหมาะกับการถ่ายภาพอาคารที่ต้องการท้องฟ้าสีฟ้า เวลาเที่ยงแสงมีเงาที่ชัดหนักเหมาะกับการถ่ายขาวดำ
เวลารุ่งสาง และหลังพระอาทิตย์ตก เป็นเวลาของซิติ้สเคปที่ต้องการแสงสวยๆ เป็นต้น
แสงแข็งให้เงาที่มีขอบคมชัด แสงแบบนี้เหมาะกับการถ่ายภาพลวดลายพื้นผิวที่ต้องการเน้นลวดลายเป็นหลัก
ส่วนแสงนุ่มให้เงาที่มีขอบฟุ้ง เหมาะกับการถ่ายภาพบุคคล
5. You Don’t Post-Process Your Photos
ไม่ปรับปรุงภาพถ่ายหลังถ่าย
ลำดับแรก ถ่ายภาพให้ได้สวยที่สุดเท่าที่จะทำได้เสียก่อน
ลำดับต่อมาแม้จะเป็นทางเลือกแต่ขอแนะนำให้เลือกอย่างยิ่งคือการปรับปรุงภาพถ่าย ในบางสิ่งบางอย่างที่เราอยากได้ แต่กล้องให้ไม่ได้
ในโลกของความเป็นจริงแล้ว กล้องระดับคอมแพคแบบไฮเอนด์ขึ้นมา มีไฟล์ดิบที่ไม่ผ่านการบีบอัดมาให้เลือกใช้ทั้งนั้น นั่นแปลว่า ผู้ผลิตกล้อง
สร้างไฟล์ชนิดนี้มาเพื่อการปรับปรุงภาพถ่ายหลังจากถ่ายมาอยู่แล้ว
การปรับปรุงภาพถ่าย ไม่ช่วยให้ภาพที่ถ่ายห่วยแล้วนำมาแต่งสวยขึ้นได้
แต่ช่วยให้ภาพที่สวยอยู่แล้วสวยขึ้นไปอีกขั้นหรือหลายขั้น การปรับแต่งภาพหลังถ่ายไม่ควรทำมากเกินไป
กะโดยประมาณไว้ในใจอย่าให้เกิน 30 เปอร์เซ็นกำลังพอดี
6. You Haven’t Taken Up a Photography Project
ไม่เคยลองสร้างโปรเจคถ่ายภาพดูซักครั้ง
การคิดโปรเจคถ่ายภาพขึ้นมาซักโครงการ แล้วถ่ายตามคอนเซปต์นั้น เป็นวิธีที่จะช่วยให้การถ่ายภาพของเราดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา
นั่นก็เพราะการกำหนดคอนเชปต์ในการถ่ายภาพที่ชัดเจน ทำให้เรามุ่งความสนใจไปกับสิ่งนั้นเป็นพิเศษ มีมุมมอง มีสายตาที่ใส่ใจรายละเอียดมากขึ้น
ตัวอย่างโปรเจคในการถ่ายภาพเช่น ถ่ายการเจิรญเติบโตของต้นมะเขือเทศ ตั้งแต่แต่ต้นจนออกผลแล้วเหี่ยวตายไป / การถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้นทุกวันตลอด 1 ปี / การถ่ายภาพคนแปลกหน้าที่พบให้ครบ 100 คน / การถ่ายเส้นที่พบในชีวิตพระจำวัน / ถ่ายราวตากผ้าของแต่ละบ้าน / การถ่ายเงาเป็นแบบหลักของภาพ เป็นต้น
7. You Don’t Have a Well-Defined Subject in Your Photo
ตัวแบบหลักของภาพ ไม่ชัดเจน
ภาพที่ดีควรมีบางอย่างในภาพ ที่ความสามารถในการดึงดูดผู้ชมภาพให้สนใจอยู่กับภาพถ่ายนั้นได้นานๆ
เราเรียกสิ่งนั้นว่า "ตัวแบบหลักของภาพ" ภาพที่มีการกำหนดตัวแบบหลักของภาพที่ดี
มักสร้างความประทับใจให้ผู้ชมมากกว่าภาพที่ผู้ชมงุนงง
ว่าอะไรคือพระเอกของภาพและต้องมาค้นหาเอาเองว่าภาพนี้ต้องการสื่อสารอะไร? ถ่ายอะไรมา?
ก่อนกดชัตเตอร์ทุกครั้ง ควรถามตัวเองเสียก่อนว่า พระเอกของภาพนี้คืออะไร?(และน่าสนใจพอที่จะถ่ายหรือยัง?)
ยกตัวอย่างเช่นการถ่ายภาพสตรีท มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นในเสี้ยววินาทีบนท้องถนนในเมืองใหญ่
เราต้องเลือกสิ่งที่ต้องการนำเสนออย่างรวดเร็ว มองหาสิ่งที่ควรถ่าย เช่น ชายชรานั่งกุมขมับอยู่หน้าร้านอาหาร
ชายใส่กางเกงบอลเดินผ่านป้ายโฆษณาเสื้อผ้าแบรนด์หรู เป็นต้น สิ่งที่เราควรเลือกเข้ามาไว้ในภาพจึงควรมีเท่านี้
ไม่ใช่มีสิ่งแปลกปลอมเป็นคนกำลังชูสองนิ้วให้กล้องอยู่ฉากหลัง
8. You Are Not Studying Other Photographers’ Works
ไม่พยายามศึกษาดูงานของช่างภาพคนอื่น
งานของช่างภาพระดับที่ยอมรับกันในวงการถ่ายภาพ สร้างแรงบันดาลใจให้เราอย่างมหาศาลเสมอ
ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบภาพ เทคนิคการปรับปรุงภาพหลังถ่าย การใช้สีในภาพ เทคนิคที่ใช้ในการถ่ายภาพ ล้วนเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่จะศึกษา
การเรียนรู้สไตล์การถ่ายภาพของช่างภาพที่เราชื่นชอบ จะสร้างผลงานของเราเองที่เป็นเอกลักษณ์ได้ในที่สุด
การเรียนรู้เช่นนี้ควรศึกษาลักษณะของแสงในภาพ /องค์ประกอบภาพ/ ความยาวโฟกัสที่ใช้และระยะชัดของภาพ /
การตั้งค่ากล้อง/ ช่วงเวลาที่ถ่าย / การโปรเซสภาพหลังถ่าย อาจจะรวมไปถึงเทคนิคการพิมพ์ในกรณีที่เป็นภาพที่พิมพ์ออกมา
การลอกมุมกันซื่อๆแบบนี้ โดยที่มีความเข้าใจองค์ประกอบที่กล่าวมาทั้งหมด
จะช่วยประหยัดเวลาในการพัฒนาตัวเอง มากกว่าลองผิดลองถูกเอาเองได้อย่างมาก
9. You Are Totally Ignoring the Background
ไม่สนใจฉากหลังเลย
ฉากหลังรกคือข้อผิดพลาดอันดับหนึ่งของผู้เริ่มถ่ายภาพใหม่ๆ เป็นกันทั่วโลก
ฉากหลังที่สีเรียบ ลวดลายไม่ยุ่งเหยิง มักดีต่อตัวแบบหลัก ลองนึกภาพที่มีสาวสวยเป็นแบบหลัก
แต่มีคนยืนแคะขี้มูกอยู่ด้านหลังโดยที่เราไม่ได้สนใจก่อนถ่าย ย่อมสร้างความวุ่นวายให้เราได้พอสมควร
ฉากหลังที่มีสิ่งกวนตา จะดึงดูดสายตาคนที่ชมภาพของเราไปยังฉากหลัง และละสายตาจากตัวแบบที่เราต้องการให้สนใจ
นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น
10. You Don’t Know Your Camera Well Enough
ไม่รู้ว่ากล้องตัวเองใช้ทำอะไรได้บ้าง
การเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงประสิทธิภาพของกล้องและเลนส์ที่เราใช้ ช่วยให้เราใช้กล้องได้อย่างสมราคา
การศึกษาคู่มือให้เข้าใจจะช่วยให้การถ่ายภาพสนุกสนานและสร้างสรรค์ภาพถ่ายด้วยเทคนิคใหม่ๆได้มากมาย
เรียนรู้ที่จะถ่ายไฟล์ดิบ เรียนรู้การใช้กล้องร่วมกับแฟลช ทำความเข้าใจกับไวท์บาลานซ์ ศึกษาหน้าที่ของปุ่มต่างๆ
ของกล้องและการเข้าถึงเมนูภายในกล้องเพื่อการใช้งานที่คล่องแคล่ว ในการปรับตั้งค่ากล้องในการถ่ายภาพจริง
ไม่ควรใช้เวลาเกิน 10 วินาที เพราะแต่ละเสี้ยววินาทีที่ผ่านไป โอกาสในการได้ภาพในจังหวะที่เหมาะเจาะ ก็ผ่านไปด้วย
11. You Don’t Visualize What You’re Going to Shoot
ไม่มีภาพที่อยากได้ในหัวก่อนถ่าย
ลองจินตนาการถึงจิตกรที่วาดภาพลงบนผืนผ้าใบเปล่าๆ แล้วภาพที่ออกมามีชีวิตชีวา ช่างภาพก็ควรเป็นเช่นนั้น
ควรมีภาพในหัวไว้แล้วว่าอยากได้ภาพเช่นใด? สิ่งนี้จะกำหนดว่าเราต้องไปถ่ายภาพที่เราอยากได้ ที่ไหน เวลาและฤดูกาลใด?
ใช้เลนส์ที่ความยาวโฟกัสขนาดไหน? ทัศนมิติควรเป็นเช่นใด? เป็นต้น
การกำหนดภาพที่อยากได้ไว้ในหัวเป็นสิ่งที่ดี
แต่อย่าจับจดเกินไปจนมองข้ามรายละเอียดรายทางที่อาจจะให้ภาพที่สวยได้เช่นกัน
12. Your Photograph Doesn’t Convey a Story or Message
ภาพที่ถ่ายไม่บ่งบอกเรื่องราวอะไรที่ชัดเจน
"ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดเป็นพันคำ" ภาษิตของนักถ่ายภาพที่เราได้ยินกันมานาน ซึ่งนั่นเป็นความจริงอย่างยิ่ง
จงทำตัวเป็นกล้องถ่ายภาพเสียเอง ถ่ายทอดเรื่องราวที่คนในภาพ บรรยากาศในภาพกำลังบอกเรา
จงทำตัวเป็นช่องสีเหลี่ยม ถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นสู่สายตาที่ที่มองผ่านภาพเราเข้าไป
ภาพที่ดีควรก่อให้เกิดอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแก่ผู้ชม เช่น เศร้า เห็นใจ มีความสุข ก่อให้เกิดการพูดคุย
ก่อให้เกิดอารมณ์อิ่มเอมใจ เป็นต้น
13. You Don’t Get Your Photos Critiqued
ไม่เคยได้รับคำวิจารณ์จากคนอื่น
การได้รับฟีดแบคจากผู้อื่นเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาฝีมือการถ่ายภาพของเราได้เป็นอย่างดี
การได้รับคำวิจารณ์จากผู้อื่นด้วยมุมมองที่แตกต่างจะช่วยให้เราเห็นบางสิ่งที่เราอาจจะมองข้ามไป
แต่ฟีดแบ็คไม่ใช่แค่ "สวยครับ ชอบ" / "ภาพนี้สุดยอดมากๆ" หรืออะไรแบบนั้น เพราะเหตุนั้นการวิจารณ์ภาพจึงสำคัญ
การวิจารณ์ภาพจะบอกว่า สวยเพราะอะไร? สิ่งไหนที่ควรปรับปรุง ลองขอให้เพื่อนที่ถ่ายภาพด้วยกันช่วยวิจารณ์ภาพของเรา
หรือลองโพสต์ภาพเพื่อขอรับคำวิจารณ์จากเพื่อนในโลกออนไลน์
14. You Don’t Practice Enough
ยังฝึกฝนไม่มากพอ
Practice makes perfect . การฝึกฝนช่วยให้เราสมบูรณ์แบบ อ่านหนังสือทั้งโลกก็ไม่ได้ช่วยอะไรหากเราไม่ลงมือฝึกฝนด้วยตัวเอง
ไม่เพียงแต่ฝึก แต่ต้องฝึกฝนให้บ่อย เราอาจจะฟลุคได้ภาพสวยๆได้บ้างในการพยายามฝึกครั้งแรกๆ
แต่การสร้างภาพถ่ายที่เยี่ยมยอดอย่างต่อเนื่อง เราต้องฝึกฝนให้บ่อย
อ็องรี การ์ตีเย-แบรซง กล่าวไว้ว่า ภาพถ่าย 10,000 ภาพแรกของเรานั้น
จะเป็นภาพที่แย่ หาสาระไม่ได้ที่สุด นั่นคือในยุคฟิล์ม หากเป็นยุคดิจิตอล
เราอาจจะต้องบวกเพิ่มเข้าไปอีกเป็น 100,000 ภาพแรก การถ่ายภาพไม่มีทางลัด ฝึกให้มาก
เรียนรู้จากข้อผิดพลาด เพื่อเพิ่มจำนวนภาพถ่ายที่ดีขึ้นของเรา
ตัวอย่างการถ่ายห่วยแล้วยังมาแต่งมั่ว
"วิเคราะห์ผลงานวิจารณ์ภาพถ่าย "
ชุมชนของคนถ่ายภาพแล้วนำผลงานมาล้อมวงคุยกัน
อยากคุยด้วย คลิกดูสปอยล์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วิเคราะห์ผลงานวิจารณ์ภาพถ่าย
http://goo.gl/zcYhe8
มีค่ายลี้ภัยชาวห้องกล้องในบางเวลาที่แท็กระบาดหนักๆด้วย
http://goo.gl/P5jJUR
สำหรับคอขาวดำ
http://is.gd/OZVaYE
สำหรับคอคอมแพค
http://is.gd/d9eIc2
. . . . . . . . . . . . ยังไม่ไปไหน . . . . . . . . . 14 เหตุผลที่เรายังคงอยู่ที่เดิม ...
1. You Don’t Pay Attention to the Composition
ไม่ใส่ใจในองค์ประกอบภาพ
องค์ประกอบภาพที่ไม่ดี ทำให้ความสามารถในการดึงความสนใจของผู้ชมให้อยู่กับภาพของเราลดลง
สิ่งที่ดึงดูดสายตาผู้มชมภาพไปจากตัวแบบที่เราต้องการเน้น ( ฉากหลังที่มีสิ่งของสีสดไป / สว่างไป เป็นต้น)
และการรวมเอาวัตถุที่ไม่จำเป็นเข้ามาในเฟรมภาพคือหายนะอันดับแรกของการจัดองค์ประกอบภาพ
ก่อนจะตัดสินในถ่ายภาพใดๆ ควรถามตัวเองให้แน่ชัด ว่าสิ่งใดบ้างที่ควรอยู่ในเฟรมสี่เหลี่ยมของเรา
และอะไรไม่ควร อย่าลืมตรวจสอบบริเวณขอบภาพ ซึ่งอาจจะมีสิ่งไม่พึงประสงค์ยื่นเข้ามา (กิ่งไม้ และบางครั้งก็เป็นนิ้วมือเราเอง)
การเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบภาพ (และเรียนรู้ว่าเมื่อไหร่ควรแหกกฎ)
เป็นสิ่งที่จะให้ผลตอบแทนอย่างงามสำหรับการถ่ายภาพ ลองเริ่มต้นด้วยกฎสามส่วนแบบง่ายๆ นั่นคือการเริ่มต้นที่ดี
2. You Don’t Know the Basics of Exposure
คุณไม่รู้พื้นฐานการควบคุมแสงสว่างในภาพเอาซะเลย
The exposure Triangle สามเหลี่ยมแห่งแสง ปัจจัยเพียงสามอย่างคือ
ความเร็วชัตเตอร์(Shutter Speed) ขนาดของรูรับแสง (Aperture) และความไวแสงของเซ็นเซอร์ ( ISO )
สามสิ่งนี้สัมพันธ์กัน และช่วยให้เราทราบว่า ภาพหนึ่งภาพนั้นถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร?
การถ่ายภาพในโหมดออโต้จึงไม่ช่วยให้เราควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้เลย
นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงสมควรเริ่มต้นถ่ายภาพด้วยโหมดควบคุมเองทั้งหมด (Manual)
เพราะการเข้าใจสิ่งเหล่านี้ จะช่วยเปิดประตูสู่การถ่ายภาพด้วยเทคนิคต่างๆ ทั้งการถ่าย light painting , light trails
,ถ่ายชายฝั่งทะเลให้ดูน่าสนใจ หรือจะเป็นการถ่ายภาพทางช้างเผือก และอื่นๆอีกมากมาย
เมื่อเราเข้าใจโหมดแมนวลแล้ว เราจะเข้าใจและใช้โหมดกึ่งอัติโนมัติอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอัตโนมัติ
เพราะทุกโหมด ล้วนมีหลักการทำงานด้วยปัจจัยสามอย่างด้านบน แบบเดียวกันทั้งสิ้น
เมื่อภาพที่เราถ่ายมืดหรือสว่างเกินไป เราไม่ชอบ เราจะสารมารถใช้ความเข้าใจในปัจจัยที่มีผลต่อภาพเหล่านี้
ช่วยในการเพิ่มความสว่างหรือทำให้ภาพมืดลงอย่างที่เราต้องการ เราเรียกว่า "การชดเชยแสง"
โดยการใช้ค่าเบื้องต้นที่กล้องวัดได้และแนะนำให้ใช้(แต่ยังไม่ถูกใจเรา) นั่นเอง
3. You Don’t Experiment With the Perspective
ไม่ลองมองภาพด้วยทัศนมิติใหม่ๆ
การถ่ายภาพในสถานที่เดียวกัน ซีนเดียวกันด้วยการเปลี่ยนระนาบการมอง
จะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของคนที่ชมภาพเราได้เลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่นการถ่ายภาพแลนด์สเคปในซีนเดียวกัน
แต่เปลี่ยนระดับการมองให้ต่ำหรือสูงกว่าระดับสายตา มิติของภาพจะเปลี่ยนไปมากอย่างเห็นได้ชัด
(การใช้เลนส์ที่ความยาวโฟกัสต่างกันก็ให้ผลในด้านทัศนมิติที่เปลี่ยนไปเช่นกัน)
การถ่ายภาพบุคคลเรามักจะได้รับคำแนะนำให้ถ่ายภาพในระดับสายตาของตัวแบบ
ให้เลนส์ขนานกับระดับสายตาของตัวแบบ แต่เราอาจจะลองถ่ายด้วยมุมกดลงเพื่อเปลี่ยนทัศมิติของภาพได้ เราเรียกว่าการเปลี่ยน Point of View
4. You Don’t Understand How Lighting Affects a Photograph
ไม่เข้าใจว่าแสงมีผลอย่างไรกับภาพ
แสงที่ดี ให้ความแตกต่างอย่างมหาศาลต่อผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราถ่ายภาพ ช่างภาพที่ดีต้องเลือกแสงที่เหมาะสม
ทราบว่าแสงแบบไหน เวลาใด เหมาะสำหรับถ่ายภาพประเภทไหน? แสงในวันที่เมฆมาก
ให้แสงที่นุ่มเหมาะสำหรับถ่ายภาพดอกไม้ ต้นไม้ใบหญ้าจะได้สีที่อิ่มตัว เวลาสายๆในวันที่ไร้เมฆ
เหมาะกับการถ่ายภาพอาคารที่ต้องการท้องฟ้าสีฟ้า เวลาเที่ยงแสงมีเงาที่ชัดหนักเหมาะกับการถ่ายขาวดำ
เวลารุ่งสาง และหลังพระอาทิตย์ตก เป็นเวลาของซิติ้สเคปที่ต้องการแสงสวยๆ เป็นต้น
แสงแข็งให้เงาที่มีขอบคมชัด แสงแบบนี้เหมาะกับการถ่ายภาพลวดลายพื้นผิวที่ต้องการเน้นลวดลายเป็นหลัก
ส่วนแสงนุ่มให้เงาที่มีขอบฟุ้ง เหมาะกับการถ่ายภาพบุคคล
5. You Don’t Post-Process Your Photos
ไม่ปรับปรุงภาพถ่ายหลังถ่าย
ลำดับแรก ถ่ายภาพให้ได้สวยที่สุดเท่าที่จะทำได้เสียก่อน
ลำดับต่อมาแม้จะเป็นทางเลือกแต่ขอแนะนำให้เลือกอย่างยิ่งคือการปรับปรุงภาพถ่าย ในบางสิ่งบางอย่างที่เราอยากได้ แต่กล้องให้ไม่ได้
ในโลกของความเป็นจริงแล้ว กล้องระดับคอมแพคแบบไฮเอนด์ขึ้นมา มีไฟล์ดิบที่ไม่ผ่านการบีบอัดมาให้เลือกใช้ทั้งนั้น นั่นแปลว่า ผู้ผลิตกล้อง
สร้างไฟล์ชนิดนี้มาเพื่อการปรับปรุงภาพถ่ายหลังจากถ่ายมาอยู่แล้ว
การปรับปรุงภาพถ่าย ไม่ช่วยให้ภาพที่ถ่ายห่วยแล้วนำมาแต่งสวยขึ้นได้
แต่ช่วยให้ภาพที่สวยอยู่แล้วสวยขึ้นไปอีกขั้นหรือหลายขั้น การปรับแต่งภาพหลังถ่ายไม่ควรทำมากเกินไป
กะโดยประมาณไว้ในใจอย่าให้เกิน 30 เปอร์เซ็นกำลังพอดี
6. You Haven’t Taken Up a Photography Project
ไม่เคยลองสร้างโปรเจคถ่ายภาพดูซักครั้ง
การคิดโปรเจคถ่ายภาพขึ้นมาซักโครงการ แล้วถ่ายตามคอนเซปต์นั้น เป็นวิธีที่จะช่วยให้การถ่ายภาพของเราดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา
นั่นก็เพราะการกำหนดคอนเชปต์ในการถ่ายภาพที่ชัดเจน ทำให้เรามุ่งความสนใจไปกับสิ่งนั้นเป็นพิเศษ มีมุมมอง มีสายตาที่ใส่ใจรายละเอียดมากขึ้น
ตัวอย่างโปรเจคในการถ่ายภาพเช่น ถ่ายการเจิรญเติบโตของต้นมะเขือเทศ ตั้งแต่แต่ต้นจนออกผลแล้วเหี่ยวตายไป / การถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้นทุกวันตลอด 1 ปี / การถ่ายภาพคนแปลกหน้าที่พบให้ครบ 100 คน / การถ่ายเส้นที่พบในชีวิตพระจำวัน / ถ่ายราวตากผ้าของแต่ละบ้าน / การถ่ายเงาเป็นแบบหลักของภาพ เป็นต้น
7. You Don’t Have a Well-Defined Subject in Your Photo
ตัวแบบหลักของภาพ ไม่ชัดเจน
ภาพที่ดีควรมีบางอย่างในภาพ ที่ความสามารถในการดึงดูดผู้ชมภาพให้สนใจอยู่กับภาพถ่ายนั้นได้นานๆ
เราเรียกสิ่งนั้นว่า "ตัวแบบหลักของภาพ" ภาพที่มีการกำหนดตัวแบบหลักของภาพที่ดี
มักสร้างความประทับใจให้ผู้ชมมากกว่าภาพที่ผู้ชมงุนงง
ว่าอะไรคือพระเอกของภาพและต้องมาค้นหาเอาเองว่าภาพนี้ต้องการสื่อสารอะไร? ถ่ายอะไรมา?
ก่อนกดชัตเตอร์ทุกครั้ง ควรถามตัวเองเสียก่อนว่า พระเอกของภาพนี้คืออะไร?(และน่าสนใจพอที่จะถ่ายหรือยัง?)
ยกตัวอย่างเช่นการถ่ายภาพสตรีท มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นในเสี้ยววินาทีบนท้องถนนในเมืองใหญ่
เราต้องเลือกสิ่งที่ต้องการนำเสนออย่างรวดเร็ว มองหาสิ่งที่ควรถ่าย เช่น ชายชรานั่งกุมขมับอยู่หน้าร้านอาหาร
ชายใส่กางเกงบอลเดินผ่านป้ายโฆษณาเสื้อผ้าแบรนด์หรู เป็นต้น สิ่งที่เราควรเลือกเข้ามาไว้ในภาพจึงควรมีเท่านี้
ไม่ใช่มีสิ่งแปลกปลอมเป็นคนกำลังชูสองนิ้วให้กล้องอยู่ฉากหลัง
8. You Are Not Studying Other Photographers’ Works
ไม่พยายามศึกษาดูงานของช่างภาพคนอื่น
งานของช่างภาพระดับที่ยอมรับกันในวงการถ่ายภาพ สร้างแรงบันดาลใจให้เราอย่างมหาศาลเสมอ
ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบภาพ เทคนิคการปรับปรุงภาพหลังถ่าย การใช้สีในภาพ เทคนิคที่ใช้ในการถ่ายภาพ ล้วนเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่จะศึกษา
การเรียนรู้สไตล์การถ่ายภาพของช่างภาพที่เราชื่นชอบ จะสร้างผลงานของเราเองที่เป็นเอกลักษณ์ได้ในที่สุด
การเรียนรู้เช่นนี้ควรศึกษาลักษณะของแสงในภาพ /องค์ประกอบภาพ/ ความยาวโฟกัสที่ใช้และระยะชัดของภาพ /
การตั้งค่ากล้อง/ ช่วงเวลาที่ถ่าย / การโปรเซสภาพหลังถ่าย อาจจะรวมไปถึงเทคนิคการพิมพ์ในกรณีที่เป็นภาพที่พิมพ์ออกมา
การลอกมุมกันซื่อๆแบบนี้ โดยที่มีความเข้าใจองค์ประกอบที่กล่าวมาทั้งหมด
จะช่วยประหยัดเวลาในการพัฒนาตัวเอง มากกว่าลองผิดลองถูกเอาเองได้อย่างมาก
9. You Are Totally Ignoring the Background
ไม่สนใจฉากหลังเลย
ฉากหลังรกคือข้อผิดพลาดอันดับหนึ่งของผู้เริ่มถ่ายภาพใหม่ๆ เป็นกันทั่วโลก
ฉากหลังที่สีเรียบ ลวดลายไม่ยุ่งเหยิง มักดีต่อตัวแบบหลัก ลองนึกภาพที่มีสาวสวยเป็นแบบหลัก
แต่มีคนยืนแคะขี้มูกอยู่ด้านหลังโดยที่เราไม่ได้สนใจก่อนถ่าย ย่อมสร้างความวุ่นวายให้เราได้พอสมควร
ฉากหลังที่มีสิ่งกวนตา จะดึงดูดสายตาคนที่ชมภาพของเราไปยังฉากหลัง และละสายตาจากตัวแบบที่เราต้องการให้สนใจ
นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น
10. You Don’t Know Your Camera Well Enough
ไม่รู้ว่ากล้องตัวเองใช้ทำอะไรได้บ้าง
การเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงประสิทธิภาพของกล้องและเลนส์ที่เราใช้ ช่วยให้เราใช้กล้องได้อย่างสมราคา
การศึกษาคู่มือให้เข้าใจจะช่วยให้การถ่ายภาพสนุกสนานและสร้างสรรค์ภาพถ่ายด้วยเทคนิคใหม่ๆได้มากมาย
เรียนรู้ที่จะถ่ายไฟล์ดิบ เรียนรู้การใช้กล้องร่วมกับแฟลช ทำความเข้าใจกับไวท์บาลานซ์ ศึกษาหน้าที่ของปุ่มต่างๆ
ของกล้องและการเข้าถึงเมนูภายในกล้องเพื่อการใช้งานที่คล่องแคล่ว ในการปรับตั้งค่ากล้องในการถ่ายภาพจริง
ไม่ควรใช้เวลาเกิน 10 วินาที เพราะแต่ละเสี้ยววินาทีที่ผ่านไป โอกาสในการได้ภาพในจังหวะที่เหมาะเจาะ ก็ผ่านไปด้วย
11. You Don’t Visualize What You’re Going to Shoot
ไม่มีภาพที่อยากได้ในหัวก่อนถ่าย
ลองจินตนาการถึงจิตกรที่วาดภาพลงบนผืนผ้าใบเปล่าๆ แล้วภาพที่ออกมามีชีวิตชีวา ช่างภาพก็ควรเป็นเช่นนั้น
ควรมีภาพในหัวไว้แล้วว่าอยากได้ภาพเช่นใด? สิ่งนี้จะกำหนดว่าเราต้องไปถ่ายภาพที่เราอยากได้ ที่ไหน เวลาและฤดูกาลใด?
ใช้เลนส์ที่ความยาวโฟกัสขนาดไหน? ทัศนมิติควรเป็นเช่นใด? เป็นต้น
การกำหนดภาพที่อยากได้ไว้ในหัวเป็นสิ่งที่ดี
แต่อย่าจับจดเกินไปจนมองข้ามรายละเอียดรายทางที่อาจจะให้ภาพที่สวยได้เช่นกัน
12. Your Photograph Doesn’t Convey a Story or Message
ภาพที่ถ่ายไม่บ่งบอกเรื่องราวอะไรที่ชัดเจน
"ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดเป็นพันคำ" ภาษิตของนักถ่ายภาพที่เราได้ยินกันมานาน ซึ่งนั่นเป็นความจริงอย่างยิ่ง
จงทำตัวเป็นกล้องถ่ายภาพเสียเอง ถ่ายทอดเรื่องราวที่คนในภาพ บรรยากาศในภาพกำลังบอกเรา
จงทำตัวเป็นช่องสีเหลี่ยม ถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นสู่สายตาที่ที่มองผ่านภาพเราเข้าไป
ภาพที่ดีควรก่อให้เกิดอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแก่ผู้ชม เช่น เศร้า เห็นใจ มีความสุข ก่อให้เกิดการพูดคุย
ก่อให้เกิดอารมณ์อิ่มเอมใจ เป็นต้น
13. You Don’t Get Your Photos Critiqued
ไม่เคยได้รับคำวิจารณ์จากคนอื่น
การได้รับฟีดแบคจากผู้อื่นเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาฝีมือการถ่ายภาพของเราได้เป็นอย่างดี
การได้รับคำวิจารณ์จากผู้อื่นด้วยมุมมองที่แตกต่างจะช่วยให้เราเห็นบางสิ่งที่เราอาจจะมองข้ามไป
แต่ฟีดแบ็คไม่ใช่แค่ "สวยครับ ชอบ" / "ภาพนี้สุดยอดมากๆ" หรืออะไรแบบนั้น เพราะเหตุนั้นการวิจารณ์ภาพจึงสำคัญ
การวิจารณ์ภาพจะบอกว่า สวยเพราะอะไร? สิ่งไหนที่ควรปรับปรุง ลองขอให้เพื่อนที่ถ่ายภาพด้วยกันช่วยวิจารณ์ภาพของเรา
หรือลองโพสต์ภาพเพื่อขอรับคำวิจารณ์จากเพื่อนในโลกออนไลน์
14. You Don’t Practice Enough
ยังฝึกฝนไม่มากพอ
Practice makes perfect . การฝึกฝนช่วยให้เราสมบูรณ์แบบ อ่านหนังสือทั้งโลกก็ไม่ได้ช่วยอะไรหากเราไม่ลงมือฝึกฝนด้วยตัวเอง
ไม่เพียงแต่ฝึก แต่ต้องฝึกฝนให้บ่อย เราอาจจะฟลุคได้ภาพสวยๆได้บ้างในการพยายามฝึกครั้งแรกๆ
แต่การสร้างภาพถ่ายที่เยี่ยมยอดอย่างต่อเนื่อง เราต้องฝึกฝนให้บ่อย
อ็องรี การ์ตีเย-แบรซง กล่าวไว้ว่า ภาพถ่าย 10,000 ภาพแรกของเรานั้น
จะเป็นภาพที่แย่ หาสาระไม่ได้ที่สุด นั่นคือในยุคฟิล์ม หากเป็นยุคดิจิตอล
เราอาจจะต้องบวกเพิ่มเข้าไปอีกเป็น 100,000 ภาพแรก การถ่ายภาพไม่มีทางลัด ฝึกให้มาก
เรียนรู้จากข้อผิดพลาด เพื่อเพิ่มจำนวนภาพถ่ายที่ดีขึ้นของเรา
ตัวอย่างการถ่ายห่วยแล้วยังมาแต่งมั่ว
"วิเคราะห์ผลงานวิจารณ์ภาพถ่าย "
ชุมชนของคนถ่ายภาพแล้วนำผลงานมาล้อมวงคุยกัน
อยากคุยด้วย คลิกดูสปอยล์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้