ฟรีแลนซ์.. ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ
ก่อนจะไปว่ากันที่ตัวหนัง เราขอเมาธ์มอยซักนิดนึงก่อน คืองี้ เวลาที่เราได้ยินคนพูด ได้เห็นคนโพสท์ใน fb หรือแม้กระทั่งได้อ่านข้อความใน line ประมาณว่า “ฟรีแลนซ์ฯ เป็นหนังอินดี้” เรานะอยากจะเข้าไปสะกิดบอก, เมนท์ตอบใน fb หรือตอบข้อความใน line ว่า “เฮ้ย ! ฟรีแลนซ์ฯ มันไม่ใช่หนังอินดี้นะ ไม่ใช่แน่นอนด้วย” คือมันต้องแยกให้ออกไง ระหว่างอินดี้ ไม่อินดี้ กะ แมส ไม่แมส ถ้าบอกว่า “ฟรีแลนซ์ฯ มันไม่ใช่หนังแมสนะ” โอเค อันนี้ยอมรับได้ (แม้จริงๆ เราว่ามันก็แมสพอดูเลยนะ)
อ่ะ ! เพื่อเป็นการสนับสนุนประโยค “ฟรีแลนซ์ฯ ไม่ใช่หนังอินดี้” เราก็เลยจะขอเล่าสิ่งที่เรารู้ เราเข้าใจมาให้ฟัง (โดยทั้งหมดนี้มาจากสิ่งที่เราเคยได้ยิน ได้ฟัง หรือเคยอ่านมาจากหลากหลายแหล่งที่มา อาจจะมีถูกมั่ง ผิดมั่ง หรืออาจจะผิดทั้งหมดเลยก็ได้ ก็ต้องออกตัวขออภัยไว้ ณ ที่นี้ก่อน) คืองี้...
คำว่า “หนังอินดี้” มันมีชื่อเรียกที่เป็นภาษาไทยว่า “หนังอิสระ” (Indy มาจากคำว่า Independent ถ้าใช้เป็น adj. จะแปลว่า อิสระ, ไม่ขึ้นใคร แต่ถ้าใช้เป็น n. จะแปลว่า คนที่อิสระ คนที่เป็นตัวของตัวเอง >>> อันนี้ก็อาจจะลึกไป) หนังอิสระ คือ หนังที่ทุนสร้างไม่ได้มาจากสตูดิโอ แต่ถ้าใช้คำว่าสตูดิโอ สำหรับประเทศไทยนั้นอาจจะไม่ถูกต้องซะทีเดียว เพราะสตูดิโอคือ บริษัททำหนังที่มีสตูดิโอ (โรงถ่าย) สำหรับถ่ายหนังของตัวเอง(หรือให้เช่าด้วย) ยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุดก็ต้องฮอลลีวูดกะ big 6 สตูดิโอ อย่าง Warner Bros., 20th Century Fox, Walt Disney Pictures, Columbia Pictures, Paramount Pictures และ Universal Pictures ประมาณนั้นไป แต่กะของประเทศไทยนั้น ที่เคยได้ยินข่าวว่าจะมีสตูดิโอเป็นของตัวเองก็มีแค่ Xact ที่ข่าวว่าลงทุนเป็น 1,000 ล้าน แต่ตอนนี้ไม่รู้เหมือนกันว่าถึงไหนแล้ว คือมีสตูดิโอใช้แล้วจริงๆ หรือว่ายกเลิกโครงการไปแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเป็นประเทศไทย ใช้คำว่า “ค่ายหนัง” น่าจะเหมาะสมที่สุด ค่ายหนังที่ว่านี้ก็อย่าง สหมงคลฟิล์ม ไฟว์สตาร์ฯ พระนครฟิล์ม M39 และก็แน่นอน GTH ที่ถือเป็นค่ายหนังที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุคนี้ และก็เป็นค่ายที่ออกทุนสร้างให้กับหนัง ฟรีแลนซ์ฯ ที่ว่านี้ด้วย
แต่ถ้าเป็นหนังอิสระ (หรือว่าหนังอินดี้นั่นแหละ) ทุนสร้างจะมาจากหลากหลายทางแล้วแต่ว่าทางผู้สร้างหรือผู้กำกับจะหามาจากทางไหน เช่น
1. ก็เงินส่วนตัวของผู้กำกับนั่นแหละและรวมไปถึงเงินของญาติๆ เพื่อนๆ ทั้งหลายแหล่ ตัวอย่างก็เช่น “คืนนั้น” ของ กอล์ฟ-ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
2. หนังที่ผู้กำกับและ/หรือผู้สร้างหาทุนกันเองจากหลากหลายทาง เช่น “สิ้นเมษา ฝนตกมาปรอยๆ” ของ อั๋น-วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์ ที่ได้ทุนส่วนนึงมาจากส่วนราชการในจังหวัดขอนแก่น “ผู้บ่าวไทบ้าน E สาน Indy” ของ อุเทน ศรีริวิ ที่ผู้กำกับหาทุนส่วนหนึ่งจากการขายเสื้อจาหนัง และขายตั๋วล่วงหน้า ซึ่งทั้ง 2 ทางก็ถือเป็นการโปรโมตหนังไปด้วยในตัว
3. หนังที่ได้ทุนจากเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก คือเท่าที่รู้หลายๆ เทศกาลจะมีการให้คนทำหนังส่งบทเพื่อให้ทางเทศกาลพิจารณาและให้ทุนสร้างส่วนนึงมาทำ ในกลุ่มนี้ก็มี หนังหลายๆ เรื่องของ เจ้ย-อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล “Mary is Happy, Mary is Happy” ของ เต๋อ-นวพล และก็น่าจะมีอีกหลายๆ เรื่องนะ
นอกจากนี้ก็มีกรณีอื่นๆ อย่าง บริษัทที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกะภาพยนตร์ แต่ก็ลองชิมลางออกทุนสร้าง เช่น ทรู ที่ออกทุนสร้างให้หนังและก็ถือลิขสิทธิ์ของหนังด้วยอย่าง “เอวัง” ของ คงเดช จาตุรันต์รัศมี “The Master” ของ เต๋อ-นวพล หรือแม้กระทั่งทุนจากรัฐบาล อย่างโครงการ “ไทยเข้มแข็ง” ที่ให้ทุนสร้างส่วนนึงกะหนังอิสระหลายๆ เรื่อง หรือหนังโปรเจ็คท์ใหญ่ๆ อย่าง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวร” ของ ท่านมุ้ย เป็นต้น
แล้วทำไมคนยังมองว่า ฟรีแลนซ์ฯ เป็นหนังอินดี้ ?
ข้อนี้เราว่าคงต้องเจาะจงไปที่ตัวผู้กำกับอย่าง เต๋อ-นวพล แล้วล่ะ ที่ต้องยอมรับว่าจากผลงานที่ผ่านๆ มา เต๋อ โดดเด่นมากๆ ในสายอินดี้ จนเรียกได้ว่าเป็นขวัญใจเด็กแนว... อ่อ เดี๋ยวนี้ต้องเรียกว่า “ฮิปสเตอร์” ชนิดที่ว่าเป็นกระแสเล็กๆ ถึงปานกลางมาโดยตลอด “36” หนังที่ทั้งเรื่องมี 36 ช็อตตามจำนวนภาพในม้วนฟิล์ม ที่ตัวหนังกวาดรางวัลจากหลายเทศกาลทั่วโลก (จนมีดราม่ารางวัลแตก) Mary is Happy, Mary is Happy หนังที่เอาทวีตข้อความของแอคเคาน์ทวิตเตอร์จริง ของ Mary จำนวนนึงมาสร้างเป็นหนัง นี่ก็ฮิตจน House แทบแตก “The Master” หนังสารคดีว่าด้วยเรื่องของ ร้านแว่นวีดิโอ ร้านวีดีโอที่เปิดตลาดหนังนอกกระแสในไทย แต่หลายๆ คนก็คงไม่รู้แหละว่าจริงๆ แล้วเต๋อ กะ GTH นั้นทำงานด้วยกันมานานแล้ว เพราะเต๋อนั้นเป็นเจ้าของบทหนังแมสๆ อย่าง “รถไฟฟ้ามาหานะเธอ” “Top Secret วัยรุ่นพันล้าน” และ “14” ตอนหนึ่งใน “รัก 7 ปี ดี 7 หน”
คือจริงๆ ที่ว่ามาซะยืดยาวเนี่ย แค่อยากจะบอกว่า “ฟรีแลนซ์ฯ มันไม่ใช่หนังอินดี้” แค่นั้นแหละ
ทีนี้ก็มาว่ากันที่ตัวหนังซ้ากกกกกกที
“ฟรีแลนซ์.. ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ” เล่าเรื่องของ “ยุ่น” กราฟฟิคมือดีและเป็นที่รู้จักคนนึงในวงการ และเป็นฟรีแลนซ์ “เจ๋” รุ่นน้องที่คอยส่งงานและตามงานกะยุ่น และก็ “หมออิม” หมอสาวโรคผิวหนังที่ยุ่นไปหาในวันที่ร่างกายผิดปกติ
ตัวหนังเนี่ย เราว่ามันเล่าเรื่องได้สนุกและน่าติดตามดีนะ บทพูด บทสนทนาของตัวละครมันก็ดูกวนๆ และเป็นธรรมชาติ(ตามประสาวัยรุ่น)ดี แต่มีอยู่คำนึงที่ยุ่นพูดและเรารู้สึกติดใจมากๆ อยู่คำนึง “หนาวขี้” เราไม่รู้ว่าคำๆ นี้วัยรุ่นยุคนี้ยังพูดอยู่มั้ย แต่มันเป็นคำพูดที่ฮิตมากในช่วงที่เราวัยรุ่นและเราก็ไม่เคยได้ยินมานานและ คือฟังแล้วมันตลกอ่ะ
การแสดง คือตั้งแต่แรกเลยนะ เราไม่คิดว่า “ซันนี่” โอกะบทแบบนี้ เพราะภาพหนุ่มโรงงานใน “ไอฟายฯ” มันชัดขนาดนั้น แต่พอได้ดู เฮ้ย ซันนี่
สุดยอดว่ะ ทั้งเรื่องมีซันนี่เกิน 90% แต่มันโอเคอ่ะ ดูแล้วเชื่อ “ใหม่” กะบทหมออิม นี่ก็เจิดมาก คือมันดีกว่าบทประดิษฐ์ๆ ใน “แผลเก่า” เยอะมากน่ะ แต่ตัวละครที่เราชอบที่สุดและแฮปปี้ทุกทีที่อยู่บนจอคือ เจ๋ ของ “วี-วิโอเลต” คือดีงามและชอบมากๆ (ต่างจาก “ฝากไว้ในกายเธอ” ที่ยอมรับว่าทุกวันนี้ยังนึกหน้าไม่ออก)
และถ้ายังจำกันได้ ตอนที่หนังออกฉายใหม่ๆ มีกระแสจากคนดูว่า เหมือนโดนหลอก ผิดหวัง หรืออะไรเทือกๆ นั้นน่ะ เราว่า ตรงนี้ปัญหาจริงๆ มันอยู่ที่การโปรโมตหนังนะ คือ GTH ตัดตัวอย่างหนัง (Trailer) มาได้ดูโรแมนติก-คอเมดี้ GTH สไตล์ และเรียกแขกมากๆ แต่พอคนดูได้มาดูหนังจริงๆ แล้วมันไม่ใช่ไง คนดูเลยรู้สึกว่าโดนหลอก แต่ตรงจุดนี้เราว่าเราเข้าใจ GTH นะ คือ GTH สร้างฟรีแลนซ์ฯ GTH ต้องคิดแล้วล่ะว่าหนังแบบนี้มันขายยากนะ เลยต้องทำทุกทางเพื่อให้ขายหนังได้ และก็ตัดเทรลเลอร์ออกมาเพื่อให้คนดูยังรู้สึกและเข้าใจว่าจะได้ดูหนังอย่าง “ไอฟายฯ” ไง
ส่วนตอนจบของหนัง เราคิดว่า (อันนี้คิดเองจริงๆ) เต๋อ อาจจะมีตอนจบอีกอย่างหรือเปล่า คือจบแบบนั้นแหละ แบบที่คนดูเข้าใจว่าจะจบแหละ ซึ่งถ้าจบแบบนั้นจริงๆ เราว่าหนังจะพีคมากๆ แต่ GTH ดูแล้วแบบรับไม่ได้ไง เลยต้องขอ(แกมบังคับ) ให้เต๋อจบแบบ feel good เบาๆ อย่างที่เห็นกัน
ทีนี้มาพูดถึงส่วนที่เราไม่ชอบมากๆ ของหนังมั่ง คือชื่อไทยของหนังเนี่ยแหละ หนังมีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Heart Attack” และพอมาเป็นชื่อไทยก็ “ฟรีแลนซ์.. ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ” คือห้ามโพ่ง ! กูจะบ้า ชื่อหนังมันจะ GTH สไตล์มากไปล่ะ คือชื่อหนัง GTH ในยุคหลังๆ เนี่ย มันจะต้องมีคำสร้อยและเป็นอะไรที่ฟังแล้วติดหู พูดแล้วติดปาก อย่าง “ไอฟาย แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้” “ATM เออรัก เออเร่อ” “รถไฟฟ้ามาหานะเธอ” “ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น” ฯลฯ ไรเงี้ย นานๆ จะมีชื่อเก๋ๆ อย่าง “คิดถึงวิทยา” หลุดมาที ยิ่งพอมา ฟรีแลนซ์ฯ เราก็เลยรู้สึกว่ามันเยอะไปล่ะ
สรุปและ (โอย ! กว่าจะสรุปได้) ฟรีแลนซ์ฯ เป็นหนังไทยที่ดูสนุกใช้ได้ แม้มันจะไม่ใช่หนังไทยที่ดีที่สุดของปี (หรืออย่างน้อยมันก็ไม่ใช่หนังไทยที่เราชอบที่สุดของปีนี้นะ) แต่มันก็เป็นหนังมุมมองใหม่ๆ จาก GTH ที่น่าสนับสนุนและไม่ควรพลาดที่จะชม ให้ไป 4 กะโหลกครับผม
Freelance... เป็นหนังอินดี้ ???
ฟรีแลนซ์.. ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ
ก่อนจะไปว่ากันที่ตัวหนัง เราขอเมาธ์มอยซักนิดนึงก่อน คืองี้ เวลาที่เราได้ยินคนพูด ได้เห็นคนโพสท์ใน fb หรือแม้กระทั่งได้อ่านข้อความใน line ประมาณว่า “ฟรีแลนซ์ฯ เป็นหนังอินดี้” เรานะอยากจะเข้าไปสะกิดบอก, เมนท์ตอบใน fb หรือตอบข้อความใน line ว่า “เฮ้ย ! ฟรีแลนซ์ฯ มันไม่ใช่หนังอินดี้นะ ไม่ใช่แน่นอนด้วย” คือมันต้องแยกให้ออกไง ระหว่างอินดี้ ไม่อินดี้ กะ แมส ไม่แมส ถ้าบอกว่า “ฟรีแลนซ์ฯ มันไม่ใช่หนังแมสนะ” โอเค อันนี้ยอมรับได้ (แม้จริงๆ เราว่ามันก็แมสพอดูเลยนะ)
อ่ะ ! เพื่อเป็นการสนับสนุนประโยค “ฟรีแลนซ์ฯ ไม่ใช่หนังอินดี้” เราก็เลยจะขอเล่าสิ่งที่เรารู้ เราเข้าใจมาให้ฟัง (โดยทั้งหมดนี้มาจากสิ่งที่เราเคยได้ยิน ได้ฟัง หรือเคยอ่านมาจากหลากหลายแหล่งที่มา อาจจะมีถูกมั่ง ผิดมั่ง หรืออาจจะผิดทั้งหมดเลยก็ได้ ก็ต้องออกตัวขออภัยไว้ ณ ที่นี้ก่อน) คืองี้...
คำว่า “หนังอินดี้” มันมีชื่อเรียกที่เป็นภาษาไทยว่า “หนังอิสระ” (Indy มาจากคำว่า Independent ถ้าใช้เป็น adj. จะแปลว่า อิสระ, ไม่ขึ้นใคร แต่ถ้าใช้เป็น n. จะแปลว่า คนที่อิสระ คนที่เป็นตัวของตัวเอง >>> อันนี้ก็อาจจะลึกไป) หนังอิสระ คือ หนังที่ทุนสร้างไม่ได้มาจากสตูดิโอ แต่ถ้าใช้คำว่าสตูดิโอ สำหรับประเทศไทยนั้นอาจจะไม่ถูกต้องซะทีเดียว เพราะสตูดิโอคือ บริษัททำหนังที่มีสตูดิโอ (โรงถ่าย) สำหรับถ่ายหนังของตัวเอง(หรือให้เช่าด้วย) ยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุดก็ต้องฮอลลีวูดกะ big 6 สตูดิโอ อย่าง Warner Bros., 20th Century Fox, Walt Disney Pictures, Columbia Pictures, Paramount Pictures และ Universal Pictures ประมาณนั้นไป แต่กะของประเทศไทยนั้น ที่เคยได้ยินข่าวว่าจะมีสตูดิโอเป็นของตัวเองก็มีแค่ Xact ที่ข่าวว่าลงทุนเป็น 1,000 ล้าน แต่ตอนนี้ไม่รู้เหมือนกันว่าถึงไหนแล้ว คือมีสตูดิโอใช้แล้วจริงๆ หรือว่ายกเลิกโครงการไปแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเป็นประเทศไทย ใช้คำว่า “ค่ายหนัง” น่าจะเหมาะสมที่สุด ค่ายหนังที่ว่านี้ก็อย่าง สหมงคลฟิล์ม ไฟว์สตาร์ฯ พระนครฟิล์ม M39 และก็แน่นอน GTH ที่ถือเป็นค่ายหนังที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุคนี้ และก็เป็นค่ายที่ออกทุนสร้างให้กับหนัง ฟรีแลนซ์ฯ ที่ว่านี้ด้วย
แต่ถ้าเป็นหนังอิสระ (หรือว่าหนังอินดี้นั่นแหละ) ทุนสร้างจะมาจากหลากหลายทางแล้วแต่ว่าทางผู้สร้างหรือผู้กำกับจะหามาจากทางไหน เช่น
1. ก็เงินส่วนตัวของผู้กำกับนั่นแหละและรวมไปถึงเงินของญาติๆ เพื่อนๆ ทั้งหลายแหล่ ตัวอย่างก็เช่น “คืนนั้น” ของ กอล์ฟ-ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
2. หนังที่ผู้กำกับและ/หรือผู้สร้างหาทุนกันเองจากหลากหลายทาง เช่น “สิ้นเมษา ฝนตกมาปรอยๆ” ของ อั๋น-วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์ ที่ได้ทุนส่วนนึงมาจากส่วนราชการในจังหวัดขอนแก่น “ผู้บ่าวไทบ้าน E สาน Indy” ของ อุเทน ศรีริวิ ที่ผู้กำกับหาทุนส่วนหนึ่งจากการขายเสื้อจาหนัง และขายตั๋วล่วงหน้า ซึ่งทั้ง 2 ทางก็ถือเป็นการโปรโมตหนังไปด้วยในตัว
3. หนังที่ได้ทุนจากเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก คือเท่าที่รู้หลายๆ เทศกาลจะมีการให้คนทำหนังส่งบทเพื่อให้ทางเทศกาลพิจารณาและให้ทุนสร้างส่วนนึงมาทำ ในกลุ่มนี้ก็มี หนังหลายๆ เรื่องของ เจ้ย-อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล “Mary is Happy, Mary is Happy” ของ เต๋อ-นวพล และก็น่าจะมีอีกหลายๆ เรื่องนะ
นอกจากนี้ก็มีกรณีอื่นๆ อย่าง บริษัทที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกะภาพยนตร์ แต่ก็ลองชิมลางออกทุนสร้าง เช่น ทรู ที่ออกทุนสร้างให้หนังและก็ถือลิขสิทธิ์ของหนังด้วยอย่าง “เอวัง” ของ คงเดช จาตุรันต์รัศมี “The Master” ของ เต๋อ-นวพล หรือแม้กระทั่งทุนจากรัฐบาล อย่างโครงการ “ไทยเข้มแข็ง” ที่ให้ทุนสร้างส่วนนึงกะหนังอิสระหลายๆ เรื่อง หรือหนังโปรเจ็คท์ใหญ่ๆ อย่าง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวร” ของ ท่านมุ้ย เป็นต้น
แล้วทำไมคนยังมองว่า ฟรีแลนซ์ฯ เป็นหนังอินดี้ ?
ข้อนี้เราว่าคงต้องเจาะจงไปที่ตัวผู้กำกับอย่าง เต๋อ-นวพล แล้วล่ะ ที่ต้องยอมรับว่าจากผลงานที่ผ่านๆ มา เต๋อ โดดเด่นมากๆ ในสายอินดี้ จนเรียกได้ว่าเป็นขวัญใจเด็กแนว... อ่อ เดี๋ยวนี้ต้องเรียกว่า “ฮิปสเตอร์” ชนิดที่ว่าเป็นกระแสเล็กๆ ถึงปานกลางมาโดยตลอด “36” หนังที่ทั้งเรื่องมี 36 ช็อตตามจำนวนภาพในม้วนฟิล์ม ที่ตัวหนังกวาดรางวัลจากหลายเทศกาลทั่วโลก (จนมีดราม่ารางวัลแตก) Mary is Happy, Mary is Happy หนังที่เอาทวีตข้อความของแอคเคาน์ทวิตเตอร์จริง ของ Mary จำนวนนึงมาสร้างเป็นหนัง นี่ก็ฮิตจน House แทบแตก “The Master” หนังสารคดีว่าด้วยเรื่องของ ร้านแว่นวีดิโอ ร้านวีดีโอที่เปิดตลาดหนังนอกกระแสในไทย แต่หลายๆ คนก็คงไม่รู้แหละว่าจริงๆ แล้วเต๋อ กะ GTH นั้นทำงานด้วยกันมานานแล้ว เพราะเต๋อนั้นเป็นเจ้าของบทหนังแมสๆ อย่าง “รถไฟฟ้ามาหานะเธอ” “Top Secret วัยรุ่นพันล้าน” และ “14” ตอนหนึ่งใน “รัก 7 ปี ดี 7 หน”
คือจริงๆ ที่ว่ามาซะยืดยาวเนี่ย แค่อยากจะบอกว่า “ฟรีแลนซ์ฯ มันไม่ใช่หนังอินดี้” แค่นั้นแหละ
ทีนี้ก็มาว่ากันที่ตัวหนังซ้ากกกกกกที
“ฟรีแลนซ์.. ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ” เล่าเรื่องของ “ยุ่น” กราฟฟิคมือดีและเป็นที่รู้จักคนนึงในวงการ และเป็นฟรีแลนซ์ “เจ๋” รุ่นน้องที่คอยส่งงานและตามงานกะยุ่น และก็ “หมออิม” หมอสาวโรคผิวหนังที่ยุ่นไปหาในวันที่ร่างกายผิดปกติ
ตัวหนังเนี่ย เราว่ามันเล่าเรื่องได้สนุกและน่าติดตามดีนะ บทพูด บทสนทนาของตัวละครมันก็ดูกวนๆ และเป็นธรรมชาติ(ตามประสาวัยรุ่น)ดี แต่มีอยู่คำนึงที่ยุ่นพูดและเรารู้สึกติดใจมากๆ อยู่คำนึง “หนาวขี้” เราไม่รู้ว่าคำๆ นี้วัยรุ่นยุคนี้ยังพูดอยู่มั้ย แต่มันเป็นคำพูดที่ฮิตมากในช่วงที่เราวัยรุ่นและเราก็ไม่เคยได้ยินมานานและ คือฟังแล้วมันตลกอ่ะ
การแสดง คือตั้งแต่แรกเลยนะ เราไม่คิดว่า “ซันนี่” โอกะบทแบบนี้ เพราะภาพหนุ่มโรงงานใน “ไอฟายฯ” มันชัดขนาดนั้น แต่พอได้ดู เฮ้ย ซันนี่ สุดยอดว่ะ ทั้งเรื่องมีซันนี่เกิน 90% แต่มันโอเคอ่ะ ดูแล้วเชื่อ “ใหม่” กะบทหมออิม นี่ก็เจิดมาก คือมันดีกว่าบทประดิษฐ์ๆ ใน “แผลเก่า” เยอะมากน่ะ แต่ตัวละครที่เราชอบที่สุดและแฮปปี้ทุกทีที่อยู่บนจอคือ เจ๋ ของ “วี-วิโอเลต” คือดีงามและชอบมากๆ (ต่างจาก “ฝากไว้ในกายเธอ” ที่ยอมรับว่าทุกวันนี้ยังนึกหน้าไม่ออก)
และถ้ายังจำกันได้ ตอนที่หนังออกฉายใหม่ๆ มีกระแสจากคนดูว่า เหมือนโดนหลอก ผิดหวัง หรืออะไรเทือกๆ นั้นน่ะ เราว่า ตรงนี้ปัญหาจริงๆ มันอยู่ที่การโปรโมตหนังนะ คือ GTH ตัดตัวอย่างหนัง (Trailer) มาได้ดูโรแมนติก-คอเมดี้ GTH สไตล์ และเรียกแขกมากๆ แต่พอคนดูได้มาดูหนังจริงๆ แล้วมันไม่ใช่ไง คนดูเลยรู้สึกว่าโดนหลอก แต่ตรงจุดนี้เราว่าเราเข้าใจ GTH นะ คือ GTH สร้างฟรีแลนซ์ฯ GTH ต้องคิดแล้วล่ะว่าหนังแบบนี้มันขายยากนะ เลยต้องทำทุกทางเพื่อให้ขายหนังได้ และก็ตัดเทรลเลอร์ออกมาเพื่อให้คนดูยังรู้สึกและเข้าใจว่าจะได้ดูหนังอย่าง “ไอฟายฯ” ไง
ส่วนตอนจบของหนัง เราคิดว่า (อันนี้คิดเองจริงๆ) เต๋อ อาจจะมีตอนจบอีกอย่างหรือเปล่า คือจบแบบนั้นแหละ แบบที่คนดูเข้าใจว่าจะจบแหละ ซึ่งถ้าจบแบบนั้นจริงๆ เราว่าหนังจะพีคมากๆ แต่ GTH ดูแล้วแบบรับไม่ได้ไง เลยต้องขอ(แกมบังคับ) ให้เต๋อจบแบบ feel good เบาๆ อย่างที่เห็นกัน
ทีนี้มาพูดถึงส่วนที่เราไม่ชอบมากๆ ของหนังมั่ง คือชื่อไทยของหนังเนี่ยแหละ หนังมีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Heart Attack” และพอมาเป็นชื่อไทยก็ “ฟรีแลนซ์.. ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ” คือห้ามโพ่ง ! กูจะบ้า ชื่อหนังมันจะ GTH สไตล์มากไปล่ะ คือชื่อหนัง GTH ในยุคหลังๆ เนี่ย มันจะต้องมีคำสร้อยและเป็นอะไรที่ฟังแล้วติดหู พูดแล้วติดปาก อย่าง “ไอฟาย แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้” “ATM เออรัก เออเร่อ” “รถไฟฟ้ามาหานะเธอ” “ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น” ฯลฯ ไรเงี้ย นานๆ จะมีชื่อเก๋ๆ อย่าง “คิดถึงวิทยา” หลุดมาที ยิ่งพอมา ฟรีแลนซ์ฯ เราก็เลยรู้สึกว่ามันเยอะไปล่ะ
สรุปและ (โอย ! กว่าจะสรุปได้) ฟรีแลนซ์ฯ เป็นหนังไทยที่ดูสนุกใช้ได้ แม้มันจะไม่ใช่หนังไทยที่ดีที่สุดของปี (หรืออย่างน้อยมันก็ไม่ใช่หนังไทยที่เราชอบที่สุดของปีนี้นะ) แต่มันก็เป็นหนังมุมมองใหม่ๆ จาก GTH ที่น่าสนับสนุนและไม่ควรพลาดที่จะชม ให้ไป 4 กะโหลกครับผม