เคยมีประสบการณ์เวลาไปโรงพยาบาลรัฐ (กะจะถามนานแล้วแต่ลืม) รอคิวนานมากๆ ไปรับบัตรเจ็ดโมงครึ่ง รอจนถึงเที่ยง กว่าจะเสร็จก็บ่าย บางที่คิวยาวมาก ที่นั่งก็ไม่พอ ยืนรอคิวกันตรึม หรือแม้แต่ขนาดคลินิคนอกเวลา คนไข้ก็เยอะมหาศาลอยู่ดี
ส่วนตัวแล้วคิดว่าเวลาของคนไข้แต่ละคนที่เสียไปสามารถเอาไปทำอย่างอื่นได้เยอะ ด้านหมอที่ตรวจเองบางทีก็ตรวจแบบลวกๆอ่ะค่ะ ก็น่าจะด้วยความกดดันทั้งเรื่องเวลา และจำนวนคนไข้ที่นั่งรออยู่ อันนี้มีประสบการณ์ตรงเหมือนกัน ถามอะไรเหมือนหมอไม่ค่อยอยากตอบ หรือตอบแบบไวๆไม่ค่อยอธิบาย ที่แย่สุดก็คือมาต่อคิวเอาบัตรตั้งแต่เช้า ผ่านด่านอื่นๆและคุยกับหมอแล้ว แต่พอถึงด่านสุดท้ายก่อนจ่ายตังดันโดนพยาบาลไล่ให้กลับบ้านไปก่อน แล้ววันหลังค่อยมาใหม่ เพราะพยาบาลก็อยากพักเที่ยงเหมือนกัน
เหตุผลหนึ่งที่คนหาเช้ากินค่ำ เลือกวิธีที่ง่ายกว่า ซื้อยาหน้าปากซอยมากินเอง (วินิจฉัยเอาเองหรือไม่ก็กับเภสัช) ก็เนื่องจากถ้าไปหาหมอในโรงพยาบาลต้องรอนาน ทำให้ต้องลางานทั้งวัน เสียรายได้อีก (บางคนคิดว่า ถ้าสุขภาพตัวเองยังไม่ดูแล แล้วจะหวังพึ่งคนอื่นได้ไง แต่สำหรับคนที่มีปากท้องที่ต้องเลี้ยงดู มันไม่ง่ายนักหรอกค่ะ) และสำหรับคนไข้ที่ต้องไปพบแพทย์บ่อยๆ ก็ต้องมาเผชิญกับเหตุการณ์การนั่งรอคอยด้วยความหวังว่าเมื่อไหร่จะถึงคิว และพอถึงคิวได้พบหมอแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าจะหายทันทีหลังจ่ายยา อาจจะต้องกลับมานั่งรออีกในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า แล้วทีนี้มันก็จะวนเป็นลูป เพราะถ้าหากรักษาไม่ทันท่วงทีแล้ว โรคที่เป็นอยู่อาจรุนแรงขึ้น
------------------------------------------------------
ทีนี้มาถึงคำถามจริงจังค่ะ โควต้านักเรียนแพทย์ในแต่ละมหาลัยค่อนข้างน้อย เทียบไม่ได้กับความต้องการเข้าไปเรียนของนักเรียนมัธยม ไม่ได้หมายความว่าทุกๆคนที่มีความฝันอยากเป็นหมอต้องเรียนหมอให้ได้ (เพราะถ้ายังงั้น อาชีพอื่นๆก็คงโดนกระทบด้วย) เพราะเข้าใจว่าเรียนยาก ถ้าไม่อดทนพอก็คงจะไปไม่ตลอดรอดฝั่ง
แต่ในขณะเดียวกันก็เคยลองมองดูกลุ่มเพื่อนหลายๆคน ที่ดูแล้วก็สามารถเรียนได้ดีและเรียนแพทย์ศาสตร์ได้ แต่กลับไม่ได้เรียนเพราะคะแนนสู้กับนักเรียนคนอื่นๆที่เก่งเทพไม่ได้ จึงต้องไปเรียนคณะอื่นแทน เช่น บางคนอยากเรียนหมอ ก็กลายเป็นทันต เพราะคะแนนไม่ถึง
จึงมีคำถามว่า ในเมื่อหมอเป็นอาชีพที่ขาดแคลน ทำไมกระทรวงศึกษา หรือสถาบัน ไม่เปิดโอกาสรับนักเรียนมาเรียนเป็นแพทย์ให้มากขึ้นคะ (อาจจะโดยการปรับเกณฑ์การรับเข้าให้ต่ำลงหน่อย หรือมีวิธีการคัดเลือกในแบบอื่นๆมาควบด้วย) เพราะบางทีคนที่ไม่ได้เรียนแบบเก่งเทพก็มีอุดมการณ์อยากเป็นหมอกลับมาพัฒนาชุมชนเหมือนกัน อย่างเช่นเด็กต่างจังหวัดที่ต้องเดินเป็นกิโลไปเรียน พวกเค้าจะมีเงินไปเรียนกวดวิชาให้ได้คะแนนสูงๆได้ไง เด็กเหล่านั้นก็ไม่ได้หัวทื่อ เพียงแต่คงจะแข่งขันกับคนที่รอบตัวมีทรัพยากรพร้อมอย่างคนที่มีเงินในกรุงเทพไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า พวกเค้าไม่มีศักยภาพในการเรียนเพื่อเป็นแพทย์ซะหน่อย
ไม่ได้หมายความว่าต้องให้หมอล้นตลาด แต่อย่างน้อยก็น่าจะดีกว่านี้ถ้ามีจำนวนแพทย์สอดคล้องกับจำนวนประชากร เมื่อไหร่การรักษาที่ดีและชีวิตความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพจะเผื่อแผ่ไปถึงชนชั้นล่างกับกลางของประเทศไทยบ้าง (การได้รับบริการการรักษาที่เหมาะสมไม่ควรจำกัดอยู่กับแค่คนที่มีเงินพอจะจ่ายให้กับโรงพยาบาลเอกชน) จะสามารถใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐได้อย่างทั่วถึง แล้วนอกจากคนไข้จะได้รับประโยชน์แล้ว คนที่มีอาชีพแพทย์หรือพยาบาลก็เหนื่อยน้อยลงด้วย
เป็นเพราะการสอนนักศึกษาแพทย์นั้นใช้เงินมากรึเปล่า ทุนการเรียนการสอนจากรัฐไม่พอรึเปล่า หรือว่าอาจารย์หมอไม่พอคะ (ถ้าเป็นอย่างหลังนี่ก็วกกับปัญหางูกินหางแบบเดิมก็คือ แพทย์ขาดแคลน)
แต่ปัญหานี้จะว่าไปก็แก้ไขได้ยาก เพราะแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว แพทย์ก็ยังเป็นอาชีพที่มีความต้องการอันดับต้นๆอยู่ดี (สังเกตได้จากการที่หลายประเทศยอมที่จะให้ชาวต่างชาติย้ายเข้ามาทำงานและอาศัยได้อย่างถูกกฏหมาย ถ้าบุคคลคนนั้นเป็นหมอ) และโรงพยาบาลรัฐของเค้าก็ต้องรอนานเหมือนกัน
<Tag หลายห้องหน่อยนะคะ อยากได้ความเห็นจากคนหลายๆวัย หลายๆสายอาชีพน่ะค่ะ>
อยากรู้เหตุผลค่ะ ในเมื่อแพทย์เป็นอาชีพที่ขาดแคลน ทำไมประเทศ/รัฐบาล/มหาลัย ถึงไม่เปิดโอกาสให้เด็กเรียนแพทย์มากกว่านี้คะ
ส่วนตัวแล้วคิดว่าเวลาของคนไข้แต่ละคนที่เสียไปสามารถเอาไปทำอย่างอื่นได้เยอะ ด้านหมอที่ตรวจเองบางทีก็ตรวจแบบลวกๆอ่ะค่ะ ก็น่าจะด้วยความกดดันทั้งเรื่องเวลา และจำนวนคนไข้ที่นั่งรออยู่ อันนี้มีประสบการณ์ตรงเหมือนกัน ถามอะไรเหมือนหมอไม่ค่อยอยากตอบ หรือตอบแบบไวๆไม่ค่อยอธิบาย ที่แย่สุดก็คือมาต่อคิวเอาบัตรตั้งแต่เช้า ผ่านด่านอื่นๆและคุยกับหมอแล้ว แต่พอถึงด่านสุดท้ายก่อนจ่ายตังดันโดนพยาบาลไล่ให้กลับบ้านไปก่อน แล้ววันหลังค่อยมาใหม่ เพราะพยาบาลก็อยากพักเที่ยงเหมือนกัน
เหตุผลหนึ่งที่คนหาเช้ากินค่ำ เลือกวิธีที่ง่ายกว่า ซื้อยาหน้าปากซอยมากินเอง (วินิจฉัยเอาเองหรือไม่ก็กับเภสัช) ก็เนื่องจากถ้าไปหาหมอในโรงพยาบาลต้องรอนาน ทำให้ต้องลางานทั้งวัน เสียรายได้อีก (บางคนคิดว่า ถ้าสุขภาพตัวเองยังไม่ดูแล แล้วจะหวังพึ่งคนอื่นได้ไง แต่สำหรับคนที่มีปากท้องที่ต้องเลี้ยงดู มันไม่ง่ายนักหรอกค่ะ) และสำหรับคนไข้ที่ต้องไปพบแพทย์บ่อยๆ ก็ต้องมาเผชิญกับเหตุการณ์การนั่งรอคอยด้วยความหวังว่าเมื่อไหร่จะถึงคิว และพอถึงคิวได้พบหมอแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าจะหายทันทีหลังจ่ายยา อาจจะต้องกลับมานั่งรออีกในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า แล้วทีนี้มันก็จะวนเป็นลูป เพราะถ้าหากรักษาไม่ทันท่วงทีแล้ว โรคที่เป็นอยู่อาจรุนแรงขึ้น
------------------------------------------------------
ทีนี้มาถึงคำถามจริงจังค่ะ โควต้านักเรียนแพทย์ในแต่ละมหาลัยค่อนข้างน้อย เทียบไม่ได้กับความต้องการเข้าไปเรียนของนักเรียนมัธยม ไม่ได้หมายความว่าทุกๆคนที่มีความฝันอยากเป็นหมอต้องเรียนหมอให้ได้ (เพราะถ้ายังงั้น อาชีพอื่นๆก็คงโดนกระทบด้วย) เพราะเข้าใจว่าเรียนยาก ถ้าไม่อดทนพอก็คงจะไปไม่ตลอดรอดฝั่ง
แต่ในขณะเดียวกันก็เคยลองมองดูกลุ่มเพื่อนหลายๆคน ที่ดูแล้วก็สามารถเรียนได้ดีและเรียนแพทย์ศาสตร์ได้ แต่กลับไม่ได้เรียนเพราะคะแนนสู้กับนักเรียนคนอื่นๆที่เก่งเทพไม่ได้ จึงต้องไปเรียนคณะอื่นแทน เช่น บางคนอยากเรียนหมอ ก็กลายเป็นทันต เพราะคะแนนไม่ถึง
จึงมีคำถามว่า ในเมื่อหมอเป็นอาชีพที่ขาดแคลน ทำไมกระทรวงศึกษา หรือสถาบัน ไม่เปิดโอกาสรับนักเรียนมาเรียนเป็นแพทย์ให้มากขึ้นคะ (อาจจะโดยการปรับเกณฑ์การรับเข้าให้ต่ำลงหน่อย หรือมีวิธีการคัดเลือกในแบบอื่นๆมาควบด้วย) เพราะบางทีคนที่ไม่ได้เรียนแบบเก่งเทพก็มีอุดมการณ์อยากเป็นหมอกลับมาพัฒนาชุมชนเหมือนกัน อย่างเช่นเด็กต่างจังหวัดที่ต้องเดินเป็นกิโลไปเรียน พวกเค้าจะมีเงินไปเรียนกวดวิชาให้ได้คะแนนสูงๆได้ไง เด็กเหล่านั้นก็ไม่ได้หัวทื่อ เพียงแต่คงจะแข่งขันกับคนที่รอบตัวมีทรัพยากรพร้อมอย่างคนที่มีเงินในกรุงเทพไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า พวกเค้าไม่มีศักยภาพในการเรียนเพื่อเป็นแพทย์ซะหน่อย
ไม่ได้หมายความว่าต้องให้หมอล้นตลาด แต่อย่างน้อยก็น่าจะดีกว่านี้ถ้ามีจำนวนแพทย์สอดคล้องกับจำนวนประชากร เมื่อไหร่การรักษาที่ดีและชีวิตความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพจะเผื่อแผ่ไปถึงชนชั้นล่างกับกลางของประเทศไทยบ้าง (การได้รับบริการการรักษาที่เหมาะสมไม่ควรจำกัดอยู่กับแค่คนที่มีเงินพอจะจ่ายให้กับโรงพยาบาลเอกชน) จะสามารถใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐได้อย่างทั่วถึง แล้วนอกจากคนไข้จะได้รับประโยชน์แล้ว คนที่มีอาชีพแพทย์หรือพยาบาลก็เหนื่อยน้อยลงด้วย
เป็นเพราะการสอนนักศึกษาแพทย์นั้นใช้เงินมากรึเปล่า ทุนการเรียนการสอนจากรัฐไม่พอรึเปล่า หรือว่าอาจารย์หมอไม่พอคะ (ถ้าเป็นอย่างหลังนี่ก็วกกับปัญหางูกินหางแบบเดิมก็คือ แพทย์ขาดแคลน)
แต่ปัญหานี้จะว่าไปก็แก้ไขได้ยาก เพราะแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว แพทย์ก็ยังเป็นอาชีพที่มีความต้องการอันดับต้นๆอยู่ดี (สังเกตได้จากการที่หลายประเทศยอมที่จะให้ชาวต่างชาติย้ายเข้ามาทำงานและอาศัยได้อย่างถูกกฏหมาย ถ้าบุคคลคนนั้นเป็นหมอ) และโรงพยาบาลรัฐของเค้าก็ต้องรอนานเหมือนกัน
<Tag หลายห้องหน่อยนะคะ อยากได้ความเห็นจากคนหลายๆวัย หลายๆสายอาชีพน่ะค่ะ>