เรือเดินสมุทร ต้องมีสายล่อฟ้าไหมครับ ใครพอทราบบ้างครับ

วันที่ฝนตกฝนตก ผมนั่งมองไปกลางทะเล เห็นฟ้าผ่ากลางทะเล
เคยได้ยินมาว่า ฟ้ามักจะผ่าอะไรที่อยู่สูงสุดแถวๆนั้น อย่างเช่นต้นไม้ในนาข้าว
หรือกระต๊อบริมคันนาที่คนไปหลบฝนก็โดนผ่าอยู่บ่อยๆ

ผมเลยเกิดสงสัยว่า เรือที่อยู่กลางทะเล มันสูงที่สุดในบริเวณนั้นอยู่แล้ว
แสดงว่ามันมีโอกาสจะถูกฟ้าผ่าได้มากที่สุด ใช่หรือไม่
แถมบนเรือยังมีโลหะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ วิทยุสื่อสาร เพลา สมอ และอื่นๆอีกมากมาย
มันจะเป็นตัวดึงดูดให้ฟ้าผ่ามาที่เรือหรือไม่

แล้วมีอะไรป้องกันฟ้าผ่าในเรือ หรือใช้สายล่อฟ้าแล้วให้ไฟฟ้าไหลไปที่ไหนได้บ้าง ยังไง

ขอทราบความคิดเห็นของท่านผู้รู้เพื่อเป็นวิทยาทานด้วยครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ผมเลยเกิดสงสัยว่า เรือที่อยู่กลางทะเล มันสูงที่สุดในบริเวณนั้นอยู่แล้วแสดงว่ามันมีโอกาสจะถูกฟ้าผ่าได้มากที่สุด ใช่หรือไม่
ถูกต้องแล้วครับ  เรือเดินสมุทรทุกประเภท  เช่น  เรือสินค้า  เรือน้ำมัน  เรือรบ  คือวัตถุโลหะขนาดใหญ่
ที่จะล่อไฟฟ้าได้ดีสุดแล้วกลางทะเล  ดังนั้น  ก็จะมีโอกาสถูกฟ้าผ่าได้แน่นอนครับ  แต่อัตราการถูกฟ้าผ่ากลับน้อยมากนะครับ
เพราะระบบการเดินเรือปัจจุบันนี้ทันสมัยมาก  กัปตันจะสามารถเลี่ยงก้อนเมฆฝนฟ้าคะนองได้อย่างง่าย ๆ ด้วยการเช็คข้อมูล
จากข่าวอากาศทาง Internet (ผ่านระบบดาวเทียม IMMASAT)  การเลี่ยงเมฆฝน นั้น  จะกระทำกันในระยะ 5 - 10 ไมล์ก่อนจะเข้าเขต
โดยจะรับ data ทางระบบข่าวอากาศ  นำมา plot ลงแผนที่การเดินทางของเมฆฝนได้ครับ  การ plot เส้นทางของเมฆ Cumulonimbus
นั้นจะเอาข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์อากาศของทางบริษัทที่เรือลำนั้นมีสัญญาเช่าอยู่  ซึ่งข้อมูลจะแน่นมาก ละเอียดมากครับ
จะมีข้อมูลของ Cumulonimbus cloud density ว่าจะ vector เป็นแบบใหน  ซึ่งตามหลักการแล้วหากเรืออยู่ห่างจากฐานเมฆ Cumulonimbus
เกินระยะ 1.5 - 2 ไมล์  ก็จะปลอดภัยจากฟ้าผ่าครับ

แถมบนเรือยังมีโลหะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ วิทยุสื่อสาร เพลา สมอ และอื่นๆอีกมากมาย
มันจะเป็นตัวดึงดูดให้ฟ้าผ่ามาที่เรือหรือไม่

พวกเครื่องมือ  เครื่องยนต์ ต่าง ๆ ในเรือทั้งหมด  จะติดตั้งอยู่ภายในตัวเรือที่เป็นเหล็กครับ  ดังนั้น
เรือจึงมีสภาพเป็น Faraday cage (กรงฟาราเดย์)  ซึ่งจะปกป้องอุปกรณ์ทั้งหมดในเรือจากฟ้าผ่าได้ 100% ครับ
แต่อาจมีการเหนี่ยวนำจากเสาอากาศต่าง ๆ ได้บ้าง  ดังนั้น  จึงมีข้อบังคับว่า จนท.สื่อสารจะต้องตัดวงจรสายอากาศ
เข้าสู่ Ground mode เมื่อเรือมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่เขตฝนฟ้าคะนอง  การตัดวงจรนี้  เป็นการใช้ RF Relay ขนาดใหญ่
ตัดวงจรเสาอากาศให้ต่อลง Ground เรือครับ  แต่อุปกรณ์บางรุ่นก็อาจไม่มีระบบนี้  ต้องยอมรับความเสี่ยงเอง

ส่วนเรื่องการ ดึงดูดฟ้า นั้น  กรณีนี้อุปกรณ์ทั้งหมดจะไม่มีส่วนดึงดูดอะไรเลยครับ
เพราะแค่เสา GAFF (เสาสัญญาณธง  ไฟ  เสาอากาศ) ของเรือก็นั่นแหละตัวพ่อแห่งการล่อฟ้าผ่าแล้วครับ

แล้วมีอะไรป้องกันฟ้าผ่าในเรือ หรือใช้สายล่อฟ้าแล้วให้ไฟฟ้าไหลไปที่ไหนได้บ้าง ยังไง
การป้องกันฟ้าผ่าในเรือ  ก็ตามที่อธิบายไปในข้อ 1. ครับ  ทางเรือจะต้องเดินเรือหลบเลี่ยงเอง
แต่หากฟ้าผ่าลงมาจริง ๆ  มันก็จะผ่าลงมาที่เสา GAFF  ซึ่งเป็นเสาที่ติดตั้งพวกไฟสัญญาณ  ธงสัญญาณ  เสาอากาศวิทยุ
และที่จุดสูงสุดของเสา GAFF ก็จะมีเสาล่อฟ้า (Lightning rod) ขนาด 6 - 8 แฉก  เพื่อเป็นจุดรวมตัวของ Electron
ให้ได้มากที่สุด  ฟ้าจะได้ผ่าลงมาที่เสาล่อฟ้านี้  และเสานี้ก็จะต่อตรงกับตัวเรือที่เป็นเหล็กทั้งลำอยู่แล้วครับ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่