ตลาดคอนโดฯ หืดจับ ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ แฉกทม.และปริมณฑลพบพื้นที่โอเวอร์ซัพพลายหนักมีปทุมธานี, สมุทรปราการ และนนทบุรี เหลือขายรวม 2.61 หมื่นหน่วย ในกรุงเทพฯ มีสีลม-สาทร-บางรัก และสุขุมวิทตอนต้น “สัมมา”ชี้แห่เปิดโครงการมากแต่ความต้องการมีจำกัด ด้านนายก ส.อาคารชุดไทยเผยเป้ายอดโอนครึ่งปีหลัง 1.3 แสนล้านบาท ขณะที่ดีเวลอปเปอร์หวั่นมาตรการกระตุ้นรัฐยิ่งช้าฉุดตลาดชะลอตัว
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบันยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อยอดขายใหม่ รวมถึงยอดโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมของโครงการที่ขายได้ในปี 2555-2556 เขตกทม.-ปริมณฑล ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 1.9 แสนล้านบาท แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจและปัญหาหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ จนผู้ประกอบการเรียกให้รัฐออกมาตรการช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ โดยกระทรวงการคลังมีแนวคิดจะกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ด้วยการลดภาษีการโอนและการจดจำนองแต่ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน
ปทุมธานีเหลือขาย 50%
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า จากการสำรวจโครงการอาคารชุดที่อยู่ในระหว่างการขายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ปี 2553 – มิ.ย.2558) รวมทั้งสิ้น 14 โซน แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 10 โซนและปริมณฑล 5 จังหวัดนั้น พบว่าพื้นที่และจำนวนสินค้าประเภทอาคารชุดเหลือขายในตลาดมากกว่า 40% ของจำนวนหน่วยในผังอยู่ในเขตปริมณฑล 3 จังหวัดได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี คิดเป็นจำนวนหน่วยเหลือขายรวมกันถึง 2.61 หมื่นหน่วย จากจำนวนหน่วยในผังรวม 5.91 หมื่นหน่วย
โดยปทุมธานีเป็นพื้นที่ที่มีอัตราหน่วยเหลือขายมากที่สุดคือ 50% จากหน่วยในผังรวม 1.43 หมื่นหน่วย เหลือขาย 7,200 หน่วย รองลงมา สมุทรปราการ มีอัตราหน่วยเหลือขาย 43% จากหน่วยในผังรวม 1.87 หมื่นหน่วย เหลือขาย 8,100 หน่วย ส่วนนนทบุรี มีอัตราหน่วยเหลือขาย 41% จากหน่วยในผังรวม 2.61 หมื่นหน่วย เหลือขาย 1.08 หมื่นหน่วย ในส่วนของจังหวัดนครปฐมและสมุทรสาคร ก็มีอัตราการเหลือขายสูงเช่นเดียวกันคืออยู่ที่ประมาณ 33% คิดเป็นจำนวนหน่วยเหลือขาย 1,000 หน่วย จากหน่วยในผังโครงการ 3,000 หน่วย
แห่เปิดโครงการตามแนวรถไฟฟ้า
สำหรับพื้นที่ในกทม.พื้นที่ที่มีอัตราการเหลือขายสูงได้แก่ สีสม-สาทร-บางรัก และสุขุมวิทตอนต้น โดยมีอัตราเหลือขายอยู่ที่ประมาณ 31-32% รวมหน่วยเหลือขายทั้ง 2 พื้นที่ 4,100 หน่วย จากหน่วยในผังรวม 1.31 หมื่นหน่วย โดยพื้นที่สีสม-สาทร-บางรักมีหน่วยเหลือขายสูงถึง 1,400 หน่วย จากหน่วยในผังโครงการทั้งหมด 4,400 หน่วย ในส่วนของพื้นที่ที่มีอัตราเหลือขายรองลงมาคือ ห้วยขวาง-จตุจักร-ดินแดง, ยานนาวา-บางคอแหลม, สุขุมวิทตอนปลาย, บางซื่อ-ดุสิต และธนบุรี โดยมีอัตราเหลือขายอยู่ที่ประมาณ 27-28% รวมหน่วยเหลือขาย 2.48 หมื่นหน่วย จากหน่วยในผังรวม 9.03 หมื่นหน่วย
“พื้นที่ที่มีหน่วยเหลือขายมากที่สุดคือ ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีโครงการเปิดใหม่จำนวนมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการเติบโตของระบบโครงข่ายรถไฟฟ้า ขณะที่สินค้าค้างเก่าก็ยังคงมีเหลือในตลาด ในส่วนของพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในและกลางอาทิ สุขุมวิทตอนต้น สาทร สีลม บางรัก ก็มีอัตราเหลือขายมากเช่นกัน เนื่องจากมีโครงการเปิดใหม่จำนวนมากในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีระดับราคาสูง แต่ความต้องการมีจำกัดไม่สอดคล้องกับจำนวนหน่วยที่เพิ่มขึ้น” นายสัมมากล่าว
รอโอนครึ่งปีหลัง 1.3 แสนล้านบาท
ด้านนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ปี 2558 เป็นที่ของการโอนกรรมสิทธิ์ โดยมีคอนโดมิเนียมที่รอรับรู้รายได้เฉพาะกรุงเทพฯ-ปริมณฑลมากกว่า 7 หมื่นหน่วย คิดเป็นมูลค่ารวม 1.9 แสนล้านบาท ขณะที่ใน 4 หัวเมืองใหญ่มีผู้ประกอบการเข้าไปพัฒนาโครงการอาทิ ชลบุรี ภูเก็ต เชียงใหม่ และขอนแก่นมียอดรอโอนกรรมสิทธิ์ รวม 8.13 หมื่นหน่วย คิดเป็นมูลค่า 1.92 แสนล้านบาท โดยในช่วงครึ่งหลังปี 2558 ตลาดกทม.-ปริมณฑลมีสินค้ารอโอนทั้งในส่วนของโครงการแนวราบและแนวสูงคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1.2-1.3 แสนล้านบาท
“สิ่งที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการโอนกรรมสิทธิ์ปีนี้คือ กำลังซื้อของคนที่ปรับลดลงต่อเนื่อง จากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ และกลุ่มผู้ซื้อไม่เป็นเรียลดีมานด์ ทำให้ไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ หากมีมาตรการเข้ามาช่วยเหลือและดูแลใน 2-3 ข้อนี้ก็เชื่อว่าจะเห็นผลชัดเจนต่อภาคธุรกิจอสังหาฯ” นายประเสริฐกล่าว
ห่วงมาตรการรัฐฉุดตลาด
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ รองประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS เผยว่า มาตรการลดภาษีการโอนและการจดจำนองเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ กล่าวถึงมาตลอด ส่วนตัวมองว่าเป็นมาตรการที่ดีและมีประโยชน์โดยตรงกับทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันลูกค้าที่ซื้อบ้านของพฤกษาจะต้องรับภาระในเรื่องของค่าธรรมเนียมการโอนที่ 2% ร่วมกับบริษัทคนละครึ่งคือฝ่ายละ 1% หากลดค่าธรรมเนียมการโอนลงเหลือ 0.01% ก็จะหมายความว่าผู้บริโภคจะมีเงินเหลือในกระเป๋าเพิ่มมากขึ้น เพื่อไปใช้ในการซื้อเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆเข้าบ้าน ขณะที่ผู้ประกอบการก็จะมีเงินเหลือไปลงทุนซื้อที่ดิน เพื่อพัฒนาโครงการอื่นต่อไป ในส่วนของการจดจำนองที่ปัจจุบันมีอัตราอยู่ที่ 1% ก็จะได้รับอานิสงส์เป็นไปในลักษณะเดียวกัน
“การที่รัฐลดภาษีการโอนและการจดจำนอง ก็จะช่วยให้ประชาชนและเอกชนมีเงินเหลือในกระเป๋ามากขึ้น และส่งผลให้ห่วงโซ่การบริโภคภายในประเทศเกิดการเคลื่อนไหวในเวลาอันรวดเร็ว แต่รัฐต้องประกาศใช้ในทันที เพราะมิเช่นนั้นจะก่อให้เกิดการชะลอการโอน เพื่อรอมาตรการดังกล่าวบังคับใช้” นายเลอศักดิ์กล่าว
สอดคล้องกับนายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN กล่าวว่า ไม่ว่าภาครัฐจะออกมาตรการใดมากระตุ้นเศรษฐกิจก็ถือเป็นเรื่องดี แต่อยากให้มาตรการนั้นมีผลบังคับใช้ในทันที อย่าได้รอเวลาเพราะอาจจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีอย่างแนวคิดการลดค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนอง ถ้ารัฐบาลไม่มีความชัดเจนหรือไม่ประกาศใช้ทันที อาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีกำหนดโอน เนื่องจากผู้บริโภคต้องการรอใช้มาตรการดังกล่าว ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมียอดรับรู้การโอนไม่เป็นไปตามเป้า ส่งผลกระทบต่อการรับรู้รายได้ในปีนี้อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2558 (ม.ค. – ก.ค.) บริษัทมียอดรับรู้รายได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท จากเป้ารับรู้รายได้ทั้งปี 1.6 หมื่นล้านบาท มียอดขายรอโอนจำนวน 1.87 หมื่นล้านบาท โดยรับรู้รายได้ในปี 2558 จำนวน 8.7 พันล้านบาท และปี 2559 อีกจำนวน 1 หมื่นล้านบาท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3090 วันที่ 24-26 กันยายน พ.ศ. 2558
JJNY : คอนโดฯสีลม-สาทร-บางรักเหลือขายบาน
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบันยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อยอดขายใหม่ รวมถึงยอดโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมของโครงการที่ขายได้ในปี 2555-2556 เขตกทม.-ปริมณฑล ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 1.9 แสนล้านบาท แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจและปัญหาหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ จนผู้ประกอบการเรียกให้รัฐออกมาตรการช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ โดยกระทรวงการคลังมีแนวคิดจะกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ด้วยการลดภาษีการโอนและการจดจำนองแต่ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน
ปทุมธานีเหลือขาย 50%
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า จากการสำรวจโครงการอาคารชุดที่อยู่ในระหว่างการขายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ปี 2553 – มิ.ย.2558) รวมทั้งสิ้น 14 โซน แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 10 โซนและปริมณฑล 5 จังหวัดนั้น พบว่าพื้นที่และจำนวนสินค้าประเภทอาคารชุดเหลือขายในตลาดมากกว่า 40% ของจำนวนหน่วยในผังอยู่ในเขตปริมณฑล 3 จังหวัดได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี คิดเป็นจำนวนหน่วยเหลือขายรวมกันถึง 2.61 หมื่นหน่วย จากจำนวนหน่วยในผังรวม 5.91 หมื่นหน่วย
โดยปทุมธานีเป็นพื้นที่ที่มีอัตราหน่วยเหลือขายมากที่สุดคือ 50% จากหน่วยในผังรวม 1.43 หมื่นหน่วย เหลือขาย 7,200 หน่วย รองลงมา สมุทรปราการ มีอัตราหน่วยเหลือขาย 43% จากหน่วยในผังรวม 1.87 หมื่นหน่วย เหลือขาย 8,100 หน่วย ส่วนนนทบุรี มีอัตราหน่วยเหลือขาย 41% จากหน่วยในผังรวม 2.61 หมื่นหน่วย เหลือขาย 1.08 หมื่นหน่วย ในส่วนของจังหวัดนครปฐมและสมุทรสาคร ก็มีอัตราการเหลือขายสูงเช่นเดียวกันคืออยู่ที่ประมาณ 33% คิดเป็นจำนวนหน่วยเหลือขาย 1,000 หน่วย จากหน่วยในผังโครงการ 3,000 หน่วย
แห่เปิดโครงการตามแนวรถไฟฟ้า
สำหรับพื้นที่ในกทม.พื้นที่ที่มีอัตราการเหลือขายสูงได้แก่ สีสม-สาทร-บางรัก และสุขุมวิทตอนต้น โดยมีอัตราเหลือขายอยู่ที่ประมาณ 31-32% รวมหน่วยเหลือขายทั้ง 2 พื้นที่ 4,100 หน่วย จากหน่วยในผังรวม 1.31 หมื่นหน่วย โดยพื้นที่สีสม-สาทร-บางรักมีหน่วยเหลือขายสูงถึง 1,400 หน่วย จากหน่วยในผังโครงการทั้งหมด 4,400 หน่วย ในส่วนของพื้นที่ที่มีอัตราเหลือขายรองลงมาคือ ห้วยขวาง-จตุจักร-ดินแดง, ยานนาวา-บางคอแหลม, สุขุมวิทตอนปลาย, บางซื่อ-ดุสิต และธนบุรี โดยมีอัตราเหลือขายอยู่ที่ประมาณ 27-28% รวมหน่วยเหลือขาย 2.48 หมื่นหน่วย จากหน่วยในผังรวม 9.03 หมื่นหน่วย
“พื้นที่ที่มีหน่วยเหลือขายมากที่สุดคือ ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีโครงการเปิดใหม่จำนวนมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการเติบโตของระบบโครงข่ายรถไฟฟ้า ขณะที่สินค้าค้างเก่าก็ยังคงมีเหลือในตลาด ในส่วนของพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในและกลางอาทิ สุขุมวิทตอนต้น สาทร สีลม บางรัก ก็มีอัตราเหลือขายมากเช่นกัน เนื่องจากมีโครงการเปิดใหม่จำนวนมากในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีระดับราคาสูง แต่ความต้องการมีจำกัดไม่สอดคล้องกับจำนวนหน่วยที่เพิ่มขึ้น” นายสัมมากล่าว
รอโอนครึ่งปีหลัง 1.3 แสนล้านบาท
ด้านนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ปี 2558 เป็นที่ของการโอนกรรมสิทธิ์ โดยมีคอนโดมิเนียมที่รอรับรู้รายได้เฉพาะกรุงเทพฯ-ปริมณฑลมากกว่า 7 หมื่นหน่วย คิดเป็นมูลค่ารวม 1.9 แสนล้านบาท ขณะที่ใน 4 หัวเมืองใหญ่มีผู้ประกอบการเข้าไปพัฒนาโครงการอาทิ ชลบุรี ภูเก็ต เชียงใหม่ และขอนแก่นมียอดรอโอนกรรมสิทธิ์ รวม 8.13 หมื่นหน่วย คิดเป็นมูลค่า 1.92 แสนล้านบาท โดยในช่วงครึ่งหลังปี 2558 ตลาดกทม.-ปริมณฑลมีสินค้ารอโอนทั้งในส่วนของโครงการแนวราบและแนวสูงคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1.2-1.3 แสนล้านบาท
“สิ่งที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการโอนกรรมสิทธิ์ปีนี้คือ กำลังซื้อของคนที่ปรับลดลงต่อเนื่อง จากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ และกลุ่มผู้ซื้อไม่เป็นเรียลดีมานด์ ทำให้ไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ หากมีมาตรการเข้ามาช่วยเหลือและดูแลใน 2-3 ข้อนี้ก็เชื่อว่าจะเห็นผลชัดเจนต่อภาคธุรกิจอสังหาฯ” นายประเสริฐกล่าว
ห่วงมาตรการรัฐฉุดตลาด
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ รองประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS เผยว่า มาตรการลดภาษีการโอนและการจดจำนองเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ กล่าวถึงมาตลอด ส่วนตัวมองว่าเป็นมาตรการที่ดีและมีประโยชน์โดยตรงกับทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันลูกค้าที่ซื้อบ้านของพฤกษาจะต้องรับภาระในเรื่องของค่าธรรมเนียมการโอนที่ 2% ร่วมกับบริษัทคนละครึ่งคือฝ่ายละ 1% หากลดค่าธรรมเนียมการโอนลงเหลือ 0.01% ก็จะหมายความว่าผู้บริโภคจะมีเงินเหลือในกระเป๋าเพิ่มมากขึ้น เพื่อไปใช้ในการซื้อเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆเข้าบ้าน ขณะที่ผู้ประกอบการก็จะมีเงินเหลือไปลงทุนซื้อที่ดิน เพื่อพัฒนาโครงการอื่นต่อไป ในส่วนของการจดจำนองที่ปัจจุบันมีอัตราอยู่ที่ 1% ก็จะได้รับอานิสงส์เป็นไปในลักษณะเดียวกัน
“การที่รัฐลดภาษีการโอนและการจดจำนอง ก็จะช่วยให้ประชาชนและเอกชนมีเงินเหลือในกระเป๋ามากขึ้น และส่งผลให้ห่วงโซ่การบริโภคภายในประเทศเกิดการเคลื่อนไหวในเวลาอันรวดเร็ว แต่รัฐต้องประกาศใช้ในทันที เพราะมิเช่นนั้นจะก่อให้เกิดการชะลอการโอน เพื่อรอมาตรการดังกล่าวบังคับใช้” นายเลอศักดิ์กล่าว
สอดคล้องกับนายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN กล่าวว่า ไม่ว่าภาครัฐจะออกมาตรการใดมากระตุ้นเศรษฐกิจก็ถือเป็นเรื่องดี แต่อยากให้มาตรการนั้นมีผลบังคับใช้ในทันที อย่าได้รอเวลาเพราะอาจจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีอย่างแนวคิดการลดค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนอง ถ้ารัฐบาลไม่มีความชัดเจนหรือไม่ประกาศใช้ทันที อาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีกำหนดโอน เนื่องจากผู้บริโภคต้องการรอใช้มาตรการดังกล่าว ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมียอดรับรู้การโอนไม่เป็นไปตามเป้า ส่งผลกระทบต่อการรับรู้รายได้ในปีนี้อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2558 (ม.ค. – ก.ค.) บริษัทมียอดรับรู้รายได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท จากเป้ารับรู้รายได้ทั้งปี 1.6 หมื่นล้านบาท มียอดขายรอโอนจำนวน 1.87 หมื่นล้านบาท โดยรับรู้รายได้ในปี 2558 จำนวน 8.7 พันล้านบาท และปี 2559 อีกจำนวน 1 หมื่นล้านบาท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3090 วันที่ 24-26 กันยายน พ.ศ. 2558