ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่เกิดความอึดอัด บริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายรายพลาดท่าทำกำไรหล่นหาย
แต่เจ้าตลาดขาเก่าอย่าง "แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์" ยังคงยึดหัวหาด ในฐานะผู้ประกอบการที่ทำอัตรากำไรได้สูงสุด 23% ในช่วงครึ่งปีแรก 2558
"ประชาชาติธุรกิจ" ประชิดขอบเวที เมื่อ "อนันต์ อัศวโภคิน" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ตอบรับคำเชิญของ "มีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ"นายกอสังหาริมทรัพย์ชลบุรี ในงานเสวนาใหญ่ หัวข้อ "ขุมทรัพย์อสังหาฯ มีทางออกเสมอ" ซึ่งมีเนื้อหาน่าสนใจในสไตล์ "พี่สอนน้อง"
"อนันต์" เปิดประเด็นชี้แนะว่า ในสถานการณ์แบบนี้ ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้และปรับตัวให้มากที่สุด พร้อมหยิบยก "ประสบการณ์" จากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มาฉายซ้ำ และย้ำว่า
"นาทีนี้การปรับตัวสำคัญที่สุด โดยเฉพาะการควบคุมรายจ่าย หรือการลดโอเวอร์เฮดในบริษัท"
"โอเวอร์เฮด ที่ดีไม่ควรเกิน 12% ของยอดขาย พอใช้ได้คือ 15% ถ้าไปถึง 20% ผมว่าไม่ดีแล้ว เชื่อไหมว่า บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯเองมีโอเวอร์เฮดตั้งแต่ 10% ถึง 25% ซึ่งผลกำไรมาตัดกันตรงนี้ได้เลย ขณะนี้ที่โอเวอร์เฮดต่ำสุดในตลาด คือ บริษัทศุภาลัยฯ"
พร้อมแชร์ ประสบการณ์อีกว่า "ทุกวันนี้เอกสารในบริษัทมีมาก เพราะต้องการป้องกันการโกง แต่ไม่ได้ทำเพื่อบริหารงานจริง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด ดังนั้นต้องตั้งโจทย์ใหม่ คือ ทำอย่างไรให้บริษัทลดกระดาษ ลดคน ลดเวลา คำตอบที่ได้คือ การเปลี่ยนเอกสารกระดาษให้เป็นระบบออนไลน์ ถ้าขั้นตอนไหนต้องเกี่ยวพันกับธนาคารก็ต้องหารือร่วมกัน"
ประเด็นการลดคน ต้องตัดแผนกที่ไม่จำเป็นออก เช่น ฝ่ายบุคคล สำหรับแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มองว่า ให้หัวหน้างานเป็นผู้คัดเลือกพนักงานใหม่ได้เอง อย่างฝ่ายก่อสร้างที่บริษัทยุบเลิกไปแล้วนั้น เพราะพบว่าเป็นส่วนที่มีเอาต์ซอร์ซคุณภาพดีอยู่มาก จึงไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่ต้องบริหารเอง
"จุดนี้ผมแนะนำเลยว่า ถ้าไม่จำเป็นอย่ารับคนเพิ่ม ถ้าจำเป็นจริง ๆ ก็อย่ารับคนเพิ่ม และถ้าใครยังทำรับเหมาเองอยู่ เลิกทำเถอะ เพราะมันจุกจิกมาก ตอนที่บริษัทยังทำก่อสร้างเองอยู่ เรามีไปถึงอู่ซ่อมรถแทรกเตอร์ ซึ่งสุดท้ายมันไม่ใช่ธุรกิจของบริษัท เรามาเน้นการหาซัพพลายเออร์ที่ดีจริง ๆ ดีกว่า แล้วเอาเวลาที่มีมากขึ้นจากการโละแผนกเหล่านี้ออกไป จะช่วยให้เรามีเวลาไปดูแลส่วนงานอื่น ๆ เช่น การจัดซื้อที่ดินแทน"
"อนันต์"ยังแนะนำระบบบ้านสร้างเสร็จก่อนขาย ที่แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ทำมาตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง และพบว่าเป็นระบบที่ลดการใช้เงินทุนหมุนเวียน ทั้งลดความยุ่งยากในการก่อสร้าง
"สมมุติเราทำแบบสร้างไป ขายไป 100 หลังเราสร้างได้ 10 หลังต่อเดือน ใช้เวลา 10 เดือนในการทยอยสร้างหมดทั้งสายพาน สมมุติเราใช้ค่าก่อสร้างหลังละ 1 ล้านบาท แปลว่าเราต้องมีเงินหมุน 50% ของงบฯทั้งหมดคือ 50 ล้านบาท โดยที่เราได้เงินดาวน์ 5-10% ระหว่างทางมาเรื่อย ๆ ซึ่งจริง ๆ มันนิดเดียวเอง แต่พอสร้างเสร็จก่อนขาย เราใช้เวลาแค่ 6 เดือนเสร็จ เพราะลูกค้าเข้ามาดูการก่อสร้างไม่ได้ แปลว่าเราจะมีบ้านบนสายพาน 60 หลัง เงินหมุนเรายิ่งน้อยลงไปอีก เหลือแค่ 30 ล้านบาทเท่านั้น"
และเมื่อ เป็นบ้านสร้างเสร็จก่อนขาย ระบบการคิดจะเปลี่ยน บริษัทจะเอาใจใส่การสร้างบ้านมากขึ้น ต้องวางแผนเซอร์เวย์ความต้องการของลูกค้าในเรื่องวัสดุและฟังก์ชั่นบ้านให้ ชัดเจน ฝ่ายการตลาดจะเปลี่ยนไปทำงานสำรวจคู่แข่งมากขึ้น
ข้อต่อไป คือ การให้ความสำคัญกับ "บริการหลังการขาย" ที่เป็นจุดสร้างความประทับใจให้ลูกค้า และมีผลย้อนกลับคือช่วยประหยัดงบโฆษณา เพราะลูกค้าจะบอกปากต่อปากถึงคุณภาพและความน่าเชื่อถือของบริษัทเราเอง
"ที่สำคัญ ผมแนะนำให้ตั้งเงินสำรองซ่อมบ้านไว้เลย อย่าให้ลูกน้องตั้งราคามาเอง เพราะจะเกิดปัญหาตั้งแต่การหาตัวคนผิดว่าเกิดจากใคร ลูกค้าจู้จี้เอง คนตรวจงานผิดพลาด หรือผู้รับเหมาเกเร แต่ถ้าตั้งสำรองไว้ตั้งแต่วันโอน โดยที่เป็นรายจ่ายแค่ 0.5% ของบ้าน ทั้งที่เราทำกำไรตั้ง 10% แต่การทำงานง่ายขึ้นมาก ในทางปฏิบัติจะเห็นว่า เวลาใกล้หมดรับประกัน ลูกค้ามักขอเคลมเข้ามาแล้ว ถ้าเคลมว่า สีเริ่มหลุด เราก็ทำให้ใหม่ทั้งหลัง กระเบื้องมีรอยร้าว เราก็ปูให้ใหม่ทั้งครัว เพราะเรามีงบฯเหลืออยู่ ไม่กระทบกำไรขาดทุนอีกแล้ว แบบนี้ลูกค้าจะประทับใจมาก"
ปัญหาหนักอีกอย่างของผู้ประกอบการตอนนี้ คือ "โอนบ้านไม่ได้ เพราะลูกค้ากู้แบงก์ไม่ผ่าน" ดูแล้วเหมือนเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ แต่มุมคิดของบอสใหญ่ค่ายแลนด์ฯ กลับคิดต่างว่า ปัญหานี้เกิดจากดีเวลอปเปอร์เก็บเงินดาวน์ต่ำเกินไป บางที่เก็บแค่ 0-5% ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่าย แต่ไม่เปลี่ยนนิสัยการออมเงินสะสม สุดท้ายจึงผ่อนไม่ไหว เมื่อหนี้เสียมาก แบงก์ก็ต้องระมัดระวังมาก ขอแนะว่า ผู้ประกอบการควรเก็บเงินดาวน์ 15-20% ถึงเหมาะสม และควรทำพรีแอปพรูฟก่อนรับจอง
เพราะอนันต์เชื่อว่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่ยังไปได้เสมอ และมีทางออกในทุกวิกฤต ถ้าผู้ประกอบการเข้าใจจริง ๆ และปรับตัวได้ทันทุกสถานการณ์
ส่วนความเห็นเรื่องนโยบายของรัฐบาลยุค "สมคิด" คุมเศรษฐกิจ และมุ่งฟื้นธุรกิจรายย่อยนั้น "อนันต์" เชื่อว่า "รัฐบาลจะลดภาษีให้กับกลุ่ม SMEs แน่นอน"
"แต่มีเงื่อนไขแลกเปลี่ยน คือ คุณต้องมีบัญชีเดียว หลังจากนั้นธนาคารจะอนุมัติเงินกู้ โดยดูข้อมูลบัญชีที่บริษัทยื่นกับกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น จะไม่ดูบัญชีที่สองจากลูกค้า"
ดังนั้นถ้าต้องการสิทธิประโยชน์ ก็ต้องสารภาพผิดตั้งแต่ตอนนี้ แล้วจะไม่ถูกปรับย้อนหลัง ถือว่าแลกกัน
"อย่าลืมว่ากำไร 20% ตอนนี้ไม่ใช่กำไรจากลูกค้า แต่เป็นกำไรที่ได้จากรัฐบาล" อนันต์กล่าวทิ้งท้าย
แนวคิด แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ <-- ผมว่าดีนะ
แต่เจ้าตลาดขาเก่าอย่าง "แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์" ยังคงยึดหัวหาด ในฐานะผู้ประกอบการที่ทำอัตรากำไรได้สูงสุด 23% ในช่วงครึ่งปีแรก 2558
"ประชาชาติธุรกิจ" ประชิดขอบเวที เมื่อ "อนันต์ อัศวโภคิน" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ตอบรับคำเชิญของ "มีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ"นายกอสังหาริมทรัพย์ชลบุรี ในงานเสวนาใหญ่ หัวข้อ "ขุมทรัพย์อสังหาฯ มีทางออกเสมอ" ซึ่งมีเนื้อหาน่าสนใจในสไตล์ "พี่สอนน้อง"
"อนันต์" เปิดประเด็นชี้แนะว่า ในสถานการณ์แบบนี้ ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้และปรับตัวให้มากที่สุด พร้อมหยิบยก "ประสบการณ์" จากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มาฉายซ้ำ และย้ำว่า
"นาทีนี้การปรับตัวสำคัญที่สุด โดยเฉพาะการควบคุมรายจ่าย หรือการลดโอเวอร์เฮดในบริษัท"
"โอเวอร์เฮด ที่ดีไม่ควรเกิน 12% ของยอดขาย พอใช้ได้คือ 15% ถ้าไปถึง 20% ผมว่าไม่ดีแล้ว เชื่อไหมว่า บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯเองมีโอเวอร์เฮดตั้งแต่ 10% ถึง 25% ซึ่งผลกำไรมาตัดกันตรงนี้ได้เลย ขณะนี้ที่โอเวอร์เฮดต่ำสุดในตลาด คือ บริษัทศุภาลัยฯ"
พร้อมแชร์ ประสบการณ์อีกว่า "ทุกวันนี้เอกสารในบริษัทมีมาก เพราะต้องการป้องกันการโกง แต่ไม่ได้ทำเพื่อบริหารงานจริง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด ดังนั้นต้องตั้งโจทย์ใหม่ คือ ทำอย่างไรให้บริษัทลดกระดาษ ลดคน ลดเวลา คำตอบที่ได้คือ การเปลี่ยนเอกสารกระดาษให้เป็นระบบออนไลน์ ถ้าขั้นตอนไหนต้องเกี่ยวพันกับธนาคารก็ต้องหารือร่วมกัน"
ประเด็นการลดคน ต้องตัดแผนกที่ไม่จำเป็นออก เช่น ฝ่ายบุคคล สำหรับแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มองว่า ให้หัวหน้างานเป็นผู้คัดเลือกพนักงานใหม่ได้เอง อย่างฝ่ายก่อสร้างที่บริษัทยุบเลิกไปแล้วนั้น เพราะพบว่าเป็นส่วนที่มีเอาต์ซอร์ซคุณภาพดีอยู่มาก จึงไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่ต้องบริหารเอง
"จุดนี้ผมแนะนำเลยว่า ถ้าไม่จำเป็นอย่ารับคนเพิ่ม ถ้าจำเป็นจริง ๆ ก็อย่ารับคนเพิ่ม และถ้าใครยังทำรับเหมาเองอยู่ เลิกทำเถอะ เพราะมันจุกจิกมาก ตอนที่บริษัทยังทำก่อสร้างเองอยู่ เรามีไปถึงอู่ซ่อมรถแทรกเตอร์ ซึ่งสุดท้ายมันไม่ใช่ธุรกิจของบริษัท เรามาเน้นการหาซัพพลายเออร์ที่ดีจริง ๆ ดีกว่า แล้วเอาเวลาที่มีมากขึ้นจากการโละแผนกเหล่านี้ออกไป จะช่วยให้เรามีเวลาไปดูแลส่วนงานอื่น ๆ เช่น การจัดซื้อที่ดินแทน"
"อนันต์"ยังแนะนำระบบบ้านสร้างเสร็จก่อนขาย ที่แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ทำมาตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง และพบว่าเป็นระบบที่ลดการใช้เงินทุนหมุนเวียน ทั้งลดความยุ่งยากในการก่อสร้าง
"สมมุติเราทำแบบสร้างไป ขายไป 100 หลังเราสร้างได้ 10 หลังต่อเดือน ใช้เวลา 10 เดือนในการทยอยสร้างหมดทั้งสายพาน สมมุติเราใช้ค่าก่อสร้างหลังละ 1 ล้านบาท แปลว่าเราต้องมีเงินหมุน 50% ของงบฯทั้งหมดคือ 50 ล้านบาท โดยที่เราได้เงินดาวน์ 5-10% ระหว่างทางมาเรื่อย ๆ ซึ่งจริง ๆ มันนิดเดียวเอง แต่พอสร้างเสร็จก่อนขาย เราใช้เวลาแค่ 6 เดือนเสร็จ เพราะลูกค้าเข้ามาดูการก่อสร้างไม่ได้ แปลว่าเราจะมีบ้านบนสายพาน 60 หลัง เงินหมุนเรายิ่งน้อยลงไปอีก เหลือแค่ 30 ล้านบาทเท่านั้น"
และเมื่อ เป็นบ้านสร้างเสร็จก่อนขาย ระบบการคิดจะเปลี่ยน บริษัทจะเอาใจใส่การสร้างบ้านมากขึ้น ต้องวางแผนเซอร์เวย์ความต้องการของลูกค้าในเรื่องวัสดุและฟังก์ชั่นบ้านให้ ชัดเจน ฝ่ายการตลาดจะเปลี่ยนไปทำงานสำรวจคู่แข่งมากขึ้น
ข้อต่อไป คือ การให้ความสำคัญกับ "บริการหลังการขาย" ที่เป็นจุดสร้างความประทับใจให้ลูกค้า และมีผลย้อนกลับคือช่วยประหยัดงบโฆษณา เพราะลูกค้าจะบอกปากต่อปากถึงคุณภาพและความน่าเชื่อถือของบริษัทเราเอง
"ที่สำคัญ ผมแนะนำให้ตั้งเงินสำรองซ่อมบ้านไว้เลย อย่าให้ลูกน้องตั้งราคามาเอง เพราะจะเกิดปัญหาตั้งแต่การหาตัวคนผิดว่าเกิดจากใคร ลูกค้าจู้จี้เอง คนตรวจงานผิดพลาด หรือผู้รับเหมาเกเร แต่ถ้าตั้งสำรองไว้ตั้งแต่วันโอน โดยที่เป็นรายจ่ายแค่ 0.5% ของบ้าน ทั้งที่เราทำกำไรตั้ง 10% แต่การทำงานง่ายขึ้นมาก ในทางปฏิบัติจะเห็นว่า เวลาใกล้หมดรับประกัน ลูกค้ามักขอเคลมเข้ามาแล้ว ถ้าเคลมว่า สีเริ่มหลุด เราก็ทำให้ใหม่ทั้งหลัง กระเบื้องมีรอยร้าว เราก็ปูให้ใหม่ทั้งครัว เพราะเรามีงบฯเหลืออยู่ ไม่กระทบกำไรขาดทุนอีกแล้ว แบบนี้ลูกค้าจะประทับใจมาก"
ปัญหาหนักอีกอย่างของผู้ประกอบการตอนนี้ คือ "โอนบ้านไม่ได้ เพราะลูกค้ากู้แบงก์ไม่ผ่าน" ดูแล้วเหมือนเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ แต่มุมคิดของบอสใหญ่ค่ายแลนด์ฯ กลับคิดต่างว่า ปัญหานี้เกิดจากดีเวลอปเปอร์เก็บเงินดาวน์ต่ำเกินไป บางที่เก็บแค่ 0-5% ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่าย แต่ไม่เปลี่ยนนิสัยการออมเงินสะสม สุดท้ายจึงผ่อนไม่ไหว เมื่อหนี้เสียมาก แบงก์ก็ต้องระมัดระวังมาก ขอแนะว่า ผู้ประกอบการควรเก็บเงินดาวน์ 15-20% ถึงเหมาะสม และควรทำพรีแอปพรูฟก่อนรับจอง
เพราะอนันต์เชื่อว่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่ยังไปได้เสมอ และมีทางออกในทุกวิกฤต ถ้าผู้ประกอบการเข้าใจจริง ๆ และปรับตัวได้ทันทุกสถานการณ์
ส่วนความเห็นเรื่องนโยบายของรัฐบาลยุค "สมคิด" คุมเศรษฐกิจ และมุ่งฟื้นธุรกิจรายย่อยนั้น "อนันต์" เชื่อว่า "รัฐบาลจะลดภาษีให้กับกลุ่ม SMEs แน่นอน"
"แต่มีเงื่อนไขแลกเปลี่ยน คือ คุณต้องมีบัญชีเดียว หลังจากนั้นธนาคารจะอนุมัติเงินกู้ โดยดูข้อมูลบัญชีที่บริษัทยื่นกับกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น จะไม่ดูบัญชีที่สองจากลูกค้า"
ดังนั้นถ้าต้องการสิทธิประโยชน์ ก็ต้องสารภาพผิดตั้งแต่ตอนนี้ แล้วจะไม่ถูกปรับย้อนหลัง ถือว่าแลกกัน
"อย่าลืมว่ากำไร 20% ตอนนี้ไม่ใช่กำไรจากลูกค้า แต่เป็นกำไรที่ได้จากรัฐบาล" อนันต์กล่าวทิ้งท้าย